ไขทารกแรกเกิด ไขบนหัวทารก คืออะไร ถ้ามีเยอะดีหรือไม่
ไขทารกแรกเกิด หรือ vernix caseosa คือไขมันที่ปกคลุมร่างกายของทารกแรกเกิด ซึ่ง ไขที่หัวทารก จะถูกสร้างตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ประมาณเดือนที่ 8-9 สร้างจากต่อมไขมันและมีส่วนประกอบ คือ สารที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ขี้ผึ้ง ไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอล ทำหน้าที่ป้องกันการสูญเสียน้ำ ช่วยปรับอุณหภูมิและเป็นระบบภูมิคุ้มกันที่ช่วยปกป้องผิวร่างกายจากเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมในช่วงแรกคลอด

การดูแล ไขทารกแรกเกิด หลังคลอด
ตามปกติเมื่อคุณแม่คลอดทารกออกมาแล้ว พยาบาลที่อยู่ภายในห้องคลอดจะเป็นผู้ทำความสะอาดตัวของทารก ซึ่งมีทฤษฎีบางทฤษฎีบอกว่าไม่ควรล้างไขทารกแรกเกิด เพราะไขทารกแรกเกิดนี้มีส่วนสำคัญในการช่วยปกป้องผิวของร่างกายจากเชื้อโรค
Laurie MacLeod พยาบาลผดุงครรภ์แห่ง the Ohio State University Wexner Medical Center กล่าวว่า “ไขที่ห่อหุ้มร่างกายทารกนั้นไม่จำเป็นต้องชำระล้างออกในทันที เพราะมันทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกแรกคลอด และยังช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับผิวทารกเป็นอย่างดีคุณพ่อคุณแม่สามารถชำระล้างไขทารกแรกเกิดเหล่านี้ออกได้ในภายหลัง”
หน้าที่และความสำคัญของไขทารกแรกเกิด (vernix caseosa)
1. ไขทารกแรกเกิด หรือ Vernix caseosa เป็นไขมันที่ปกคลุมร่างกาย ทารกแรกเกิด สร้างจากต่อมไขมันและมีส่วนประกอบ คือ สารที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ขี้ผึ้ง ไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอล
2. มีหน้าที่ปกป้องผิวหนังแรกเกิดของทารกทั้งที่คลอดจากคุณแม่ทั้งทางช่องคลอดและการผ่าท้องคลอด
3. ทารกที่คลอดครบกำหนดตามปกติ ร่างกายจะผลิตไขในปริมาณที่พอดีที่จะปกป้องผิวหนัง เวอร์นิกซ์ยังทำหน้าที่คล้าย ๆ กับฉนวนปกป้อง เพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงจากอุณหภูมิที่อบอุ่นในมดลูก สู่โลกภายนอกที่เย็นกว่าในมดลูกของแม่ ส่วนในทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีปริมาณที่น้อยกว่า

4. การมี Vernix cereosa หรือไขทารกแรกเกิดปกคลุมผิวหนัง จะช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อน ป้องกันการระเหยของน้ำออกทางผิวหนัง และยังมีสารที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์
5. บริเวณผิวของทารกนอกจากมีไขทารกแรกเกิดแล้ว ยังมีเลือด ขี้เทา และเซลล์ต่าง ๆ ที่ตายแล้ว โดยปกติเราจะเช็ดไขและทำความสะอาดทารกบริเวณตัวทารกออกหลังคลอด แต่มีการวิจัยบางชนิดที่สนับสนุนว่า ไขมันช่วยปกป้องผิวหนังในทารกที่คลอดก่อนกำหนด และไม่จำเป็นต้องเช็ดออกทันที

6. ดังนั้น หัวทารกเป็นไข คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องรีบเช็ดล้างไขทารกแรกเกิดออกไป เพราะมันจะหลุดลอกออกไปเองภายใน 2-3 วัน จากนั้นลูกน้อยจะค่อย ๆ สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาแทนที่ในเวลาไม่นาน การไปถูไขแรง ๆ เพื่อให้ไขทารกแรกเกิดนี้หลุดอาจจะทำให้ผิวบอบบางของลูกเป็นแผลได้
7. กรณีไขติดที่ศีรษะของทารก หลังจากที่ไขทารกแรกเกิดหลุดออกหมดแล้ว แต่ไขยังมีติดที่ศีรษะ มีวิธีทำความสะอาดมาแนะนำค่ะ คุณแม่ลองใช้น้ำมันมะกอกหรือเบบี้ออยล์นวดศีรษะของทารก โดยเฉพาะตรงที่เป็นคราบ ทิ้งเอาไว้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง ให้น้ำมันซึมเข้าไปในสะเก็ดแห้งๆ แข็งๆ ให้นุ่ม แล้วจึงเอาลูกไปสระผม ค่อยๆ บรรจงถูเบาๆ นะคะ เพื่อให้คราบหลุดออก ที่สำคัญคือ คุณแม่อย่าเอามือไปแกะเกาเด็ดขาดเพราะจะทำให้ทารกน้อยเป็นแผลได้

จริงหรือไม่? ดื่มน้ำมะพร้าวตอนท้องช่วยล้างไขทารกแรกเกิดได้
เคยได้ยินได้ฟังกันมาเรียกว่าตั้งแต่สมัยโบราณกันทีเดียว ที่ให้คนท้องดื่มน้ำมะพร้าวเพราะจะช่วยล้างไขทารกแรกเกิด ทำให้ทารกน้อยมีผิวขาว สวย ไร้ไขทารกแรกเกิด ? มาดูข้อเท็จจริงกันค่ะว่า น้ำมะพร้าวช่วยล้างไขทารกแรกเกิดได้จริงหรือไม่
คำตอบคือ ในทางการแพทย์น้ำมะพร้าวไม่มีประสิทธิภาพใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องล้างไขทารกแรกเกิดเลย ซึ่งได้ทราบแล้วนะคะว่า ประโยชน์ของไขทารกแรกเกิดนั้นสร้างขึ้นปกคลุมผิวหนัง เพื่อสร้างความอบอุ่นให้ร่างกายและป้องกันผิวตั้งแต่อายุครรภ์ได้ประมาณ 5 เดือน และจะมีมากขึ้น ตามอายุครรภ์ เด็กที่มีไขเกาะมาก จริง ๆ แล้วถือว่าเป็นเด็กที่สมบูรณ์ คือ อยู่ในครรภ์นานจนครบกำหนด จึงมีไขติดเกาะหนา เป็นเรื่องดี ส่วนที่ตัวแดง ๆ ออกมา นั่นอาจหมายถึงคลอดก่อนกำหนด เลยมีไขตามร่างกายน้อย
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ห้ามคนท้องดื่มน้ำมะพร้าวนะคะ สามารถดื่มได้บ้าง แต่ต้องควบคุมไม่ให้มากเกินไป เว้นแต่ผู้ที่มีอาการเบาหวานมากต้องงดค่ะ ในน้ำมะพร้าวก็มีเกลือแร่และน้ำตาลที่เป็นประโยชน์ หากดื่มแต่พอดี ก็ทำให้ร่างกายสดชื่น และมีสุขภาพดี
สรุปได้ว่า หากต้องการดื่มน้ำมะพร้าวเพื่อล้างไขทารกแรกเกิด ซึ่งไม่มีข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ทางการแพทย์ สำหรับผิวขาว ผิวคล้ำ หลัก ๆ แล้วเป็นเรื่องของกรรมพันธุ์ค่ะ เพียงแต่การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำมะพร้าวจะช่วยบำรุงสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์เท่านั้น
ได้ทราบถึงประโยชน์ของไขทารกแล้วนะคะว่ามีประโยชน์ในการปกป้องผิวทารกแรกเกิด รวมไปถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดื่มน้ำมะพร้าวว่าไม่สามารถช่วยล้างไขทารกได้ แต่การดื่มน้ำมะพร้าวคุณแม่และทารกจะได้รับวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าค่ะ
ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ
อ้างอิงข้อมูลจาก : 1, 2
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ความแข็งแรงของศีรษะทารก จุดกระหม่อมบาง ที่พ่อแม่ต้องระวัง!
ปัญหาผิวทารกที่พบบ่อย และวิธีรักษา
ลูกหัวแบน ลูกหัวเบี้ยว มีวิธีรักษาหรือเปล่า โตขึ้นจะหายได้ไหม
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!