X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เมื่อต้องกลับไปทำงานตามปกติ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 94

บทความ 5 นาที
เมื่อต้องกลับไปทำงานตามปกติ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 94

เด็กทารกโดยปกติควรจะได้กินนมแม่ ตั้งแต่แรกเกิด จนถึง อายุได้ 6 เดือนขั้นต่ำ ซึ่งหลังจากนั้นเราก็จะเริ่มให้อาหารเสริมอื่น ๆ ควบคู่กับนมแม่ไปด้วย ซึ่งปกติตัวคุณแม่ที่จะต้องทำงานควบคู่กันไป จะสามารถลาคลอด และเลี้ยงดูบุตรได้ 98 วัน ซึ่งหลังจากนั้น ตัวคุณแม่ก็ต้องกลับไปทำงาน แล้วจะทำอย่างไร เมื่อต้องกลับไปทำงานตามปกติ

เมื่อต้องกลับไปทำงานตามปกติ ลูกน้อยจะกินนมแม่ได้อย่างไร

1. ปั๊มนมเก็บไว้อย่างสม่ำเสมอ ควรเริ่มปั๊มนมเก็บไว้ตั้งแต่ก่อนเริ่มไปทำงาน และในระหว่างวันที่ต้องทำงานก็ควร หาเวลาว่างเพื่อนั่งปั๊มนมเก็บไว้ อาจจะปั๊มทุก ๆ 2 ชั่วโมง เพื่อเป็นการกระตุ้นการผลิตน้ำนมไปด้วย ทางที่ดีควรแจ้งหัวหน้างานไว้ด้วยก็ดีค่ะ ว่าต้องการเวลาสำหรับปั๊มนมให้ลูก เพื่อหัวหน้างานจะได้จัดสรรเวลาการทำงานให้ได้อย่างเหมาะสมนั้นเองค่ะ

2. เมื่อลูกมีอายุ 1 - 2 เดือนคุณแม่สามารถเริ่มปั๊มนมเก็บไว้ให้ลูกได้เลยค่ะ เพราะน้ำนมแม่สามารถฟรีซไว้ได้นานหลายเดือนค่ะ

3. ฝึกให้ลูกเริ่มดูดขวดนมบ้างเป็นบางครั้ง สลับกับการดูดนมจากเต้าของคุณแม่ เพราะถ้าคุณแม่ไม่ฝึกให้ลูกดูดนมจากขวดเลย เมื่อถึงเวลา ลูกจะไม่ยอมดูดนมจากขวดแน่นอนค่ะ

4. เมื่อกลับมาจากที่ทำงาน และตอนกลางคืน ควรให้ลูกดูดนมจากเต้าคุณแม่เท่านั้น เพื่อเป็นการกระตุ้น ให้น้ำนมไหลได้ดีค่ะ เมื่อลูกดูดนมจากเต้าคุณแม่มากเท่าไหร่ น้ำนมคุณแม่ก็จะมากขึ้น พอกับความต้องการของร่างกายลูก

5. เตรียมอุปกรณ์การปั๊มนม ถุงเก็บน้ำนม และกระติกแช่เย็น ไว้ที่ทำงานให้เรียบร้อย เมื่อปั๊มนมใส่ถุงแล้ว ควรจดวันที่ปั๊มนมให้เรียบร้อย และแช่ในกระติกน้ำแข็งก่อน เมื่อกลับบ้านก็นำไปแช่เก็บไว้ในฟรีซ สามารถเก็บไว้ได้นานเป็นเดือนค่ะ

เมื่อต้องกลับไปทำงานตามปกติ

เมื่อถึงเวลาต้องเตรียมตัวกลับไปทำงาน...

ก่อนจะกลับไปทำงาน ต้องรู้อะไรบ้าง คุณแม่ เวิร์กกิ้ง มัม ที่การลาคลอดเดินทางมาใกล้ถึง 90 วัน คงกังวลไม่น้อยกับวันที่ 91 ที่กำลังจะมาถึง บางคนอาจจะเพิ่งตื่นตัว หากคุณแม่ กำลังหา how - to ดีดี สำหรับการเตรียมตัวกลับไปทำงาน วันนี้เรามีเคล็ดลับการเตรียมตัวมาบอกค่ะ

1. ฝากลูกไว้กับใครหลังกลับไปทำงาน
หากคุณอยู่กับพ่อ และแม่ คนแรกที่ควรนึกถึงคือ คุณแม่ของคุณเอง หรือคุณย่า คุณยาย เพราะท่านจะคอยดูแลลูกของคุณอย่างสุดฝีมือ และนั่นก็จะทำให้คุณรู้สึกอุ่นใจ ที่ลูกน้อยได้อยู่กับคนที่คุณไว้ใจ แต่หากคุณไม่มีผู้ใหญ่ที่จะช่วยดูแลลูก คงต้องมองหาเนอร์สเซอรีที่มีคุณภาพในสภาพแวดล้อมที่ดี หรือ Day Care ที่รับฝากเด็กอ่อน เพื่อฝากดูแลลูกในเวลากลางวัน

2. Checklist สิ่งที่ต้องเตรียมหลังกลับไปทำงาน 
คุณแม่อาจแบ่งสิ่งที่ต้องทำออกเป็น งานในบ้านและงานนอกบ้าน หรือไม่ก็งานของคุณแม่และงานของคุณพ่อ รวมถึงสิ่งที่จำเป็นต้องทำ สิ่งที่รอได้ และสิ่งที่เว้นไปก่อนก็ได้ เพื่อให้คุณสามารถจัดลำดับงานต่าง ๆ ของคุณได้อย่างลงตัว เช่น หากต้องฝากเลี้ยง คุณแม่ควรเตรียมของใช้ให้พร้อมตั้งแต่ก่อนเข้านอน จัดของลูกที่จำเป็นให้ครบ ทั้งเสื้อผ้า แพมเพิส ขวดนม นมแม่ที่บรรจุถุงเรียบร้อย หรือนมผงจัดแบ่งให้พร้อม เลือกชุดใส่ไปทำงานเตรียมไว้ ล้างอุปกรณ์และเตรียมปั๊มนมไว้ให้เรียบร้อย เมื่อถึงตอนเช้าคุณแม่จะได้ไม่ต้องฉุกละหุกกับการจัดเตรียมของ

เมื่อต้องกลับไปทำงานตามปกติ

3. มีแผนสำรองเตรียมไว้เสมอ 
สิ่งต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันก็สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น คุณแม่จึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ ต้องรู้ว่าจะทำอย่างไรหากลูกน้อยของคุณไม่สบาย หรือหากคุณยายไม่สบายไม่สามารถดูแลลูกให้คุณได้ หรือวันไหนที่คุณแม่มีประชุมต้องกลับค่ำ ควรหาแผนสำรองว่าจะฝากใครช่วยเลี้ยงได้บ้าง

4. คุยกับเจ้านาย และทำความเข้าใจกับเพื่อนร่วมงาน
คุณแม่ควรพูดคุยกับเจ้านายว่าต้องการเวลาสำหรับปั๊มนมให้ลูก เพื่อหัวหน้างานจะได้จัดสรรเวลาการทำงานให้ได้อย่างเหมาะสม คุณแม่ควรเตรียมปั๊มนมสต๊อกเก็บไว้สม่ำเสมอนะคะ เก็บตั้งแต่ก่อนเริ่มไปทำงานเลยค่ะ รวมถึงเมื่อไปทำงานแล้วในระหว่างวันที่ต้องทำงานก็ควรหาเวลาว่างเพื่อนั่งปั๊มนมเก็บไว้ อาจจะปั๊มทุก ๆ 2 ชั่วโมง เพื่อเป็นการกระตุ้นการผลิตน้ำนมไปด้วย แต่หากไม่สะดวกคุณอาจใช้เวลาก่อนออกจากบ้านและทันทีที่กลับถึงบ้านควรปั๊มน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกได้ค่ะ

5. ดูแลลูกแล้ว อย่าลืมดูแลตัวเองด้วย
เมื่อถึงเวลาต้องเตรียมตัวกลับไปทำงาน หลังจากในวันหยุดที่คุณแม่ต้องดูแลลูกด้วยตัวเอง คุณแม่มือใหม่อาจจะเป็นกังวลว่าจะดูแลลูกน้อยได้ไม่เต็มที่ จนบางทีไม่ยอมหลับยอมนอนเพราะห่วงลูกมากเกินไป ซึ่งคุณแม่ต้องผ่อนคลายจิตใจของตนเองด้วย และควรหาเวลาให้กับตัวเองบ้าง เช่น หลับพักผ่อนสักหน่อย เวลาที่คุณแม่ดูแลเจ้าตัวน้อยจนหลับปุ๋ยแล้ว คุณแม่อาจจะอ่านหนังสือเล่มโปรด นั่งฟังเพลงสบาย ๆ เพื่อผ่อนคลาย เวลาที่ลูกน้อยเข้านอนเป็นเวลาพักผ่อนที่ดีสำหรับคุณแม่ ทางที่ดีควรใช้ช่วงเวลานี้งีบหลับด้วยเช่นกัน คุณแม่จะได้ไม่เหนื่อยจนเกินไป ต้องพยายามรักษาสุขภาพให้แข็งแรงนะคะ

6. เวิร์คกิ้งมัมต้องรู้ นมแม่ไม่ใช่แค่ดีต่อใจ แต่ดีต่อสมองของลูกด้วย

นมแม่นอกจากจะดีต่อใจทั้งแม่และลูกแล้ว ยังดีต่อสุขภาพและความฉลาดของลูกน้อยในอนาคตอีกด้วย นมแม่ ประกอบด้วยสารอาหารมากมายโดยสารอาหารหลักคือ ไขมัน โปรตีน แลคโตส วิตามิน เกลือแร่และสารอาหารอื่นๆ อีกมากมาย สมองของคนเราประกอบด้วยไขมัน 60%

วันแรกที่กลับไปทำงาน..

คุณแม่อาจจะร้องไห้กับตัวเองหลายครั้งมาก คิดถึงลูกที่สุด รู้สึกผิดที่สุดที่ต้องจากลูก สิ่งที่แม่ควรทำก็คือ ระบายออกกับเพื่อนสนิทที่เป็นแม่ทำงานด้วยกัน คำปลอบโยนบางประโยค เช่น “ลูกเราสบายดี เขากำลังหลับอยู่ เขาไม่ได้งอแงอะไร  เราเอาตัวเราให้โอเคก่อนดีกว่า”  จะกระตุกอารมณ์แม่ๆ ได้อยู่บ้าง

เมื่อต้องกลับไปทำงานตามปกติ

อาทิตย์แรกที่กลับไปทำงาน..

งานต่างๆ ที่คั่งค้างอยู่ช่วงที่เราไม่อยู่จะเริ่มมาทันทีที่คุณแม่กลับไปปรากฏตัวในออฟฟิศ หัวหน้าดูจะมีไฟและใส่ใจกับเราเป็นพิเศษ เพื่อนร่วมงานที่ฝากให้ช่วยดูงานให้ตอนเราลาคลอดก็คืนทุกสิ่งกลับมาให้เรา
ตอนนี้สมองคุณแม่จะวุ่นวายมาก แต่ใจอยู่กับลูกน้อยตลอดเวลา เรื่องเวลากลับบ้านก็ยังไม่ลงตัว คุณแม่ที่ฝากลูกกับย่ายายได้ จะโล่งกว่าแม่ที่ต้องพึ่งพี่เลี้ยงอย่างเดียว หากคุณแม่อยากให้สบายใจขึ้น ก็ติดกล้องวงจรปิดไว้ส่องลูกตลอดเวลาได้เลย แต่อย่าลืมใส่ใจเรื่องงานด้วย อย่าอ่อนแอมาก เดี๋ยวหัวหน้าจะเพ่งเล็งได้ เข้มแข็งเข้าไว้ค่ะ

หนึ่งเดือนแรกที่กลับไปทำงาน..

หนึ่งเดือนผ่านไปทุกอย่างเริ่มเข้าที่ จะมีก็แต่เรื่องให้นมลูกที่คุณแม่ต้องคอยใส่ผ้าคลุมปั๊มนมกลางออฟฟิศ เสียงที่ปั๊มนมอาจทำให้เพื่อนร่วมงานรำคาญ และงานโครงการต่างๆ ที่ต้องเร่งทำให้สำเร็จ ลูกค้าที่ไม่ได้ติดต่อเลยตอนลาคลอด ก็ต้องกวักกลับมาให้ครบ ช่วงนี้แม่จะเริ่มกังวลว่าจะทำงานให้ดีได้ยังไง? เป็นช่วงเดียวกับที่ลูกน้อยเริ่มหลับได้นานขึ้น และพี่เลี้ยง หรือคุณยายเริ่มคล่องมือ เป็นคุณแม่ต้องวางแผนเรื่องงานให้ดี คิดเตรียมก่อนวันจันทร์อีกวัน และตั้งเป้าในแต่ละเดือนไว้ด้วย

เมื่อผ่านไปได้หนึ่งเดือน สิ่งที่แม่กังวลไว้ก่อนหน้านี้ ก็จะคลี่คลาย เป็นกำลังใจให้คุณแม่ว่า “ในที่สุดเราก็ผ่านมาได้นี่นา” หลังจากนี้ก็มีความสุขกับการทำงานและกลับบ้านไปเจอยิ้มน้อยๆ ของลูกให้ชื่นใจได้เลย

 

ที่มา : (A) , (B)

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

เคล็ดลับเพิ่มความสะดวกในการเลี้ยงลูก โดยเฉพาะในเวลาเร่งด่วน สำหรับคุณแม่ทำงาน

ชุดคลุมท้องทำงาน พาคุณแม่ชอปปิงชุดคลุมท้องสวย ๆ สุภาพ ใส่ไปทำงาน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • เมื่อต้องกลับไปทำงานตามปกติ 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 94
แชร์ :
  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 11 การห่อตัว

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 11 การห่อตัว

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 20 ตารางให้นมลูก

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 20 ตารางให้นมลูก

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 11 การห่อตัว

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 11 การห่อตัว

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 20 ตารางให้นมลูก

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 20 ตารางให้นมลูก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ