พ่อแม่ต้องระวัง เช็กพฤติกรรม “ ลูกติดโทรศัพท์ ” ส่งผลสมาธิสั้น
ตั้งแต่เมื่อไหร่กันนะ ที่โทรศัพท์มือถือ หรือ สมาร์ทโฟน กลายเป็นอวัยวะที่ 33 ไปเสียแล้ว ไม่ว่าจะกินข้าว ดูหนัง ฟังเพลง หรือทำงาน ก็ล้วนแต่สามารถทำได้ผ่านเจ้าเครื่องมือสื่อสารชนิดนี้กันทั้งนั้น เรียกได้ว่า หากวันไหนลืมมือถือเอาไว้ที่บ้าน หลาย ๆ คนถึงกับทำงานกันไม่ได้เลยทีเดียว ช่างเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากเสียจริง ๆ แต่หากติดเกินไปล่ะก็ อาจจะมีผลเสียตามมาอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครอบครัวที่ลูก ๆ กำลังเติบโตล่ะก็ พ่อแม่ต้องระวัง เช็กพฤติกรรม “ ลูกติดโทรศัพท์ ” ส่งผลสมาธิสั้น อันตรายมากทีเดียวค่ะ
การปล่อยให้ลูกเล่นมือถือ และทิ้งลูกอยู่กับหน้าจอเพียงลำพังเป็นเวลานาน เกินวันละหลายชั่วโมง เพราะเด็กจะจดจ่อ กับเรื่องราวที่ผ่านตาเร็วเกินไป และไม่ยอมละสายตา เพื่อสนใจกับสิ่งรอบตัวอื่น ๆ รอบ ๆ ข้าง ด้วยการเคลื่อนไหวในสื่อต่าง ๆ บนหน้าจอมือถือ หรือแท็ปเล็ต เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และมีความรวดเร็ว จึงส่งผลต่อปัญหาการใช้สมอง ในส่วนความทรงจำ ทำให้ความสามารถในการจดจำลดลง และหากปล่อยให้ลูกเล่นเช่นนี้เป็นประจำทุกวัน จนสะสม ทำให้เด็กเกิดอาการ “สมาธิสั้น” ได้
ก่อนอื่น เรามาเช็กสัญญาณพฤติกรรม “ ลูกติดโทรศัพท์ ” กันค่ะ
- แอบเล่นมือถือ ด้วยการหาที่เล่น โดยไม่ให้พ่อแม่เห็น เช่น ในห้องนอน ใต้ผ้าห่ม เป็นต้น
- ใช้เวลาเล่นมือถือนานขึ้น ๆ และหงุดหงิดง่าย หรือไม่พอใจ เมื่อถูกพ่อแม่ต่อว่า ห้ามไม่ให้เล่น หรือถูกสอดส่องพฤติกรรม จากการเล่นสมาร์ทโฟน
- ตั้งหน้าตั้งตารอเวลาที่จะได้เล่นมือถือ หรือขอเล่นมือถือจากพ่อแม่บ่อย ๆ
- มีการแสดงอารมณ์ ก้าวร้าว อารมณ์เสีย หงุดหงิด หดหู่ เมื่อไม่ได้เล่น และจะหายทันที เมื่อพ่อแม่ยอมให้เล่น
- ไม่สนใจสิ่งอื่น ๆ หรือกิจกรรมรอบตัว ไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไร ก็จะต้องมีมือถือ หรือแท็บเล็ตอยู่ตลอดเวลา
- ขาดสมาธิระหว่างทำการบ้าน เพราะชอบเปิดสมาร์ทโฟน ควบคู่ระหว่างทำการบ้าน
- มีอาการตื่นสายและรู้สึกอ่อนเพลียในตอนเช้า
สาเหตุด้านพฤติกรรมเหล่านี้ อาจมีส่วนทำให้เด็ก มีแนวโน้มที่จะสมาธิสั้น และนอกจากนี้ การที่เด็กติดมือถือหรือติดเกม ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็ก มีปัญหาการสื่อสารกับผู้อื่นได้
แนวทางลดความเสี่ยงพฤติกรรม “ลูกติดโทรศัพท์” ไม่ให้เกิดอาการสมาธิสั้น
1. ต้องกำหนดเวลาในการเล่นสมาร์ทโฟนให้ลูก ไม่เกินวันละ 1-2 ชั่วโมง
2. พาลูกออกไปเที่ยวนอกบ้าน หรือหากิจกรรมอื่น ๆ ทำร่วมกับลูกให้มากขึ้น
3. เอาใจใส่ และคอยดูแลสอดส่องพฤติกรรมของลูก
รักษาโรคสมาธิสั้น พ่อแม่นั้นสำคัญที่สุด
แม้ว่าเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทสำคัญมาก ตั้งแต่ตื่นนอน จนถึงเข้านอน แม้แต่การเรียนของลูก ในหลายโรงเรียน ก็ยังมีการใช้แทบเล็ต เพื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ยิ่งส่งผลให้ลูก จำเป็นต้องใช้เวลาอยู่กับหน้าจอโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตมากขึ้นไปอีก กระนั้นแล้ว เทคโนโลยีก็เป็นสื่อการเรียนรู้ ที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกได้ และให้คุณประโยชน์ หากใช้งานอย่างพอดี หากแต่สิ่งสำคัญยิ่ง ก็คือ การที่คุณพ่อ คุณแม่ควรจะพาลูก ออกไปสัมผัสโลกกว้าง นอกกรอบสี่เหลี่ยมบ้าง เพราะหากปล่อยเวลาให้ผ่านเลย จนเด็ก ๆ เคยชินกับการอยู่กับเครื่องมือดังกล่าวแล้วล่ะก็ อาจส่งผลเสียดังกล่าวตามมาก็เป็นได้
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศ และเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา : board.postjung.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ไม่อยากให้ลูกสมาธิสั้น ต้องอ่านเรื่องนี้
เด็กสมาธิสั้นกับเด็กไฮเปอร์แตกต่างกันอย่างไร?
เล่นกับลูกอย่างไรให้ฉลาด ไหวพริบดี พ่อแม่ต้องส่งเสริมการเล่นลูกด้วยวิธีนี้!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!