X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เริม เริมคืออะไร อันตรายยังไง?

บทความ 5 นาที
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เริม เริมคืออะไร อันตรายยังไง?

เริม หรือ โรคเริม (Herpes) เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยมาก และเป็นโรคติดเชื้อทางผิวหนังที่เวลาป่วยจะรู้สึกอายจนไม่กล้าไปโรงพยาบาล ทั้งที่จริง ๆ แล้วโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วไป ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉพาะกับคนที่มีสุขภาพร่างกายอ่อนแอก็สามารถรับเชื้อได้จากการติดต่อทางสัมผัส หรือ แม้กระทั่งกินอาหารร่วมกัน วันนี้ theAsianparent พามาดู โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เริม เริมคืออะไร อันตรายยังไง?

 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เริม

 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เริม คืออะไร?

เริม (Herpes Simplex) เป็นโรคติดต่อของเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งของผิวหนัง และ เยื่อเมือกต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งการติดต่อของโรคเริม นั้นเกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสโดยการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วยโรคเริม เช่น สัมผัสโดนน้ำเหลืองจากตุ่มโรคเริม เช่น การดื่มน้ำแก้วเดียวกันกับผู้ป่วย ใช้หลอดอันเดียวกัน ใช้ลิปสติกแท่งเดียวกัน หรือ มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อเริมในร่างกาย

โดยเมื่อได้รับเชื้อเริมครั้งแรก เชื้อไวรัสจะเข้าสะสมที่เส้นประสาท โดยยังไม่แสดงอาการในตอนแรก แต่หากมีปัจจัยบางอย่างเข้ามากระตุ้น เชื้อไวรัสก็จะเริ่มเคลื่อนจากปมประสาทมาปลายเส้นประสาท และเกิดโรคที่ผิวหนัง หรือ เยื่อบุ ซึ่งโรคจะพบได้หลายตำแหน่ง แต่ที่พบได้บ่อยคือ บริเวณริมฝีปาก หรือ บริเวณอวัยวะเพศ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับหูด หูดหงอนไก่ ภัยเงียบสำหรับผู้หญิง

 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เริม

 

อาการของโรคเริม

โดยอาการของโรคเริมนั้นจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ติดเชื้อ อายุ ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย และ ชนิดของเชื้อไวรัส และ ถ้าเป็นการติดเชื้อครั้งแรก ก็จะมีอาการเป็นไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย และมีภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าผู้ป่วยที่เป็นมาซ้ำแล้ว

โดยอาการของ เริมที่ผิวหนัง จะพบการติดเชื้อซ้ำ (Reactivation) โดยบริเวณมักจะมีอาการปวดแสบร้อน และ ปวดเสีย มีน้ำตุ่มใสขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ๆ โดยจะมีผื่นแดง ต่อมาตุ่มน้ำใสจะกลายเป็นสีเหลืองขุ่นแล้วแตกกลายเป็นสะเก็ด ตำแหน่งที่พบบ่อย ได้แก่ ริมฝีปาก แก้ม จมูก ตา หู ก้น อวัยวะเพศ ซึ่งผื่นมักจะขึ้นอยู่ที่ตำแหน่งเดิมหรือบริเวณใกล้เคียง การเป็นเริมผิวหนังนั้นจะดูคล้ายตุ่มหนอง หรือ ฝี ซึ่งเป็นประมาณ 7-10 วัน ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการเป็นไข้บ้าง

 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เริม ที่ช่องปาก

เริมที่ช่องปากนั้นอาจจะเกิดขึ้นกับเด็กเล็กซึ่งจะเจ็บปาก ไม่ยอมดูดนม โดยจะมีตุ่มน้ำพุขึ้นที่เยื่อบุของริมฝีปาก เหงือก ลิ้น เพดานปาก มักจะมีอาการเหงือกบวมแดง ซึ่งบางครั้งอาจจะมีเลือดซึม และมีกลิ่นปาก โดย แผลเริมเหล่านี้มักจะหายไปได้เองภายใน 5-10 วัน แต่อาจจะกลับมากำเริบซ้ำได้อีก โดยจะกำเริบจะเกิดจากความเครียด พักผ่อนน้อย อ่อนเพลีย ถูกแดดจัด มีประจำเดือน เป็นไข้

 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เริม ที่อวัยวะเพศ

จัดเป็นโรคติดต่อทางเพศชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่จะเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยระยะฟักตัวของโรคจะได้เชื้อจนกระทั่งแสดงอาการประมาณ 2-10 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดหัว อ่อนเพลีย และ เกิดผื่นตุ่มบริเวณอวัยวะเพศ โดยมีอาการแสบ ๆ คัน ๆ มาก่อน โดยผู้ชายอาจจะเกิดขึ้นที่ปลายองคชาต ต้นขา ก้น รอบทวารหนัก หรือ ในท่อปัสสาวะ ส่วนผู้หญิงจะขึ้นปากช่องคลอด ก้น รอบทวารหนัก ในช่องคลอด หรือ ปากมดลูก โดยผื่นตุ่มจะมีลักษณะตุ่มนูน ตุ่มน้ำ หรือ แผลแดง ๆ คล้ายรอยถลอก อาจจะมีอาการเจ็บหรือคัน ต่อมาจะแห้ง จะมีสะเก็ดหรือไม่มีก็ได้ โดยจะอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะแสบขัด อาจจะมีหนองไหลจากช่องคลอดและท่อปัสสาวะ ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโตและเจ็บร่วมด้วย นอกจากนี้อาจจะพบรอยโรคได้ที่ก้น หน้าขา ขาหนีบ นิ้วมือ หรือตา ซึ่งจะเกิดในสัปดาห์ที่ 2

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส โรคซิฟิลิสอันตรายกว่าที่คิด

 

 

วิธีรักษาโรคเริม

การรักษาโรคเริมนั้น เน้นไปการรักษาตามอาการ เนื่องจาก เชื้อไวรัสอาจจะทำให้มีอาการไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลียได้ แต่หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการไข้สูง ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา โดยอย่างละเอียดและป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนและโรคอื่น ๆ

การรักษาสิ่งที่สำคัญที่สุดของโรคเริมนั้น คือการป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน โดยเฉพาะอวัยวะที่สำคัญ เช่น ดวงตา เพราะ การติดเชื้อเริมจะทำให้เกิดตุ่มใส และ หากติดเชื้อแทรกซ้อน อาจจะทำให้การทำลายอวัยวะที่ติดเชื้อได้ เช่น ติดเชื้อดวงตาสามารถทำให้ตาบอดหรือเสียการมองเห็นได้ เพราะฉะนั้นต้องระวังเรื่องภาวะแทรกซ้อนมากกว่า

 

โรคเริม นั้นเป็นโรคที่สามารถหายได้เองได้ แต่เริมนั้นสามารถกลับมาเกิดซ้ำแต่อาจจะไม่ได้รุนแรงมากนัก หากรู้ตัวว่าตัวเองเป็นโรคเริม ต้องดูแลร่างกายตัวเองให้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด และ ดื่มน้ำมาก ๆ ส่วนแผลจากการเกิดตุ่มน้ำ หากเป็นเริมในคอ แนะนำให้กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ และหากเป็นตุ่มแผล เริมที่ขา ก้น หรือ จมูก ควรอาบน้ำและทำความสะอาดแผลให้สะอาด เช่น ฟอกสบู่ และไม่ควรแกะหรือเกาตุ่มแผล ในกรณีที่มีไข้ สามารถรับประทานยาลดไข้เพื่อบรรเทาอาการได้ค่ะ

 

อ่านประสบการณ์จริงจากแม่ท้องที่เป็นฝีบริเวณอวัยวะเพศ

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

ฝีที่ขาหนีบ ฝีที่อวัยวะเพศหญิง อันตรายไหม ต้องไปหาหมอไหมคะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคพยาธิในช่องคลอด หรือ พยาธิในอวัยวะเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีอยู่จริง ๆ หากไม่ระวัง!

ต่อมบาร์โธลินอักเสบ ตุ่มก้อนปริศนาขึ้นที่อวัยวะเพศ โรคใกล้ตัวที่ผู้หญิงมองข้าม

วิจัยเผย บุหรี่มีผลต่อเซ็กส์ บุหรี่และสาเหตุของเซ็กส์เสื่อม อันตรายของบุหรี่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

bossblink

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เริม เริมคืออะไร อันตรายยังไง?
แชร์ :
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส โรคซิฟิลิสอันตรายกว่าที่คิด

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส โรคซิฟิลิสอันตรายกว่าที่คิด

  • หูดหงอนไก่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รักษาอย่างไร? อันตรายไหม?

    หูดหงอนไก่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รักษาอย่างไร? อันตรายไหม?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส โรคซิฟิลิสอันตรายกว่าที่คิด

    โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส โรคซิฟิลิสอันตรายกว่าที่คิด

  • หูดหงอนไก่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รักษาอย่างไร? อันตรายไหม?

    หูดหงอนไก่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รักษาอย่างไร? อันตรายไหม?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ