X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แชร์เทคนิค ! สอนให้ลูก จัดการอารมณ์ และเข้าใจในอารมณ์ตัวเอง

บทความ 5 นาที
แชร์เทคนิค ! สอนให้ลูก จัดการอารมณ์ และเข้าใจในอารมณ์ตัวเอง

ทักษะจัดการอารมณ์ และควบคุมอารมณ์ เป็นทักษะที่ทุกคนต้องมี หากสอนลูกตั้งแต่เด็ก โตมาลูกจะอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ ไม่เกิดปัญหา (ภาพโดย our-team จาก freepik)

มนุษย์ทุกคนมีความรู้สึก ดังนั้น ก็ไม่แปลกที่เราจะเสียใจ โมโห รู้สึกอยากร้องไห้ หรือมีความสุข ซึ่งเด็กเล็ก ๆ ก็มีความรู้สึกเหมือนกันกับผู้ใหญ่ แต่อาจจะแตกต่างกันตรงที่ว่า เด็ก ๆ จะยังควบคุมอารมณ์ได้ไม่เก่ง หรืออาจจะยังไม่เข้าใจในอารมณ์ของตัวเอง ซึ่งในวันนี้ เราจะมาพูดถึงอารมณ์ของเด็ก พร้อมทั้งแชร์เทคนิคให้แม่ ๆ นำไปใช้ เอาไว้ สอนเด็ก ๆ ให้เข้าใจอารมณ์ และ จัดการอารมณ์ ของตัวเอง ได้ดีมากยิ่งขึ้น มาดูกันเลยค่ะ

 

ทักษะการจัดการอารมณ์ คือทักษะที่คนทุกคนต้องมี

นักจิตวิทยาที่ชื่อว่า ซูซาน เดวิด ได้แนะนำว่า สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำเมื่อลูกยังเด็ก คือ การสอนให้เด็กจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง หากเราสอนให้ลูก ๆ จัดการอารมณ์และควบคุมตัวเองได้ดีตั้งแต่ยังเด็ก เด็กจะสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้ดีมากยิ่งขึ้น เพราะเมื่อเริ่มเข้าโรงเรียน เด็กจะต้องพบเจอคนมากหน้าหลายตา ซึ่งแต่ละคนก็นิสัยแตกต่างกันออกไป หากเด็กถูกยั่วยุ หรือกลั่นแกล้ง แต่เด็กสามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ ก็จะทำให้เด็กก้าวผ่านเรื่องเหล่านั้นมาได้โดยที่ไม่ต้องใช้ความรุนแรงกับคนอื่น ๆ

วิดีโอจาก : Kids Family เลี้ยงลูกให้ฉลาด

 

นอกจากนี้ ก็ยังมีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า เด็กที่มีทักษะการจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง จะเป็นเด็กที่มีทักษะการแก้ไขปัญหา และรับมือกับสถานการณ์ที่สะเทือนอารมณ์ได้ดี เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ทักษะนี้ก็จะพัฒนากลายเป็นความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) หรือความสามารถในการบริหารจัดการอารมณ์ เพื่อช่วยให้เด็กรับมือกับสถานการณ์ที่กดดัน และมีความเคารพนับถือตัวเอง ช่วยลดความเสี่ยงที่เด็กจะเป็นโรคซึมเศร้าไปได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกขี้หงุดหงิด โมโหร้าย เจ้าอารมณ์ พ่อแม่ควรจัดการอย่างไร ไม่ให้ลูกเป็นเด็กขี้วีน

Advertisement

 

จัดการอารมณ์ 22

 

จะสอนให้ลูกจัดการอารมณ์ของตัวเองได้ยังไงบ้าง

อารมณ์ของคนเรามีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ซึ้ง เศร้า เหงา โกรธ โมโห เสียใจ หรือมีความสุข ซึ่งการสอนให้เด็ก ๆ จัดการกับอารมณ์เหล่านี้ จะช่วยให้เด็กแสดงออกได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่พบเจอในชีวิต ส่วนเทคนิคที่พ่อแม่นำไปใช้สอนลูก ๆ ได้ ก็มีดังต่อไปนี้ค่ะ

 

1. พ่อแม่ต้องไม่เข้าไปวุ่นวายมากเกินไป

อย่างแรกเลย เราควรปล่อยให้เด็กแสดงความรู้สึกออกมาก่อน ไม่ควรพยายามบังคับให้เด็กแสดงแต่อารมณ์ด้านบวกออกมา เพราะจะทำให้เด็กไม่ได้เรียนรู้ แถมยังเป็นการทำให้ความจริงของลูกบิดเบี้ยวจากข้อเท็จจริงที่ลูกต้องเผชิญในอนาคต ทำให้ลูกขาดทักษะที่จะช่วยจัดการกับอารมณ์ตัวเอง เมื่อลูกกำลังรู้สึก กำลังมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง หลาย ๆ ครอบครัวเลือกที่จะผลักอารมณ์ด้านลบนั้นออกไป จนเด็กไม่ได้แสดงอารมณ์หรือความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเองออกมา จนกลายเป็นว่าเก็บกด และไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความรู้สึกนั้น ๆ

 

2. อย่ากลัวการแสดงออกทางอารมณ์ของลูก

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรกังวล หรือกลัวว่าลูกจะแสดงออกแต่ด้านลบ อารมณ์และความรู้สึก ไม่ใช่สิ่งที่ควรจะถูกเก็บและกดเอาไว้ การบอกว่า เป็นผู้ชายต้องไม่ร้องไห้ หรือ แม่ไม่ยอมให้ลูกแสดงอาการโกรธตรงนี้หรอกนะ แม้คุณพ่อคุณแม่จะมีเจตนาที่ดี แต่การกระทำแบบนี้ เท่ากับเป็นการบอกให้ลูกกลัวที่จะแสดงออกทางอารมณ์ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูก 3 ขวบ กรีดร้อง โมโหร้าย เจ้าอารมณ์ สาเหตุเกิดจากอะไร พ่อแม่ควรทำอย่างไร

 

จัดการอารมณ์ 33

 

3. การรู้เท่าทันอารมณ์ลูก

ทุกคนคงเคยไม่เข้าใจตัวเอง ว่าตอนนี้รู้สึกยังไงกันแน่ เพราะอารมณ์ของเรา ยิ่งโตยิ่งมีหลายอารมณ์ในเหตุการณ์เดียว (ถ้าดูเรื่อง Inside Out จะเข้าใจลูกบอลที่มีหลายอารมณ์ในลูกเดียว) ทั้งโมโห โกรธ หงุดหงิด และกลัว ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจก่อน ว่าเด็กเองก็มีได้หลายอารมณ์ หนึ่งนาทีที่แล้วลูกอาจกำลังหัวเราะ แต่ห้านาทีต่อมาลูกอาจจะกำลังร้องไห้อยู่ได้ เพราะฉะนั้น ต้องเห็นใจลูก ๆ นะคะ

 

4. สอนให้ลูกปล่อยวาง

คุณพ่อคุณแม่สามารถแนะนำลูกได้ว่า เราไม่จำเป็นจะต้องรู้สึกเหมือนเดิม สำหรับเหตุการณ์ที่เหมือนกัน ไม่ควรยึดติดในอารมณ์ หรือเอาความรู้สึกเดิม ๆ ไปผูกติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเกินไป ในวันนี้ ลูกอาจจะรู้สึกกลัว เมื่อได้ยินเกี่ยวกับสิ่งหนึ่ง แต่ในอีกหนึ่งปีข้างหน้า ลูกอาจจะรู้สึกเฉย ๆ กับสิ่งสิ่งนั้น ถือเป็นเรื่องที่ปกติ

 

5. สอนให้ลูกถามตัวเองว่าต้องการอะไร

เมื่อลูกเกิดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกถามตัวเอง ว่าเขาต้องการอะไร แล้วรู้สึกยังไง เพื่อที่เขาจะได้หาทางออกหรือวิธีแก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้ หากลูก ๆ โมโห ก็ให้เขาถามตัวเอง ว่าโมโหเพราะอะไร และเมื่อทราบสาเหตุของอารมณ์โมโห ก็ให้เขาแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ

 

6. สอนให้ลูกรู้จักขอความช่วยเหลือ

อาจจะมีบางครั้ง ที่ลูกเราไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร หรืออาจจะไม่รู้ว่าต้องจัดการกับอารมณ์ของตัวเองยังไง หากลูก ๆ พบเจอกับปัญหานี้ ให้คุณพ่อคุณแม่สอนน้อง ๆ ให้หันหน้าเข้ามาพูดคุย หรือปรึกษากับคนที่บ้าน อย่าเก็บความรู้สึกเอาไว้เพียงคนเดียว

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีปราบลูกงอแงตอนไปเที่ยว วิจัยเผยวิธีรับมือลูกโวยวายเมื่อเดินทางไปเที่ยว

 

จัดการอารมณ์ 33

 

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้

ท้ายที่สุดแล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นคนช่วยให้ลูกทำความเข้าใจและสามารถ จัดการอารมณ์ ของตัวเอง ต้องคอยถามไถ่ ว่าลูกรู้สึกยังไง และจะจัดการอารมณ์ตัวเองยังไง หากลูกยังไม่สามารถจัดการอารมณ์ความรู้สึกได้ด้วยตัวเอง ก็ควรชี้แนะลูก เพื่อเป็นแนวทาง ซึ่งการฝึกลูกตั้งแต่เขาอายุยังน้อย จะทำให้เด็กโตมาเป็นคนที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขค่ะ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
เด็กยุคใหม่เครียด เรียนออนไลน์ ไม่รู้เรื่อง ปัญหาใหญ่ที่พ่อแม่ห้ามละเลย
ภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในเด็ก มีอาการอย่างไร เด็กก็เศร้าเป็น
ลูกขี้โมโห ! เลี้ยงยังไงดี จะรับมือกับลูกขี้โมโหได้ยังไงบ้าง

 

ที่มาข้อมูล : lingoace , sikarin

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • แชร์เทคนิค ! สอนให้ลูก จัดการอารมณ์ และเข้าใจในอารมณ์ตัวเอง
แชร์ :
  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

    ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

    ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว