X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคฮีน็อคในเด็ก อย่าคิดว่าแค่ผื่นธรรมดา..อันตรายหากถึงมือหมอช้า

บทความ 5 นาที
โรคฮีน็อคในเด็ก อย่าคิดว่าแค่ผื่นธรรมดา..อันตรายหากถึงมือหมอช้าโรคฮีน็อคในเด็ก อย่าคิดว่าแค่ผื่นธรรมดา..อันตรายหากถึงมือหมอช้า

โรคฮีน็อคในเด็ก โรคที่พบในเด็กอายุ 2-11 ปี พ่อแม่อย่านิ่งนอนใจหากพบลูกมีอาการ ผื่นแดงทั้งตัว ถ่ายเป็นเลือด ปวดตามข้อ ต้องรีบพาไปพบหมอด่วน!!

โรคฮีน็อคในเด็ก คืออะไร เป็นโรคติดต่อไหม?

โรคฮีน็อคในเด็ก หรือโรค ฮีน็อค ชอนไลน์ เพอพูรา หรือ โรคเส้นเลือดอักเสบ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ ยันโรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่พบมากมักพบมากในเด็กอายุ 2-11 ปี โดยที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด หากลูกมีอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบพาไปพบหมอโดยด่วน

โรคฮีน็ค คือ อาการแสดงของการอักเสบของหลอดเลือดขนาดเล็กในอวัยวะร่างกายหลายๆระบบ เช่น ผิวหนัง ทางเดินอาหาร ไต ข้อและระบบประสาท สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด เป็นโรคในกลุ่ม vasculitis ที่พบบ่อยในเด็ก เริ่มมีรายงานในปี ค.ศ. 1837 โดย schonilein ได้พบว่ามีอาการของโรคที่เป็นผื่น ร่วมกับข้ออักเสบ และในปี ค.ศ. 1874 henoch รายงานถึงโรคที่มีกลุ่มอาการร่วม อันได้แก่ ปวดท้อง เลือดออกทางเดินอาหาร ผื่นแดงนูน purpura ข้อักเสบหรือปวดข้อ และปัสสาวะมีเลือด

ท่านอนน่ารัก

 

ลักษณะอาการของโรคฮีน็อค

โรคฮีน็อค เป็นกลุ่มอาการแสดงของ เส้นเลือดฝอยอักเสบ น้องที่เป็นจะเริ่มจากผื่นแดง ไม่คันบริเวณขาทั้งสองข้างพร้อมๆ กัน รวมถึงมีอาการร่วมอย่างอื่นด้วย ได้แก่ ปวดข้อเท้า ผิวหนังบวม บริเวณที่มีผื่น นอกจากจะเกิดขึ้นที่เส้นเลือดฝอยที่ผิวหนังแล้ว ยังเกิดขึ้นที่อวัยวะภายในด้วย ได้แก่ ทางเดินอาหาร ซึ่งผู้ป่วยจะมาด้วยอาการปวดท้อง หรือ อาจจะเป็นมากถึงมีอาการถ่ายเป็นเลือด และ ไต ซึ่งอาจทำให้มีปัสสาวะเป็นเลือดหรือมีโปรตีนรั่วออกทางปัสสาวะได้

ขั้นตอนการรักษา

โรคฮีน็อคในเด็กนี้มักจะหายเองได้โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และ ทันท่วงที ด้าน นพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กล่าวว่า ขึ้นกับความรุนแรง หากมีเพียงผื่นผิวหนัง ให้นอนพัก และ งดกิจกรรม เช่น เดินมาก วิ่ง และ กระโดด เป็นต้น หากมีอาการทางระบบอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ปัสสาวะผิดปกติ ต้องรักษาแบบคนไข้ใน โดยให้ยาลดการอักเสบ ในกลุ่มสเตียรอยด์ระยะสั้น

 โรคฮีน็อคในเด็ก

โรคฮีน็อคในเด็ก

วิธีการป้องกัน

เนื่องจากสาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด จึงไม่มีวิธีป้องกัน ผู้ปกครองควรสังเกตหากลูกมีผื่นแดงลักษณะดังกล่าว และ เป็นมากขึ้น หรือมีอาการต้องสงสัยควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

หากเกิดจาก พันธุกรรม ไม่สามารถป้องกันได้ แต่ถ้าหากเกิดจาก การติดเชื้อ ผู้ปกครองเด็กต้องระวังอย่าให้เด็กติดเชื้อหรืออย่าให้เด็กป่วยเป็นไข้หวัด พ่อแม่ต้องดูแลสุขอนามัยให้ลูกน้อยมีความแข็งแรงอยู่เสมอ และ หลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็น รวมถึงเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดและรีบนำเด็กพบแพทย์โดยเร็ว หากพบความผิดปกติ

การดูแลลูกน้อยในชีวิตประจำวัน

พ่อแม่ ต้องพยายามอย่ากังวล แต่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ให้มาก โดยการพาไปพบ คุณหมอ เพื่อตรวจร่างกายบ่อย ๆ จะได้ควบคุมโรค นี้ไม่ให้ลุกลามไปมากกว่าเดิม และ ต้องแจ้งให้กับครูที่โรงเรียนทราบด้วย เนื่องจากเด็กอาจไม่สามารถทำกิจกรรมหรือกีฬาบางอย่างขึ้นอยู่กับอาการของโรค

สำหรับหนูน้อยคนไหนที่ได้รับการรักษาด้วยยากลุ่ม คอร์ ติ โคส เตีย รอยด์ ควรจำกัดปริมาณของหวาน อาหารไขมันสูง และ อาหารรสเค็ม และ ให้ระวังช่วงอากาศที่เย็นเพราะจะทำให้กระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติได้ ไม่เพียงแค่นั้นเด็กกลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ หากมี การติดเชื้อ โดยเฉพาะอีสุกอีใส หรือ งูสวัด ควรรีบแจ้งแพทย์โดยเร็ว เพื่อที่จะได้รับการรักษาโดยยาต้านไวรัส

ชื่อลูกที่เกิดวันพุธกลางคืน

ชื่อลูกที่เกิดวันพุธกลางคืน

โรคฮีน็อคโรคคล้ายกับคาวาซากิ

โรคฮีน็อค และ โรคคาวาซากิ เป็นโรคที่เกิดจากโรคเส้นเลือดอักเสบเช่นเดียวกัน แต่ต่างกันตรงที่ โรคคาวาซากิ จะเกิดการอักเสบของหลอดเลือดขนาดกลางส่วนใหญ่ที่บริเวณหลอดเลือดที่เลี้ยงไต ลำไส้ สมอง และ หัวใจ และ ยังไม่สามารถหา วิธีป้องกันโรค ได้ ทั้งนี้ยังไม่ใช่โรคติดต่อ สำหรับ โรคฮีน็อค จะเกิดการอักเสบของหลอดเลือดขนาดเล็กรวมไปถึงหลอดเลือดฝอย

ลักษณะอาการของโรคคาวาซากิ

เด็กจะมีไข้สูงมากกว่า 5 วัน มีเยื่อบุตาแดง ปากแดง ริมฝีปากแห้งแตกคล้ายผิวสตอว์เบอร์รี่ มีผื่นแดงคล้าายลมพิษ ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต แต่ไม่เจ็บ และ จะเป็นแค่ข้างเดียว และ มีโอกาสพบโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และ หลอดเลือดหัวใจโป่งพองด้วย

 

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายเป็นปกติแต่มีบางส่วนที่อาการโรคกลับเป็นซ้ำ ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรค และ การดูแลตัวเองของผู้ป่วย ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับ การแนะนำว่าในช่วงแรกที่มีอาการต้องให้ความสำคัญกับการหลีกเลี่ยงการเดินมากๆ หรือวิ่ง ซึ่งพ่อแม่ควรพาไปพบ คุณหมอ เพื่อติดตามดูอาการอย่างต่อเนื่องเป็นปี เพื่อผลการรักษาที่ดีและลดการเป็นซ้ำของโรค

ที่มา: newtv, printo

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

วิธีล้างจมูก ระบายขี้มูก ช่วยให้จมูกโล่ง แบบไม่สำลักลงปอดลูก

วิธีปลุกลูกเข้าเต้า แบบไม่ให้ลูกร้องไห้งอแง

ลูกแรกเกิด – 3 เดือน ทารกน้อยติดเชื้อง่ายคุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังกันนะคะ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • โรคฮีน็อคในเด็ก อย่าคิดว่าแค่ผื่นธรรมดา..อันตรายหากถึงมือหมอช้า
แชร์ :
  • ลูกเป็นลม หมดสติ รับมืออย่างไร เด็กหน้ามืดจะเป็นอันตรายไหม?

    ลูกเป็นลม หมดสติ รับมืออย่างไร เด็กหน้ามืดจะเป็นอันตรายไหม?

  • ทำความเข้าใจ Baby Blue ทำไมหลังคลอด คุณแม่ไม่ร่าเริง

    ทำความเข้าใจ Baby Blue ทำไมหลังคลอด คุณแม่ไม่ร่าเริง

  • ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก รักษาด่วนก่อนเรื้อรัง

    ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก รักษาด่วนก่อนเรื้อรัง

app info
get app banner
  • ลูกเป็นลม หมดสติ รับมืออย่างไร เด็กหน้ามืดจะเป็นอันตรายไหม?

    ลูกเป็นลม หมดสติ รับมืออย่างไร เด็กหน้ามืดจะเป็นอันตรายไหม?

  • ทำความเข้าใจ Baby Blue ทำไมหลังคลอด คุณแม่ไม่ร่าเริง

    ทำความเข้าใจ Baby Blue ทำไมหลังคลอด คุณแม่ไม่ร่าเริง

  • ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก รักษาด่วนก่อนเรื้อรัง

    ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก รักษาด่วนก่อนเรื้อรัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ