X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาการไข้หวัดใหญ่ อันตรายถึงชีวิต ถ้าไม่ระวัง อาการเป็นอย่างไร

บทความ 5 นาที
อาการไข้หวัดใหญ่ อันตรายถึงชีวิต ถ้าไม่ระวัง อาการเป็นอย่างไร

อาการไข้หวัดใหญ่ อย่าคิดว่าแค่เป็นหวัดทั่วไป แท้จริงแล้วโรคไข้หวัดใหญ่นั้น เป็น โรคภัยที่ไม่ควรมองห้าม หากไม่ระวังอันตรายถึงชีวิต อาการไข้หวัดใหญ่เป็นอย่างไร ไปดูกันเลย

ไข้หวัดใหญ่ (influenza)

อาการไข้หวัดใหญ่

อาการไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ที่พบได้ทุกช่วงอายุ ซึ่งมักพบในเด็ก แต่อัตราการเสียชีวิตเกิดกับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปี หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคหัวใจ โรคปอด โรคไต เป็นต้น ไข้หวัดใหญ่จะระบาดมากในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน-ตุลาคม) และฤดูหนาว (มกราคม-มีนาคม) ของทุกปี โรคไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อที่ชื่อว่า Influenza virus เป็นการติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ มีอาการรุนแรงและมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจนถึงเสียชีวิต

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีสังเกตลูกเป็นไข้เลือดออก อาการไข้เลือดออก ลูกเป็นไข้เลือดออก แม่จะรู้ได้อย่างไร

ไข้หวัดใหญ่ มีสายกี่สายพันธุ์ 

พญ.สุวรรณี รัตนชูวงศ์ ได้ให้ข้อมูลว่า ไข้หวัดใหญ่ หรือ Influenza หรือที่ในทางการแพทย์เราจะเรียกสั้น ๆ ว่า “ฟลู” นั้น คือ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ที่มีสาเหตุมาจาก “เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่” ทำให้ผู้ติดเชื้อ มีไข้สูง ปวดหัว ตัวร้อน ไอจาม มีน้ำมูก และปวดเมื่อยตามตัว โดยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ที่ปัจจุบันถือได้ว่า “ร้ายกาจที่สุด” และส่งผลกระทบต่อผู้คนในสังคมเรามากที่สุดนั้น จะมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ ได้แก่

  • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอ 

หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ฟลู A” ถือเป็นสายพันธุ์ที่มีความอันตรายมากที่สุด เพราะสามารถกลายพันธุ์ได้ ตลอดจนแพร่ระบาดได้เป็นวงกว้าง ทำให้เชื้อมีความเป็นลูกผสม และมีฤทธิ์รุนแรง โดยไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A มักจะแพร่ระบาดตามฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งสามารถแบ่งแยกออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ย่อยที่พบบ่อย คือ H1N1 และ H3N2

  • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B

หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ฟลู B” ถือเป็นสายพันธุ์ที่มีความอันตรายรุนแรงเช่นกัน ที่พบได้บ่อย คือ B Victoria , B Yamagata , B Phuket ซึ่งสามารถระบาดได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูหนาวเช่นเดียวกัน

ไข้หวัดใหญ่ ติดต่อกันอย่างไร

อาการไข้หวัดใหญ่

อาการไข้หวัดใหญ่

เชื้อไข้หวัดจะคล้ายไข้หวัดทั่วไป คือการติดต่อโดยการหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ ของผู้ป่วยที่ไอหรือจาม และสัมผัสมือหรือการใช้สิ่งของต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่น เมื่อสัมผัสเชื้อแล้วนำมือมาขยี้ตา แคะจมูก เชื้อโรคก็จะเข้าสู่ร่างกายของเรา

อาการไข้หวัดใหญ่ เป็นอย่างไร

ส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อไปแล้ว 1-3 วัน และรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่มักมีอาการไข้ติดต่อกันหลายวัน โดยในเด็กจะมีไข้สูงเกิน 39-40 องศา ติดต่อกัน  3-4 วัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย

อันตรายของไข้หวัดใหญ่อีกอย่างหนึ่งคือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค ได้แก่ โรคปอดอักเสบ และโรคสมองอักเสบ กลุ่มที่มีความเสี่ยง คือ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน โรคไต โรคเอดส์ กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้ ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที เมื่อรู้ว่าเป็นไข้หวัดใหญ่

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกอาเจียน แหวะนม สำรอกนม ภาวะแหวะนมในทารก อันตรายร้ายแรงแค่ไหน

วิธีรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ 

การดูแลรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ส่วนใหญ่จะหายเอง หากอาการไม่รุนแรงสามารถรักษาตามอาการที่บ้านได้ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน ควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจมีโรคแทรกซ้อนมาจากโรคอื่น ๆ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือยาโอลเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย จะทำให้ร่างกายดีขึ้น

ดูแลรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ที่บ้าน โดย 

  • รับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ
  • เช็ดตัวเพื่อให้ไข้ลดเป็นระยะ ด้วยน้ำสะอาด ไม่เย็น
  • ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มาก ๆ งดดื่มน้ำเย็น
  • พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้มาก เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ หากรับประทานได้น้อย อาจจะต้องรับวิตามินเสริมเพิ่ม
  • นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทดี
  • ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ต้องรับประทานยาจนหมดตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ดื้อยา

ป้องกันอย่างไร ไม่ให้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ 

อาการไข้หวัดใหญ่

อาการไข้หวัดใหญ่

  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่ หากมีความจำเป็น ควรใส่หน้ากากอนามัย
  • ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง เมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด
  • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำสะอาดและสบู่ รวมถึงใช้เจลแอลกอฮอล์ ทั้งผู้ป่วยและผู้ที่ไม่ป่วย
  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งไข่ นม ผัก และผลไม้ ดื่มน้ำสะอาด
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด และอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็น
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ แนะนำให้ฉีดกับคนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กอายุ 6 เดือน – 19 ปี, คนอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป, คนที่เป็นโรคเบาหวาน, โรคหัวใจ, โรคปอด, ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยที่จะต้องไปคลินิก หรือไปโรงพยาบาลบ่อย ๆ, ผู้ที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาล และคนที่กินยาที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน  เป็นต้น

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

บทความที่เกี่ยวข้อง : ป้องกันลูกชักจากไข้สูง: อันตรายจากการเป็นไข้มีมากกว่าที่คิด

ที่มา : 1,2,3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Nanticha Phothatanapong

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • อาการไข้หวัดใหญ่ อันตรายถึงชีวิต ถ้าไม่ระวัง อาการเป็นอย่างไร
แชร์ :
  • อาการไข้เลือดออกในทารก ลูกเป็นไข้เลือดออก แม่จะรู้ได้อย่างไร สังเกตยังไง

    อาการไข้เลือดออกในทารก ลูกเป็นไข้เลือดออก แม่จะรู้ได้อย่างไร สังเกตยังไง

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • อาการไข้เลือดออกในทารก ลูกเป็นไข้เลือดออก แม่จะรู้ได้อย่างไร สังเกตยังไง

    อาการไข้เลือดออกในทารก ลูกเป็นไข้เลือดออก แม่จะรู้ได้อย่างไร สังเกตยังไง

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ