X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ท้อง 7 เดือนท้องแข็งบ่อย อาการท้องแข็งในแบบต่าง ๆ มดลูกบีบตัว

บทความ 5 นาที
ท้อง 7 เดือนท้องแข็งบ่อย อาการท้องแข็งในแบบต่าง ๆ มดลูกบีบตัว

เมื่อแม่ ท้อง 7 เดือนท้องแข็งบ่อย คนท้องท้องแข็ง อาการท้องแข็ง เนื่องจากมดลูกก็จะขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งปกติแล้วมันก็มักจะเป็นก้อนนิ่ม ๆ เมื่อคลำไปจะเจอทารกดิ้นอยู่ แต่หากจู่ ๆ มดลูกกลับแข็งเป็นก้อน ๆ บางทีก็รู้สึกแน่นท้อง ท้องแข็งไม่ได้ท้อง รู้สึกว่าท้องแข็ง ท้อง36สัปดาห์ท้องแข็ง อาการท้องแข็ง แน่นท้อง ซึ่งอาการ ท้องแข็งแบบต่าง ๆ นี้หมายความว่าอะไร ท้องแข็งเป็นยังไง ใกล้คลอดหรือเปล่า อาการท้องแข็งเป็นยังไง ไปติดตามกันเลย

 

อาการท้องแข็งใกล้คลอด อาการท้องแข็งเป็นอย่างไร

ท้องแข็ง คนท้องท้องแข็ง อาการท้องแข็ง แน่นท้อง อาการท้องแข็งเป็นอย่างไร สามารถแบ่งได้คร่าว ๆ ดังนี้

  1. ท้องแข็งเพราะลูกมีอาการโก่งตัว
  2. ท้องแข็งเพราะกินอิ่ม ทานเยอะ
  3. ท้องแข็งเพราะมดลูกบีบตัว
  4. ท้องแข็งจากสาเหตุอื่น ๆ

อาการท้องแข็ง ตามความหมายของคุณหมอมักจะหมายถึง การบีบตัวของมดลูก เป็นอาการที่พบได้ในช่วงไตรมาสสุดท้าย ของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาการท้องแข็งนี้ มักจะสร้างความกังวลใจให้กับแม่ท้องไม่น้อย บางครั้งพอลุกยืนท้องก็แข็ง ล้มตัวนอนท้องก็แข็งอีก จนแม่ท้องกลัวว่าจะเป็นอันตรายบ้าง กลัวว่าจะเป็นอาการใกล้คลอดบ้าง เรามาดูกันว่า ท้องแข็งแบบต่าง ๆ แยกอย่างไร มีลักษณะแบบไหนบ้าง

 

1. อาการท้องแข็ง ท้องแข็งเพราะลูกโก่งตัว

อาการท้องแข็งใกล้คลอด อาการท้องแข็งแบบแรกที่เจอกันบ่อย ๆ นั่นก็คือท้องแข็ง เพราะ ลูกโก่งตัว โดยแม่ท้องจะรู้สึกว่ามีอาการท้องแข็งแบบ “แข็งบางที่ นิ่มบางที่” ท้องแข็งแบบนี้ เกิดจากเด็กในท้องดิ้น หรือโก่งตัว โดยอวัยวะของลูกในท้องอย่างเช่น ศอก ไหล่ เข่า หัว หรือก้น จะนูนตรงนั้นตรงนี้ไปทั่ว ส่วนที่มักจะนูนโก่งแข็งจนมดลูกเบี้ยวไปข้างหนึ่งเลยก็มักจะเป็นหลัง กับ ก้น อีกด้านหนึ่งก็จะนิ่มกว่า แล้วก็จะรู้สึกลูกด้นเป็นจุดเล็กจุดน้อย ด้านนั้นก็จะเป็นส่วนของมือ ส่วนของเท้า อาการท้องแข็งแบบนี้ไม่มีอันตรายอะไรนะครับ แม่ท้องไม่ต้องกังวล

บทความที่เกี่ยวข้อง : ท้องแข็ง เกิดจากอะไร ท้องแข็งเป็นอาการป่วย หรือสัญญาณใกล้คลอด?

 

Advertisement

ท้อง 7 เดือนท้องแข็งบ่อย

 

2. ตั้งครรภ์ท้องแข็ง คนท้องท้องแข็ง ท้องแข็งเพราะกินอิ่ม

สำหรับแม่ท้องบางคน โดยเฉพาะคุณแม่ท้องแก่ อาจจะมีอาการท้องแข็งหลังกินข้าว กินอะไรเข้าไปก็รู้สึกแน่นไปหมด บางครั้งก็แน่นจนแทบหายใจไม่ออก ต้องนั่งสักพัก ยืดตัวยาว ๆ สักพักอาการก็จะดีขึ้นเอง อาการท้องแข็งแบบนี้เกิดจากการที่ความจุของช่องท้องมีพื้นที่จำกัด มดลูกที่โตขึ้นตามอายุครรภ์ไปเบียดแย่งที่กับอวัยวะอื่น ๆ ในช่องท้อง กระเพาะปัสสาวะถูกเบียด กระเพาะอาหารลำไส้ก็ถูกเบียดขึ้นไปจนติดอยู่ใต้กะบังลม  พอกินอะไรเข้าไปก็จะรู้สึกแน่นไปหมด

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณแม่ที่ตัวเล็ก ๆ สั้น ๆ ก็จะมีอาการแบบนี้ง่ายเป็นพิเศษ อาการท้องแข็งแบบนี้ ไม่ได้มีส่วนทำให้เกิดอาการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนดนะครับ โดยมากจะเป็นความรู้สึกท้องแข็งแน่นท้องมากกว่า ถ้าไปพบคุณหมอเมื่อจับมดลูกดูก็จะพบว่า ท้องไม่ค่อยแข็งมาก หรือ เรียกว่าอาการท้องตึงมากกว่า และ ไม่ได้เกิดจากมดลูกมีการบีบตัว

คำแนะนำที่ช่วยลดอาการนี้ คือ ควรกินอาหารอ่อน ย่อยง่าย แบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ รับประทานครั้งละน้อย ๆ หลังทานแล้วก็ต้องนั่งให้เรอออกมาก่อน แล้วพยายามอย่าให้ท้องผูก และควรขับถ่ายเป็นประจำทุกวัน ก็จะแน่นท้องน้อยลงครับ

 

3. ตั้งครรภ์ ท้องแข็ง อาการท้องแข็ง เพราะมดลูกบีบตัว ท้องแข็งคนท้อง

อาการท้องแข็งแบบนี้ มดลูกในท้องของคุณแม่จะมีอาการแข็งทั้งหมด ไม่แข็งเป็นบางจุด เหมือนอาการท้องแข็ง เพราะเด็กโก่งตัว และจะมีอาการปวดท้อง เหมือนปวดประจำเดือน อาการท้องแข็งแบบนี้นี่แหละครับที่มักมีปัญหา โดยอาการท้องแข็ง เพราะมดลูกบีบตัวนั้น สามารถแยกย่อยได้ดังนี้

 

  • ท้องแข็งของแท้ (มดลูกบีบตัวก่อนกำหนด)

ปกติแล้ว มักจะไม่ค่อยเกิดขึ้นช่วงก่อน 28 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ช่วงที่พบว่ามีอาการท้องแข็ง มดลูกบีบตัวก่อนกำหนดบ่อยที่สุด ก็คือช่วงอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ซึ่งก็เป็นช่วงที่ลูกในท้องดิ้นมากที่สุด การที่ลูกดิ้นมาก ๆ ก็อาจมีส่วนไปกระตุ้นทำให้มดลูกบีบตัวบ่อยขึ้นได้ด้วยเหมือนกัน และถ้าผ่านช่วง 32-34 สัปดาห์นี้ไปแล้ว อาการท้องแข็งก็จะน้อยลง คุณแม่ท้องบางคน พอถึงเวลาครบกำหนดคลอด แต่กลับไม่มีอาการเจ็บท้องคลอด จนบางทีเลยกำหนดไปเลยก็มี แต่หากแม่ท้องมีอาการท้องแข็งบ่อย และถี่ขึ้น ไม่ได้แข็งเป็นบางจุด และบางทีรู้สึกแข็งมาก หรือแข็งจนรู้สึกแน่นหายใจไม่ออก และอาการไม่ดีขึ้น ควรจะรีบไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด เพราะหากท้องแข็งแล้วไม่ได้รับการดูแลรักษา มดลูกจะบีบตัวจนปากมดลูกเปิด ตามมาด้วยการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนดได้

 

  • ท้องแข็งตามธรรมชาติ (Braxton Hicks Contraction)

แม่ท้องบางคนอาจมีอาการท้องแข็งที่เกิดจากมดลูกบีบตัวได้ เป็นการแข็งตัวนิด ๆ หน่อย ๆ ที่เกิดขึ้นได้เองเป็นธรรมชาติ หรือที่เรียกกันว่า Braxton Hicks Contraction แบบนี้ไม่เป็นอันตรายครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการปวดท้องของคนท้องแก่ แม่ท้องปวดท้องบ่อยเป็นเพราะอะไร ทำไมปวดบ่อยจัง

 

ท้อง 7 เดือนท้องแข็งบ่อย

 

4. อาการท้องแข็ง ท้องแข็งจากสาเหตุอื่น ๆ ท้องแข็งแต่ไม่ปวด

จริง ๆ แล้วสาเหตุของอาการท้องแข็งนั้น มีมากมาย โดยอาจเกิดจากคุณแม่ไม่แข็งแรง สุขภาพไม่ดี อาจเป็นเบาหวาน ความดันสูง หรือมดลูกไม่แข็งแรง มดลูกมีโครงสร้างไม่ปกติ มีเนื้องอกของมดลูก หรือเกิดจากครรภ์แฝด เด็กตัวใหญ่ น้ำคร่ำมาก หรือ แม้แต่มีตกขาว มีการอักเสบของปากมดลูกก็เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย ๆ แต่สาเหตุที่พบมากที่สุด มากกว่า 30% ก็คือ ไม่ทราบสาเหตุก็เป็นไปได้

 

ท้อง 7 เดือนท้องแข็งบ่อย วิธีแก้อาการท้องแข็ง มดลูกบีบตัว

  1. อาการ ท้องแข็ง คนท้องหรือแม่ท้องไม่ควรกลั้นปัสสาวะนะครับ หากปวดปัสสาวะให้เข้าห้องน้ำทันที เพราะ การกลั้นปัสสาวะนาน ๆ อาจทำให้เกิดอาการท้องแข็งได้
  2. ไม่บิดขี้เกียจ เพราะจะทำให้ช่องท้องมีปริมาตรเล็กลง ความดันในมดลูกก็จะสูงขึ้น ทำให้ท้องแข็งได้
  3. ไม่ควรรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้อิ่มจนเกินไป เพราะอาหารที่มากไป ก็มีส่วนที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะ รวมทั้ง อาหารไม่ย่อย จนเกิดอาการท้องแข็งได้
  4. ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เพราะ บางท่าของการมีเพศสัมพันธ์อาจไปกระตุ้นให้มดลูกบีบตัวได้
  5. ไม่ควรสัมผัสกับอวัยวะที่ไวต่อการกระตุ้นให้มดลูกบีบตัวบ่อย ๆ เช่น บริเวณหน้าอก เต้านม เป็นต้น ระหว่างอาบน้ำก็ไม่ควรไปฟอก หรือไปจับบริเวณหัวนมจนเกินความจำเป็น หากหัวนมแข็งชันขึ้นมาเมื่อไหร่ มดลูกก็อาจจะแข็งตัวตามมาได้

 

วิธีบรรเทาอาการท้องแข็งแต่ไม่ปวด

อาการท้องแข็งหลอกจะไม่รู้สึกปวด แต่จะส่งผลให้คุณแม่ไม่สบายท้อง สามารถบรรเทาอาการได้ดังนี้

  • ดื่มน้ำ เพราะท้องแข็งหลอก อาจจะเกิดจากการที่ร่างกายขาดน้ำกระหายน้ำ
  • เปลี่ยนท่าทางการนั่ง หรือการนอน ลุกเพื่อเคลื่อนไหวร่างกาย
  • ออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อให้ผ่อนคลาย มีสมาธิ

 

ท้อง 7 เดือนท้องแข็งบ่อย

 

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

ท้อง 7 เดือนท้องแข็งบ่อย ท้องแข็งต่างกับท้องอืดอย่างไร ?

  • อาการท้องอืด เมื่อกดแล้วหน้าท้องไม่แข็ง
  • อาการท้องอืด มักมีอาการเสียดท้องร่วมด้วย ส่วนท้องแข็งจะมีอาการปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน
  • อาการมักเกิดขึ้น และหายไปเอง ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน
  • อาการท้องอืด เมื่อผายลมแล้วอาการจะดีขึ้น

 

อาการท้องแข็งของคนท้องสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคน หากคุณแม่รู้สึกว่าท้องแข็งมาก และแข็งถี่มากกว่าปกติ หรือเดี๋ยวแข็งเดี๋ยวหายติด ๆ กันเป็นชุด ควรรีบไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด เพื่อความปลอดภัยของทั้งตัวคุณแม่และลูกในท้องนะครับ

 

ทำไมคุณแม่ผ่าคลอดยุคนี้ ถึงไม่ต้องกังวลเรื่องสุขภาพของลูกผ่าคลอดมากจนเกินไป เข้ามาอ่าน หรือแชร์ประสบการณ์ของเหล่าคุณแม่ผ่าคลอดด้วยกันได้ที่ คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club)

ท้อง 7 เดือนท้องแข็งบ่อย อาการท้องแข็งในแบบต่าง ๆ มดลูกบีบตัว

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ท้องแข็ง คือ สัญญาณเตรียมพร้อมก่อนคลอดรึเปล่า

สาเหตุของอาการท้องแข็งแบบไหนอันตรายถึงมือหมอ

ท้องแข็งเป็นก้อน ท้องน้อยแข็ง แบบนี้อันตรายไหม ลดอาการท้องแข็งได้อย่างไร

ที่มา : facebook, mamastory

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ท้อง 7 เดือนท้องแข็งบ่อย อาการท้องแข็งในแบบต่าง ๆ มดลูกบีบตัว
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว