X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกกินนมไม่หมด นมแม่ นมผง ลูกกินแล้วเหลือ ทำอย่างไรดี ?

บทความ 5 นาที
ลูกกินนมไม่หมด นมแม่ นมผง ลูกกินแล้วเหลือ ทำอย่างไรดี ?

ทำอย่างไรดี ลูกกินนมไม่หมด จะให้ลูกนำมากินต่อได้ไหม ทั้งนมแม่ที่ปั๊มไว้ และนมผง ต้องระวังอะไรบ้าง ทำอย่างไรให้มีปริมาณนมที่พอดีต่อความต้องการของลูกน้อย รวมไปถึงอันตรายหากลูกน้อยกินนมบูดที่ต้องระวัง เรื่องเหล่านี้หากผู้ปกครองยังไม่รู้ สามารถหาคำตอบได้ในบทความนี้เลย

 

ปั๊มนมไว้ให้ลูกกิน ลูกกินนมไม่หมด จะเป็นไรไหม ?

หลังจากคุณแม่ปั๊มนม และเก็บรักษาได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน โดยการนำนมแม่ที่เก็บไว้ออกมาให้ลูกกิน แน่นอนว่าต้องโฟกัสที่วัน / เวลา ที่แปะเอาไว้ในแต่ละขวดด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียจากระยะเวลาของนมแม่ที่ปั๊มไว้ เมื่อนำมาอุ่นเรียบร้อยแล้ว และให้ลูกกิน แต่ลูกกินไม่หมด กินเหลือ ผู้ปกครองอาจเกิดความเสียดาย แต่หากลูกกินไม่หมดจริง ๆ ไม่ควรทิ้งไว้นาน ๆ แล้วให้ลูกกินใหม่ สามารถเก็บไว้ต่อได้ อีกแค่ 2 ชั่วโมง หรือถ้าวางไว้ในห้องแอร์ จะเก็บไว้ต่อได้อีก 4 ชั่วโมงเท่านั้น หลังจากนั้นผู้ปกครองจำเป็นต้องทิ้งนมแม่ขวดนั้น เนื่องจากมีความเสี่ยงของการสะสมแบคทีเรียที่ หรือเชื้อจุลินทรีย์บริเวณขวดนม จนทำให้ลูกน้อยมีอาการป่วยได้

 

บริหารนมแม่ให้พอดี ไม่ให้ลูกกินเหลือทิ้ง

การปั๊มนมให้พอใช้ ไม่มากเกินไป อาจทำให้เสี่ยงเหลือได้ คุณแม่ต้องประมาณปริมาณการกินนมของลูกน้อยแต่ละคน ซึ่งอาจไม่เหมือนกัน จากนั้นเมื่อต้องการใช้งาน ให้นำนมแม่ที่ถูกปั๊มไว้ครั้งแรกออกมาใช้ก่อน หากคุณแม่หยิบนมแม่ตามสะดวก ไม่ได้เรียงตามวัน จะทำให้นมแม่ขวด / ซองอื่นบูดเสียได้ เนื่องจากนมที่ปั๊มออกมา จะมีอายุอยู่ได้เพียง 5 วัน (ใส่ในตู้เย็นช่องธรรมดา) โดยมีเทคนิค คือ ให้เขียนวันที่ หรือเวลาที่ปั๊มนม หรือเวลาที่จะหยิบไปใช้งาน แปะเอาไว้ข้างขวด / ซอง เพื่อเตือนความจำ และไม่ควรปั๊มทิ้งไว้ในปริมาณมากจนล้นตู้เย็น ควรปั๊มไว้ให้พอใช้เท่านั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีเก็บรักษานมแม่ เก็บนมแม่อย่างไรให้อยู่ได้นาน ลูกกินแล้วท้องไม่เสีย

 

วิดีโอจาก : พี่กัลนมแม่ Pekannommae mother and child care

 

ลูกกินนมผงไม่หมด ทำอย่างไรดี ?

หากเป็นนมผงที่ชงแล้ว ให้เด็กกินไปแล้ว จะไม่สามารถเก็บได้นาน ควรให้เด็กกินภายใน 1 ชั่วโมง หากเลยกว่านั้นจำเป็นต้องทิ้งไป ส่วนนมผงที่ชงไว้ แต่ยังไม่ได้ให้ลูกกิน ชงไว้แล้วนำไปแช่เย็นในทันที ควรปิดฝาให้มิดชิด และนำไปแช่ในอุณหภูมิ 2 – 4 องศาเซลเซียส ห้ามแช่ในช่องน้ำแข็ง หากเก็บรักษานมผงที่ชงแล้วด้วยวิธีนี้จะอยู่ได้ 24 ชั่วโมง กรณีคุณแม่ชงนมวางทิ้งไว้ ไม่ได้แช่เย็น และลูกน้อยยังไม่ได้กินด้วย การตั้งนมทิ้งไว้แบบนี้ ควรให้ลูกกินภายใน 2 ชั่วโมง

นอกจากการเก็บนมผงที่ชงแล้ว เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย ผู้ปกครองต้องระมัดระวังการเก็บผลิตภัณฑ์นมผงด้วย เพื่อเลี่ยงเชื้อโรคที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อลูก ควรเก็บให้อยู่ในที่มิดชิด สะอาด ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทุกอย่าง ทุกครั้งที่จะใช้ เช่น กรรไกร หรือที่ตัก เป็นต้น หลังใช้เสร็จแล้วให้ปิดสนิท ห้ามเก็บไว้ในที่ชื้น ควรเก็บไว้ในที่แห้ง เท่านี้ลูกน้อยก็ปลอดภัยจากการทานนมผงมากขึ้นแล้ว

 

เผลอให้ลูกกินนมผงบูด ทำอย่างไรดี ?

หากผู้ปกครองเผลอให้ลูกกินนมบูดเข้าไป แน่นอนว่าไม่ใช่ผลดีต่อตัวของลูกน้อย หากนมบูดไม่มาก หรือกินในปริมาณน้อย ก็มีโอกาสที่ลูกจะไม่ได้แสดงอาการผิดปกติใด ๆ แต่ผู้ปกครองยังคงต้องสังเกตอยู่ และควรพาไปพบแพทย์หากมีความกังวล หากนมบูดมาก หรือลูกกินในปริมาณที่มาก จะยิ่งมีโอกาสแสดงอาการมากขึ้น สังเกตจากอาการร้องไห้งอแง, ถ่ายเหลวถ่ายผิดปกติ, แหวะนม, อ้วก, มีอาการซึม และมีไข้ หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์ทันที เพราะเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร

ปัญหานมผงบูดนั้นอาจเกิดขึ้นได้โดยผู้ปกครองไม่รู้ตัว เนื่องจากโดยเฉลี่ยแล้วนมผงหลังจากเปิดกล่องแล้ว จะมีอายุใช้งานอยู่ที่ประมาณ 1 เดือนเท่านั้น (หลังเปิดใช้งาน) แม้ว่าจะยังไม่ถึงกำหนดวันหมดอายุใต้กล่องก็ตาม ผู้ปกครองจึงต้องสังเกตระยะเวลาที่ใช้งานด้วย หรือดูสีของนมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือมีกลิ่นเปรี้ยว เป็นต้น แต่ถ้าหากยังไม่เปิดใช้งานจะสามารถเก็บไว้ได้นาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบ และวิธีการเก็บรักษาด้วยว่าถูกต้องหรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้อง : นมผงทารก นมผงดัดแปลง เลือกสูตรไหน แม่จะรู้ได้ยังไงว่าลูกแพ้นมผง

 

ลูกกินนมไม่หมด

 

การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารจากนมบูด

นอกจากการกินนมบูด การติดเชื้อยังเกิดได้จากการล้างขวดนมของลูกที่ไม่สะอาด จนเกิดการปนเปื้อนของแบคทีเรีย หรือสิ่งสกปรกอื่น ๆ หลังจากพาลูกไปพบแพทย์แล้ว หรือระหว่างเดินทางไปพบแพทย์ สามารถช่วยบรรเทาอาการของลูกน้อยได้ด้วยการให้ลูกดื่มน้ำผสมเกลือแร่ หลังจากที่ลูกอาเจียน หรือถ่ายเหลว สามารถสลับกับการกินนมได้ จะสามารถช่วยลดโอกาสภาวะร่างกายขาดน้ำในเด็กได้ระดับหนึ่ง เพียงพอที่จะให้อาการไม่ทรุดลงระหว่างเดินทางไปพบแพทย์

 

ความเสียดายไม่ว่าจะนมแม่ หรือนมผง อาจเป็นที่มาของความเสี่ยง เพราะไม่ต้องการทิ้งนม เลยพยายามเก็บไว้ อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยได้ ผู้ปกครองต้องคำนึงถึงความปลอดภัยก่อน หากจำเป็นต้องทิ้งนม ก็ไม่ควรหลีกเลี่ยง แต่ให้ปรับเปลี่ยนปริมาณที่เก็บรักษานมแทนจะเหมาะสมกว่า

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

น้ำนมแม่เก็บไว้ได้นานแค่ไหน มีวิธีการเก็บอย่างไร ให้อยู่ได้นานและดีที่สุด

4 เรื่องที่ควรรู้ไว้ก่อนซื้อเครื่องปั๊มนม หลังคลอดเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมแบบไหนดี

การเลือกขวดนม และจุกนมที่คุณแม่ควรรู้!! ขวดนมเด็กแรกเกิด เลือกยังไง ?

ที่มาข้อมูล : 1 , 2

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • การให้นมลูก
  • /
  • ลูกกินนมไม่หมด นมแม่ นมผง ลูกกินแล้วเหลือ ทำอย่างไรดี ?
แชร์ :
  • 62 ชื่อลูกผู้หญิงโปรเตสแตนต์ ชื่อลูกสาวแห่งความศรัทธา

    62 ชื่อลูกผู้หญิงโปรเตสแตนต์ ชื่อลูกสาวแห่งความศรัทธา

  • แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
    บทความจากพันธมิตร

    แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?

  • คนท้องกินข้าวเหนียวมะม่วงได้ไหม กินเพลิน ๆ ระวังเสี่ยงเบาหวาน !

    คนท้องกินข้าวเหนียวมะม่วงได้ไหม กินเพลิน ๆ ระวังเสี่ยงเบาหวาน !

  • 62 ชื่อลูกผู้หญิงโปรเตสแตนต์ ชื่อลูกสาวแห่งความศรัทธา

    62 ชื่อลูกผู้หญิงโปรเตสแตนต์ ชื่อลูกสาวแห่งความศรัทธา

  • แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
    บทความจากพันธมิตร

    แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?

  • คนท้องกินข้าวเหนียวมะม่วงได้ไหม กินเพลิน ๆ ระวังเสี่ยงเบาหวาน !

    คนท้องกินข้าวเหนียวมะม่วงได้ไหม กินเพลิน ๆ ระวังเสี่ยงเบาหวาน !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ