X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ดูแลทารกหลังคลอด เลี้ยงเด็กทารก การพยาบาลทารกแรกเกิด ต้องทำอะไรบ้าง?

บทความ 5 นาที
ดูแลทารกหลังคลอด เลี้ยงเด็กทารก การพยาบาลทารกแรกเกิด ต้องทำอะไรบ้าง?

กานดูแลทารกหลังคลอด หลังออกจากโรงพยาบาลไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก มาดูกันดีกว่าว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่จะต้องทำในทุกวัน

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายท่านคงเป็นกังวลเกี่ยวกับการ เลี้ยงเด็กทารก เมื่อกลับบ้านไปแล้ว ทุกวันต้องทำอะไรบ้าง จะต้องเลี้ยงลูกอย่างไรถึงจะปลอดภัยจากโรค และอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ วันนี้เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า เมื่อออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้อะไรบ้าง วิธีดูแลทารกหลังคลอด การอาบน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม เช็ดอวัยวะเพศ และอื่น ๆ ไปดูกัน!

 

วิธีเลี้ยงเด็กทารก เลี้ยงเด็กทารก ดูแลทารกหลังคลอด เรื่องทั่วไปที่ต้องรู้

การ ดูแลทารกหลังคลอด การพยาบาลทารกแรกเกิด ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินกว่าจะทำความเข้าใจ มาดูสิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้ เพื่อให้ทุกๆ วัน ทำตามได้อย่างครบถ้วนกันดีกว่า

 

  • ทำความเข้าใจทารกแรกเกิด 1-2 สัปดาห์แรก

ทารกแรกเกิดในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก แทบจะไม่ทำอะไรเลย นอกเสียจากนอน หลังจากนั้นพัฒนาการด้านอื่นๆ ก็จะเริ่มเพิ่มเติมขึ้นมา ช่วงแรกๆ ลูกจะตื่นมาพร้อมกับร้องไห้ด้วยความหิว หรืองอแงเมื่อรู้สึกไม่สบายตัว พอเริ่มอิ่ม ก็จะง่วง แล้วก็นอนอีก วนเวียนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

 

  • ลูกต้องนอนคว่ำหรือนอนหงาย

ในช่วงที่ยังชันคอไม่ได้ โดยเฉพาะ 1-2 เดือนแรก ที่คอไม่แข็ง ต้องให้ลูกนอนหงาย เพราะนี่เป็นท่านอนทารกที่ปลอดภัยที่สุด แต่ก็สามารถให้ลูกนอนตะแคง หรือนอนคว่ำได้ แต่พ่อแม่ต้องจับตาดูไว้ตลอด ไม่ให้คลาดสายตา เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเกิดอันตราย เสี่ยงต่ออาการหลับไม่ตื่นในเด็กทารก หรือโรคไหลตายในทารก SIDS (Sudden Infant Death Syndrome)

 

เลี้ยงเด็กทารก 1

เลี้ยงเด็กทารก วิธี เลี้ยง เด็ก แรก เกิด

 

  • นอนสักพักก็ตื่นเพราะหิวนม

ทารกแรกเกิดมักจะตื่นบ่อย หิวนมถี่ๆ ในช่วงแรก อยู่ราว 2-3 ชั่วโมงต่อครั้ง และอาจบ่อยกว่านั้น ซึ่งทางการแพทย์แนะนำให้คุณแม่ให้นมแม่กับลูกอย่างเดียวไปนาน 6 เดือน ไม่ควรให้ดื่มน้ำ และห้ามเด็ดขาดที่จะให้ทานสิ่งอื่น การให้ลูกเข้าเต้าบ่อยๆ ยังช่วยกระตุ้นให้เต้านมผลิตน้ำนมได้มาก ทั้งยังลดอาการคัดตึงของเต้านมได้ด้วย ทุกครั้งที่ลูกอิ่มจากน้ำนมแม่แล้ว อย่าลืมอุ้มลูกเรอ ด้วยการอุ้มลูกพาดที่บ่า ลูบหลังเบาๆ หรือใช้ท่าอุ้มลูกเรออื่นๆ การที่ลูกเรอออกมาจะรู้สึกสบายตัว ลดอาการแน่นท้อง ท้องอืด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทารกร้องไห้

 

  • ร่างกายทารกหลังคลอด เป็นอย่างไร

    • ช่วงแรกๆ ตอนอายุ 1 – 2 วัน ผิวหนังทารกจะลอก หายไปได้เองใน 2 – 3 วัน
    • ทารกจะมีจุดขนาดเล็กสีขาวนวล ตรงจมูก ริมฝีปากและแก้ม หายไปเองหลังคลอด 1 – 2 สัปดาห์
    • ในช่วง 3 – 5 วันหลังคลอด จะมีมูกหรือเลือดออกทางช่องคลอด มักจะหายไปเองในสองสัปดาห์ ซึ่งเกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนจากแม่ ผ่านไปยังทารกขณะอยู่ในครรภ์ และระดับฮอร์โมนลดลงหลังคลอด

 

เลี้ยงเด็กทารก 2

เลี้ยงเด็กทารก วิธี เลี้ยง เด็ก แรก เกิด การพยาบาลทารกแรกเกิด

วิธีดูแลทารกหลังคลอด การทำความสะอาดทารก

เรื่องการทำความสะอาดให้กับลูกน้อยก็สำคัญ โดยเฉพาะการทำความสะอาดร่างกายของทารกแรกเกิด หลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้ว การทำความสะอาดทั้งหมดตั้งแต่อาบน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม และการดูแลสุขอนามัยด้านอื่น ๆ จะต้องเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ดูแล ดังนั้นจึงจะต้องมีการเตรียมพร้อม โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • การทำความสะอาดทารก ด้วยการ อาบน้ำ

    • อาบด้วยน้ำอุ่นๆ ไม่ร้อน โดยอาบน้ำวันละ 2 ครั้ง สระผมวันละครั้งเดียว
    • อาบน้ำทารกไม่ควรใช้เวลานาน เพียง 5-7 นาทีก็ควรทำให้เสร็จ และไม่อยู่ในบริเวณที่มีลม
    • หลังจากที่ลูกอิ่มนม อย่าอาบน้ำทันที

 

  • ดูแลสะดือ

พ่อแม่ต้องดูแลทั้งโคนสะดือและตรงสะดือให้แห้งอยู่เสมอ โดยเช็ดสะดือทารกด้วยไม้พันสำลีชุบแอลกอฮอล์ (แอลกอฮอล์ตามที่โรงพยาบาลจัดให้ใช้) ทำความสะอาดวันละ 3 ครั้ง และสะดือจะหลุดได้เอง 1 – 2 สัปดาห์ พอสะดือใกล้หลุดจะมีเลือดออก ห้ามใช้ยา แป้ง มาโรยสะดือเด็ดขาด

 

เลี้ยงดูทารก 4

การพยาบาลทารกแรกเกิด

  • ดูแลช่องปากลูกน้อย

ลูกทานนมบ่อยๆ ต้องหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากลูก ด้วยการเช็ดคราบนมเบาๆ ตามเหงือกและลิ้น เพื่อป้องกันฝ้าขาว วิธีการทำความสะอาด ให้ใช้ผ้านุ่มๆ พันบริเวณปลายนิ้ว นำไปชุบน้ำสะอาด เช็ดเหงือกให้ทั่ว เมื่อลูกรักปากสะอาดก็จะไม่เกิดเชื้อรา ทำบ่อยๆ ยังส่งผลดีตอนโต ลูกก็จะชินกับการแปรงฟันได้ง่ายขึ้น

 

  • เปลี่ยนผ้าอ้อม ดูแลหลังขับถ่าย

ลูกฉี่แล้ว พ่อแม่ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน จะทำให้ทารกตัวเย็น ส่วนการอึนั้น ทารกที่ดื่มนมแม่มักจะอึบ่อยๆ เป็นเรื่องปกติ วิธีทำความสะอาดก้น ให้เช็ดด้วยสำลีชุบน้ำสะอาด เช็ดจากบนลงล่าง ห้ามเช็ดไปมา

 

  • ดูแลทำความสะอาด อวัยวะเพศลูกสาว

ถ้าเป็นลูกสาวให้แม่เตรียมผ้าเปียก หรือแผ่นสำลีชุบน้ำสะอาด

    • เมื่อลูกสาวฉี่ ให้ใช้ผ้าเปียกเช็ดจากท้องน้อย จนถึงอวัยวะเพศ ไม่ต้องเช็ดลึกไปในช่องคลอด เช็ดตรงบริเวณขาหนีบทั้งสองข้าง แล้วเปลี่ยนผ้าเปียกผืนใหม่ เช็ดตรงก้นอีกครั้ง ทำความสะอาดสัก 2-3 ครั้งจนแน่ใจ
    • ถ้าใช้สำลีชุบน้ำ ให้เช็ดเหมือนกับข้อบน หลังจากเช็ดขาหนีบให้เปลี่ยนสำลีแผ่นใหม่ แล้วเช็ดตรงก้น ทำความสะอาดสัก 2-3 ครั้ง ก่อนใส่ผ้าอ้อมผืนใหม่ให้ใช้ผ้าขนหนูนิ่มๆ เช็ดเบาๆ ที่ผิวก้น และตรงอวัยวะเพศ ให้แห้งเสียก่อน
    • หากลูกสาวอึ ให้ใช้น้ำสะอาดล้างก้นลูกก่อน พอเกลี้ยง ให้ซับอวัยวะเพศและก้นลูกให้แห้ง เช็ดแค่ด้านนอก ไม่ต้องเช็ดลึกถึงช่องคลอด ย้ำอีกครั้ง การเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศหญิง ให้เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ ห้ามเช็ดจากก้นขึ้นมา เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากทวารหนักเข้าสู่ช่องคลอด ที่สำคัญ ห้ามทาแป้งลงบนอวัยวะเพศ เพราะอาจทำให้อับชื้นและเกิดการติดเชื้อ

 

เลี้ยงเด็กทารก 5

เลี้ยงเด็กทารก วิธี เลี้ยง เด็ก แรก เกิด การพยาบาลทารกแรกเกิด

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?

 

บทความที่น่าสนใจ

โรคมือ เท้า ปาก ระบาดหนักในเด็กช่วงฤดูฝน พบมากในทารกและเด็กเล็ก

โรคที่ทารกชอบเป็น ป่วยต้องดูอาการให้ดี บางอาการอาจจะอันตรายกว่าที่คิด

ลูกเสียชีวิตจากการโดนอุ้มและหอม ทารกแรกเกิดเสียชีวิต เพราะผู้ใหญ่อุ้ม หอม จูบ เชื้อโรคจากผู้ใหญ่อันตราย!

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ดูแลทารกหลังคลอด เลี้ยงเด็กทารก การพยาบาลทารกแรกเกิด ต้องทำอะไรบ้าง?
แชร์ :
  • วิธีเปลี่ยนผ้าอ้อมขั้นเบสิก คุณพ่อก็ทำได้ง่าย ๆ ไม่ต้อง้อแม่

    วิธีเปลี่ยนผ้าอ้อมขั้นเบสิก คุณพ่อก็ทำได้ง่าย ๆ ไม่ต้อง้อแม่

  • การเปลี่ยนผ้าอ้อมนอกบ้าน 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 78

    การเปลี่ยนผ้าอ้อมนอกบ้าน 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 78

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • วิธีเปลี่ยนผ้าอ้อมขั้นเบสิก คุณพ่อก็ทำได้ง่าย ๆ ไม่ต้อง้อแม่

    วิธีเปลี่ยนผ้าอ้อมขั้นเบสิก คุณพ่อก็ทำได้ง่าย ๆ ไม่ต้อง้อแม่

  • การเปลี่ยนผ้าอ้อมนอกบ้าน 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 78

    การเปลี่ยนผ้าอ้อมนอกบ้าน 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 78

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ