X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคหนองใน หนองในเป็นยังไง? อันตรายไหม?

บทความ 5 นาที
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคหนองใน หนองในเป็นยังไง? อันตรายไหม?โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคหนองใน หนองในเป็นยังไง? อันตรายไหม?

theAsianparent พามาดู โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคหนองใน หนองในเป็นยังไง? อันตรายไหม? โรคหนองในเป็นยังไง เกิดจากการอะไร อันตรายมากไหม ดูกัน!

โรคหนองใน หรือ หนองในแท้ (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้มากถึง 50% ถือว่าเป็นอันดับต้น ๆ ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หลาย ๆชนิด โดยมีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria Gonorrhoeae สามารถเกิดได้ทั้ง เพศชาย และ เพศหญิง โดยจะเกิดจากการติดต่อจากอีกคนถึงอีกคน โดยเกิดจากการไม่สวมถุงยางอนามัย และ ได้สัมผัสสารคัดหลั่งจากคนที่มีเชื้อหนองใน ซึ่งส่วนใหญ่จะพบที่ บริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก ลำคอ และ เยื่อบุตา วันนี้ theAsianparent พามาดู โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคหนองใน หนองในเป็นยังไง? หนองในเป็นยังไง อันตรายไหม ?

 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคหนองในอันตรายไหม ?

โรคหนองในแท้ หรือ โรคโกโนเรีย (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้ในอันดับต้น ๆ โดยอาการของโรคหนองในนั้นส่วนใหญ่จะรุนแรง หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาก็อาจจะเป็นอันตรายได้ และ โรคหนองในนั้นจะเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยจากรายงานของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รวบรวมผู้ป่วยโรคทางเพศสัมพันธ์ใน ปี พ.ศ. 2551 พบมีผู้ป่วยเป็นโรคหนองใน 6,168 คน หรือ คิดเป็น 15.43% ของผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหมด

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหนองใน หนองในเป็นยังไง

โรคหนองในนั้นเกิดจากการติดเชื้อของแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไนซีเรีย โกโนเรียอี (Neisseria Gonorrhoeae) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โกโนค็อกคัส (Gonococcus) ที่สามารถตรวจพบได้ในน้ำอสุจิและสารน้ำในช่องคลอด และถ่ายทอดกันผ่านการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลัก โดยแบคทีเรียชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นและความอบอุ่นของอวัยวะสืบพันธุ์ เริ่มตั้งแต่ปากมดลูก มดลูก และปีมดลูก รวมถึงท่อปัสสาวะในฝ่ายหญิง และ ระบบสืบพันธุ์ของฝ่ายชายด้วย อีกทั้งเชื้อนี้ยังสามารถเติโตบริเวณอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น ทวารหนัก เยื่อบุตา ช่องปากคอ 

บทความที่เกี่ยวข้อง : หูดหงอนไก่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รักษาอย่างไร? อันตรายไหม?

 

วิดีโอจาก : Mahidol Channel มหิดล แชนแนล

 

กิจกรรมที่ทำให้มีการติดเชื้อหนองใน

โรคหนองในนั้นส่วนใหญ่จะเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ กับ ผู้มีเชื้อ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ผ่านการสัมผัสเยื่อบุช่องคลอด ช่องปาก ทวารหนัก องคชาต ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ต้องมีการหลั่งน้ำอสุจิก็ได้ นอกจากนี้ยังมีจากการติดเชื้อ จากแม่ไปสู่ลูกในระหว่างการคลอดผ่านการสัมผัสโดยตรง รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักอีกด้วย

 

กิจกรรมที่ไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อหนองใน

  • การจับมือ
  • การกอด
  • การจูบ
  • ใช้แก้วน้ำร่วมกัน
  • การใช้ห้องน้ำร่วมกัน
  • นั่งฝาโถส้วม
  • ใช้สระว่ายน้ำร่วมกัน

 

กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อหนองใน

  • กลุ่มวัยรุ่น
  • ผู้ติดยาเสพติด
  • มีคู่นอนมากกว่า 1 คน
  • มีเซ็กส์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย

 

อาการของโรคหนองในที่สังเกตเห็นได้

โรคหนองในที่สามารถเป็นได้ทั้งชาย และหญิง ส่งผลให้มีอาการที่สามารถสังเกตได้แตกต่างกันด้วย หากพบว่ามีอาการที่สุ่มเสี่ยง และมีพฤติกรรมเสี่ยง ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย หากพบว่าเป็นโรคหนองในจริงจะได้รับคำแนะนำในการรักษา และการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง

 

โรคหนองใน

 

อาการโรคหนองในของผู้ชาย

หลังจากได้รับเชื้อภายใน 2-10 วัน โดยจะมีระยะฟักตัวของโรค และแสดงอาการภายใน 2-10 วัน แต่โดยทั่วไปนั้นจะแสดงอาการใน 5 วัน นะคะ ผู้ชายจะมีอาการแสบในลำกล้องเวลาที่ปัสสาวะ หรือ มีอาการปัสสาวะขัด มีหนองไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ ในระยะแรก และจะมีอาการปวดและถุงอัณฑะบวม และ จะมีอาการอักเสบหนังหุ้มปลายองคชาตร่วมด้วย เพศชายประมาณ 10% ที่ติดหนองในสามารถแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่นได้

 

อาการโรคหนองในของผู้หญิง

ในช่วงแรก จะไม่แสดงออกมาให้เห็น แต่ในระยะต่อมาก็จะมีอาการตกขาวผิดปกติ เช่น มีหนองสีเหลือง สีเขียว มีกลิ่น และแสบร้อนทุกครั้งที่มีการปัสสาวะ โดย จะมีปัสสาวะขุ่น ปวดท้องน้อย มีไข้สูง และ ผู้หญิงสามารถแพร่เชื้อไปให้คนอื่นได้

 

หนองในอันตรายไหม

ความอันตรายของโรคหนองใน ขึ้นอยู่กับ ความใส่ใจของการดูแลสุขภาพ หากละเลย อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคข้ออักเสบติดเชื้อจากหนองใน อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเอดส์ และ ซิฟิลิส ได้มากกว่าบุคคลทั่วไปได้นะคะ

 

โรคหนองในอาจส่งผลกระทบที่ตามมาอย่างรุนแรงได้ ดังนั้นหากพบว่าเป็นโรคนี้จริง ต้องให้ความสำคัญกับการดูแลตนเองตามคำแนะนำของหมอ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

6 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พร้อมวิธีการป้องกัน ทำอย่างไรให้ไม่ติดโรค ?

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เริม เริมคืออะไร อันตรายยังไง ?

โรค HIV คือโรคอะไร ใช่โรคเอดส์ไหม ? มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง ?

ที่มาข้อมูล : 1 2 3

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

bossblink

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคหนองใน หนองในเป็นยังไง? อันตรายไหม?
แชร์ :
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส โรคซิฟิลิสอันตรายกว่าที่คิด

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส โรคซิฟิลิสอันตรายกว่าที่คิด

  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เริม เริมคืออะไร อันตรายยังไง?

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เริม เริมคืออะไร อันตรายยังไง?

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

app info
get app banner
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส โรคซิฟิลิสอันตรายกว่าที่คิด

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส โรคซิฟิลิสอันตรายกว่าที่คิด

  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เริม เริมคืออะไร อันตรายยังไง?

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เริม เริมคืออะไร อันตรายยังไง?

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ