X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาการท้องผูกในแม่ท้อง อันตรายต่อคุณแม่หรือไม่

บทความ 3 นาที
อาการท้องผูกในแม่ท้อง อันตรายต่อคุณแม่หรือไม่

อยากรู้ไหมทำไมแม่ท้องทุกคนถึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องเหม็น ๆ อย่างอุจจาระ

สิ่งหนึ่งที่คุณแม่ท้องทุกคนจะต้องประสบปัญหาก็คือ อาการท้องผูกและเป็นริดสีดวงขณะตั้งครรภ์ จนในบางครั้งทำให้มีการถ่ายอุจจาระออกมาเป็นเลือด วันนี้เราจึงจะมาไขข้อสงสัยกันว่า อาการท้องผูกในแม่ท้อง อันตรายต่อคุณแม่ท้องหรือไม่

อาการท้องผูกในแม่ท้อง อันตรายหรือไม่?

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนนะคะว่าอาการท้องผูกในคุณแม่ท้องนั้นถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น สืบเนื่องมาจากฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงของการตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อลำไส้ ทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวและย่อยอาหารได้ช้าลงจนเกิดอาการท้องผูกตาม ก่อให้เกิดอุจจาระจับตัวเป็นก้อนแข็ง อาการดังกล่าวจะเป็นมากขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ค่ะ

อุจจาระ แม่ท้อง

 

นอกจากนี้ เพราะมดลูกของคุณแม่ท้องนั้นเริ่มมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นจนไปกดทับเส้นเลือดใหญ่ ส่งผลทำให้การไหลเวียนของเส้นเลือดในส่วนล่างของร่างกายนั้นช้าลง นอกจากนี้สาเหตุอื่นที่พบยังเกิดจากยาที่คุณแม่ท้องรับประทาน อันได้แก่ ยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กและแคลเซียมเม็ดที่คุณแม่รับประทานนั่นเองค่ะ ส่วนจะผูกมากหรือผูกน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของแคลเซียมละคะ

 

Advertisement

อาการท้องผูกในแม่ท้อง มีวิธีดูแลอย่างไร?

ดังนั้น สิ่งที่จะสามารถช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับอาการท้องผูกได้ก็คือ

1) การดื่มน้ำเปล่าจะช่วยลด อาการท้องผูกในแม่ท้อง

ในทุก ๆ วันคุณแม่ที่ตั้งท้องควรดื่มน้ำเปล่าให้ได้วันละ 8 – 10 แก้ว เพราะการดื่มน้ำจะช่วยให้อุจาระอ่อนนุ่ม ง่ายต่อการขับถ่าย และนอกจากน้ำเปล่าแล้ว การดื่มน้ำผลไม้ก่อนนอน เช่น น้ำส้ม น้ำมะเขือเทศ น้ำแอปเปิ้ลหรือน้ำลูกพรุน ก็จะจะสามารถไปช่วยเสริมในเรื่องระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดีอีกด้วยค่ะ

2) ออกกำลังกายเบา ๆ หลังมื้ออาหาร

การออกกำลังกายเบา ๆ วันละ 20-30 นาที ที่ใช้แรงกระแทกน้อย เช่น โยคะ ว่ายน้ำ หรือการเดินช้า ๆ ส่งผลให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น และที่ยังช่วยลดอาการท้องผูกได้ดีอีกด้วยค่ะ

 

3) รับประทานอาหารที่มีกากใย

 

คนท้องหิวบ่อยเพราะอะไร

 

สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การรับประทานอาหารที่มีกากใยให้มาก ยกตัวอย่างเช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืช เพราะอาหารเหล่านี้จะจะช่วยในการขับถ่ายได้ดี และช่วยลดปัญหาอาการแน่นท้องด้วยค่ะ ที่สำคัญเพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร คุณแม่ท้องควรรับประทานอาหารมื้อละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ นะคะ เช่น มื้อเล็ก ๆ 5 – 6 มื้อ ต่อวัน นอกจากนี้เวลาเคี้ยวอาหาร ควรเคี้ยวให้ละเอียด และช้าลงกว่าเดิม เพื่อช่วยให้กระเพาะอาหารไม่ทำงานหนักจนเกินไป และช่วยลดปัญหาอาการแน่นท้องด้วย

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ คือ คุณแม่ควรสังเกตการขับถ่ายของตนเองเป็นประจำ ไม่ควรปล่อยให้เกิดอาการท้องผูกเป็นเวลานานจนเกินไป เพราะทำให้อุจจาระยิ่งแข็ง และเป็นปัญหามากขึ้นไปอีก สิ่งที่สำคัญเลยคือแม่ควรขับถ่ายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพอื่นที่อาจตามมาได้ค่ะ หากคุณแม่ขับถ่ายน้อยกว่านั้น หรืออุจจาระแข็งมาก ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลทันทีค่ะ

 

คนท้องเบ่งอุจจาระ จะเป็นอันตรายกับลูกในท้องหรือไม่?

สำหรับแม่ ๆ ที่กำลังสงสัยกันว่า การเบ่งอุจจาระในระหว่างการตั้งครรภ์ จะเป็นการกระตุ้นให้คลอดลูกเร็วขึ้นหรือเปล่า ในความเป็นจริงแล้ว การเบ่งอุจจาระเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ หากเป็นการออกแรงเบ่งอุจจาระตามปกติ ไม่ได้เป็นการเบ่งรุนแรง รวมทั้งไม่มีเลือดออกทางช่องคลอด จะไม่เป็นอันตรายกับลูกน้อยในท้อง อย่างไรก็ตาม แม่ ๆ ควรหลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระที่รุนแรง เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดอาการริดสีดวงทวาร ซึ่งอาการนี้โดยปกติคนท้องเป็นง่ายอยู่แล้ว และทำให้คุณแม่เกิดความรู้สึกเจ็บบริเวณทวารหนักได้

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: คนท้อง ท้องผูก ถ้าต้องเบ่งอุจจาระแรงๆ ลูกในท้องจะเป็นอันตรายไหม

 

หากแม่ท้องมีอาการ ท้องผูก ควรกินยาอะไร?

โดยปกติแล้ว คุณหมอจะไม่แนะนำให้คนท้องท้องผูกซื้อยาประเภทยาระบายมารับประทานเพื่อรักษา หรือบรรเทาอาการท้องผูก เนื่องจากยาบางชนิดอาจจะเป็นอันตรายกับร่างกายและทารกในครรภ์ได้ อย่างไรก็ตามคุณแม่อาจใช้ยาบางชนิดที่มีขายตามทั่วไปตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ผงไฟเบอร์ ซึ่งจะช่วยในการทำงานของระบบสำไส้และทำให้อาการท้องผูกลดลง แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เพื่อความปลอดภัย หรือทางที่ดีควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำหากจำเป็นต้องใช้ยาบรรเทาอาการท้องผูก

 

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่เกิดอาการท้องผูกแล้ว และพยายามทุกวิธีแล้วก็ยังแก้ไม่หาย ควรรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำและช่วยรักษาอาการ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์ค่ะ การรักษาอาการท้องผูกโดยเร็วที่สุด จะช่วยบรรเทาความไม่สบายตัวของคุณแม่ และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคริดสีดวงทวาร หรือการอุดตันของลำไส้ ดังนั้น คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง และปรึกษาคุณหมอหากมีข้อสงสัยใด ๆ ค่ะ

 

ที่มา: Whattoexpect, Enfababy, Pobpad

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

คนท้องท้องเสีย ปวดท้องบิด อาการแบบนี้ส่งผลต่อลูกในท้องหรือไม่

แม่ท้องอยากกินกล้วยน้ำว้า แต่โบราณบอกว่ากินแล้วคลอดยาก จริงหรือมั่ว!

วิธีบํารุงคนท้อง คนท้องกินอะไรดี อาหารบํารุงครรภ์ ไตรมาสแรกจนไตรมาสสุดท้าย

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • อาการท้องผูกในแม่ท้อง อันตรายต่อคุณแม่หรือไม่
แชร์ :
  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว