X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แพทย์เตือน! อาหารเสริมทารกที่ควรหลีกเลี่ยง

บทความ 3 นาที
แพทย์เตือน! อาหารเสริมทารกที่ควรหลีกเลี่ยง

เมื่อเจ้าตัวน้อยเข้าสู่วัยเริ่มหม่ำอาหารเสริม มาดูกันว่าอาหารอะไรบ้างที่เหมาะกับทารกและอาหารแบบไหนที่แพทย์ไม่แนะนำ

อะโวคาโด

อโวคาโด

ภาพประกอบ: pixabay

พ่อแม่หันมาเลือกอะโวคาโดเป็นอาหารเสริมสำหรับวัยทารกมากขึ้น เมื่อได้รู้ว่าอะโวคาโดเป็นซูเปอร์ฟู้ดที่มีคุณค่าทางสารอาหารมากมาย ไม่เฉพาะแต่เบบี๋เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ใหญ่ด้วย เนื่องจากอะโวคาโดอุดมไปด้วยโพแทสเซียม ไฟเบอร์ ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ และยังดีต่อหัวใจอีกด้วย

อะโวคาโดสามารถนำมาบดให้ละเอียดด้วยส้อม หรือหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าสำหรับทารกในวัย 8-9 เดือน เพื่อให้ลูกน้อยสนุกกับการเรียนรู้ที่จะหยิบอาหารเข้าปากด้วยตัวเอง ก็เป็นความคิดที่ดีเช่นกัน

คุณหมอ Altmann ยังแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่เตรียมกล้องถ่ายรูปให้พร้อม เพื่อเก็บภาพปฏิกิริยาเมื่อเจ้าตัวน้อยลิ้มลองอาหารเป็นครั้งแรกเอาไว้ดูตอนโตด้วยนะคะ

เนยถั่ว

เนยถั่ว

ข้าวโอ๊ต กล้วย และเนยถั่ว (ภาพประกอบ: pixabay)

คุณหมอ Altmann แนะนำว่า หากคนในครอบครัวไม่มีประวัติแพ้ถั่ว สามารถให้เจ้าตัวน้อยเริ่มกินถั่วได้เมื่ออายุ 6-7 เดือน

เนยถั่ว ไม่ใช่แค่อร่อยและสะดวก แต่ยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย เพราะเนยถั่วอุดมไปด้วยโปรตีนจากพืช ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ และวิตามินอี

คุณแม่อาจเริ่มให้ลูกกินเนยถั่วโดยละลายเนยถั่วหนึ่งช้อนชาลงในข้าวโอ๊ต ธัญพืชสำหรับทารกหนึ่งออนซ์

เมื่อเจ้าตัวน้อยอายุมากกว่า 8 เดือนจึงเริ่มให้ทาเนยถั่วลงบนขนมปัง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเนยถั่วจะมีเนื้อเนียน นุ่ม แต่ก็ฝืดคอและกลืนยากสำหรับเด็กเล็ก ดังนั้นควรทาแต่น้อย เพื่อป้องกันการติดคอค่ะ

ปลา

อาหารเสริม ปลา

ปลาแซลมอลปั่นกับบร็อคโคลี (ภาพประกอบ: pixabay)

เด็กจำนวนมากที่ไม่ได้เริ่มกินปลาตั้งแต่แรก ๆ มักลงเอยด้วยการไม่ชอบกินปลาเมื่อโตขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างมาก เพราะปลานั้นเป็นอาหารที่ดีต่อร่างกายจริง ๆ

ปลานั้นอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งช่วยในการพัฒนาสมองและตา คุณหมอ Altmann แนะนำว่า ปลาแซลมอนมีประโยชน์ต่อทารกที่สุด เพราะปลาแซลมอนเป็นแหล่งโปรตีน วิตามินดี และโอเม้กา-3 นอกจากนี้ ปลาแซลมอนยังมีปริมาณสารปรอทน้อยเมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่น ๆ

แต่คุณหมอกำชับว่า ในขั้นตอนการเตรียมอาหารที่ทำจากปลาแซลมอนนั้น  ต้องสะอาดและปรุงสุกเสมอ

สามารถนำปลาแซลมอนมาบดให้ละเอียดด้วยส้อม หรือเติมน้ำ เติมนมแม่ หรือน้ำซุปผัก เพื่อให้กลืนง่ายขึ้นก็ได้

คุณหมอ Altmann เล่าว่า ลูกชายของเธอในวัย 7 เดือนชอบกินปลาแซลมอนบดกับมันฝรั่งมาก คุณแม่อาจลองผสมผักสีเขียวอย่างบร็อคโคลีลงไปก็ได้เช่นกัน

อยากรู้แล้วใช่ไหมว่า แล้วอาหารอะไรที่ทารกควรหลีกเลี่ยง 

คุณอาจแปลกใจที่ได้รู้ว่าอาหารที่ใคร ๆ ก็ซื้อให้ลูกกิน จะเป็นอันตรายต่อเจ้าตัวน้อย คุณหมอ Altmann เตือนพ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหาร 2 ชนิด ต่อไปนี้

ซีเรียลที่ทำมาจากข้าวขาว

ซีเรียล

Dr. Altmann แนะนำให้เลือก ข้าวกล้อง หรือ ควินัวแทน (ภาพประกอบ: Daily Mom)

คุณแม่อาจแปลกใจว่าซีเรียลนั้นเป็นตัวเลือกยอดนิยมที่คุณแม่มักจะซื้อหามาป้อนให้เจ้าตัวน้อย เพื่อเสริมให้ลูกได้คุณค่าอาหารที่ครบถ้วน แล้วทำไมคุณหมอถึงไม่แนะนำ

เพราะคุณหมอเชื่อว่ามันเป็นตัวเลือกที่แย่ เพราะนอกเหนือจากความจริงที่ว่ามันไม่มีสารอาหารหรือรสชาติใด ๆ การบริโภคซีเรียลยังเป็นการเริ่มต้นนิสัยการรับประทานที่ไม่ดีให้แก่ทารกอีกด้วย และแม้ว่ามันจะมีทั้งเหล็กและสังกะสี แต่มันก็ยังคงไม่มีคุณค่าทางโภชนาการมากเท่ากับการบริโภคเนื้อสัตว์อยู่ดี

อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ยังเชื่อว่า ซีเรียลควรจะเป็นอาหารเสริมอย่างแรกของลูกน้อยแล้วละก็ ขอให้เลือกเป็นข้าวกล้องแทนข้าวขาวค่ะ

บทความจากพันธมิตร
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์

ข้าวกล้องไม่ได้แค่มีสารอาหารมากกว่า แต่การเริ่มต้นด้วยข้าวกล้อง (หรือควินัว) ยังทำให้ทารกคุ้นเคยกับรสชาติอาหารเพื่อสุขภาพเมื่อโตขึ้นอีกด้วย

บทความแนะนำ เมนูอร่อยจาก “ควินัว” ซุปเปอร์ฟู้ดสำหรับลูกรัก

ทั้งนี้ ทารกบางคนอาจท้องเสียเมื่อรับประทานข้าวกล้อง ดังนั้นคุณแม่ควรสังเกตปฏิกิริยาทางร่างกายของลูกที่มีต่ออาหารแต่ละชนิด โดยดูจากการขับถ่ายของลูก เป็นต้น

น้ำผลไม้

น้ำผลไม้

ภาพประกอบ: dreamstime

คำถามที่คุณหมอมักพบเป็นประจำคือ เมื่อไหร่ถึงจะให้ลูกกินน้ำผลไม้ได้?

คำตอบของคุณหมอคือ “ไม่ควรกินเลย”

คำตอบข้างต้นอาจทำให้คุณแม่แปลกใจอีกแล้วใช่ไหมคะ เนื่องจากคุณหมอเชื่อว่า การให้เจ้าตัวน้อยทานน้ำผลไม้เป็นการสร้างนิสัยการกินที่ไม่ดีต่อทารก เพราะอาจทำให้เจ้าตัวน้อยติดหวานได้ แม้น้ำผลไม้คั้นสดจะไม่ได้ผสมน้ำตาล แต่ก็มีน้ำตาลธรรมชาติอยู่ในตัวเองจำนวนมาก

การกินผลไม้เป็นลูก ๆ นั้นจะได้ไฟเบอร์ ซึ่งช่วยลดการดูดซึมน้ำตาล เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ต่างจากน้ำผลไม้ไม่มีกากใยที่ให้ไฟเบอร์ จึงเท่ากับว่าเจ้าตัวน้อยกินน้ำตาลเข้าไปเต็ม ๆ เมื่อเทียบกับการกินผลไม้เป็นลูกจะได้รับน้ำตาลน้อยกว่า

ถ้าอย่างนั้น ทารกควรดื่มอะไร?

คำตอบคือ น้ำเปล่าค่ะ

คุณหมอ Altmann แนะนำให้ทารกเริ่มดื่มน้ำเปล่าหลังอายุ 6 เดือน การดื่มน้ำมาก ๆ เป็นการฝึกนิสัยที่ดีต่อสุขภาพก่อนที่เจ้าตัวน้อยได้ตั้งแต่ก่อนจะเข้าสู่วัย 1 ขวบ

คุณแม่เริ่มอาหารเสริมให้ลูกน้อยอย่างไรบ้าง แบ่งปันประสบการณ์ให้แก่คุณแม่ท่านอื่น ๆ ได้ที่คอมเมนต์ด้านล่างค่ะ

ที่มา sg.theasianparent.com

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ

อันตรายจากการป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไป

วิธีเลือกผลไม้สำหรับวัยเริ่มอาหารเสริม

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • แพทย์เตือน! อาหารเสริมทารกที่ควรหลีกเลี่ยง
แชร์ :
  • ของใช้เด็กอ่อน เหล่านี้ อันตราย ภัยร้ายใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ของใช้เด็กอ่อน เหล่านี้ อันตราย ภัยร้ายใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 10 อาหารทำร้ายสมองอะไรบ้างที่ควรหลีกเลี่ยง

    10 อาหารทำร้ายสมองอะไรบ้างที่ควรหลีกเลี่ยง

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ของใช้เด็กอ่อน เหล่านี้ อันตราย ภัยร้ายใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ของใช้เด็กอ่อน เหล่านี้ อันตราย ภัยร้ายใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 10 อาหารทำร้ายสมองอะไรบ้างที่ควรหลีกเลี่ยง

    10 อาหารทำร้ายสมองอะไรบ้างที่ควรหลีกเลี่ยง

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ