X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาการลูกตอดเป็นยังไง ลูกดิ้นมีความรู้สึกแบบไหน เกิดขึ้นตอนไหน ?

บทความ 5 นาที
อาการลูกตอดเป็นยังไง ลูกดิ้นมีความรู้สึกแบบไหน เกิดขึ้นตอนไหน ?

เคยสงสัยหรือไม่ว่า อาการลูกตอดเป็นยังไง แม่ ๆ หลายคนคงกำลังสงสัยกันอยู่ใช่ไหม เห็นคุณแม่ท่านอื่นที่ท้องไล่เลี่ยกับเราพูดคุยกันเรื่องลูกดิ้น ลูกตอดอย่างสนุกสนาน แต่เรานี่ไม่มีวี่แววเลย แล้วเมื่อไหร่จะเริ่มรู้สึกเหมือนคนอื่นบ้างนะ แล้วความรู้สึกมันเป็นยังไงกันแน่

 

อาการลูกตอดเป็นยังไง จะรู้ได้ไงว่าลูกดิ้น

อาการลูกตอด จะเป็นอาการที่ให้ความรู้สึก กระตุกเบา ๆ ในท้อง เหมือนมีบางสิ่งบางอย่าง ที่กำลังเคลื่อนไหว ไปมาจนแทบจะจับ ความรู้สึกไม่ได้ จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไม คนท้อง หลายคนยังไม่รู้สึกว่าลูกตอด และ จะรู้สึกอีกทีก็เมื่อลูกดิ้นแรงแล้วเท่านั้น

ซึ่งกว่าที่คุณแม่ จะจับความรู้สึกได้นั้นก็มีอายุครรภ์ได้ 18 – 25 สัปดาห์แล้ว ส่วนใครจะรู้ได้ช้า หรือ เร็วกว่านั้นยกก็ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ตำแหน่งของรก ขนาดตัวของทารก ปริมาณน้ำคร่ำ หรือ แม้แต่ขนาดของมดลูก เป็นต้นแต่ถ้าคุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาก่อน แน่นอนว่ามี ประสบการณ์ การตั้งครรภ์ มาก่อนหน้าแล้วก็จะรู้สึกถึง ลูกตอดได้เร็วยิ่งขึ้น โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 16 – 18 สัปดาห์

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกดิ้นเพราะอะไร ลูกดิ้น บิดขี้เกียจ รำคาญ ชอบใจ หรือใกล้คลอด

 

 

ลูกดิ้นช่วงไหนมากที่สุด

หากคุณแม่ สังเกตดี ๆ จะพบว่าลูกน้อยจะชอบดิ้นชอบ ตื่นนอน และ ช่วงที่นอนหลับมากที่สุด คือ ช่วงเวลาประมาณ 21:00 น. – 01:00 น. ซึ่งคุณแม่ ไม่ได้แปลกใจเลยถ้าอยู่คุณแม่นอนอยู่ แล้วสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึก เพราะเจ้าตัวน้อยดิ้นแรง เนื่องจากว่าในช่วงนั้น ร่างกายของคุณแม่ มีการเปลี่ยนแปลง ระดับน้ำตาล ในเลือดนั่นเอง หรืออาจเป็นเพราะว่า ลูกน้อย ได้ตอบสนองต่อเสียง หรือ การสัมผัสจากคุณแม่ จากการที่คุณแม่รู้สึกสบาย ๆ อารมณ์ดี ๆ และ เวลาที่คุณแม่ตื่นเต้น อะดรีนาลีนจะหลั่งออกมา ทำให้ลูกดิ้นมาก แม้แต่อาหาร ที่แม่กินเข้าไปก็มีผล

 

ลูกดิ้นกับลูกสะอึกต่างกันไหม

โดยความแตกต่าง ระหว่างลูกดิ้น และ การสะอึกของทารก ในครรภ์ก็คือ หากแม่ท้องรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว ของลูกในท้อง ในหลาย ๆ จุด เช่น บริเวณ ท้องส่วนบน ส่วนล่าง หรือ ด้านข้าง และรู้สึกว่าลูกในท้อง หยุดเคลื่อนไหว ตอนที่คุณแม่ขยับเปลี่ยนท่าทาง นั่นก็อาจจะถือว่าเป็นการดิ้น แต่หากคุณแม่ท้องนั่งนิ่ง ๆ อยู่กับที่ และมีความรู้สึก ถึงการเคลื่อนไหว เป็นลักษณะของ การกระตุก หรือ อาการเกร็งเล็กน้อยที่ท้อง เป็นจังหวะที่สม่ำเสมอกัน ที่จุดเดียว นั่นก็อาจหมายความว่า ลูกในท้องสะอึก อยู่นั้นเอง

 

ลูกดิ้น สัญญาณสำคัญที่ว่าที่คุณแม่ควรรู้

ลูกดิ้นสัญญาณความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เรื่องสำคัญที่ว่าที่คุณแม่ควรรู้ พร้อมวิธีการสังเกตความผิดปกติ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย

 

อาการลูกตอดเป็นยังไง

 

ลูกดิ้น อาการเป็นอย่างไร ?

ว่าที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวในช่วงสัปดาห์ที่ 16 – 20 ของการตั้งครรภ์ โดยอาการลูกดิ้นในช่วงแรก ๆ จะให้ความรู้สึกเหมือนปลาทองว่ายน้ำหรือรู้สึกเหมือนผีเสื้อกำลังกระพือปีกอยู่ภายในท้อง บ้างก็รู้สึกเหมือนเส้นประสาทกระตุกเบา ๆ โดยการขยับตัวของทารกจะมีทั้งการเตะ ต่อย การพลิกตัวและม้วนตัว โดยการดิ้นของเด็กจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึง สัปดาห์ที่ 32 จากนั้นจะคงที่ อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวของทารกอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ในช่วงใกล้วันกำหนดคลอด

ในช่วงแรก ทารกในครรภ์จะขยับตัวเพียงเล็กน้อยและไม่บ่อย แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 (อายุครรภ์ 4 – 6 เดือน) ทารกจะขยับตัวมากขึ้น ทำให้คุณแม่สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของเด็กได้อย่างชัดเจนและบ่อยมากขึ้น โดยการศึกษาหนึ่งพบว่า การตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 3 เด็กอาจขยับตัวได้ถึง 30 ครั้งต่อชั่วโมงเลยก็เป็นได้

 

อาการลูกตอดเป็นยังไง

 

ทั้งนี้การติดตามความถี่ในการดิ้นของทารกในครรภ์เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับว่าที่คุณแม่ และสามารถทำได้เองอย่างง่าย ๆ ด้วยการจดจำรูปแบบการดิ้นของเด็ก ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามอายุครรภ์ ดังนี้

 

  • สัปดาห์ที่ 16 – 19 การเคลื่อนไหวของทารกยังไม่ชัดเจน จะต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะสามารถระบุได้ว่าเป็นอาการขยับตัวของทารก ทั้งนี้ครรภ์แรกจะเริ่มรับรู้ว่าลูกดิ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 18 และครรภ์ต่อมาจะรับรู้ได้เร็วขึ้น ประมาณสัปดาห์ที่ 16
  • สัปดาห์ที่ 20 – 23 คุณแม่จะเริ่มรู้สึกได้ถึงการเตะเบา ๆ หรือการขยับตัวจากการสะอึกของทารก จากนั้นในสัปดาห์ต่อ ๆ มา กิจกรรมทางกายของทารกก็จะเพิ่มขึ้นและชัดเจนขึ้น โดยอาจพบว่าเด็กจะมีการขยับตัว เช่น เตะ หมุนตัว หรือตีลังกามากขึ้นในช่วงเย็นของวันซึ่งเป็นช่วงที่คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนี้เวลารับประทานอาหารก็จะเป็นช่วงที่เด็กขยับตัวบ่อย
  • อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 24 – 28 ของเหลวในถุงน้ำคร่ำจะเพิ่มขึ้นไปถึง 750 มิลลิลิตร ซึ่งจะทำให้ทารกมีพื้นที่ในการขยับตัวมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้คุณแม่รู้สึกว่าเด็กมีการเคลื่อนไหวอยู่บ่อย ๆ โดยอาจมีทั้งการขยับเพียงแขนขาหรือการเคลื่อนไหวทั้งร่างกาย
  • สัปดาห์ที่ 29 – 31 การขยับตัวของทารกจะเบาลง แต่ชัดเจนมากขึ้น เช่น เตะแรงขึ้น ต่อยแรงขึ้น และหลังจากนั้นคุณแม่อาจรู้สึกคล้ายกับว่าทารกขยับตัวเพื่อต่อสู้กับพื้นที่ในครรภ์ที่น้อยลง
  • อายุครรภ์สัปดาห์ที่ 32 – 35 นับเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นที่สุดสำหรับการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ เพราะในช่วงสัปดาห์ที่ 32 ความถี่ของการดิ้นจะสูงที่สุด หลังจากนั้นจะเริ่มคงที่ เนื่องจากทารกมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีพื้นที่ในการขยับตัวน้อยลง การเคลื่อนไหวของทารกจะช้าแต่กินเวลานาน
  • สัปดาห์ที่ 36 – 40 เป็นช่วงเวลาใกล้คลอด ดังนั้นหากเป็นท้องแรก ในช่วงสัปดาห์ที่ 36 เด็กจะเริ่มพลิกตัวเพื่อให้อยู่ในลักษณะเอาศีรษะลง แต่ถ้าหากเด็กไม่กลับตัว กล้ามเนื้อภายในครรภ์และท้องจะช่วยในการพลิกตัวของเด็ก หากเด็กอยู่ในลักษณะเอาศีรษะลง คุณแม่จะรู้สึกเหมือนมีแตงโมกดทับอยู่ที่กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หากเด็กยังคงไม่พลิกตัว อาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อให้การคลอดปลอดภัยกับเด็กที่สุด แต่หากเป็นการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 กล้ามเนื้อบริเวณท้องจะแข็งแรงน้อยกว่าการตั้งครรภ์ครั้งแรก ดังนั้นเด็กอาจจะค่อย ๆ พลิกตัวอย่างช้า ๆ อย่างไรก็ตามในช่วงสัปดาห์ท้าย ๆ ทารกจะยังขยับตัวอยู่ การเคลื่อนไหวจะน้อยลงแต่ยังคงรู้สึกได้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่ค่อยสบายตัวหรือรู้สึกเจ็บ

 

สำหรับการสังเกตความถี่ของการดิ้นของทารก จะต้องทำในช่วงเวลาที่เด็กมักจะขยับตัวมากที่สุด โดยเมื่อถึงช่วงเวลานั้นให้ว่าที่คุณแม่นั่งหรือเอนหลังลงกับเก้าอี้ที่นั่งสบาย จากนั้นให้ลองนับจำนวนการดิ้นของทารกที่รู้สึกได้ ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 10 ครั้ง ต่อเวลา 2 ชั่วโมง หากน้อยกว่านี้ควรลองนับใหม่อีกครั้งหนึ่งในวันเดียวกัน และถ้ายังไม่ถึง 10 ครั้งอีกก็ควรปรึกษาแพทย์

 

อาการลูกตอดเป็นยังไง

 

สาเหตุที่ลูกไม่ดิ้น ดิ้นน้อย เกิดจากอะไร ?

แม้การขยับตัวของทารกจะเป็นสัญญาณถึงพัฒนาการของเด็ก แต่ผู้ที่พบว่าตัวเองไม่รู้สึกถึงการขยับตัวของทารก หรือทารกไม่ดิ้นเลย ก็อาจไม่ต้องกังวลจนเกินไป เพราะการที่เด็กไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยอาจมีสาเหตุมาจาก ทารกในครรภ์กำลังหลับ ช่วงเวลาที่ทารกหลับจะเป็นช่วงที่มีการขยับตัวน้อยที่สุด

ทารกตัวใหญ่จนขยับตัวได้ยาก ตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 32 เป็นต้นไป ทารกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ในขณะที่มดลูกยังขนาดเท่าเดิม ซึ่งจะทำให้เด็กไม่สามารถขยับตัวได้มากเหมือนการตั้งครรภ์ช่วงแรก ทว่าหากคุณแม่นับจำนวนครั้งในการดิ้นของเด็กในช่วงเวลาที่เด็กดิ้นมากที่สุดแล้วแต่ก็ยังดิ้นน้อยกว่าเกณฑ์ คือต่ำกว่า 10 ครั้ง ในระยะเวลา 2 ชั่วโมง มีรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หรือเมื่อคุณแม่กระตุ้นให้เด็กเกิดการตอบสนองด้วยวิธีการรับประทานของว่าง ดื่มน้ำเย็น ดื่มเครื่องดื่มหวาน ๆ ขยับร่างกาย เปิดเพลงเสียงดัง แล้วเด็กก็ยังไม่ตอบสนอง นั่นอาจแสดงให้เห็นว่าเกิดความผิดปกติกับการตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของเด็ก ซึ่งควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด โดยวิธีที่นิยมใช้ในการตรวจสุขภาพของครรภ์และเด็กทารก ได้แก่

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

 

  • การตรวจอัลตราซาวนด์ (Fetal Ultrasound) วิธีนี้จะใช้การส่งคลื่นเสียงไปสะท้อนเพื่อให้กลับมาเป็นรูปภาพ ภาพที่ได้จะแสดงให้เห็นการเคลื่อนไหวของเด็กในครรภ์ อัตราการเต้นของหัวใจ และท่าทางของเด็ก
  • การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ (Nonstress Test) เป็นวิธีการตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารก โดยการนำแผ่นเหล็กขนาดเล็กที่ทาเจลวางลงบนท้อง จากนั้นใช้เข็มขัดคาดไว้เพื่อไม่ให้แผ่นเหล็กขยับไปจากที่เดิม
  • การตรวจวัดความเร็วของเลือดในหลอดเลือดทารกในครรภ์ (Fetal Doppler Velocimetry) วิธีนี้จะคล้ายกับวิธีการตรวจสุขภาพทารก แต่จะมีการใช้คลื่นเสียงร่วมด้วยเพื่อตรวจการไหลเวียนของเลือดภายในรกและสายสะดือ ซึ่งจะช่วยให้ทราบอัตราการเต้นของหัวใจทารก

 

การดิ้นของทารก ไม่ใช่เป็นเพียงสัญญาณที่ทำให้ว่าที่คุณแม่และครอบครัวรู้สึกตื่นเต้นกับทารกตัวน้อยเท่านั้น แต่ยังมีส่วนสำคัญในการบ่งบอกถึงสุขภาพของทารก ดังนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือคุณแม่ควรหมั่นนับและสังเกตการดิ้นของทารก พร้อมกับจดบันทึกความเปลี่ยนแปลงไว้อยู่เสมอ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเป็นอันตรายต่อทั้งแม่และทารกในครรภ์ ที่กำลังจะลืมตาดูโลกได้อย่างทันท่วงที

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกดิ้นในท้องบอกอะไร ? เรื่องน่าอัศจรรย์ของการที่ลูกเตะในครรภ์

กระตุ้นให้ลูกดิ้น กระตุ้นลูกน้อยในครรภ์ ให้ขยับตัวดุ๊กดิ๊ก ทำอย่างไรได้บ้าง

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน อาการลูกดิ้นครั้งแรกเป็นยังไง จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกดิ้น

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • อาการลูกตอดเป็นยังไง ลูกดิ้นมีความรู้สึกแบบไหน เกิดขึ้นตอนไหน ?
แชร์ :
  • ท้องกี่เดือนลูกถึงจะดิ้น ลูกดิ้นรู้สึกอย่างไร อาการแบบไหนที่เรียกว่าลูกดิ้น?

    ท้องกี่เดือนลูกถึงจะดิ้น ลูกดิ้นรู้สึกอย่างไร อาการแบบไหนที่เรียกว่าลูกดิ้น?

  • อาการลูกตายในท้อง สัญญาณอันตรายที่บอกว่าลูกน้อยไม่อยู่ในท้องแม่แล้ว !!

    อาการลูกตายในท้อง สัญญาณอันตรายที่บอกว่าลูกน้อยไม่อยู่ในท้องแม่แล้ว !!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ท้องกี่เดือนลูกถึงจะดิ้น ลูกดิ้นรู้สึกอย่างไร อาการแบบไหนที่เรียกว่าลูกดิ้น?

    ท้องกี่เดือนลูกถึงจะดิ้น ลูกดิ้นรู้สึกอย่างไร อาการแบบไหนที่เรียกว่าลูกดิ้น?

  • อาการลูกตายในท้อง สัญญาณอันตรายที่บอกว่าลูกน้อยไม่อยู่ในท้องแม่แล้ว !!

    อาการลูกตายในท้อง สัญญาณอันตรายที่บอกว่าลูกน้อยไม่อยู่ในท้องแม่แล้ว !!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ