X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อาการซึมเศร้าหลังคลอด อาการที่คุณแม่ไม่อยากเจอ มีวิธีรับมือยังไง?

บทความ 5 นาที
อาการซึมเศร้าหลังคลอด อาการที่คุณแม่ไม่อยากเจอ มีวิธีรับมือยังไง?

อาการซึมเศร้าหลังคลอดน่ากลัวอย่างไร คุณแม่ท้องใกล้คลอดควรรู้ จะได้เตรียมรับมือกับอารมณ์ที่แปรปรวนของตัวเองได้ สามารถแก้ไขได้ ถ้าคุณแม่ทำตามวิธีเหล่านี้!

อาการซึมเศร้าหลังคลอด ภาวะทางสุขภาพจิตที่คุณแม่หลังคลอดไม่อยากเจอ แต่บางคนกลับต้องเผชิญกับอาการซึมเศร้า ซึม หดหู่ ไม่อยากทำอะไรแม้แต่ความผูกพันกับลูกที่ตนเองคลอดออกมา จนรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง เชื่อว่า คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ฟังแล้ว คงไม่มีใครอยากเผชิญภาวะอันน่ากลัวและสุดเศร้านี้แน่นนอน แต่จะมีวิธีป้องกันอย่างไร

 

อาการซึมเศร้าหลังคลอดเป็นยังไง

แม่คลอดลูกแล้วอาจมีอาการซึมเศร้า

 

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ส่งผลต่อสุขภาพจิตของคุณแม่อย่างไร

อาการซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression) คือภาวะทางสภาพจิตใจอย่างหนึ่ง ที่เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตที่คุณแม่ถึง 1 ใน 6 ต้องเผชิญหลังคลอด โดยเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนอย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า หดหู่ใจ วิตกกังวล ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล และอ่อนเพลียมากจนไม่อยากเลี้ยงลูกและไม่รู้สึกผูกพัน ซึ่งมักจะเกิดในช่วงปีแรกหลังคลอดบุตร มีอาการที่ปรากฏชัดดังต่อไปนี้

  • คุณแม่จะรู้สึกหมดหวัง ท้อแท้ เสียใจ ไปพร้อม ๆ กับอารมณ์แปรปรวน โกรธ หงุดหงิดง่าย
  • มีความวิตกกังวลมากผิดปกติ น้อยใจ กลัวคนไม่รัก
  • มีปัญหาเรื่องสุขภาพ เช่น การนอนหลับ อาจจะนอนมากเกินไป หรือนอนไม่หลับเลย กลางคืนคือช่วงเวลาที่ยากลำบาก
  • จู่ๆ กลายเป็นคนร้องไห้ง่าย แบบไม่มีเหตุผล
  • สมาธิสั้นลง การจดจำมีปัญหา ละเลยรายละเอียด ตัดสินใจไม่ค่อยได้
  • ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ไม่มีความผูกพันกับลูกน้อย
  • รับประทานอาหารมากกว่าปกติ หรือไม่ยอมรับประทานอาหารเลย
  • เริ่มมีปัญหาสุขภาพตามมา เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหัว เป็นไข้ต่ำ ๆ หรือมีปัญหาเรื่องกระเพาะอาหาร

สำหรับทางด้านจิตใจ คุณแม่หลังคลอดที่ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า จะชอบเก็บตัว ไม่พูดจากับใคร ปลีกตัว สันโดษ ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัวหรือแม้แต่สามีตนเอง ทั้งนี้ปัญหาที่น่ากลัวที่สุดคือ อาการซึมเศร้าหลังคลอด อาจทำให้คุณแม่ไม่อยากแตะต้องทารก ไม่รู้สึกผูกพัน ไม่ให้นม รู้สึกตนเองไร้ค่าไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้ หนักที่สุดอาจจะถึงขั้นทำร้ายตนเองและลูกน้อยได้

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: เลี้ยงลูกมันเหนื่อยจริง! พ่อแม่ทุกคนมีสิทธิ์เป็น โรคซึมเศร้า เราจะทำยังไงดี

 

อาการซึมเศร้าหลังคลอด มีสาเหตุที่ควรใส่ใจคือ?

สาเหตุหลักของ อาการซึมเศร้าหลังคลอด มาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศในร่างกาย เช่น เอสโตรเจน (estrogen) โปรเจสเตอโรน (Progesterone) และอื่น ๆ แต่บางครั้ง สามารถเกิดจากความเครียด และความกังวลใจในฐานะที่เป็นคุณแม่มือใหม่ เช่น ภาระที่ต้องแบกมากขึ้น การเลี้ยงดูลูก การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต รวมไปถึงอิสรภาพที่ขาดหายไป ซึ่งบางครั้ง อาการซึมเศร้าหลังคลอด คุณแม่ก็อาจไม่รู้ตัว ต้องอาศัยคนรอบข้างคอยบอกคอยเตือน แนะนำว่าคุณแม่ควรบอกคนรอบข้างไว้ไม่ว่าจะสามี พ่อแม่ ตายาย หรือเพื่อน ๆ จะได้มีคนช่วยเตือนสติ หรือถ้ารู้สึกว่าตัวเองมีอารมณ์ที่แปลกไปไม่มีเหตุผลหลังจากคลอดลูก คุณแม่อาจจะเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้าอยู่

 

 

อาการซึมเศร้าหลังคลอด

 

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

ส่วนใหญ่เกิดกับคุณแม่ที่ไม่สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ฮอร์โมน อารมณ์ สภาพแวดล้อม และพันธุกรรม นอกจากนี้คุณแม่ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อีก เช่น

  • เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน หรือมีอาการซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์
  • คนในครอบครัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
  • คนในครอบครัวมีปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์หรือป่วยเป็นไบโพลาร์
  • มีความเครียด มีปัญหาภายในครอบครัวสะสม เกิดการทะเลาะเบาะแว้งบ่อยครั้ง
  • ลูกที่เกิดมามีปัญหาสุขภาพจนคุณแม่เครียดและวิตกกังวล
  • คุณแม่มีปัญหาเรื่องการให้นมบุตร จนเครียด
  • เกิดจากปัญหาทางด้านการเงินในครอบครัว เช่น อาจตั้งครรภ์โดยยังไม่พร้อมที่จะมีลูก

 

ระยะเวลาของ อาการซึมเศร้า ที่เห็นได้ชัด

ช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ จะพบว่าคุณแม่มี อาการซึมเศร้า มากที่สุดในช่วง 3 ถึง 6  เดือนหลังคลอด คุณแม่จะรู้สึกว่าตัวเองมีอารมณ์แปรปรวน สับสน เบื่อหน่าย ท้อแท้ บางคนอาจถึงกับร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล นอนไม่หลับ ได้ยินเสียงร้องกวนก็หงุดหงิด หรือร้องไห้ น้ำหนักเปลี่ยนแปลงไปมาก บางคนมีความคิดที่ไม่ดีเกี่ยวกับการเลี้ยงลูก ต้องการทอดทิ้ง หรือถึงขนาดมีความคิดทำร้ายลูกขึ้นมาได้ ซึ่งมักจะตามมาด้วยความรู้สึกผิด และทำให้อาการของโรคซึมเศร้าหนักมากขึ้นไปอีก แม่บางคนอารมณ์นี้อยู่เป็นวันหรือเป็นสัปดาห์ หากความรู้สึกเศร้านั้นเป็นนานเกินกว่า 2  สัปดาห์ขึ้นไป คุณแม่ไม่ควรรีรอที่จะไปพบจิตแพทย์ เพื่อรับการประเมินเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าหลังคลอด เพราะจิตแพทย์จะช่วยปรับทัศนคติ และแนวทางในการดำเนินชีวิตเมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลง ทำให้คุณแม่ค่อย ๆ สามารถปรับตัวไปกับการเลี้ยงดูลูกอย่างมีความสุขได้ในที่สุด

 

 

อาการซึมเศร้าหลังคลอดเป็นยังไง

เมื่อมีภาวะซึมเศร้า อย่ากลัวที่จะไปพบจิตแพทย์

 

ทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าตัวเองมี อาการซึมเศร้าหลังคลอด

  1. เล่า​สิ่งที่อยู่ในใจให้กับ​คน​ที่​คุณ​ใกล้​ชิด​ที่​สุด​ฟัง ​ว่า​คุณ​รู้สึก​อย่าง​ไร พยายามอย่า​แยก​ตัว​อยู่​คน​เดียว​หรือ​เก็บ​ความ​รู้สึก​ของ​คุณ​ไว้เด็ดขาด เพราะจะรู้สึกซึมเศร้าหนักกว่าเดิม
  2. ถ้า​รู้ว่าตัวเองมีอาการ​ซึมเศร้ายาวนานขึ้น อย่าคิดว่าเดี่ยวหายเอง ให้​ขอ​ความ​ช่วยเหลือ​จาก​แพทย์จะดีที่สุด เพราะถ้าคุณหาหมอเร็วก็​จะทำให้​ฟื้น​ตัว​ได้​เร็ว
  3. หากิจกรรมทำ หรือการออกกำลังกายเพื่อการบำบัดอาการซึมเศร้า ซึ่งจากการ​ศึกษา​วิจัยพบว่า ​การ​ออก​กำลัง​กาย​เป็น​ประจำ​จะช่วยบำบัดโรคนี้ได้ดี

 

วิธีป้องกันอาการซึมเศร้าหลังคลอด (ควรปฏิบัติก่อนและหลังคลอด)

  • คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และมีประโยชน์ให้ครบถ้วน
  • พยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ แม้เวลาตั้งครรภ์
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • เวลาป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ตอนตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ แม้ยานั้นเป็นสมุนไพรก็ตาม
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ปล่อยให้คุณสามีเลี้ยงลูกบ้าง อย่ากังวลมากเกินไป
  • หากคุณแม่เคยมีอาการซึมเศร้าหลังคลอดมาก่อน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์
  • อย่ากลัวที่จะพบจิตแพทย์ หากมีอาการซึมเศร้า หรือวิตกกังวลบ่อย ๆ ขณะตั้งครรภ์ ก็ควรปรึกษาคุณหมอที่ดูแล เพื่อขอพบจิตแพทย์ได้

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: เพลงกล่อมลูกฟังเพลินหลับง่าย ไทยและสากล 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ 

 

เพลงกล่อมลูกช่วยรักษาอาการซึมเศร้าหลังคลอดได้

จากผลการศึกษาของนักวิจัยชื่อว่า “โรซี่ เพอร์กินส์” ของอิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน  (Imperial College) ในกรุงลอนดอน พบว่า การร้องเพลงกล่อมลูกของแม่กับภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กัน ซึ่งหมายความว่า เวลาที่คุณแม่ร้องเพลงในลูกน้อยฟัง จะช่วยให้ลดอาการซึมเศร้าหลังคลอดของคุณแม่ได้ในระดับกลางถึงรุนแรง แถมยังช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่รวดเร็วขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ผู้หญิงที่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอดแล้วร้องเพลงให้ลูกฟัง จะสามารถลดอาการซึมเศร้าหลังคลอดได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่ได้ร้องเพลงกล่อมลูกถึงร้อย 35 นักวิจัยผู้นี้ยังบอกอีกว่า ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นปัญหาที่ทำให้คุณแม่และครอบครัวรู้สึกท้อแท้ แต่งานวิจัยครั้งนี้ทำให้เขาทราบได้ว่า คุณแม่หลังคลอดจะกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหลังได้เร็วยิ่งขึ้น หากคุณแม่ได้ร้องเพลงกล่อมลูก

 

อ่านประสบการณ์จริงของคุณแม่ที่เป็นโรคซึมเศร้า

อารมณ์คนท้อง รับมือยังไง? ซึมเศร้าหลังคลอด ต้องอดทนอีกนานแค่ไหน?

 

บทความที่น่าสนใจ:

15 อาการหลังคลอดลูก ที่ต้องเจอแน่หลังออกจากห้องคลอด

ฝันว่าคลอดลูก ฝันเห็นคนคลอดลูก ฝันแบบนี้ดีหรือร้าย อ่านคำทำนายฝันแม่นๆ

แผลฝีเย็บ หลังคลอด รู้สึกเจ็บจี๊ด คุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างไร?

 

อ่านประสบการณ์จริงของคุณแม่ที่เป็นโรคซึมเศร้า

 

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด

ที่มา: 1 , 2 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • อาการซึมเศร้าหลังคลอด อาการที่คุณแม่ไม่อยากเจอ มีวิธีรับมือยังไง?
แชร์ :
  • ซึมเศร้าหลังคลอด สังเกตอย่างไร อาการที่พบบ่อย ของคุณแม่หลังคลอดลูก

    ซึมเศร้าหลังคลอด สังเกตอย่างไร อาการที่พบบ่อย ของคุณแม่หลังคลอดลูก

  • โรคซึมเศร้าหลังคลอด คืออะไร อาการซึมเศร้าหลังคลอดที่แม่ต้องรู้!

    โรคซึมเศร้าหลังคลอด คืออะไร อาการซึมเศร้าหลังคลอดที่แม่ต้องรู้!

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ซึมเศร้าหลังคลอด สังเกตอย่างไร อาการที่พบบ่อย ของคุณแม่หลังคลอดลูก

    ซึมเศร้าหลังคลอด สังเกตอย่างไร อาการที่พบบ่อย ของคุณแม่หลังคลอดลูก

  • โรคซึมเศร้าหลังคลอด คืออะไร อาการซึมเศร้าหลังคลอดที่แม่ต้องรู้!

    โรคซึมเศร้าหลังคลอด คืออะไร อาการซึมเศร้าหลังคลอดที่แม่ต้องรู้!

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ