X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เลือดในน้ำนม จะให้นมลูกได้ไหม ปลอดภัยหรือไม่ ถ้านมมีเลือด ?

บทความ 5 นาที
เลือดในน้ำนม จะให้นมลูกได้ไหม ปลอดภัยหรือไม่ ถ้านมมีเลือด  ?

เลือดในน้ำนม นั้นอาจน่ากลัวเมื่อเห็นในตอนครั้งแรก แต่เลือดที่ปนมาในน้ำนมนั้นเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะสำหรับคุณแม่มือใหม่ เลือดในน้ำนมนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคใด ๆ  และเลือดที่ปนมากับน้ำนมนั้นมักมองไม่เห็น ยกเว้นจะเห็นจากการปั๊มนมหรือจากน้ำนมที่เด็กบ้วนออกมาครับ

 

รู้หรือไม่ น้ำนมแม่ไม่ได้มีแค่สีเดียว ?

จากรายงาน “ศิลปะการให้นมของสตรี” โดย La Leche League ระบุว่าเลือดที่ปนเปื้อนนั้นปลอดภัยอีกทั้งสมาคมการให้นมบุตรแห่งออสเตรเลียยังระบุว่าน้ำนมนั้นมีหลายสี และเปลี่ยนสีอยู่เรื่อย ๆ นมเพิ่มความสูงมักจะมีสีเหลือง ขณะที่น้ำนมธรรมชาติจะมีสีขาวออกฟ้า และเลือดที่ปนมาในน้ำนมนั้นสามารถเปลี่ยนสีน้ำนมให้กลายเป็นสีแดง สีชมพู สีน้ำตาล สีส้ม หรือสีเขียวได้ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อย นอกจากนี้ น้ำนมยังสามารถเปลี่ยนสีได้ตามอาหารที่แม่บริโภคด้วยเช่นกัน

ลูกน้อยมักจะบ้วนนมที่มีเลือดผสมออกมาก หรือเลือดอาจเข้าสู่ระบบย่อยอาหาร หลายครั้งเด็กจะอาเจียนออกมาเป็นเลือดหรือมีอุจจาระสีดำ หากเด็กดื่มนมที่มีเลือดปนมาก แต่ก็ไม่เป็นอันตรายนะครับ อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพราะโรคต่าง ๆ สามารถส่งผ่านต่อลูกน้อยได้ทางน้ำนม เช่น โรคเอดส์ ไวรัสตับอักเสบ หรืออาการติดเชื้อต่าง ๆ หากคุณแม่มีโรค หรือสงสัยว่าเป็นโรคดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง : สีของน้ำนมแม่ น้ำนม ใส ที่ปั๊มออกมา ลูกจะกินได้ไหม ทำไมนมแม่มีหลายสี

 

วิดีโอจาก : พี่กัลนมแม่ Pekannommae mother and child care

 

คุณแม่ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อพบ เลือดในน้ำนม

จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า หากคุณแม่สังเกตเลือดปะปนออกมากับน้ำนม อาจเป็นสัญญาณของบางโรคด้วย ดังนั้นจึงต้องคอยสังเกตให้ดี หากมีอาการอื่น ๆ ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย แต่ในเบื้องต้นให้ทำตามวิธี ดังต่อไปนี้

 

  • คุณแม่สามารถปั๊มนมต่อไปได้ หากพบเลือดในน้ำนมในปริมาณน้อย
  • หากลูกน้อยไม่มีอาการอาเจียน คุณแม่ก็สามารถให้นมต่อได้
  • ลองเปลี่ยนท่าในการให้นมให้ถูกต้อง
  • คุณแม่ลองสังเกตตัวเองว่ามีไข้ อาการบวม หรือตัวแดงหรือไม่
  • หากคุณแม่มีอาการเต้านมอักเสบ และรับประทานยาแก้อักเสบ อาจทำให้ท่อน้ำนมตันและไม่สามารถให้นมได้ชั่วคราว
  • ทาลาโนลีนที่หัวนม เพื่อหลีกเลี่ยงหัวนมแห้ง หรือแตก
  • หากรู้สึกเจ็บระหว่างให้นม คุณควรหยุดให้นมเพื่อให้หัวนมหายดี ใช้แผ่นรองเต้านมไฮโดรเจลหรือใช้ครีมที่ปลอดภัยครับ
  • หากอาการยังไม่ดีขึ้นใน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์

 

สาเหตุที่ทำให้มีเลือดปนกับน้ำนม

  • เกิดจากหัวนม และลานนมได้รับบาดเจ็บจากอาการต่าง ๆ เช่น หัวนมแตก หรือโดนกัด เป็นต้น
  • ภาวะ Rusty pipe syndrome เป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว ทำให้สีของนมเปลี่ยนไปได้ โดยมากจะพบในแม่ที่เพิ่งให้นมลูก
  • เส้นเลือดฝอยที่เต้านมแตก จากการเลือกใช้เครื่องปั๊มนมผิดขนาด หรือเกิดจากอาการบาดเจ็บ
  • เกิดภาวะเต้านมอักเสบ หรือพบมีการติดเชื้อขึ้นภายในเต้านม เป็นต้น
  • เกิด Intraductal papilloma หรือเนื้องอกในท่อน้ำนม อาจทำให้มีเลือดไหลออกมา
  • มะเร็งเต้านมและมะเร็งที่หัวนม และลานนม ทำให้มีเลือดออก และมีแผลเรื้อรังที่เต้านม

บทความที่เกี่ยวข้อง : หัวนมแตก ต้องหยุดให้นมลูกหรือไม่ ? แล้วควรทำอย่างไรดี

 

เลือดในน้ำนม

 

อาหารที่สามารถเปลี่ยนสีน้ำนม

นอกจากความผิดปกติที่เป็นสัญญาณของโรคร้าย สีของน้ำนมที่ออกมานั้น ยังสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จากการมื้ออาหารของคุณแม่ที่ทานเข้าไป หรือเกิดจากตัวยาบางชนิดได้ด้วย ได้แก่

 

  • น้ำนมสีชมพู เกิดจากอาหารสีสดเช่น บีทรูท
  • น้ำนมสีเหลือง เกิดจากอาหารสีส้ม เช่น แครอท ฟักทอง
  • น้ำนมสีเขียว เกิดจากผักสีเขียว เช่น สาหร่ายทั้งในรูปแบบอาหาร หรือวิตามิน และอาหารผสมสีฟ้า
  • น้ำนมสีดำ เกิดจากยาบางชนิด
  • น้ำนมสีขาวสว่าง เกิดจากนมที่ผลิตมานาน

 

Linda Palmer ผู้แต่งหนังสือเรื่อง “อุจจาระเด็ก : สิ่งที่คุณหมอไม่ได้บอกคุณ” ระบุว่าสีจากอาหารธรรมชาตินั้นปราศจากอนุมูลอิสระ และสามารถบริโภคได้ โดยสีดังกล่าวผ่านระบบย่อยของแม่และส่งต่อสู่ลูก แบคทีเรีย serratia marsescens เป็นอีกสาเหตุให้น้ำนมเป็นสีชมพูหรือแดง ซึ่งไม่เป็นอันตรายกับเด็กที่คลอดแล้ว แต่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ การเก็บรักษานมอย่างไม่ถูกวิธีก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดแบคทีเรีย ซึ่งหากลูกน้อยรับประทานนมที่ปนเปื้อนแบคทีเรีย ก็จะทำให้เด็กไม่สบายได้ ดังนั้น คุณแม่ควรแช่นมและอุปกรณ์ให้นมในตู้เย็นเพื่อป้องกันแบคทีเรียนะครับ

 

สามารถเก็บรักษานมที่มีเลือดปนเปื้อนได้หรือไม่

คุณแม่ที่ไม่ได้ตรวจพบโรคใด ๆ อาจเป็นกังวลว่าถ้าหากน้ำนมมีเลือดปนออกมาอยู่ในระหว่างที่ปรับตัวนั้น คุณแม่ไม่จำเป็นต้องนำนมไปทิ้ง คุณแม่สามารถเก็บนมที่มีเลือดปนได้ตามปกติ หากเลือดไม่ได้มีปริมาณมาก แต่รสชาติ และกลิ่นจะเหมือนกับเหล็ก และลูกน้อยอาจจะไม่ชอบเท่าไหร่นัก เนื่องจากทารกบางคนมีความชอบ และไม่ชอบกลิ่นของนมที่แตกต่างกัน นอกจากนี้รสชาติจะยิ่งแรงขึ้น เมื่อนำนมแช่เย็นไว้

นอกจากนี้คุณแม่บางท่านอาจสงสัยว่าเลือดที่ปนมากับอุจจาระเกิดจากเลือดที่ปนมาในน้ำนมหรือไม่ หากคุณแม่เห็นเลือดติดมากับผ้าอ้อมหรืออุจจาระลูกน้อยเพียงเล็กน้อย ลองดูน้ำนมของคุณแม่ว่ามีเลือดปนมาหรือไม่ ถ้าหากมีเลือดปนมากับน้ำนม ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน

 

สีของน้ำนมแม่ที่เปลี่ยนไปจากการปะปนของเลือด ไม่ใช่สิ่งที่มองข้ามได้ หากมีปริมาณมาก หรือคุณแม่มีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ หากพบโรคจะได้ทำการรักษาต่อไป

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คำถามยอดฮิตของแม่มือใหม่ จะรู้ได้อย่างไร ว่าลูกได้รับนมแม่เพียงพอ ?

การเก็บน้ำนมแม่ เก็บอย่างไรให้คงประโยชน์ ป้อนลูกอย่างไรไม่ให้โปรตีนสลาย

ลูกกินนมไม่หมด นมแม่ นมผง ลูกกินแล้วเหลือ ทำอย่างไรดี ?

ที่มา 1, 2, 3

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เลือดในน้ำนม จะให้นมลูกได้ไหม ปลอดภัยหรือไม่ ถ้านมมีเลือด ?
แชร์ :
  • ปั๊มนมแล้วมีเลือดปน แบบนี้ให้ลูกกินได้ไหม

    ปั๊มนมแล้วมีเลือดปน แบบนี้ให้ลูกกินได้ไหม

  • ยาปลอดภัยสำหรับเเม่ อาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูก เเม่ท้องไม่ควรใช้ยาจริงหรือไม่

    ยาปลอดภัยสำหรับเเม่ อาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูก เเม่ท้องไม่ควรใช้ยาจริงหรือไม่

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ปั๊มนมแล้วมีเลือดปน แบบนี้ให้ลูกกินได้ไหม

    ปั๊มนมแล้วมีเลือดปน แบบนี้ให้ลูกกินได้ไหม

  • ยาปลอดภัยสำหรับเเม่ อาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูก เเม่ท้องไม่ควรใช้ยาจริงหรือไม่

    ยาปลอดภัยสำหรับเเม่ อาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูก เเม่ท้องไม่ควรใช้ยาจริงหรือไม่

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ