X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่ให้นมต้องกินเพิ่มมากแค่ไหน โภชนาการของมารดา ที่ให้นมบุตร ควรกินอะไรบ้าง

บทความ 5 นาที
แม่ให้นมต้องกินเพิ่มมากแค่ไหน โภชนาการของมารดา ที่ให้นมบุตร ควรกินอะไรบ้าง

โภชนาการของมารดา ที่ให้นมบุตร จะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง ตัวคุณแม่จําเป็นต้องได้รับสารอาหารต่าง ๆ ให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เพื่อให้เกิดการสร้างน้ำนมสำหรับทารก มีพลังงานเพียงพอที่จะใช้ในการผลิตน้ำนมแม่ และยังเสริมสร้าง และซ่อมแซมสุขภาพของคุณแม่ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 

 

ข้อแนะนําในการเลือกรับประทานอาหาร

  1. เนื้อสัตว์ต่าง ๆ หญิงมีครรภ์ควรได้รับเนื้อสัตว์ ให้เพียงพอทุกวัน จะเป็นเนื้อสัตว์ชนิดใดก็ได้ แต่ไม่ควรติดหนัง
  2. ไข่เป็ด หรือไข่ไก่ ควรรับประทานทุกวัน ประมาณวันละ 1 ฟอง นอกจากจะมีโปรตีนมากแล้วยัง มีธาตุเหล็ก และวิตามินเอ มากอีกด้วย
  3. นมสด มีโปรตีนสูง และมีแคลเซียม ที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดี ถ้าไม่สามารถดื่มนมวัวได้ ก็อาจจะดื่มนมถั่วเหลืองแทน แต่ควรรับประทานเนื้อสัตว์ ไข่ หรือถั่วเมล็ดแห้งให้มากขึ้น
  4. ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่นเต้าหู้ ฯลฯ ซึ่งควรรับประทานสลับกับ เนื้อสัตว์ และรับประทานเป็นประจํา
  5. ข้าว และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ถ้าหากรับประทานเป็นข้าวซ้อมมือ จะทําให้ได้วิตามินบี 1 และกากใยเพิ่มขึ้น ซึ่งวิตามินชนิดนี้ จะช่วยป้องกันอาการเหน็บชา และลดอาการท้องผูก
  6. ผัก และผลไม้ต่าง ๆ ควรรับประทานผลไม้หลังอาหารทุกมื้อ และควรมีความหลากหลาย ตามฤดูกาล และรับประทานเป็นอาหารว่าง ในทุก ๆ วัน ผัก และผลไม้ เป็นแหล่งอาหาร ที่ให้ วิตามิน เกลือแร่ และกากใยที่ดีมาก นอกจากนี้ ยังช่วยให้ระบบขับถ่ายสะดวกขึ้น ทำให้ไม่เกิดอาการท้องผูก
  7. ไขมัน หรือน้ำมัน ควรเลือกน้ำมันที่ไม่มีโคเลสเตอรอล และ มีกรดไขมันที่จําเป็นต่อร่างกาย เช่น น้ำมันถั่วเหลือง แต่ก็ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : แม่ให้นมลูกกินขนุน ได้ไหม กลิ่นจะติดนม หรือลูกเหม็นหรือเปล่า?

 

ตอนที่ 61 ภาวะโภชนาการของมารดาที่ให้นมบุตร

 

ความต้องการทาง โภชนาการของมารดา ที่ให้นมบุตร

พลังงานที่ตัวคุณแม่ควรได้รับเพิ่มขึ้นจากการตั้งครรภ์ ทำให้ตัวคุณแม่เองมีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น ช่วงระยะเวลาที่คุณแม่มีครรภ์ และช่วงที่คุณแม่จะต้องให้นมบุตรนั้น ตัวคุณแม่เอง จะต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม  ซึ่งพลังงานตัวนี้จะได้มาจาก โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ซึ่งได้แก่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ นม ข้าว เป็นต้น ส่วนไขมันนั้นก็จำเป็นเช่นกัน แต่ไม่ควรที่จะมากจนเกินไป

 

ตอนที่ 61 ภาวะโภชนาการของมารดาที่ให้นมบุตร

 

  • โปรตีน ในระยะให้นมบุตร คุณแม่จำเป็นจะต้องได้รับโปรตีนให้เพียงพอ เพื่อใช้ในการสร้างน้ำนมสำหรับบุตร  และเพื่อซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ของคุณแม่ที่สูญเสียไปในช่วงที่คลอด เช่น เลือด ถ้าขาดโปรตีนมาก จะทำให้เกิดการบวม โลหิตจาง ส่งผลถึงภูมิต้านทานโรคก็จะต่ำด้วย แนะนำให้มีการเสริมธาตุเหล็ก ร่วมกับอาหารที่ให้ธาตุเหล็กมาก ได้แก่ เครื่องในสัตว์ ไข่ ผักใบเขียว พืชประเภทถั่ว และควรทางผลไม้เข้าไปเสริมด้วยเช่นกัน เนื่องจาก วิตามินซี จากผลไม้ จะเป็นตัวช่วยให้ร่างกาย สามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น

 

  • แคลเซียม เป็นสารอาหารที่สำคัญเป็นอย่างมาก ในการผลิตน้ำนมแม่ให้มีคุณภาพ เพราะแคลเซียมจากน้ำนมแม่ จะถูกนำไปสร้างกระดูก และฟันของลูกน้อย ดังนั้นเพื่อป้องกันการสลายตัวของแคลเซียมออกจากกระดูก ซึ่งจะทำให้ตัวคุณแม่เป็นโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) อาหารที่มีแคลเซียม ได้แก่ นม และผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมจากนมบางกลุ่ม ปลาตัวเล็ก หรือปลาที่สามารถรับประทานทั้งกระดูกได้ กุ้งฝอย ยอดแค และผักใบเขียว จะเป็นตัวช่วยที่ดีมากเลยค่ะ

 

  • วิตามินเอ วิตามินชนิดนี้จำเป็นมากสำหรับการสร้างน้ำนมให้กับลูกน้อย ซึ่งอาหารที่มีวิตามินชนิดนี้จะมีมากใน ไข่แดง ตับ ไต เนยเทียม นมสด น้ำมันตับปลา และจากผักใบเขียวจัด และเหลืองจัด เช่น ผักกาดเขียว แครอท ฟักทอง ผลไม้สีเหลือง แดง เช่น มะม่วงสุก มะละกอสุก เป็นต้น

 

  • วิตามินซี ระดับวิตามินซีในนมแม่จะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อให้นมบุตรไปนานกว่า 7 เดือน อาหารที่มีวิตามินซี ได้แก่ ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว แอปเปิ้ลเขียว ผักสด เช่น กะหล่ำปลี มะเขือเทศ 

 

  • วิตามินบี1 ระยะให้นมบุตร แม่มักขาดวิตามินบี 1 มีผลทำให้น้ำนมของแม่เองก็จะมี วิตามินบี 1 น้อยตามไปด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุให้ตัวทารกเอง ก็ขาดวิตามินชนิดนี้เหมือนกัน หากขาดวิตามินชนิดนี้แล้ว อาการที่จะเห็นได้ชัดคือ อาการเหน็บชา อาหารที่มีวิตามินบี 1 ได้แก่ ข้าวซ้อมมือ หมูเนื้อแดง เนื้อวัว ตับ ธัญพืชทั้งหมด รวมถึงถั่วเมล็ดแห้งด้วยเช่นกัน

 

  • วิตามินบี2 เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำนมแม่ สำหรับคุณแม่ที่ให้นมบุตรนั้น อาหารที่มีวิตามินบีชนิดนี้มาก ได้แก่ นม เนย เครื่องในสัตว์ ไข่ ผักใบเขียว และยีสต์

 

  • วิตามินบี12 หากขาดวิตามินกลุ่มนี้ จะส่งผลให้เกิดโรคโลหิตจางได้ วิตามินบี 12 จะพบมากใน ตับ ไต เนื้อสัตว์ที่ไม่มีไขมัน นมสด ไข่ และปลา

 

  • น้ำดื่ม คุณแม่ควรที่จะดื่มน้ำสะอาดในปริมาณ 8-10 แก้วต่อวัน และถ้าอยู่ในบริเวณที่มีอากาศร้อน ก็จะต้องดื่มให้มากขึ้นอีก เพื่อจะได้ช่วยให้การหลั่งน้ำนม มีประสิทธิภาพ และตัวคุณแม่เอง ก็จะไม่รู้สึกเพลียอีกด้วย

 

ตอนที่ 61 ภาวะโภชนาการของมารดาที่ให้นมบุตร

 

ข้อแนะนําในการปฏิบัติตัวของหญิงมีครรภ์

  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และไขมัน ในปริมาณที่เหมาะสม และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ในทุก ๆ วัน และงดอาหารหมักดอง
  2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ประเภทแอลกอฮอลล์ ยาดองเหล้า ทุกชนิด เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม
  3. งดอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็น หวานจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด และเผ็ดจัด
  4. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ตรากตรำทำงานจนหนักมากเกินไป
  6. ออกกำลังกายพอประมาณ ไม่หักโหม และไม่เครื่องไหวร่างกายหนักจนเกินเหตุ
  7. กินยาบำรุงตามที่แพทย์สั่ง สำหรับ ยารักษาโรคต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งอาหารเสริม ก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
  8. หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรที่จะเข้าไปปรึกษาแพทย์ทันที

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
Plentitude เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า นวัตกรรมใหม่ ที่คว้าใจเหล่าคุณแม่ จนได้รับรางวัล Most Promising Award สุดยอดผลิตภัณฑ์ที่น่าจับตามอง จากเวที TAP Awards 2022
Plentitude เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า นวัตกรรมใหม่ ที่คว้าใจเหล่าคุณแม่ จนได้รับรางวัล Most Promising Award สุดยอดผลิตภัณฑ์ที่น่าจับตามอง จากเวที TAP Awards 2022

ผ้าคลุมให้นม ยี่ห้อไหนดี ควรค่าแก่การซื้อมาใช้สำหรับคุณแม่ และลูกน้อย

คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

ท่าให้นมลูก อุ้มลูกให้นม เอาลูกเข้าเต้าอย่างถูกวิธี ดูดจ๊วบๆ น้ำนมไหลดี

ที่มา : A , B

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • การให้นมลูก
  • /
  • แม่ให้นมต้องกินเพิ่มมากแค่ไหน โภชนาการของมารดา ที่ให้นมบุตร ควรกินอะไรบ้าง
แชร์ :
  • อาหารเสริมแม่ให้นมบุตร 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 51

    อาหารเสริมแม่ให้นมบุตร 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 51

  • น้ำนมซึม 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 73

    น้ำนมซึม 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 73

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • อาหารเสริมแม่ให้นมบุตร 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 51

    อาหารเสริมแม่ให้นมบุตร 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 51

  • น้ำนมซึม 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 73

    น้ำนมซึม 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 73

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ