X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกมีผื่นแพ้ตามตัว สัญญาณอันตราย หรือแค่ปล่อยไว้ก็หายเอง

บทความ 5 นาที
ทารกมีผื่นแพ้ตามตัว สัญญาณอันตราย หรือแค่ปล่อยไว้ก็หายเอง

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ลูกเป็นผื่นแดงทั้งตัว พบในเด็กเล็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยร้อยละ 60 จะแสดงอาการในขวบปีแรก ซึ่งอาจส่งผลจนมีอาการเรื้อรังต่อไปจนโตเป็นผู้ใหญ่ หากพบว่า ทารกมีผื่นแพ้ตามตัว ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และรับการรักษาอย่างเหมาะสม วันนี้ theAsianaparent จะพามาดูกันว่า ลูกมีผื่นแพ้ตามตัว สังเกตอย่างไร และมีวิธีรับมืออย่างไรบ้าง พร้อมแล้ว ไปดูกันค่ะ

 

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นผื่นแพ้

จากการสำรวจพบว่า ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ เพิ่มขึ้น 3 – 4 เท่า ภายในระยะ 40 ปี และเด็กไทยมากกว่าร้อยละ 50 ที่มีภาวะแพ้ มีความเสี่ยงสูงที่จะแสดงอาการแพ้รุนแรงมากขึ้นจากปัจจัยสำคัญ ได้แก่

  • พันธุกรรม หากพ่อแม่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ ย่อมมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้สูงถึงร้อยละ 50 – 80
  • สิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมี มลภาวะ สภาพอากาศ อาหาร เสื้อผ้า ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ แมลง ไรฝุ่น แบคทีเรีย เชื้อรา บุหรี่ โดยผู้ป่วยราว 10% จะพบว่าอาหารบางชนิด เช่น ไข่ ถั่ว นมวัว เป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นผิวหนังกำเริบรุนแรง

 

อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นเด็ก เป็นอย่างไร

ลักษณะการแสดงอาการของโรค จะแตกต่างกันไปตามช่วงวัยของเด็ก ดังนี้

  1. วัยทารก พบระหว่างอายุ 2 เดือนถึง 2 ปี ส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการเมื่ออายุ 2 เดือนขึ้นไป โดยมักจะเริ่มพบผื่นแดงคัน มีตุ่มแดง และตุ่มน้ำเล็ก ๆ อยู่ในผื่นแดงนั้น ที่แก้มถ้าตุ่มน้ำแตกออกจะมีน้ำเหลืองหรือตกสะเก็ด อาจพบร่องรอยจากการเกาหรือขัดถู โดยเฉพาะบริเวณที่ทารกถูไถ สัมผัสกับพื้นหรือที่นอน ผื่นอาจลุกลามไปยังผิวหนังบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ลำตัว ข้อศอก เข่า ในรายที่เป็นมาก ๆ ผื่นจะเกิดทั่วร่างกายได้
  2. วัยเด็ก อายุระหว่าง 2-12 ปี ตำแหน่งรอยโรคที่พบบ่อย ได้แก่ บริเวณรอบคอ ข้อพับด้านในของแขนและขา เมื่อโรครุนแรงอาจลุกลามไปยังผิวหนังส่วนอื่น ๆ ได้ ผื่นมักประกอบด้วยตุ่มนูนแดงแห้ง ๆ มีขุยเล็กน้อย มักไม่พบตุ่มน้ำแตกแฉะเหมือนวัยทารก มีอาการคัน ผู้ป่วยมักเกาจนเกิดรอยถลอกหรืออาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในรอยโรคได้
  3. วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ มักพบผื่นบริเวณรอบคอ ข้อพับแขน ขา คล้ายที่พบในเด็กโต ในรายที่เป็นมาก ๆ ผื่นจะเกิดทั่วร่างกายได้เช่นกัน ผู้ป่วยโรคนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดผิวหนังอักเสบบริเวณมือได้ง่าย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก ลูกมีผื่นผิวหนังอักเสบผิดปกติไหม อย่ารอจนเรื้อรัง

 

ทารกมีผื่นแพ้ตามตัว

 

ทารกมีผื่นแพ้ตามตัว ผื่นเด็ก ต้องดูแลอย่างไร

1.พบแพทย์ทันทีที่สังเกตเห็นอาการผื่นแพ้ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด

2.หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผล ลดการเสียดสีบริเวณแผล และห้ามเกาแผลเด็ดขาด เพื่อป้องกันอาการผิวหนังอักเสบ ที่อาจติดเชื้อลุกลามไปทั่วทั้งตัว หากพบว่าแผลมีลักษณะอักเสบ มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม หรือแผลลุกลามเป็นบริเวณกว้าง ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับยาปฏิชีวนะสำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

3.หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นการก่อโรค เช่น เลี่ยงการสัมผัสสารระคายเคือง เลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ทำความสะอาดบริเวณที่นอน และรอบ ๆ บ้านให้สะอาด ปราศจากไรฝุ่น หรือเกสรดอกไม้ งดทานอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น ไข่แดง แป้ง ถั่ว นมวัว หรือหากลูกแพ้นมวัวผ่านนมแม่ แม่ควรงดทานนมวัวตลอดช่วงให้นมบุตร เป็นต้น

 

โรคผื่นแพ้ผิวหนัง ผื่นเด็ก ป้องกันได้อย่างไร

จากการศึกษาของ สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย พบว่า เด็กเริ่มมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคภูมิแพ้ ได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา งานวิจัยในการหาวิธีป้องกันโรคภูมิแพ้ในเด็ก จึงพุ่งเป้าไปที่ การดูแลตัวเองของมารดาขณะตั้งครรภ์ และการดูแลทารกในวัยแรกเกิด แบ่งออกเป็น 4 วิธี ดังนี้

1.รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่อย่างสมดุลในขณะตั้งครรภ์ โดยการทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แม่ไม่ควรดื่มนม หรือทานผลิตภัณฑ์จากนม ในปริมาณมากกว่าปกติที่เคยทานในช่วงก่อนตั้งครรภ์ เพราะอาจไปกระตุ้นให้ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อการแพ้โปรตีนนมวัวได้

2.ให้ทารกทานนมแม่อย่างเดียวต่อเนื่องนาน 6 เดือน มีงานวิจัยทั้งหมดราว 4,000 ชิ้น พบว่า การทานนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 4 – 6 เดือน สามารถลดโอกาสการเกิดภูมิแพ้ในเด็กเล็กได้ และนมแม่เป็นอาหารที่เหมาะกับระบบย่อยอาหารของทารกที่ยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากน้ำนมแม่ เป็นโปรตีนที่ผ่านการย่อยแล้วบางส่วน ถูกทำให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็กลงแล้ว จึงไม่ไปกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ นอกจากนี้ นมแม่ ยังมีจุลินทรีย์ที่ดี คือ บิฟิดัส บีแอล ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยแข็งแรง ไม่ป่วยง่าย และมีพัฒนาการทางสมองและร่างกายดีสมวัย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก รักษาด่วนก่อนเรื้อรัง

 

ทารกมีผื่นแพ้ตามตัว

 

3.แนะนำให้กินอาหารครบทั้ง 5 หมู่ อย่างสมดุลในระหว่างให้นมบุตร ไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น นมวัว ไข่ อาหารทะเล แต่ให้ทานในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินกว่าปกติที่เคยทาน เพราะอาจไปกระตุ้นให้ทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี ที่ระบบภูมิต้านทานยังไม่สมบูรณ์และค่อนข้างอ่อนไหว มีอาการแพ้เนื่องจากตรวจพบสารอาหารแปลกปลอมที่ถูกส่งผ่านทางนมแม่มายังลูกน้อยได้

4.ในกรณีที่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวและไม่สามารถทานนมแม่ได้ สามารถขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ในการเลือก โปรตีนผ่านการย่อยบางส่วนที่เป็นเวย์ 100% หรือ H.A. (Hypoallergenic) ตามคำแนะนำจากแนวทางปฏิบัติในการป้องกันโรคภูมิแพ้แห่งประเทศไทย

 

ผื่นแพ้ผิวหนังในทารก มักเป็นอาการเรื้อรัง ตามสถิติพบว่า ผู้ป่วยโรคผื่นแพ้ผิวหนังร้อยละ 60 จะมีอาการก่อนอายุ 1 ปี และมีอาการก่อนอายุ 5 ปี มากถึงร้อยละ 85 แต่อาการเหล่านี้จะดีขึ้นตามอายุที่มากขึ้น และดีขึ้นมากเมื่ออายุประมาณ 10 ปี ดังนั้น หากพบว่า ลูกเป็นผื่นแพ้ผิวหนัง ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพราะเมื่อลูกน้อยได้รับการรักษาที่เหมาะสม และดูแลเป็นอย่างดีเร็วเท่าไร ก็ยิ่งลดความเจ็บปวดจากแผลเรื้อรังของลูกน้อย และเพิ่มโอกาสในการหายขาดจากโรคได้มากขึ้นเท่านั้น

 

เมื่อลูกมีร่างกายที่แข็งแรง เขาก็พร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาไปได้อย่างเต็มศักยภาพ คุณพ่อคุณแม่สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตัวเองได้ที่ https://www.nestlemomandme.in.th/sensitive-expert

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ผื่นที่เต้านม ผื่นแบบไหนเป็นสัญญาณมะเร็งเต้านมกันนะ?

วิธีดูแลสุขภาพผิวลูกรักในช่วงอากาศเย็น ไม่ให้มีปัญหาผดผื่นมากวนใจ

ผื่นคนท้อง แม่ขอแชร์! คันตามแขนขา ผดผื่นขณะตั้งครรภ์ หายในสองเดือน

ที่มา : 1, 2, 3, 4, 5

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • โรคภูมิแพ้
  • /
  • ทารกมีผื่นแพ้ตามตัว สัญญาณอันตราย หรือแค่ปล่อยไว้ก็หายเอง
แชร์ :
  • โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง คืออะไร สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้น

    โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง คืออะไร สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้น

  • ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก ลูกมีผื่นผิวหนังอักเสบผิดปกติไหม อย่ารอจนเรื้อรัง

    ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก ลูกมีผื่นผิวหนังอักเสบผิดปกติไหม อย่ารอจนเรื้อรัง

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง คืออะไร สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้น

    โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง คืออะไร สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้น

  • ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก ลูกมีผื่นผิวหนังอักเสบผิดปกติไหม อย่ารอจนเรื้อรัง

    ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก ลูกมีผื่นผิวหนังอักเสบผิดปกติไหม อย่ารอจนเรื้อรัง

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ