X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รู้จักวัคซีนโปลิโอ : ทำไมต้องยกเลิกวัคซีนรวม 3 สายพันธุ์ชนิดหยอด?

บทความ 3 นาที
รู้จักวัคซีนโปลิโอ : ทำไมต้องยกเลิกวัคซีนรวม 3 สายพันธุ์ชนิดหยอด?

จากข่าวการยกเลิกวัคซีนโปลิโอแบบหยอดชนิด 3 สายพันธุ์ คุณแม่อาจสงสัยว่าวัคซีนโปลิโอแบบนี้ไม่ดีอย่างไร ทำไมต้องยกเลิก เรามาทำความรู้จักกับวัคซีนโปลิโอแบบง่ายๆ กันดีกว่า

วัคซีนโปลิโอ

วัคซีนพื้นฐาน  คือ วัคซีนจำเป็นตามแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เด็กไทยทุกคนต้องได้รับ โดยเป็นวัคซีนป้องกันโรคสำคัญๆ ที่ติดต่อได้ง่าย หรือโรคที่ก่อให้เกิดอาการรุนแรงอันตรายในเด็กทั้งหมด 10 โรค  รวมถึงโรคโปลิโอ  ซึ่งปัจจุบันวัคซีนโปลิโอมี 2 ชนิด คือ

1.ชนิดรับประทาน  เรียกว่า OPV เป็นวัคซีนที่เตรียมจากเชื้อโปลิโอที่ยังมีชีวิตอยู่แต่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง รวม 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์เซบิน 1,2 และ 3 ใช้โดยการหยอดใส่ปาก ซึ่งเป็นการเลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติ ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่บริเวณเยื่อบุลำคอและลำไส้อย่างรวดเร็วและอยู่ได้นาน ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้ยากดภูมิคุ้มกัน

Advertisement

2.ชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ  เรียกว่า IPV เป็นวัคซีนเชื้อตาย  จะอยู่ในรูปของวัคซีนรวม โดยรวมอยู่กับวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน วัคซีนฮิบ และวัคซีนตับอักเสบบี รวมเป็น 4, 5 หรือ 6 ชนิดในเข็มเดียวกัน สามารถใช้ทดแทนวัคซีนโปลิโอชนิดหยอดได้ สามารถใช้ในเด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง/มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคดังกล่าวหรือได้ยากดภูมิคุ้มกันได้ อย่างไรก็ดี  เมื่อฉีดวัคซีนชนิดนี้ภูมิคุ้มกันไม่ได้เกิดทันทีหลังฉีด จึงไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กที่ต้องการให้มีภูมิคุ้มกันเร่งด่วน

สำหรับวัคซีนโปลิโอซึ่งเด็กทุกคนสามารถเข้ารับตามโรงพยาบาล อนามัย หรือศูนย์บริการสาธารณสุขได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนั้นปัจจุบันเป็นชนิดรับประทานรวม 3 สายพันธุ์   แต่เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า  วัคซีนรวมชนิดรับประทานดังกล่าวมีผลข้างเคียง คือ

1. ทำให้เด็กที่รับวัคซีนเป็นโรคโปลิโอ แต่ไม่แพร่ระบาดต่อไปสู่ผู้อื่น พบได้ 1 ในล้านคนที่ได้รับวัคซีน

2.ผลข้างเคียงรุนแรงทำให้เกิดโรคโปลิโอ และทำให้ตัวเชื้อกลายพันธุ์ ถึง 90% ส่วนใหญ่มาจากสายพันธุ์เซบิน  2

ดังนั้น แผนระยะสั้น องค์การอนามัยโลก (WHO)  จึงเปลี่ยนการให้วัคซีนแบบใหม่เป็นการให้วัคซีนชนิดหยอดรับประทาน 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์เซบิน 1 และ 3 เรียกว่า bivalent OPV ( bOPV)  ร่วมกับการให้วัคซีนชนิดฉีดสำหรับสายพันธุ์เซบิน 2 เพราะชนิดฉีดไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์

สำหรับแผนระยะยาว WHO แนะนำให้ทุกประเทศหันมาใช้วัคซีน IPV ทดแทนการให้วัคซีนรวม 3 สายพันธุ์ชนิดหยอดรับประทาน ก่อนสิ้นปี 2558 เพื่อให้มั่นใจว่าเด็กที่ได้รับวัคซีน bOPV จะยังคงมีภูมิคุ้มกันต่อโปลิโอไวรัสสายพันธุ์เซบิน  2  ที่ไม่มีอยู่ใน bOPV และในเดือนเมษายน 2559 กำหนดให้โรงงาน หยุดผลิตวัคซีนเดิมชนิด 3 สายพันธุ์ ทุกประเทศจะทำลายวัคซีนเดิมที่เหลือ ซึ่งคาดว่าจะช่วยทำให้ทั่วโลกมีโอกาสบรรลุเป้าหมายปิดฉากสุดท้ายของการกวาดล้างโปลิโอได้มากขึ้นและลดการเกิดโรคโปลิโอที่เป็นผลข้างเคียงจากการได้รับวัคซีนชนิด 3 สายพันธุ์ได้ ขณะนี้หลายประเทศได้ตกลงและดำเนินการตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกแล้ว

นายแพทย์อภิชัย กล่าวต่ออีกว่า สำหรับประเทศไทยมีนโยบายสอดคล้องกับแผนจัดการปิดฉากสุดท้าย ของการกวาดล้างโปลิโอตามมติของการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก โดยคณะกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติกำลังพิจารณาการนำวัคซีน IPV มาใช้ในแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ เพื่อให้สามารถจัดซื้อวัคซีน IPV มาใช้ได้ทันในปี 2558 โดยหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่ในการควบคุมคุณภาพชีววัตถุของประเทศ คือ สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีหน้าที่หลักในการตรวจวิเคราะห์คุณภาพประกอบการขึ้นทะเบียนและ การรับรองรุ่นการผลิตของวัคซีนก่อนอนุญาตให้จำหน่ายในประเทศ จึงมั่นใจได้ว่ากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถรองรับการปรับเปลี่ยนชนิดของวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอในแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กตามนโยบายของประเทศได้ และกวาดล้างโรคโปลิโอให้หมดไปจากโลก

จากข้อมูลทั้งหมดหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่เพื่ออัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนให้ลูกน้อยนะคะ

ที่มา :      คู่มือวัคซีน 2013 และประเด็นในการสื่อสาร

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

 

ไข้สมองอักเสบเจอี: โรคร้ายที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ตารางวัคซีนสำหรับลูกตั้งแต่แรกเกิดถึงวัยรุ่น

มารู้จักวัคซีนเสริมสำหรับเด็กกันดีกว่า ตอนที่ 1

 

 

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ภญ.กษมา กาญจนพันธุ์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • รู้จักวัคซีนโปลิโอ : ทำไมต้องยกเลิกวัคซีนรวม 3 สายพันธุ์ชนิดหยอด?
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว