X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คุณแม่มือใหม่ ต้องรู้อะไรบ้าง 30 เรื่องจริงที่สุดที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

บทความ 5 นาที
คุณแม่มือใหม่ ต้องรู้อะไรบ้าง 30 เรื่องจริงที่สุดที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

คุณแม่มือใหม่อาจจะได้อ่านหนังสือเตรียมตัวการตั้งครรภ์และคลอดลูกไว้ แต่หนังสือหลาย ๆ เล่มอาจจะวิชาการเกินไป เรามาอ่านประสบการณ์จากคุณแม่ยุคนี้จริง ๆ ดีกว่า

คุณแม่มือใหม่ ต้องรู้อะไรบ้าง 30 เรื่องจริงที่สุดที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

 

30 คุณแม่มือใหม่ เรื่องจริงที่สุดที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

 

1) คุณแม่มือใหม่ อดใจถ่ายรูปตัวเองกับท้องที่โตขึ้นไม่ไหวหรอก เอ่อ จริง ๆ คือถ่ายได้ตลอดเลย

2) หมอไม่ใช่พระเจ้าที่จะมาชี้เป็นชี้ตายได้ จงเชื่อสัญชาตญาณของคุณและทำในสิ่งที่คุณเชื่อว่าเหมาะสมสำหรับตัวคุณและเจ้าตัวเล็ก

3) ฮอร์โมนจะทำให้คุณเปลี่ยนจากผู้หญิงแสนอ่อนหวานเป็นจอมเกรี้ยวกราด และมาเป็นนางเอกเจ้าน้ำตาได้ภายใน 10 วินาที บางทีก็น้อยกว่านั้น

 

คุณแม่มือใหม่

คุณแม่มือใหม่

 

4) ความต้องการทางเพศของคุณลาพักร้อนยาวเลย

5) คุณอาจต้องนอนบนเตียงแบบห้ามลุกไปไหนก็ได้นะ! เพราะฉะนั้น เริ่มเตรียมห้องหับให้พร้อมตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์

6) ไปหาหมอไคโรแพรคติกซะ ถ้าปวดหลัง

7) หาตากล้องมืออาชีพมาถ่ายภาพตอนท้องซะ เพราะเดี๋ยวคุณก็ต้องดูจนได้นั่นแหละ

8) วัดรอบท้องก่อนจะไปคลอด ขอนิดนึงน่า

Advertisement

9) ถ่ายรูปจากมุมที่คุณมองลงมาที่ท้อง ก็มันเป็นมุมที่คุณเห็นอยู่ทุกวันนี่!

10) หัดนอนตะแคงตั้งแต่ตอนนี้เลย เพราะคุณจะต้องนอนตะแคงเมื่อท้องใหญ่ขึ้น และก็อาจจะต้องหาหมอนมาเพิ่มอีกสัก 2-3 ใบ

 

คุณแม่มือใหม่ ควรรู้ไว้

คุณแม่มือใหม่ ตอนคลอด

1) การเจ็บท้องคลอดไม่ใช่อาการเจ็บแบบเป็นตะคริว ไม่เหมือนเวลาปวดท้องหนัก และก็ไม่เหมือนกับมีเซ็กซ์ตอนที่น้องหนูยังแห้งอยู่ มันเหมือนกับแตงโมทั้งลูกพยายามจะออกจากตัวคุณมากกว่า!

2) พอบล็อกหลังแล้วคุณจะตดนะ เยอะด้วย!

3) เอากระดาษทิชชู่ม้วนไปโรงพยาบาลด้วยนะ ภาษีที่เราจ่าย ๆ กันไปน่ะไม่ได้เอาไว้ใช้ซื้อทิชชู่นุ่ม ๆ หรอก และคุณก็คงไม่อยากจะใช้ทิชชู่สาก ๆ หยาบ ๆ เป็นกระดาษทรายหลังคลอดหรอก เอาไปสัก 2 ม้วน ม้วนนึงสำหรับก่อนคลอด (ตอนที่น้ำเดิน) และอีกม้วนสำหรับหลังคลอด

4) เอาแบตเตอรี่สำรองสำหรับกล้องถ่ายรูปไปด้วย (เผื่อไว้ก่อน)

5) หาพยาบาลผดุงครรภ์ ความสนใจเพียงอย่างเดียวของพยาบาลผดุงครรภ์คือคุณและลูก แถมยังมีประสบการณ์มานักต่อนัก ได้เห็นและช่วยเหลือคุณแม่ที่ต้องผ่านช่วงเวลาเจ็บปวดมาเป็นร้อย ๆ คน

6) คุณอาจต้องคลอดอีกรอบนะถ้ายังมีเด็กอีกคนอยู่ในท้อง!

บทความจากพันธมิตร
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
เทคนิคเลือกขวดนมเด็ก ลดอาการโคลิค ขวดนมสีชา ขวดนมสีใส แบบไหนเหมาะกับลูกน้อย
เทคนิคเลือกขวดนมเด็ก ลดอาการโคลิค ขวดนมสีชา ขวดนมสีใส แบบไหนเหมาะกับลูกน้อย
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
เคล็ดลับเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่มือใหม่ ด้วย Jessie M Next และ Jessie Mind Next
เคล็ดลับเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่มือใหม่ ด้วย Jessie M Next และ Jessie Mind Next

7) คุณอาจจะถ่ายออกมาก็ได้นะ ระหว่างที่เบ่งคลอด

8) ตอนที่น้ำเดินน่ะเหรอ ไม่ใช่แค่ไหลเหมือนเขื่อนแตกครั้งเดียวหรอก… หลายครั้งเลยล่ะ

9) พอคลอดเสร็จแล้ว ไม่ใช่แค่น้องหนูจะเจ็บหรอกนะ มันรวดร้าวไปทั้งตัวเลย

10) เวลาไปเข้าห้องน้ำหลังจากคลอดแล้วนี่สุดยอดทรมานเลย! ถ้าไม่ไหวแล้วจริงๆ คุณก็ควรนั่งกลับด้านกับโถและหันหน้าเข้าหาผนังตอนถ่ายเบา (วิธีนี้จะช่วยลดแรงดันได้ และคุณยังมีที่ยึดเอาไว้ตอนร้องไห้ด้วย ถ้าจำเป็นนะ!)

คุณแม่มือใหม่ ควรรู้ไว้

คุณแม่มือใหม่ หลังเจ้าตัวเล็กเกิด

1) หาท่าเหมาะๆ ในการให้นมเจ้าตัวเล็ก – บางท่าเหมาะสำหรับบางคนเท่านั้น ท่าอุ้มลูกฟุตบอลไม่เหมาะสำหรับผู้หญิงหน้าอกเล็ก

2) จริงๆ คุณไม่ต้องใช้เสื้อผ้ามากมายสำหรับเด็กแรกเกิดหรอก… ที่ซื้อมาเยอะๆ นั่นต้องเก็บไปเลยแหละ

3) การคลอดลูกคนแรกไม่ได้บ่งบอกถึงการคลอดครั้งที่สอง ถ้าครั้งแรกลำบากยากเย็นเหลือเกิน ครั้งที่สองอาจจะง่ายกว่ามากก็ได้

4) การอดนอนเป็นการทรมานแบบมีที่มาที่ไป และคุณก็จะรู้ซึ้งเลยแหละว่าทำไม

5) ไม่ใช่ว่าห้องน้ำทุกที่จะมีที่ให้คุณแม่เปลี่ยนผ้าอ้อม เช็คให้แน่ใจว่าห้างไหนบ้างที่มีจุดเปลี่ยนผ้าอ้อมให้บริการก่อนจะออกจากบ้าน

6) ลูกจะร้องดังแค่ไหนก็ตาม ผู้ชายก็หลับได้ จริง ๆ นะ

7) ถ้าคิดว่าคุณมีแผ่นซับน้ำนมไว้พอสำหรับใช้ละก็ คุณคิดผิดแล้ว ซื้อสำรองไว้อีกสัก 2 ห่อ มีเยอะเกินต้องการดีกว่าต้องมาคอยลุ้นว่าสามีจะซื้อมาให้ถูกหรือเปล่า

8) อยากให้มีคนบอกฉันไว้ก่อนจริง ๆ ว่าผู้ชายไม่เข้าใจหรอกว่าทารกอยากได้และต้องการอะไร

9) ถ้าเจ้าตัวเล็กของคุณเป็นผู้ชาย อย่าลืมจัดตำแหน่งหนอนน้อยให้ทิ้งดิ่งมาด้านล่างของผ้าอ้อม ไม่งั้นพ่อหนูจะฉี่พุ่งขึ้นข้างบนเอาได้ง่าย ๆ

10) อย่าอุ่นขวดนมมากเกินไปเพราะเจ้าตัวเล็กจะติด และคุณจะต้องแบกกระติกน้ำร้อนหรือหาที่อุ่นขวดติดไปด้วยตลอดกาล! อาหารก็ด้วยนะ!

คิดว่ายังมีอะไรเพิ่มเติมอีกหรือเปล่าคะ มาแชร์กันด้านล่างเลยค่ะ

 

นอกจากจะเตรียมตัวดูแลลูกน้อยแล้ว The Asianparent Thailand มีคำแนะนำเล็กน้อยสำหรับคุณแม่มือใหม่ด้วยเฉพาะคือ

“คู่มือดูแลตัวเองหลังคลอด ที่ คุณแม่มือใหม่ จำเป็นต้องรู้” มาฝากด้านล่างค่ะ

คู่มือดูแลตัวเองหลังคลอด สำหรับ คุณแม่มือใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่ท้องแรกที่ไม่เคยผ่านการคลอดลูกมาก่อน การดูแลตัวเองและการเลี้ยงลูกจึงเป็นเรื่องใหม่ที่คุณแม่หลายคนต้องเรียนรู้และศึกษาไปพร้อมๆ กัน เนื่องจากว่าคุณแม่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ กว่าที่ร่างกายของคุณแม่จะเข้าสู่ภาวะปกติต้องใช้เวลาพอสมควร รวมถึงเรื่องของจิตใจก็ต้องระวัง เพราะคุณอาจจะกลายเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดได้

ดังนั้น การดูแลตัวเองหลังคลอดของคุณแม่จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นต่อร่างกายหลังจากคลอด และช่วยให้คุณแม่ฟื้นตัวได้เร็ว โดยคุณแม่ต้องปฏิบัติตัว ดังต่อไปนี้

 

1. พักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับพักผ่อนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเรื่องยากก็ตาม เพราะว่าในช่วงแรกๆ หลังคลอด คุณแม่จะแทบรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้นอนเลย เนื่องจากว่าลูกร้องไห้ตลอดเวลา ไหนจะต้องปั๊มนมให้ลูกอีก แต่คุณแม่ต้องพยายามหาเวลาได้งีบบ้าง และอย่าเครียดมากเกินไป เพราะความเครียดหรือความวิตกกังวลใจอาจส่งผลต่อน้ำนมของคุณแม่ได้ สำหรับการพักผ่อนของคุณแม่ แนะนำว่าควรให้พักประมาณ 1-2 ชั่วโมงหลังจากลูกหลับค่ะ และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือสิ่งที่ทำให้หลับยาก

2. อย่าทำงานหนักในช่วงแรก

แม่บางคนคลอดลูกแปปเดียวก็ต้องไปทำงาน หรือจำเป็นต้องทำงานบ้าน เพราะว่าไม่มีคนคอยช่วยเหลือ ซึ่งแนะนำว่าในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด ให้หลีกเลี่ยงการทำงานบ้านหนักๆืให้ทำงานบ้านเบาๆ ไปก่อน และอย่าหักโหมเอาที่พอไหวค่ะ หลังจากนั้นอีกประมาณ 4-6 สัปดาห์หลังจากคลอด เมื่อร่างกายเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติแล้วจึงจะสามารถทำงานบ้านได้ตามปกติ

 

คู่มือดูแลตัวเองหลังคลอด สำหรับ คุณแม่มือใหม่

3. คุณแม่มือใหม่ ต้องทำความสะอาดร่างกายสม่ำเสมอ

หลังคลอดลูกคุณแม่สามารถอาบน้ำได้ โดยสามารถอาบน้ำได้วันละ 2 ครั้ง ตามปกติ แต่ห้ามแช่น้ำเด็ดขาดไม่ว่าจะเป็นอ่างน้ำ สระว่ายน้ำ หรือลำคลอง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ทางช่องคลอดได้ค่ะ เพราะเวลาที่คุณแม่คลอดลูกเองตามธรรมชาตินั้นจะเกิดบาดแผลระหว่างการคลอดลูก ทำให้เชื้อโรคสามารถเข้าไปฟักตัวจนเกิดเป็นโรคและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ได้ค่ะ ส่วนวิธีทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ แนะนำว่าให้เช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าบริเวณหัวหน่าวไปยังด้านหลังคือทวารหนักจะดีที่สุด ไม่ว่าจะถ่ายหนักหรือเบา และควรทำความสะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ด้านนอกค่ะ

หลังจากคลอดลูกคุณแม่จะมีน้ำคาวปลาจำนวนมาก ดังนั้น แนะนำให้คุณแม่พยายามเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ หากน้ำคาวปลามากก็ควรเปลี่ยนทุกชั่วโมง และไม่ควรใส่นานเกิน 4 ชั่วโมงค่ะ อีกทั้ง อย่าลืมสังเกตสีและกลิ่นของน้ำคาวปลาด้วยนะคะ เพราะว่ามันสามารถบอกภาวะแทรกซ้อนของคุณแม่หลังคลอดได้

 

4. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์

การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดนั้น ควรรอหลังจากคลอดได้ 6 สัปดาห์จะดีกว่าค่ะ เนื่องจากหลังคลอดแผลภายในโพรงมดลูกยังไม่หายดี ผนังช่องคลอดบาง แผลฝีเย็บยังมีความไวต่อความเจ็บปวดและปากมดลูกยังปิดไม่สนิท เสี่ยงต่อการติดเชื้อภายในโพรงมดลูกมากขึ้น ดังนั้น เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น คุณแม่จึงควรงดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 6 – 8 สัปดาห์หลังคลอด หรือภายหลังได้รับการประเมินสภาพการหายของแผลฝีเย็บ และมดลูกจากการตรวจหลังคลอด 6 สัปดาห์จะดีที่สุด

 

คู่มือดูแลตัวเองหลังคลอด สำหรับ คุณแม่มือใหม่

5.ควรสังเกตอาการผิดปกติอยู่เสมอ

หลังจากคลอดลูกคุณแม่ก็ยังมีภาวะเสี่ยงอยู่ ซึ่งคุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการของตัวเองดูว่าร่างกายของเรามีอาการอะไรผิดปกติไหม เช่น อาการไข้ น้ำคาวปลาสีผิดปกติ เป็นสีแดงตลอดไม่จางลง และมีกลิ่นเหม็นเน่า มีเลือดสดๆ ออกทางช่องคลอดจำนวนมาก หลังคลอด 2 สัปดาห์ ยังคลำก้อนทางหน้าท้องได้ เต้านมอักเสบ บวม แดง และมีการกดเจ็บ ถ่ายปัสสาวะบ่อย แสบ ขัด ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ตาพร่ามัว หรือมีอาการซึมเศร้าหลังคลอด หากสังเกตพบอาการผิดปกติเหล่านี้ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที

 


The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คุณแม่มือใหม่ เมื่อมีคำถามหรือความสงสัย อย่าลืมนึกถึง S-Mom Club
คุณแม่มือใหม่ต้องรู้! 5 วิธีปกป้องผิวบอบบางของลูกน้อย
เทคนิคจัดตารางเวลา สำหรับคุณแม่มือใหม่ เอาใจทั้งสามีและลูก
10 วิธีง่าย ๆ ช่วยคุณแม่มือใหม่รับมือกับภาวะจิตตก

ที่มา : https://sg.theasianparent.com

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Thailand Team

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • คุณแม่มือใหม่ ต้องรู้อะไรบ้าง 30 เรื่องจริงที่สุดที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้
แชร์ :
  • ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

    ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด เจ็บท้องแบบไหน ควรรีบไปโรงพยาบาล?

    เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด เจ็บท้องแบบไหน ควรรีบไปโรงพยาบาล?

  • ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

    ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด เจ็บท้องแบบไหน ควรรีบไปโรงพยาบาล?

    เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด เจ็บท้องแบบไหน ควรรีบไปโรงพยาบาล?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว