โรค PPHN ในทารกแรกเกิดมีสาเหตุจากอะไร?
จริงๆแล้วภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดยังไม่สามารถหาสาเหตุของการเกิดที่ชัดเจนได้ แต่คาดว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งในต่อไปนี้
1. การหดตัวของหลอดเลือดในปอดอย่างเฉียบพลัน ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นของทารกในช่วงแรกเกิดใหม่ๆ เช่น ภาวะขาดออกซิเจนของปอด จาก ภาวะพร่องออกซิเจนระหว่างคลอด ภาวะสูดสำลักขี้เทา ภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มช่องปอด ปอดอักเสบติดเชื้อ ติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะตัวเย็นกว่าปกติ หรือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นต้น
2. เส้นเลือดในปอดผิดปกติ จากการสร้างและเจริญเติบโตที่ผิดปกติของปอด ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ เช่น ภาวะไส้เลื่อนกระบังลมไปกดปอด ภาวะน้ำคร่ำน้อย
นอกจากนี้ยังมีทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงโดยไม่ทราบสาเหตุได้
โรค PPHN เป็นอย่างไร?
ทารกแรก เกิด
ทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูง ร่างกายจะขาดออกซิเจน จึงมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว ตัวเขียว ความดันโลหิตต่ำ และช็อคได้ นอกจากนี้คุณหมออาจตรวจร่างกายพบความผิดปกติต่างๆที่เป็นสาเหตุ เช่น มีขี้เทาติดตามตัว ถ้าเกิดจากภาวะสูดสำลักขี้เทา มีเสียงปอดผิดปกติ ถ้าเกิดจากภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มช่องปอด ปอดอักเสบติดเชื้อ เป็นต้น
คุณหมอจะวินิจฉัยโรค PPHN ได้อย่างไร?
ทารกแ รกเกิด
หากทารกแรกเกิดมีอาการและอาการแสดงของขาดออกซิเจนมาก โดยไม่ได้มีความผิดปกติที่รุนแรงชัดเจนของปอด คุณหมออาจสงสัยภาวะนี้ ซึ่งสามารถทำการตรวจเพิ่มเติมต่างๆเพื่อช่วยวินิจฉัยภาวะนี้ได้หลายวิธีร่วมกัน เช่น การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง เจาะเลือดดูค่าออกซิเจนในหลอดเลือดแดง เอกซเรย์ปอด เป็นต้น
การรักษาโรค PPHN ทำได้อย่างไร?
ทารกแรกเ กิด
การรักษาภาวะนี้มีหลักการคือ การลดความต้านทานและความดันเลือดในปอด และทำให้มีออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายอย่างเพียงพอ ได้แก่ การใช้เครื่องช่วยหายใจ การให้ยากระตุ้นการทำงานของหัวใจ การให้ยาขยายหลอดเลือดแดงในปอด การระวังและแก้ไขภาวะความเป็นกรดของเลือด การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำให้เพียงพอ และการรักษาประคับประคอง เช่น ให้สารอาหารที่เพียงพอ และการรักษาตามอาการอื่นๆ จนกว่าปอดของทารกจะกลับมาเป็นปกติ ซึ่งต้องเฝ้าดูอาการกันอย่างใกล้ชิดมาก ช่วงแรกจึงจำเป็นต้องสังเกตอาการในไอซียูทารกแรกเกิด
ทาร กแรกเกิด
ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดเป็นภาวะที่มีความรุนแรงสูง เพราะมีโอกาสเสียชีวิตได้มาก วิธีการป้องกันที่พอจะทำได้คือ การป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ทารกมีภาวะขาดออกซิเจนช่วงแรกเกิด สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ก็ควรไปตามนัดฝากครรภ์กับคุณหมออย่างสม่ำเสมอนะคะ
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
โล่งอก น้องมาริลินลูกสาว “เมย์ มาริษา” อาการดีขึ้นแล้ว หลังเข้า ICU 24 วัน
6 เรื่องที่คุณต้องรู้ เมื่อตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!