X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกฉลาดไม่ฉลาด พันธุกรรมพ่อแม่ ก็มีเอี่ยวนะ!!

บทความ 5 นาที
ลูกฉลาดไม่ฉลาด พันธุกรรมพ่อแม่ ก็มีเอี่ยวนะ!!

เวลาลูกฉายแววความฉลาด มีไอคิวดี พ่อแม่นี่แก้มปริยิ้มภูมิใจกันเลยใช่ไหมคะ แต่กลับบางครอบครัวส่งลูกไปเรียนพิเศษก็แล้ว แถมพ่อแม่ก็ยังคอยเป็นติวเตอร์สอนนู่นนี่ให้ แต่ทำไมกลับไม่ได้ดีอย่างที่พ่อแม่ตั้งใจไว้ ซึ่งความจริงแล้วคำตอบของข้อสงสัยนี้ก็คือ ความฉลาดของลูกนั้น มีผลมาจากพันธุกรรมของพ่อแม่ แต่จะมีรายละเอียดอย่างไร สามารถอ่านได้จากบทความนี้เลยค่ะ 

 

งานวิจัยชี้ ลูกฉลาดไม่ฉลาด เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมพ่อแม่

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ในสกอตแลนด์ ได้ทำการทดลองโดยใช้หนูดัดแปลงพันธุกรรม พบว่า หนูตัวที่ได้รับยีนแม่จะมีหัวและสมองที่ใหญ่แต่ตัวเล็ก ตรงกันข้ามกับหนูที่ได้ยีนพ่อ ที่มีสมองเล็กแต่ตัวใหญ่ และยังพบว่า ความฉลาดนั้นอยู่ในโครโมโซม X ที่ผู้หญิงมีถึงสองตัว (โครโมโซม XX) ขณะที่ผู้ชายมีโครโมโซม X เพียงตัวเดียว (XY) และเชื่อว่ายีนที่กระตุ้นการรับรู้ความเข้าใจที่มาจากพ่อ ดูเหมือนว่าเมื่อเติบโตมันจะหยุดทำงานไปโดยอัตโนมัติ

นักวิจัยระบุว่ายีนพ่อและยีนแม่มีความแตกต่างกันในหลายเรื่อง ทั้งด้านสติปัญญา นิสัย พฤติกรรมการกิน ความสามารถการจดจำ โดยยีนแม่สะสมอยู่มากบริเวณเปลือกสมอง (Cerebral Cortex) ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการใช้ความคิด การมีเหตุผล ภาษาและการวางแผน ขณะที่ยีนพ่อสะสมอยู่มากบริเวณระบบลิมบิค (Limbic) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานในส่วนของเพศ การกิน และอารมณ์

นอกจากนี้ยังได้ทำแบบสำรวจความฉลาด โดยสอบถามไปยังคนวัยหนุ่มสาวจำนวน 12,686 คน อายุระหว่าง 14 – 22 ปี ทุกช่วงอายุดังกล่าว และแม้ว่าจะมีหลายปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาเกี่ยวกับความฉลาด ทั้งเชื้อชาติหรือสถานะทางสังคมเศรษฐกิจ นักวิจัยก็ยังพบว่า ปัจจัยสำคัญที่กำหนดความฉลาดนั้นก็คือ ไอคิวที่ได้มาจากแม่นั่นเอง 

 

 

พันธุกรรมพ่อแม่

 

วิธีพัฒนาสมองเด็กวัยแรกเกิด – 1 ปี

ในช่วงแรกเกิดนั้น ทารกจะสามารถมองเห็น ได้ยิน และเริ่มเรียนรู้ที่จะตอบโต้กับคุณพ่อและคุณแม่ เช่น ร้องไห้เมื่อหิว หรือง่วง เป็นต้น นอกจากนี้เด็กแรกเกิดยังเริ่มที่จะจดจำใบหน้าของคนได้บ้างแล้ว ซึ่งวิธีการกระตุ้น เพื่อพัฒนาสมอง สามารถทำได้โดย

  • พูดคุยกับลูก และให้ลูกเห็นใบหน้าบ่อย ๆ และอาจจะใช้ของเล่นอย่างเช่น โมบาย เพื่อกระตุ้นการมองเห็นของลูก
  • สภาพแวดล้อมรอบตัวลูกควรเป็นสถานที่สะอาด โปร่งโล่ง สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจน เพราะสภาพแวดล้อมนั้น ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญต่อพัฒนาการของเจ้าตัวน้อย การที่เด็กได้เห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้
  • ปัจจัยทางด้านเสียง ก็เป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของเด็กได้ดี ไม่ควรอยู่ในที่ ๆ มีเสียงดังรบกวนมากเกินไป แต่ก็ไม่ควรเงียบสงบจนเกินไป โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะร้องเพลงให้ลูกฟัง หรือเปิดเพลงเบา ๆ สบาย ๆ ก็จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเจ้าตัวน้อยได้เช่นกัน
  • เมื่อถึงวัยเริ่มคลาน เด็กจะสนใจของเล่นมากขึ้น แต่เด็กในวัยนี้มักจะชอบหยิบสิ่งของต่าง ๆ รอบตัวเข้าปาก ดังนั้นจึงควรระวังเรื่องความปลอดภัยเป็นพิเศษ
  • ไม่ควรซื้อของเล่นให้ลูกมากชิ้นเกินไป เพราะจะทำให้เด็กเสียสมาธิ เลือกไม่ถูกว่าจะเล่นอะไรดี ยิ่งมีของเล่นน้อยชิ้น ก็จะทำให้เด็กมีเวลาเล่น หรือศึกษาของเล่นชิ้นนั้นอย่างละเอียด ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ดีของการสร้างสมาธิของเด็กในอนาคต

 

 

ลูกฉลาดไม่ฉลาด พันธุกรรมพ่อแม่ ก็มีเอี่ยวนะ!!

 

โภชนาการที่ดี อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่สร้างความฉลาดให้ลูก

นอกจากพันธุกรรมที่ลูกได้รับมาจากพ่อแม่แล้วแล้ว โภชนาการและปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ก็เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาสมองลูกเช่นกัน มาดูสารอาหารบำรุงสมองลูกกันเลย 

  • MFGM (Milk Fat Globule Membrane) 

MFGM คือ เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนม ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด อย่างสฟิงโกไมอิลีน ฟอสโฟไลปิด แกงกลิโอไซต์ เป็นต้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยเสริมสร้าง IQ และ EQ ของลูกน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

  • สฟิงโกไมอีลิน 

สฟิงโกไมอีลิน เป็นส่วนประกอบหนึ่งของสารอาหาร MFGM ที่พบในนมแม่ มีส่วนในการส่งเสริมการทำงานของสมอง และเซลล์ประสาท เพราะสฟิงโกไมอีลินเป็นหนึ่งในสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างเส้นใยประสาทให้เแข็งแรง และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณกระแสประสาทได้อย่างรวดเร็ว กล่าวคือ สฟิงโกไมอีลินที่เป็นส่วนประกอบของ MFGM นั้น มีส่วนช่วยเสริมสร้างให้สมองและเซลล์ประสาททำงานและตอบสนองได้ดีขึ้นควบคู่ไปกับสารอาหารอื่นๆ อีกมากมายใน MFGM นั่นเอง

  • ดีเอชเอ (DHA)

DHA คือ กรดไขมันจำเป็นในตระกูลโอเมก้า 3 เป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง และจอประสาทตา โดยองค์ประกอบหลักในสมองมี DHA 40% และมี DHA ในจอประสาทตาถึง 60% DHA จะเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณ ส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน

ปกติแล้วร่างกายของมนุษย์จะไม่สามารถสร้าง DHA เองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น DHA มีมากในนมแม่ ในปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาโอลาย ปลาทู และสาหร่ายทะเลบางชนิด และมีมากในปลาน้ำจืดที่มีไขมันสูง เช่น ปลาสวาย ปลาช่อน เป็นต้น 

  • ฟอสโฟลิปิด (Phospholipid) 

เป็นส่วนประกอบหนึ่งของสารอาหาร MFGM เช่นเดียวกัน ซึ่งมีความจำเป็นต่อการทำงานของทุกระบบในร่างกาย โดยเฉพาะสมองกับระบบประสาท ที่เป็นศูนย์สั่งการและคอยควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย

ในช่วงขวบปีแรก เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สมองของลูกจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว หากได้รับสารอาหารสมองที่เหมาะสมและเพียงพอ ซึ่งคุณแม่ควรเริ่มต้นจากการให้ลูกทานนมแม่อย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน หรือนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะในนมแม่นั้นมีสารอาหารสมองดังข้างต้น รวมทั้งสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันมากกว่า 200 ชนิด 

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ไม่สามารถให้นมลูกได้เอง หรือน้ำนมน้อย มีปัญหาการให้นมลูก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษาในเบื้องต้น หรือปรึกษาเรื่องโภชนาการเสริมทดแทน โดยต้องเป็นนมที่มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่ และมีสารอาหารสมองอย่าง MFGM สฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ โคลีน และฟอสโฟลิปิด อย่างครบถ้วนค่ะ 

 

สำกรับคุณแม่ที่กำลังหาแนวทางเสริมพัฒนาการสมองลองลูกให้เติบโตแบบก้าวกระโดด สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่ 

 

ที่มา: sg.theasianparent

 

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

รู้หรือไม่!! MFGM คือ สารอาหารในนมแม่ ช่วยพัฒนาสมองของลูกรัก ให้พร้อมเรียนรู้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

8 สัญญาณเตือน ลูกพัฒนาการช้า ที่พ่อแม่สังเกตได้ตั้งแต่แรกเกิด

พิสูจน์มาแล้ว ลูกฉลาด ได้มาจากสติปัญญาแม่มากกว่าพ่อ!

10 อาหารบำรุงสมองใน 1,000 วันแรก ให้ลูกกินอะไร แล้วลูกฉลาด พัฒนาการสมองไว

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • ลูกฉลาดไม่ฉลาด พันธุกรรมพ่อแม่ ก็มีเอี่ยวนะ!!
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว