X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เลยกำหนดคลอด ไปอีกนิดอย่าเพิ่งกังวล สิ่งที่แม่ท้องทำได้ระหว่างรอเจ็บท้องคลอด

บทความ 5 นาที
เลยกำหนดคลอด ไปอีกนิดอย่าเพิ่งกังวล สิ่งที่แม่ท้องทำได้ระหว่างรอเจ็บท้องคลอด

ในทางการแพทย์นั้นอายุครรภ์ที่สมบูรณ์จะอยู่ระหว่างสัปดาห์ที่ 37 - 41 สัปดาห์และเลยกำหนดไปอีกไม่เกิน 6 วัน เมื่อคำนวณจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มาอย่างปกติ ส่วนการตั้งครรภ์ตั้งแต่ 42 สัปดาห์ขึ้นไป จัดว่าเป็นการตั้งครรภ์เกินกำหนด

การผ่าน เลยกำหนดคลอด ไปนั้นสามารถสร้างผลกระทบทางจิตให้กับแม่ที่ตั้งครรภ์ได้ไม่น้อย เพราะคุณแม่ใช้เวลาเป็นเดือนเพื่อที่จะนับถอยหลังในแต่ละวันเพื่อจะรอพบลูกน้อย แต่เพียงไม่กี่วันหลังจากกำหนดคลอดที่ยังไม่มีสัญญาณคลอดใด ๆ ยังไม่มีการหดตัวของมดลูก ทำให้ดูเหมือนเวลานั้นยาวนานมากขึ้น นี่คือความคิดดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณแม่ลดความกังวลลง และ พยายามที่จะเติมเต็มช่วงเวลาหลังจากเลยกำหนดคลอดมา เพื่อทำให้คุณแม่มีความสุขมากขึ้นก่อนที่จะได้เจอกันกับเจ้าตัวน้อย

เลยกำหนดคลอด

เลยกำหนดคลอด ไปอีกนิด อย่าเพิ่งกังวล 7 สิ่งที่แม่ท้องทำได้ระหว่างรอเจ็บท้องคลอด

1. สวีทหวานกับสามี

ใช้ช่วงเวลานี้ออดอ้อนสามีให้กำลังใจกัน และ กันในช่วงเวลาที่จะใกล้คลอดลูกในอีกไม่ช้า เพื่อให้คลายกังวลในช่วงนี้ลง และ สร้างความทรงจำดี ๆ ร่วมกันกับการที่จะเป็นพ่อแม่มือใหม่ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

2. เรียกบรรดาเพื่อนสาวมาร่วมตัว

แน่นอนว่าทั้งตัวคุณแม่เอง สามี และ ญาติพี่น้องต่างก็ตื่นเต้นในเวลาอันใกล้คลอดนี้ ยังรวมถึงบรรดาเพื่อนสาวทั้งหลายที่กำลังจะกลายเป็นคุณน้า คุณป้าในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี่ด้วย โทรนัดเพื่อน ๆ ของคุณมาร่วมตัวกันเพื่อกินข้าวกลางวันที่บ้าน สร้างเสียงหัวเราะร่วมกัน เพราะหลังคลอดแล้วคุณอาจจะไม่มีเวลาเหล่านี้อีกซักพักเลยล่ะ

เลยกำหนดคลอด

3. สำรวจความพร้อม

เลยกำหนดมานิดหน่อยมันทำให้คุณแม่มีเวลาสำรวจตัวเอง และ เตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดเจ้าตัวน้อย เช็กลิสต์ในกระเป๋าที่จะเอาไปโรงพยาบาล และ พาตัวเองเปลี่ยนโฉม เช่น การม้วนผม ดัดผมด้วยโรลเองที่บ้าน แต่งตัวสวย ๆ รอสามีกลับบ้าน พยายามหาอะไรทำให้เพลิดเพลินให้หายกังวลใจ

4. ออกไปเดินเล่น

หาที่พักผ่อนใกล้บ้านเดินเล่นชิล ๆ ให้คลายกังวล และ การเดินจะช่วยให้ทารกในท้องเอาหัวทิ่มลงมาที่ปากมดลูก เป็นวิธีที่จะช่วยกระตุ้นให้แม่เร่งคลอด และ เจ็บท้องได้เร็วขึ้น

5. นอนให้มากขึ้น

การนอนพักผ่อน คือสิ่งดี ๆ สำหรับแม่ท้อง ในช่วงนี้คุณอาจจะเพิ่มชั่วโมงการนอนขึ้นอีกนิด  งีบหลับอย่างสบาย ๆ และ เข้านอนแต่หัววัน เพราะถ้ามัวแต่กังวลจนนอนดึก หรือตื่นมาเป็นล้านครั้งในตอนกลางคืน เมื่อถึงเวลาเจ็บท้องคลอดอาจไปด้วยอาการเพลีย นอนไม่พอ ได้นะ

6. เตือนตัวเองว่ายังเป็นปกติ

หากคุณแม่ยังไม่มีสัญญาณเจ็บท้องคลอด และ เลยกำหนดคลอดจากวันที่หมอประเมินเอาไว้ ซึ่งในแม่ท้องแรกการตั้งครรภ์จะใช้เวลาประมาณ 288 วัน (41 สัปดาห์ กับ 1 วัน) โดยเฉลี่ย แต่ถ้าเลยจากเวลานี้ไปไม่กี่วัน (ไม่เกิน 6 วัน) ยังถือว่าเป็นปกติ เพราะกำหนดคลอดจะคำนวณจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มาอย่างปกติ แต่หากประจำเดือนมาไม่แน่นอน ก็อาจมีการคลาดเคลื่อนของกำหนดคลอดได้ ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจยืนยันอายุครรภ์จากการอัลตร้าซาวด์ในช่วงสัปดาห์ที่ 20 ให้

เลยกำหนดคลอด

7. หาข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับเบบี๋ การเลี้ยงลูก การเปลี่ยนผ้าอ้อม การให้นมแม่

ใช้ช่วงเวลานี้ศึกษาเรื่องเหล่านี้เพิ่มเติมสำหรับเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับเจ้าตัวน้อย แน่นอนว่าเมื่อเจอกับของจริงข้อมูลจากสิ่งที่คุณอ่านอาจจะไม่เป๊ะทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็พอทำให้คุณรู้ได้บ้างว่า จะต้องเจอกับอะไรหลังคลอด

ถ้าตอนนี้คุณแม่กำลังถึงวันใกล้กำหนดคลอดอย่าเพิ่งกังวลไปเลย เพราะการเลยกำหนดคลอดนั้นพบได้ไม่มาก เพียงประมาณ 10% ของแม่ตั้งครรภ์ทั้งหมด สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดก็คือ การที่แม่ท้องจำวันแรกที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายไม่ได้หรือจำวันผิด ทำให้คำนวณอายุครรภ์ผิดไปนั่นเอง

จัดกระเป๋าเตรียมคลอด

สำหรับคุณแม่ที่ใกล้ถึงกำหนดคลอด คุณแม่หลายๆคน คงมีความกังวลอยู่ไม่น้อยว่า ต้องเตรียมตัวอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง เพราะบางครั้งก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหนก่อน เชื่อว่าหลายคนคงลืมนึกถึงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่จะต้องจัดเตรียมไปใช้สำหรับการคลอด แต่หากไม่เตรียมอะไรไว้เลย ในวันคลอดคงฉุกละหุกกันน่าดู ของที่ต้องเตรียมทั้งของคุณแม่ และ ของลูกน้อยเองก็จำเป็นเหมือนกัน

มี 2 อย่างสำคัญที่อยากให้เตรียมไว้เนิ่นๆก่อนคลอด คือ 

1.  แผ่นปูซับน้ำคร่ำ (มีของเด็กขายคือผ้าปูรองกันฉี่แบบใช้เเล้วทิ้ง) แบบใช้เเล้วทิ้ง สัก 1-2 ห่อ ปูรองที่นอนไว้ เผื่อน้ำเดินฉุกเฉินเตรียมส่วนนึงไว้ในรถ เพื่อปูเบาะรถเปลี่ยนระหว่างเดินทาง

2. แพมเพิสผู้ใหญ่ หากน้ำเดินให้ใส่แพมเพิสผู้ใหญ่เลย เพราะ ผ้าอนามัยเอาไม่อยู่ระหว่างนั้นน้ำจะออกเรื่อย ๆ บนรถจึงควรปูแผ่นซับน้ำคร่ำไว้ประมาณ 2-3 แผ่นซ้อนกันไว้ ถ้าใครไม่น้ำเดินก่อนก็ถือว่าเตรียมป้องกันไว้ก่อนดีกว่า เพราะถ้าไม่เตรียมไว้จะฉุกละหุก และ เลอะเทอะ ที่นอน และ รถ แน่นอนจะทำให้ต้องทำความสะอาดเยอะเพิ่มขึ้นไปอีก

ของที่ต้องเตรียมจัดกระเป๋าสำหรับวันคลอดกันดีกว่าว่าต้องมีอะรบ้าง ? 

ของใช้สำหรับคุณแม่

1. เอกสารสำคัญต่าง ๆ ที่ต้องใช้ เช่น ใบนัดแพทย์ บันทึกการตั้งครรภ์ เอกสารประกันสุขภาพ บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวของโรงพยาบาล บันทึกการฝากครรภ์ สำเนาบัตรประชาชนคุณพ่อ และ คุณแม่ สำเนาทะเบียนบ้าน หรือเอกสารสำคัญต่างๆ เพราะถ้าถึงเวลาไปแจ้งเกิดจะได้ไม่เกิดความวุ้นวายตามหาเอกสาร

2. ของใช้ส่วนตัวในห้องน้ำ สบู่ แชมพู ผ้าเช็ดตัว แปรงสีฟัน ยาสีฟัน เครื่องสำอาง โลชั่นทาผิว

3. เสื้อผ้าใส่วันกลับ แนะนำ เป็นชุดที่ใส่ใหนมลูกสะดวก

4. ชุดชั้นในให้นม

5. แผ่นซับน้ำนม ผ้าอนามัยเพื่อใช้ซับน้ำคาวปลาหลังคลอด ส่วนใหญ่มีขายที่แผนกสูตินรีเวช หรือ ทางโรงพยาบาลมักจัดเตรียมไว้ให้เช่นกัน แต่คุณสามารถเตรียมยี่ห้อที่ใช้เป็นประจำติดไปด้วยเพื่อไว้ใช้สำรอง

6. กระเป๋าน้ำร้อน รวมถึงน้ำมันนวดบำบัดเพื่อคลายปวด

7. ของที่ช่วยให้ผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ สมาร์ทโฟน เพื่อช่วยให้ผ่อนคลายในระหว่างรอคลอด

8. เครื่องปั๊มนม

9. ตู้อบฆ่าเชื้อขวดนม เเละ อุปกรณ์ปั๊มนม (กรณีไม่ต้องการใช้ของรพ.)

10. ยาทากันหัวนมแตก

ของใช้สำหรับลูกน้อย

1. เสื้อผ้าสำหรับลูกใส่กลับบ้าน เสื้อผ้าเด็กอ่อน ชุดแบบผูกเชือกหรือกระดุมแป็ก ที่ง่ายต่อการสวมใส่ ถุงเท้า ถุงมือ หมวก

2. ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

3. ผ้าห่มหรือผ้าห่อตัว

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022

4. สำลี หรือทิชชู่เปียก

5. สบู่ แป้ง สำหลับเด็กอ่อน หรือเด็กแรกเกิด

ของใช้สำหรับคุณพ่อ หรือ ผู้เฝ้า

ข้อนี้หลายๆ บ้านมักจะลืมไป จนต้องให้คนเฝ้ากลับบ้านไปเอา การที่เราเตรียมพร้อมไว้ก่อนจะอุ่นใจกว่าที่มีคุณพ่อหรือญาติ อยู่กับเราตลอด ยิ่งคุณแม่ ท้องแรก ความกังวลจะสูง ควรเตรียมตัวไปให้พร้อมเพราะจะได้ไม่เกิดความกังวนขนานรอตลอดว่าตัวเองลืมอะไรไปหรือป่าว

1. ชุดเสื้อผ้า ตามจำนวนคืน ในเเพคเกจคลอด +เพิ่มไปอีกสัก 2 คืน เผื่ออยู่ต่อเกินเเพคเกจ ของผู้เฝ้าหรือคุณพ่อ หรือ ลูกคนโต ที่อาจจะต้องติดตามคุณแม่ไปในวันคลอดด้วย

2. ของใช้ส่วนตัว ของผู้เฝ้าหรือคุณพ่อ หรือ ลูกคนโต ที่อาจจะต้องติดตามคุณแม่ไปในวันคลอดด้วย

การจัดกระเป๋าควรเตรียมไว้อย่างน้อย 3 สัปดาห์ หรือเวลาตามที่คุณแม่สะดวกก่อนวันถึงกำหนดคลอด คุณแม่สามารถสอบถามทางโรงพยาบาลก่อนได้ว่าทางโรงพยาบาลเตรียมอะไรไว้ให้บ้าง จะได้เตรียมของจัดกระเป๋าได้ง่ายขึ้น และ จะได้ไม่ฉุกละหุกหรือรีบร้อนลืมของวันใกล้คลอด


credit content :  www.dailymom.com

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ :

8 ข้อต้องทำ ป้องกันการคลอดก่อนกําหนด ถ้าไม่อยากให้ลูกต้องออกก่อนกำหนด!!

ตั้งครรภ์เกินกำหนด ลูกไม่ยอมคลอด จะเกิดอะไรขึ้นกับแม่และเด็ก

เตรียมร่างกายก่อน คลอดธรรมชาติ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 79

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เลยกำหนดคลอด ไปอีกนิดอย่าเพิ่งกังวล สิ่งที่แม่ท้องทำได้ระหว่างรอเจ็บท้องคลอด
แชร์ :
  • อันตรายจากการตั้งครรภ์เกินกำหนด ที่แม่ท้องต้องระวัง

    อันตรายจากการตั้งครรภ์เกินกำหนด ที่แม่ท้องต้องระวัง

  • ตั้งครรภ์เกินกำหนด ท้องแก่เต็มที่แต่ยังไม่เจ็บท้องเลย ยังชิลอยู่ได้ไหม?

    ตั้งครรภ์เกินกำหนด ท้องแก่เต็มที่แต่ยังไม่เจ็บท้องเลย ยังชิลอยู่ได้ไหม?

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • อันตรายจากการตั้งครรภ์เกินกำหนด ที่แม่ท้องต้องระวัง

    อันตรายจากการตั้งครรภ์เกินกำหนด ที่แม่ท้องต้องระวัง

  • ตั้งครรภ์เกินกำหนด ท้องแก่เต็มที่แต่ยังไม่เจ็บท้องเลย ยังชิลอยู่ได้ไหม?

    ตั้งครรภ์เกินกำหนด ท้องแก่เต็มที่แต่ยังไม่เจ็บท้องเลย ยังชิลอยู่ได้ไหม?

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ