เลือกโรงพยาบาลก่อนฝากครรภ์ ต้องเลือกอย่างไร? เรื่องที่หนักใจมากที่สุดของการตั้งครรภฺของคุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจไม่ได้เป็นการตั้งครรภ์ แต่เป็นการเลือกที่ฝากครรภ์เสียมากกว่า ไม่รู้ว่าจะเลือกโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนดี แล้ววิธีเลือกจะเลือกจากอะไร วันนี้ TheAsianparent Thailand มีคำตอบ ขอนำ วิธีเลือกโรงพยาบาลก่อนฝากครรภ์ มาฝากเหล่าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่กันค่ะ
ฝากครรภ์ นั้นดีอย่างไร?
การที่เราจะมีครอบครัวที่สมบูรณ์ได้ อีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยให้ครอบครัวเราสมบูรณ์มากขึ้นนั่นคือการได้ให้กำเนิดคนคนนึ่งขึ้นมา เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากเห็นลูกเติบโตมาเป็นเด็กที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง คุณแม่จะต้องใส่ใจและดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีตามไปด้วย เริ่มต้นได้จากสิ่งง่าย ๆ นั่นคือ “การฝากครรภ์” ส่วนข้อดีและประโยชน์ของการฝากครรภ์จะเป็นอย่างไรกันบ้าง มาทำความรู้จักไปพร้อม ๆ กัน
1. ช่วยป้องกันอันตรายต่อลูกในท้อง
ความสำคัญในการฝากครรภ์ อันดับแรกเลยคือเพื่อลดการคลอดลูกก่อนกำหนด ลดอัตราการแท้ง แถมยังช่วยป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ต่อลูกในท้องอีกด้วย เพราะนอกจากแพทย์จะช่วยดูแลคุณแม่ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน พฤติกรรม หรือแม้แต่การตรวจทั้งภายนอกภายในต่าง ๆ แล้ว ยังช่วยดูแรกทารกในครรภ์ให้ปลอดภัยจากโรคต่าง ๆ และสามารถมีชีวิตริดจนถึงวันคลอดได้อีกด้วย นอกจากนี้การฝากครรภ์นั้นยังรวมไปถึงคุณแม่จะได้พูดคุยปัญหา และหาหนทางแก้ไขถ้าหาเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือโรคภัยต่าง ๆ ในช่วงตั้งครรภ์กับคุณหมอได้อีกด้วย

2. ช่วยป้องกันและลดอาการแทรกซ้อน
อาการแพ้ท้องคลื่นไส้หรืออาเจียน หรือบางคนที่มีอาการแพ้ท้องหนักๆ ซึ่งคุณแม่แต่ละท่านก็จะมีปัญหา หรืออาการแพ้ท้องที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งตัวคุณแม่เองนั้นไม่สามารทราบได้เลยว่าอาการเหล่านั้นเป็นเพียงแค่อาการปกติของหญิงตั้งครรภ์ หรือเป็นสัญญาณเตือนของร่างกาย และทารกในครรภ์ที่ต้องการบอกเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนหรือการติดเชื้อต่าง ๆ หรือไม่ ดังนั้นการฝากครรภ์จะช่วยทำให้ลดอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว และสามารถป้องกันก่อนที่จะเกิดภาวะเหล่านั้นได้
3. ส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ
ความปรารถนาของคุณแม่ทุกท่านที่กำลังตั้งครรภ์นั้นคงหนีไม่พ้นการที่อยากจะให้ลูกตัวเองเติบโตมาเป็นเด็กที่อารมณ์ดีแข็งแรงสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นช่วงเวลาของการตั้งครรภ์เราก็ควรรีบไปพบแพทย์และทำการฝากครรภ์ให้เรียบร้อย เพื่อที่คุณหมอจะได้ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์กับเราได้ หรือถ้าใครที่กำลังสงสัยว่าช่วงที่เราตั้งครรภ์สามารถออกกำลังกายได้ไหม กินอะไรได้บ้าง และต้องรับมือกับอารมณ์ที่แปรปรวนเหล่านี้ยังไง ก็สามารถสอบถามหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอได้เช่นกัน เพราะเมื่อไหร่ที่เราสงสัยและถามคุณหมอสิ่งนี้ก็จะทำให้เราปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง แถมยังช่วยส่งเสริมให้ร่างกายของแข็งแรงขึ้น พร้อมทั้งส่งผลให้อารมณ์และจิตใจดีขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง
4. ตรวจสอบว่าการตั้งครรภ์ปกติไหม
การรับประทานอาหาร พฤติกรรม กิจวัตรประจำวัน หรือแม้แต่การเดินทางต่าง ๆ ล้วนเป็นอันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์เป็นอย่างมาก หากไม่ได้รับการตรวจหรือดูแลเป็นอย่างดีก็อาจเกิดภาวะต่าง ๆ หรืออาการที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ ซึ่งในบางครั้งคุณแม่และลูกเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ได้ อาทิเช่น โรคซิฟิลิส โรคโลหิตจาง รวมถึงเสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษด้วยนั่นเอง และถ้าเราไม่อยากให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นกับคุณแม่และทารกในครรภ์ การฝากครรภ์จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เราจะได้เข้าพบแพทย์เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ควรปฏิบัติตัวให้ถูกต้องและถูกวิธีตามที่คุณหมอสั่ง ซึ่งนั่นเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพ
บทความที่น่าสนใจ : หมอนัดตรวจครรภ์บ่อยแค่ไหน เดือนนี้หมอนัดแล้วไม่ไปได้ไหม ไปเดือนหน้าได้ไหม
5. ช่วยดูแลทารกในครรภ์
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง โดยทารกในครรภ์จะเริ่มมีการพัฒนาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายขึ้นภายใต้ครรภ์ของคุณแม่ ซึ่งการฝากครรภ์นั้นจะทำให้คุณแม่เห็นถึงพัฒนาการต่าง ๆ เหล่านั้นเมื่อเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจความผิดปกติของตนเองและลูกน้อย อีกทั้งยังช่วยทำให้เราทราบว่าลูกในท้องนั้นพัฒนาการและมีน้ำหนักตามเกณฑ์หรือเปล่า ทารกมีความผิดปกติ หรือมีภาวะทรแกซ้อนที่เกิดจากปัจจับภายนอกและภายในอย่างไรบ้าง นอกจากนี้คุณหมอที่รับฝากครรภ์นั้นยังสามารถช่วยคุณแม่เกี่ยวกับวิธีการบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ได้ อาทิ นอนไม่หลับ ปวดท้อง ปวดหัว เป็นต้น เรียกได้ว่าเป็นการดูแลทั้งคุณแม่และคุณลูกไปพร้อมกันเลยทีเดียว

เลือกโรงพยาบาลก่อนฝากครรภ์ ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง?
- คำนวนค่าใช้จ่าย
- ระยะทางจากที่อยู่อาศัยไปยังโรงพยาบาล
- ความน่าเชื่อถือ
- โรงพยาบาลที่มีประวัติการรักษาของคุณแม่
- ความสะดวกสบาย
นอกจากข้อความข้างต้นแล้ว สิ่งที่อยากจะแนะนำคุณแม่มากที่สุดเกี่ยวกับการเลือกโรงพยาบาลในการฝากครรภ์คือ ควรเลือกโรงพยาลที่ใกล้บ้านมากสุด หรือสามารถเดินทางไปได้ไว้ที่สุด เพื่อว่ามีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น คุณแม่จะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที และหากเป็นสถานพยาบาลที่คุณแม่มีประวัติการรักษาโรคประจำตัวมาก่อนยิ่งดีใหญ่ เพราะคุณหมอจะมีประวัติว่าคุณแม่เคยเป็นโรคอะไร ใช้ยาอะไร และจะมีผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์หรือไม่ ส่วนคุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาก่อนแล้วอาจจะฝากครรภ์กับคุณหมอสูติที่คุ้นเคยก็ได้

การฝากครรภ์ในโรงพยาบาลของรัฐมีข้อจำกัดหลายอย่างที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของคุณแม่บางท่านได้ อาทิ การต้องต่อคิวรอนาน บางโรงพยาบาลอาจต้องใช้เวลาทั้งวัน หรือใช้เวลาหลายวันในการตรวจเช็กร่างกายอย่างละเอียด และการที่คุณแม่อาจไม่เจอคุณหมอดูแลครรภ์คนเดิมในทุก ๆ ครั้ง เป็นต้น แต่อยากให้คุณแม่มั่นใจได้ว่าระบบการทำงานของแพทย์นั้นจะมีการจดรายละเอียดของคนไข้ไว้ และสามารถให้แพทย์ท่านอื่นมาดูแลต่อได้ ซึ่งระบบการดูแลต่าง ๆ ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ในราคาที่ไม่แพงมาก
ในทางกลับกัน การฝากครรภ์กับโรงพยาบาลเอกชน คุณแม่จะรู้สึกผ่อนคลายมากกว่าในการพบคุณหมอแต่ละครั้ง และจะสามารถปรึกษาคุณหมอได้อย่างเต็มที่เกี่ยวกับความวิตกกังวลต่าง ๆ ในการตั้งครรภ์ เพราะว่าจะเป็นการดูแลคุณแม่ด้วยหมอคนเดียวตั้งแต่ต้นจนจบ ทั้งนี้ยังสามารถเลือกโรงพยาบาลใกล้บ้าน และเดินทางสะดวกสบายได้อีกด้วย ทั้งนี้ทุกอย่างที่กล่าวมาจะต้องแลกด้วยการจ่ายเงินในราคาที่สูงกว่า เพื่อแลกกับความสะดวกสบาย

ค่าใช้จ่ายฝากครรภ์ครั้งแรกโดยประมาณ
สำหรับการฝากครรภ์นั้น คุณแม่จะเลือกโรงพยาบาลรัฐ หรือเอกชน ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละท่าน แต่โดยรวมแล้วขีดความสามารถของโรงพยาบาลรัฐกับเอกชนก็ไม่ได้ต่างกันมากเท่าไหร่ โดยค่าใช้จ่ายฝากครรภ์ครั้งแรกโดยประมาณ มีดังต่อไปนี้
ฝากครรภ์ครั้งแรกโรงพยาบาลรัฐ
- ค่าฝากครรภ์ครั้งแรก ประมาณ 1,500 บาท
- ค่าตรวจครรภ์ ครั้งละประมาณ 100 – 300 บาท
- ค่ายาตลอดช่วงตั้งครรภ์ ประมาณ 1,000 บาท
- ค่าตรวจอัลตราซาวนด์ ประมาณครั้งละ 500 บาท
- ค่าวัคซีน ประมาณ 200 บาท
ฝากครรภ์ครั้งแรกโรงพยาบาลเอกชน
การฝากครรภ์ครั้งแรกกับโรงพยาบาลเอกชนนั้นแตกต่างออกไปจากโรงพยาบาลของรัฐ โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะถูกรวมอยู่ในแพ็คเกจคลอดแล้ว ทั้งนี้รวมถึงการตรวจนัดต่าง ๆ ที่เป็นไปตามเงื่อนไขของทางโรงพยาบาลและแพ็คเกจนั้น ๆ แต่อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมภายหลังหากมีการเปลี่ยนแผนในการคลอด โดยที่ทั้งหมดนี้สามารถแบ่งผ่อนชำระได้ ซึ่งจะเริ่มต้นที่ประมาณ 10,000 – 35,000 บาท

เอกสารที่ต้องใช้ในการฝากครรภ์ มีอะไรบ้าง
- บัตรประชาชน เผื่อไว้สำหรับทำประวัติที่โรงพยาบาล
- ประวัติการเจ็บป่วย การแพ้ยา การคลอดลูก โรคประจำตัว
- ข้อมูลการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย
เมื่อซักประวัติ และทำทะเบียนของคุณแม่เรียบร้อยแล้ว คุณแม่จะได้รับสมุดฝากครรภ์ หนึ่งเล่ม ด้านในจะเป็นการนัดของแพทย์ในครั้งต่อ ๆ ไป และรายละเอียดเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ค่าง ๆ อาทิ การฉีดวัตซัน วิวัฒนาการของทารก เป็นต้น โดยคุณแม่จะต้องเก็บสมุดเล่มนี้ให้เป็นอย่างดี เพื่อนำมาใช้เวลาแพทย์นัด หรือนำติดตัวมาด้วยเวลาเกิดเหตุฉุกเฉินหรือมีปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์เร่งด้วนอื่น ๆ
สิทธิที่จะได้รับจากประกันสังคม มีอะไรบ้าง
- ค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 13,000 บาทต่อครั้ง
- เงินสงเคราะห์ในการลาคลอดบุตร จะถูจ่ายโดนประกันสังคมอยู่ที่ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน (คิดจากฐานค่าจ้างที่นำส่งประกันสังคม ฐานสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท)
- สำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เช็คเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม 2564 ใครมีสิทธิ์ได้รับบ้าง เช็คเลย
รวมแพ็กเกจฝากครรภ์ ปี 2564 จำเป็นหรือไม่ ที่จะต้องฝากครรภ์?
ฝากครรภ์พิเศษ ต่างจาก ฝากครรภ์ธรรมดาอย่างไร ฝากครรภ์ต้องตรวจอะไรบ้าง
แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการฝากครรภ์ ได้ที่นี่!
ฝากครรภ์ที่ไหนดี มีที่ไหนแนะบ้างไหมคะ เอาที่หมอเก่งๆ อุปกรณ์ครบๆอ่ะค่ะ
ที่มา : 1, 2, 3, 4
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!