X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีแก้ปัญหาพี่อิจฉาน้อง เทคนิคการเลี้ยงลูก 2 คนขึ้นไป วิธีทำให้พี่น้องรักกัน การป้องกันพี่อิจฉาน้อง ทำได้อย่างไร

บทความ 3 นาที
วิธีแก้ปัญหาพี่อิจฉาน้อง เทคนิคการเลี้ยงลูก 2 คนขึ้นไป วิธีทำให้พี่น้องรักกัน การป้องกันพี่อิจฉาน้อง ทำได้อย่างไร

แม่ลูก 2 ปวดหัวสุด! พี่อิจฉาน้อง งอแง อ้อนเด็ก เรียกร้องความสนใจ แม่อยากให้ลูกรักกัน

วิธีแก้ปัญหาพี่อิจฉาน้อง

วิธีแก้ปัญหาพี่อิจฉาน้อง วิธีทำให้พี่น้องรักกัน เทคนิคการเลี้ยงลูก 2 คนขึ้นไป ที่เริ่มมีอาการพี่อิจฉาน้อง

 

สังเกตอาการพี่น้องอิจฉากัน

การอิจฉากันของพี่น้อง มักจะสังเกตเห็นเด่นชัดเมื่อลูกเติบโต มีการแข่งขันกัน หรือต่อสู้กัน ดังนี้

  • แข่งกันแย่งความสนใจจากพ่อแม่ ญาติ คนในครอบครัว หรือคนอื่น ๆ
  • แสดงพฤติกรรมที่รุนแรงคือ การต่อสู้ ทำร้ายร่างกาย มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว
  • ทะเลาะกันเพื่อแย่งของเล่น ไม่แบ่งปันสิ่งของหรืออาหารให้แก่กัน
  • เด็กบางคนมักจะมีพฤติกรรมถดถอย แสดงพฤติกรรมเลียนแบบเด็กเล็ก ๆ มีพฤติกรรมต่อต้าน ร้องอาละวาด เก็บตัวหรือวิตกกังวล

สำหรับสาเหตุที่ทำให้พี่อิจฉาน้อง หรือมีการอิจฉากันในหมู่พี่น้อง เพราะต้องการเวลาจากพ่อแม่หรือคนในครอบครัว ลูกเรียกร้องความสนใจ เพราะอยากให้สนใจตัวเอง สิ่งที่ลูกแสดงออกอยู่บนพื้นฐานของความต้องการความรักและการยอมรับ

 

วิธีแก้ปัญหาพี่อิจฉาน้องต้องทำอย่างไร

พญ.อาภาภรณ์ พึ่งยอด จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น แนะนำเทคนิคการเลี้ยงลูกไม่ให้พี่อิจฉาน้อง ว่า

  1. ให้ความสนใจเอาใจใส่พี่เท่าเดิม โดยให้ความสนใจกับพี่ควบคู่กับการให้ความสนใจน้อง และไม่ทุ่มเทเวลาเอาใจใส่แต่น้องคนเดียว
  2. ไม่พูดเปรียบเทียบคนหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง
  3. อย่าเน้นปมเด่นลูกคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ
  4. พ่อแม่ต้องมีความรักเด็กเท่ากันอย่างจริงใจ

 

วิธีแก้ปัญหาพี่อิจฉาน้อง เทคนิคการเลี้ยงลูก 2 คนขึ้นไป วิธีทำให้พี่น้องรักกัน การป้องกันพี่อิจฉาน้อง ทำอย่างไร อิจฉาน้อง อ้อนเด็ก หวงแม่ เรียกร้องความสนใจ

วิธีการแก้ปัญหาพี่อิจฉาน้อง

วิธีการป้องกันพี่อิจฉาน้อง

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ ซึ่งเป็นคุณแม่ลูกสอง แนะนำว่าปัญหาพี่อิจฉาน้อง ควรเริ่มจากการป้องกันพี่อิจฉาน้อง โดยสอนพี่ให้รักน้องเริ่มจากตอนที่น้องยังอยู่ในท้อง

 

วิธีสอนพี่ให้รักน้อง

เริ่มจากตอนที่น้องยังอยู่ในท้อง

หลักการคือ ทำให้พี่ตระหนักว่า กำลังจะมีน้อง และเสริมสร้างความรัก ความผูกพัน ให้พี่มีแต่น้อง ตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้องคุณแม่เลยค่ะ คุณพ่อคุณแม่สามารถลองทำตามวิธีต่างๆ เหล่านี้ ยิ่งทำบ่อย ก็ยิ่งดีค่ะ

  1. บอกกับพี่ว่า “พี่..กำลังจะมีน้อง” พร้อมกับชี้ท้องของคุณแม่ให้ดู บอกว่าน้องอยู่ในนี้
  2. ให้พี่ช่วยหยิบซองยาวิตามินบำรุงครรภ์ส่งให้คุณแม่กินทานวัน และบอกว่าเค้าเป็นพี่ที่ดี ช่วยดูแลให้น้องให้เติบโต ตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้องคุณแม่ แล้วให้เค้าจับท้องคุณแม่ที่โตขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน
  3. ให้พี่กอดท้องคุณแม่เหมือนกับกอดน้องอยู่ แล้วบอกรักน้องเหมือนกับคุณพ่อคุณแม่บอกรักพี่ ทุกๆ วัน
  4. เวลาคุณแม่ไปฝากครรภ์ก็เอาพี่ไปด้วย เพื่อให้เค้าได้ยินเสียงหัวใจน้องหรือเห็นภาพน้องผ่านอัลตราซาวด์
  5. หานิทานเรื่องเกี่ยวกับการมีน้อง พี่รักน้อง มาอ่านให้ฟังก่อนเข้านอนทุกวัน
  6. เวลาคุณพ่อคุณแม่เล่านิทานให้พี่ฟัง ก็ให้เค้าจับท้องคุณแม่ และบอกว่าเราเล่านิทานให้น้องฟังด้วยกัน

 

สอนลูกคนโตให้ดูแลน้อง

หลังจากน้องได้เกิดมาแล้ว

หลักการคือ ทำให้พี่ทราบว่าน้องได้เกิดมาแล้ว พี่ก็ยังเป็นที่รักและได้รับการเอาใจใส่เหมือนเดิม ทุกคนในบ้านรักพี่กับน้องเท่ากันเสมอ

  1. บอกพี่ทันทีที่ได้เห็นน้องครั้งแรกว่า “น้องออกมาจากท้องคุณแม่แล้วนะคะ/ครับ” และนี่คือน้องที่เค้าช่วยดูแลมาตั้งแต่อยู่ในท้องคุณแม่
  2. ให้พี่ได้สัมผัสน้องตัว โดยมีผู้ใหญ่อยู่ใกล้ๆ
  3. ชี้ให้พี่ได้ดูอวัยวะต่างๆ เช่น มือ แขน ขา นิ้ว ของน้องที่เล็กกว่าเค้ามาก เพื่อย้ำว่า น้องยังเล็กมากจึงต้องทะนุถนอม อาจบอกเค้าว่า “จับน้องเบา เบา เพราะน้องยังเล็กอยู่ค่ะ/ครับ”
  4. สอนวิธีอุ้มน้องที่ถูกต้องภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้ใหญ่
  5. ให้พี่มีส่วนร่วมในการดูแลน้อง เช่น ช่วยหยิบของใช้น้องส่งให้คุณแม่ หยิบผ้าอ้อม ป้อนอาหาร เพื่อให้พี่รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ช่วยดูแลน้อง
  6. ชมเชยพี่ ที่ช่วยคุณพ่อ คุณแม่ ดูแลน้องได้
  7. หาเวลาทำกิจกรรมเดิมที่คุณพ่อคุณแม่เคยทำร่วมกับพี่ก่อนที่น้องจะเกิดมา เช่น ไปเที่ยว เล่นกัน เล่านิทานก่อนนอน โดยหากคุณแม่ต้องดูแลน้อง ก็อาจให้คุณพ่อช่วยทำแทน
  8. คุณแม่ควรหาเวลาเพื่อชดเชย ให้ความสนใจและทำกิจกรรมร่วมกับพี่อย่างเต็มและให้ผู้อื่นช่วยดูแลน้องแทน เพื่อมิให้พี่รู้สึกไม่ดีว่า เมื่อมีน้องแล้วทำให้คุณเเม่ไม่มีเวลาให้กับพี่ หรือไม่รักพี่เหมือนเดิม
  9. เมื่อน้องเริ่มโต ก็ค่อยๆ สอนให้พี่รู้จักการแบ่งปัน ทั้งขนมและของเล่น ให้กับน้อง เพื่อป้องกันการทะเลาะ แย่งของกันระหว่างพี่น้อง

 

วิธีแก้ปัญหาพี่อิจฉาน้องที่ได้ผลที่สุด คือพ่อแม่ คนในครอบครัว ต้องแสดงให้เด็กรับรู้ และสัมผัสได้ว่า ทุกคนในครอบครัวยังรัก ยังห่วง และใส่ใจเหมือนเดิม เพื่อไม่ให้ลูกรู้สึกว่าน้องได้รับความรักมากกว่า ยิ่งพี่คนโตเติบโตขึ้น อาจจะพูดมากขึ้น เรียกร้องความสนใจมากขึ้น จนทำให้พ่อแม่หงุดหงิด รำคาญใจ ก็ขอให้คุณพ่อคุณแม่อดทน เข้าใจ เพื่อป้องกันปัญหาพี่อิจฉาน้องที่อาจติดตัวลูกไปจนโต

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ

ตารางพัฒนาการ ทารกแรกเกิด-6 ปี พฤติกรรมและพัฒนาการทารก ตั้งแต่แรกเกิด! ทำอะไรได้มากขึ้นแล้วนะแม่

นิสัยของลูกคนโต คนกลาง คนเล็ก และลูกคนเดียว พี่น้อง นิสัย เหมือนหรือต่างกัน

มีลูกคนต่อไปเมื่อไหร่ดี พี่-น้อง ควรมีอายุห่างกันกี่ปีถึงจะดีที่สุด?

ลูกคนโปรดมีจริงพ่อแม่ยอมรับแมนๆ มาเถอะว่า คุณไม่ได้รักลูกทุกคนเท่าๆ กัน

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • วิธีแก้ปัญหาพี่อิจฉาน้อง เทคนิคการเลี้ยงลูก 2 คนขึ้นไป วิธีทำให้พี่น้องรักกัน การป้องกันพี่อิจฉาน้อง ทำได้อย่างไร
แชร์ :
  • ป้องกันไม่ให้ พี่อิจฉาน้อง ตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้อง

    ป้องกันไม่ให้ พี่อิจฉาน้อง ตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้อง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ป้องกันไม่ให้ พี่อิจฉาน้อง ตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้อง

    ป้องกันไม่ให้ พี่อิจฉาน้อง ตั้งแต่น้องยังอยู่ในท้อง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ