X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไฮเปอร์ อาการแบบไหน หรือลูกจะเป็นเด็กไฮเปอร์ วิธีสังเกต

บทความ 5 นาที
ไฮเปอร์ อาการแบบไหน หรือลูกจะเป็นเด็กไฮเปอร์ วิธีสังเกต

อาการที่ซนเป็นลูกลิง ไม่ชอบที่จะอยู่นิ่ง ๆ จนพ่อแม่เริ่มสงสัยและมีคนทักบ่อย ๆ ว่าลูกเป็นเด็กไฮเปอร์ฯ หรือเปล่า ก่อนจะกลุ้มใจไปมากกว่านี้มาเช็กให้เคลียร์ดีกว่าว่าลักษณะแบบนี้จะเรียกว่าลูกมีอาการ “ไฮเปอร์แอคทีฟ” หรือเปล่า

พอลูกเริ่มเข้าวัยซน คุณพ่อคุณแม่เริ่มสังเกตเห็นว่าทำไมเด็กคนอื่นถึงไม่ซนเท่าลูกเรา ทำไมลูกไม่ค่อยมีสมาธิ เล่นอย่างนี้แป๊บ ๆ หนีไปเล่นของชิ้นอื่นอีกแล้ว ฯลฯ จนทำให้พ่อแม่ต้องวิตกกังวลว่าอาการแบบนี้ลูกจะเป็นเด็ก อาการ ไฮเปอร์ หรือเปล่านะ และ ไฮเปอร์คือ อะไร

 

ลักษณะของเด็ก ไฮเปอร์ แอคทีฟเป็นอย่างไร ไฮเปอร์คืออะไร ไฮเปอร์ คือ

อาการไฮเปอร์แอคทีฟ

1.เด็กจะมีความซนมากกว่าเด็กทั่วไป ซนแบบไม่อยู่นิ่ง หรือเดินไม่เป็น ชอบวิ่ง ปีนป่าย หยิบจับของไปทั่ว มือไม้อยู่ไม่สุข และชอบเล่น เล่นมาก และเล่นอย่างไม่มีจุดหมาย

2.มีความวอกแวก เจอสิ่งเร้านิดหน่อยก็ทำให้เสียสมาธิได้ง่าย และยังแสดงออกในรูปของการทำงานไม่ค่อยสำเร็จ เพราะในขณะที่กำลังทำงานชิ้นนี้ใจก็คิดไปถึงเรื่องอื่น ไม่ค่อยตั้งใจทำ หรือต้องให้จ้ำจี้จ้ำไชกว่าจะเสร็จ และใช้เวลานานถึงสำเร็จลุล่วง ไม่สามารถอยู่กับอะไรได้นาน เปลี่ยนไปทำนู่นทำนี่ หรือเปลี่ยนของเล่นไปเรื่อย

3.มักจะแสดงออกของการรอคอยไม่เป็น เช่น รีบทำให้ก่อนที่จะฟังคำสั่งจบ มักจะใจร้อนที่จะทำ ชอบโลดโผน หุนหันพลันแล่น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเด็กได้ง่าย

ถ้าสังเกตว่าลูกเข้าข่ายอาการตามลักษณะข้างต้น คุณพ่อคุณแม่สามารถนำลูกไปพบกับจิตแพทย์เพื่อทำการทดสอบวินิจฉัยให้แน่ชัด และเข้าสู่กระบวนการรักษาที่แบ่งได้เป็น 3 อย่างคือ การบำบัดด้านการศึกษา การบำบัดด้านจิตวิทยาและพฤติกรรม และการบำบัดรักษาด้วยยา ต่อไป

อาการไฮเปอร์

ไฮเปอร์ (Hyperactivity) 

ไฮเปอร์คือ ภาวะอยู่ไม่สุขหรืออยู่ไม่นิ่ง ขาดสมาธิ และไขว้เขวง่าย เกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งอาการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน และการเข้าสังคม ภาวะไฮเปอร์ไม่ใช่อาการของโรคสมาธิสั้นอย่างที่หลายคนเข้าใจเสมอไป แต่อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีกหลายประการ และเป็นความผิดปกติที่รักษาให้หายได้ โดยจะยิ่งส่งผลดีหากเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ฝึกลูกให้เป็น เด็กอัจฉริยะ เล่นเกมยังไง? ให้เกิดประโยชน์

อาการไฮเปอร์

ไฮเปอร์ คือ ผู้ที่มีภาวะไฮเปอร์มักมีอาการอยู่นิ่งไม่ได้ ต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลา เสียสมาธิง่าย ขาดการจดจ่อและความยับยั้งชั่งใจต่อสิ่งยั่วยุ บางรายมีพฤติกรรมก้าวร้าวหรือติดทำนิสัยบางอย่างซ้ำ ๆ ทั้งนี้ ภาวะไฮเปอร์ในเด็กและผู้ใหญ่อาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย

เด็กที่เป็นไฮเปอร์อาจไม่มีสมาธิในการเรียนและขาดการยั้งคิดในการทำสิ่งต่าง ๆ เช่น พูดเรื่องที่ไม่สมควรพูด พูดโพล่งออกมาโดยไม่คำนึงถึงกาลเทศะ เล่นแรงหรือทำให้ผู้อื่นเจ็บตัว รวมทั้งอาจสังเกตถึงอาการอยู่ไม่สุขอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับเด็กคนอื่น ๆ เช่น ไม่อยู่เฉย เดินไปทั่วห้อง พูดไม่หยุด กระดิกเท้าตลอดเวลา ชอบกดปากกาจนเกิดเสียงดังซ้ำ ๆ เคาะดินสอ เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคในการเรียนและทำให้เกิดปัญหาในการทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อนหรือการเข้าสังคมได้

ส่วนผู้ใหญ่ที่มีภาวะนี้อาจมีปัญหาในการจดจ่อกับงาน วอกแวกง่าย หรือมีปัญหาในการจดจำชื่อสิ่งต่าง ๆ จำนวนตัวเลข และข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับงาน นอกจากนี้ บางรายอาจรู้สึกเครียดกับอาการที่ตนเผชิญจนเกิดความวิตกกังวลหรือมีภาวะซึมเศร้าตามมา

อาการไฮเปอร์

สาเหตุของภาวะไฮเปอร์

ภาวะไฮเปอร์มักเกิดจากโรคสมาธิสั้น ซึ่งเป็นความผิดปกติที่พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ มีอาการคล้ายกันกับผู้ป่วยภาวะไฮเปอร์ อย่างไรก็ตาม ภาวะไฮเปอร์มีสาเหตุมาจากโรคหรือปัจจัยอื่น ๆ ได้เช่นกัน ดังนี้

  • ภาวะความผิดปกติของสมองหรือระบบประสาทส่วนกลาง
  • ภาวะความผิดปกติทางอารมณ์หรืออาการทางจิต
  • ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโรคบางชนิด

 

การวินิจฉัยภาวะไฮเปอร์

เด็กที่มีอาการอยู่ไม่นิ่งตลอดเวลา ก้าวร้าว ขาดความยั้งคิดก่อนทำหรือพูด และไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำจนส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป ในขั้นแรกแพทย์จะสอบถามลักษณะอาการ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการ สุขภาพโดยรวม ยารักษาโรคที่กำลังใช้อยู่ และภาวะสุขภาพทางจิตของผู้ป่วย เพื่อประเมินลักษณะอาการ ความรุนแรง และสาเหตุของภาวะไฮเปอร์ รวมทั้งอาจมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลหากคาดว่าอาการดังกล่าวเกิดจากโรคอื่น ได้แก่ ตรวจเลือดหรือตรวจปัสสาวะเพื่อดูความสมดุลของฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ นอกจากนี้ อาจมีการทดสอบทางจิตวิทยา ตลอดจนการประเมินสภาพแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนร่วมด้วย

 

การรักษาภาวะไฮเปอร์

แพทย์จะให้การรักษาภาวะไฮเปอร์ตามสาเหตุที่พบ โดยอาจสั่งจ่ายยาสำหรับโรคนั้น ๆ หรือให้พบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตหากผู้ป่วยมีความผิดปกติทางอารมณ์หรือเป็นโรคทางจิตเวช และเพื่อควบคุมอาการไฮเปอร์ ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการบำบัดพฤติกรรมและความคิดกับนักจิตบำบัด ซึ่งรักษาโดยการพูดคุยเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยเพื่อปรับความคิดและพฤติกรรม รวมถึงเรียนรู้วิธีรับมือและบรรเทาอาการอยู่ไม่สุขของตนเอง

หากการบำบัดด้วยวิธีดังกล่าวใช้ไม่ได้ผลและอาการดังกล่าวเกิดจากโรคสมาธิสั้น ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานยาที่มีฤทธิ์ช่วยให้รู้สึกสงบร่วมด้วย เช่น เมทิลเฟนิเดต อะโทม็อกเซทีน เป็นต้น ทั้งนี้ ยาบางชนิดก่อให้เกิดผลข้างเคียงทางด้านพฤติกรรมได้ แพทย์หรือจิตแพทย์อาจต้องเฝ้าดูอาการจากการใช้ยาอย่างใกล้ชิด และระหว่างนี้ผู้ป่วยอาจต้องหลีกเลี่ยงการได้รับสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการไฮเปอร์ เช่น คาเฟอีน นิโคติน เป็นต้น

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 5 วิธีปราบลูกดื้อ ทำยังไงดีเมื่อลูกดื้อ วิธีปราบลูกอย่างสร้างสรรค์ ทำอย่างไร?

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะไฮเปอร์

เด็กที่มีภาวะไฮเปอร์อาจมีปัญหาในการใช้ชีวิตที่โรงเรียนและที่บ้านหรือมีภาวะซึมเศร้าได้ เนื่องจากความผิดปกติดังกล่าวอาจทำให้ถูกเพื่อนกลั่นแกล้งหรือล้อเลียน เข้ากับคนอื่นได้ยาก ต้องใช้ความพยายามในการทำการบ้านมากกว่าเด็กคนอื่น หรืออาจถูกครูทำโทษเนื่องจากพฤติกรรมไฮเปอร์ของตนเอง ส่วนผู้ดูแลเด็กอย่างพ่อแม่หรือครูผู้สอนก็อาจมีปัญหาในการดูแลและรับมือกับเด็กไฮเปอร์เช่นกัน

 

การป้องกันภาวะ ไฮเปอร์

เนื่องจากภาวะไฮเปอร์เป็นอาการแสดงของโรคความผิดปกติอื่น ๆ ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แนวทางการป้องกันที่พอจะทำได้คือรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันโรคที่อาจทำให้เกิดภาวะนี้ เช่น หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และสารเสพติดทั้งหลาย รวมทั้งหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น หากสงสัยว่ามีภาวะไฮเปอร์ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษาอย่างเหมาะสม เพราะการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้หายเป็นปกติและส่งผลดีต่อผู้ป่วยมากที่สุด

 

โรคไฮเปอร์ในผู้ใหญ่

แต่เมื่อเช็กดูแล้ว ลูกไม่ได้อยู่ใน 3 ข้อนี้ก็สบายใจได้เลย ยิ่งถ้าเห็นลูกมีความตั้งใจทำอะไรได้นาน ๆ และมักจะทำให้เสร็จเป็นชิ้น ๆ ก่อนที่จะไปทำอย่างอื่น รู้จักหยุดฟังพ่อแม่ หรือเงยหน้ามองเวลาที่ผู้ใหญ่พูด รู้จักสบตา หรือยิ้มให้ ลักษณะเช่นนี้แสดงว่าไม่ใช่เป็นลักษณะของเด็กไฮเปอร์แอคทีฟค่ะ.

ขอบคุณข้อมูลจาก :https://www.pobpad.com/%

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

เด็กสมาธิสั้นกับเด็กไฮเปอร์แตกต่างกันอย่างไร?
เช็กพฤติกรรม “ลูกติดโทรศัพท์” ส่งผลสมาธิสั้น

parenttown

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ไฮเปอร์ อาการแบบไหน หรือลูกจะเป็นเด็กไฮเปอร์ วิธีสังเกต
แชร์ :
  • สังเกตอย่างไรว่าลูกเป็นภูมิแพ้ อาการของภูมิแพ้มีอะไรบ้าง?

    สังเกตอย่างไรว่าลูกเป็นภูมิแพ้ อาการของภูมิแพ้มีอะไรบ้าง?

  • เด็กไทย "ไฮเปอร์" เพราะพ่อแม่ปล่อยให้ "เล่นมือถือ"

    เด็กไทย "ไฮเปอร์" เพราะพ่อแม่ปล่อยให้ "เล่นมือถือ"

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • สังเกตอย่างไรว่าลูกเป็นภูมิแพ้ อาการของภูมิแพ้มีอะไรบ้าง?

    สังเกตอย่างไรว่าลูกเป็นภูมิแพ้ อาการของภูมิแพ้มีอะไรบ้าง?

  • เด็กไทย "ไฮเปอร์" เพราะพ่อแม่ปล่อยให้ "เล่นมือถือ"

    เด็กไทย "ไฮเปอร์" เพราะพ่อแม่ปล่อยให้ "เล่นมือถือ"

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ