X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เคล็ดไม่ลับ 8 ข้อ สำหรับดูแลทารกแรกเกิดที่แม่มือใหม่ควรรู้

บทความ 3 นาที
เคล็ดไม่ลับ 8 ข้อ สำหรับดูแลทารกแรกเกิดที่แม่มือใหม่ควรรู้

สำหรับการเริ่มต้นเลี้ยงทารกแรกเกิดนั้น ถือเป็นบทบาทที่ท้าทายสำหรับแม่มือใหม่อย่างยิ่ง มันอาจจะเป็นช่วงที่ทำให้คุณแม่รู้สึก เหนื่อย ท้อแท้ และจิตตกได้ไม่มากก็น้อย

การ ดูแลทารกแรกเกิด ของคุณแม่เริ่มต้นตั้งแต่การให้นมจนถึงขั้นอดหลับอดนอน การเลี้ยงลูกในช่วงแรกเกิดจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายและอาจต้องผ่านความยากลำบากในจุดนี้ไปให้ได้ และนี่คือเคล็ดลับที่ช่วยให้แม่มือใหม่นั้นได้เรียนรู้และเข้าใจในการดูแลเบบี๋มากขึ้น

8 เคล็ดลับในการ ดูแลทารกแรกเกิด สำหรับแม่มือใหม่

#1 คุณแม่สามารถถอดเบบี๋สูทของลูกน้อยโดยดึงลงได้นะ

ดูแลทารกแรกเกิด

มันจะง่ายกว่ามา ถ้าคุณแม่ต้องเปลี่ยนเสื้อที่เลอะอึลูกโดยดึงลงมาทางก้นได้ มากกว่าที่จะดึงชุดออกทางศีรษะของเจ้าตัวน้อย

#2 ท่าบริหารเพื่อระบายแก๊สในท้องของเบบี๋

 

ระบายแก๊ส ลดอาการแน่นท้องลูก

การมีแก๊สในกระเพาะอาหารและไม่ได้ระบายออกอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทารกร้องไห้ เพราะรู้สึกอึดอัด แน่นท้อง ไม่สบายตัว แต่มันทีวิธีที่จะช่วยให้เบบี๋สบายท้องได้ ด้วยการจับลูกน้อยนอนหงาย จากนั้นยกแขนขวาและขาซ้ายของลูกเข้าหากัน ให้ศอกและเข่าได้สัมผัสกัน โดยแตะสลับทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ เพื่อช่วยให้ลูกเรอและรู้สึกสบายตัวขึ้น

#3 สำหรับทารกแรกเกิดไม่ควรตื่นนานกว่า 1 ชม.ครึ่ง

ช่วงแรกของทารกแรกเกิดนั้นจะใช้เวลาในการนอนอย่างมาก ถึงแม้เด็ก ๆ อาจไม่ได้นอนทีละนาน ๆ และจะสลับกับการตื่นนอน แต่ที่สำคัญคือ ทารกแรกเกิดนั้นควรตื่นอยู่ได้เป็นระยะเวลานานมากที่สุดคือไม่เกิน 1 ชม.ครึ่งเท่านั้น เพราะจะทำให้ลูกหงุดหงิดอารมณ์เสียง่าย ในช่วงกลางวัน ลูกควรได้นอนมากกว่า 2-3 ครั้ง แต่อย่าให้ลูกนอนนานกว่า 1 ชั่วโมง เด็กแรกเกิดควรได้นอนประมาณวันละ 15 ชั่วโมง ซึ่งรวมทั้งเวลานอนปกติตอนกลางคืนและเวลานอนระหว่างวัน

อ่านเคล็ดลับการดูแลเจ้าตัวน้อยข้อ 4-8 หน้าถัดไปนะคะ >>

#4 บันทึกตารางการให้นมและการเปลี่ยนผ้าอ้อมของลูก

ดูแลทารกแรกเกิด

ในช่วงแรก ๆ คุณแม่ควรทำบันทึกการให้นมว่าลูกดื่มไปกี่ออนซ์ หรือให้นมจากเต้าแต่ละข้างได้นานข้างละกี่นาที รวมถึงข้อมูลสำคัญอื่น ๆ เช่น การเปลี่ยนผ้าอ้อมของลูกวันละกี่แผ่น บันทึกไปถึงการฉี่และอึของลูก เช่น อึที่ออกมาเป็นอย่างไร ทั้งเรื่องสี ลักษณะ และความถี่การปัสสาวะหรืออึ เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งละเอียดอ่อนที่คุณแม่ลูกอ่อนจำเป็นที่จะต้องทำไว้นะคะ

#5 หาวิธีการอุ้มลูกน้อยในแบบอื่นๆ

ดูแลทารกแรกเกิด

คุณแม่อาจต้องคอยสังเกตว่า ลูกน้อยมีความสุขตอนถูกอุ้มท่าไหน เมื่อเขาร้องแล้วอุ้มท่าไหนทำให้เบบี๋สงบลงได้ แต่การอุ้มลูกให้อยู่ในอ้อมแขนเพียงท่าเดียว มันคงไม่สะดวกทุกเวลา ลองเปลี่ยนให้ลูกได้นอนอยู่ในท่าอื่น ๆ บ้างด้วยการลองใช้อุปกรณ์เหล่านี้เป็นตัวช่วย เช่น เปลไกว เป้อุ้มเด็ก นอนอยู่ในรถเข็น หรือเบาะนอนสำหรับทารก ลองใช้วิธีที่แตกต่างเพื่อให้ลูกน้อยของคุณได้นอนหลับโดยที่ไม่ต้องใช้ท่าอุ้มเพียงอย่างเดียวดูนะคะ

#6 ควรห่อตัวทารกแรกเกิดก่อนนอน

การห่อตัวนั้นจะช่วยในการปรับตัวของทารก ให้ทารกนอนหลับได้นานขึ้นและรู้สึกอบอุ่น เสมือนว่ากำลังนอนคู้ตัวอยู่ในครรภ์ ลดอาการสะดุ้งตกใจ (จากเสียงดังรอบข้าง) โดยคุณแม่ควรจะห่อตัวทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 3 วัน หรือ 1 เดือน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่บ้านด้วย หากในช่วงหน้าหนาวก็ห่อตัวเด็กให้รู้สึกอบอุ่น หรือช่วงกลางคืนเพื่อให้ลูกนอนหลับยาวได้ยิ่งขึ้น หลังจากนั้นก็สามารถหาเสื้อผ้าเด็กแรกเกิดมาเปลี่ยนใส่ได้

Read : วิธีห่อตัวทารกแรกเกิด เตรียมพร้อมสำหรับแม่มือใหม่ ชมคลิป

#7 ใช้เสียง white noise กล่อมลูกนอน

เบบี๋นั้นจะได้เสียง white noise ตั้งแต่ในครรภ์คุณแม่ ดังนั้นเมื่อลูกน้อยออกมาลืมตาดูโลกถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ สภาพแวดล้อมใหม่ที่ไม่คุ้นเคยอาจทำให้ทารกเกิดความเครียด ร้องไห้งอแง แต่หากคุณแม่ใช้เสียง white noise อย่างเช่น เสียงไดร์เป่าผม เสียงเครื่องดูดฝุ่น เสียงเครื่องซักผ้า เสียงทีวีซ่า ๆ ลูกน้อยจะสงบ และนอนหลับปุ๋ยได้ภายในไม่กี่นาที จะช่วยให้ลูกน้อยหลับได้นานขึ้น

Read : แอพฯ เสียง White noise กล่อมลูกฝันดี

#8 ควรใช้ผ้าม่านสีเข้ม

ทารกนั้นจะยังไม่รู้สึกถึงกลางวันหรือกลางคืนเมื่อตอนอยู่ในครรภ์ ดังนั้นเมื่อเจ้าตัวน้อยออกมาต้องอาศัยเวลาในการปรับตัวอย่างยิ่ง คุณแม่อาจจะต้องช่วยเบบี๋ให้เข้าใจถึงกลางวันกลางคืนด้วยการแขวนผ้าม่านสีเข้ม ๆ โดยเฉพาะในตอนกลางคืน เพื่อให้เบบี๋เริ่มปรับตัวและเรียนรู้ว่านี่คือตอนกลางคืน และเมื่อมืดแล้วต้องนอนหลับยาว ๆ

ในช่วงแรกเกิดนั้นเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากพอสมควรเลยใช่ไหม ที่คุณแม่และคุณลูกจะต้องปรับตัวด้วยกันทั้งคู่ ซึ่งเราหวังว่าเคล็ดลับการดูแลทารกแรกเกิดจะทำให้คุณแม่รู้วิธีที่จะช่วยระบายแก๊สในท้องของลูกน้อย และรู้ว่าจะช่วยให้ลูกได้นอนหลับยาวขึ้นได้อย่างไร อย่างน้อยก็คงจะช่วยให้คุณแม่คลายเหนื่อยในช่วงเดือนแรกเพิ่มขึ้นอีกนิดนะ


Source : www.sleepingshouldbeeasy.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

การดูแลทารกแรกเกิด 5 ประการที่ควรทำทุกวัน

แม่มือใหม่ กับคู่มือเอาตัวรอดของหนึ่งเดือนแรก

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เคล็ดไม่ลับ 8 ข้อ สำหรับดูแลทารกแรกเกิดที่แม่มือใหม่ควรรู้
แชร์ :
  • สิ่งที่หมอสูติอยากให้แม่รู้ก่อน ดูแลทารกแรกเกิด และการดูแลทารกแรกคลอดในห้องคลอด

    สิ่งที่หมอสูติอยากให้แม่รู้ก่อน ดูแลทารกแรกเกิด และการดูแลทารกแรกคลอดในห้องคลอด

  • 10 เคล็ดลับ ก่อนและหลังการคลอดลูกที่แม่มือใหม่ควรรู้

    10 เคล็ดลับ ก่อนและหลังการคลอดลูกที่แม่มือใหม่ควรรู้

  • สิ่งที่หมอสูติอยากให้แม่รู้ก่อน ดูแลทารกแรกเกิด และการดูแลทารกแรกคลอดในห้องคลอด

    สิ่งที่หมอสูติอยากให้แม่รู้ก่อน ดูแลทารกแรกเกิด และการดูแลทารกแรกคลอดในห้องคลอด

  • 10 เคล็ดลับ ก่อนและหลังการคลอดลูกที่แม่มือใหม่ควรรู้

    10 เคล็ดลับ ก่อนและหลังการคลอดลูกที่แม่มือใหม่ควรรู้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ