พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ ลูกน้อยจะมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ความเข้าใจอย่างไร พ่อแม่ควรเสริมพัฒนาการหรือทักษะอะไรได้บ้าง อาการน่าเป็นห่วงของเด็กวัยนี้คืออะไร เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ และข้อควรรู้ของเด็กวัยนี้จะมีอะไรบ้าง มาเริ่มกันเลย!
พัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหวของเด็กวัย 5 ขวบ
เด็กวัย 5 ขวบจะมีความคล่องแคล่วและรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่พวกเขาวิ่งเล่นที่สนามเด็กเล่น หรือรอบๆ บ้านค่ะ ชาวงวัยนี้เด็กจะเติบโตเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 6 ซม. และจะน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2 กก. ในส่วนของทักษะทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวนั้น เด็กๆ จะทำสิ่งเหล่านี้ได้ดีขึ้น
- การทำงานที่สอดประสานระหว่างแขนขาหรือส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดียิ่งขึ้น
- กระโดดข้ามสิ่งกีดขวางได้อย่างสมดุล
- ปั่นจักรยานสามล้อได้
- สามารถทรงตัวด้วยขาข้างเดียวขณะหลับตา
- ฟันแท้เริ่มขึ้น
- สามารถใช้อุปกรณ์ทานอาหารได้คล่องแคล่ว
- สามารถจับดินสอได้ดีและสามารถวาดรูปทรงของวัตถุได้
- สามารถใช้มีดในการทานอาหารได้
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
- พาลูกออกไปเล่นที่สนามเด็กเล่นหรือชายหาดบ้าง เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมทางด้านร่างกาย และการเจริญเติบโตที่ดีของเด็ก
- พยายามให้ลูกได้แต่งตัวด้วยตัวเอง
- สอนลูกให้รู้จักการแปรงฟันที่ถูกวิธี โดยที่พ่อแม่คอยให้คำแนะนำอยู่ใกล้ๆ
- จำกัดเวลาหน้าจอ อย่าให้ลูกเล่นโทรศัพท?นานมากกว่า 1 ชั่วโมง และให้ลูกออกกำลังกายบ้าง
- ส่งเสริมให้ลูกได้เล่นเครื่องเล่นใหม่ๆ ในสนามเด็กเล่น เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย
- ให้ลูกเล่นเกมที่ทรงเสริมทางด้านกายภาพ เช่น ให้ลูกเล่นเกมยืนขาเดียวให้นานกว่า 20 วินาที
- พยายามหากิจกรรรมสต่างๆ ให้กับลูก เช่น การเรียนว่ายน้ำ เพราะนอกจะเป็นการออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นการเพิ่มทักษะการเอาชีวิตรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์ขับขันอีกด้วย
- พยายามให้ลูกได้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ลูกไม่สามารถยืนทรงตัวด้วยขาข้างเดียวนานกว่า 10 วินาที
- ลูกมีปัญหาในการมองเห็น
- ลูกเดินสะดุดหรือเดินแล้วล้มบ่อยๆ
- ไม่สามารถจับดินสอเขียนได้อย่างถูกวิธี
- ไม่สนใจกิจกรรมที่อยู่ตรงหน้า
พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ
พัฒนาการทางด้านความรู้และความเข้าใจของเด็กวัย 5 ขวบ
เด็กอายุ 5 ขวบยังมีความอยากรู้อยากเห็นในทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถือว่าเป็นสัญญาณของการเรียนรู้ที่ดี เพราะเด็กจะรู้ตัวว่าเขาต้องการอะไร สิ่งต่างๆ ทำงานอย่างไร สามารถจัดเรียงรูปร่าง ขนาดหรือสีได้ดี ทำให้สมองของเด็กๆ สามารถประมวลผลและจัดหมวดหมู่ตามลักษณะที่แตกต่างกันได้ นอกจากนี้ เด็กจะมีความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ดังนี้
- เข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องของเวลา
- สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ตนเองสนใจได้นานกว่า 10 นาที
- สามารถจดจำสีและเรียกชื่อสีได้ถูกอย่างน้อย 4 สี
- สามารถนับติดต่อหันได้อย่างน้อย 10 หรือมากกว่านั้น
- รู้จักตัวอักษรเกือบทั้งหมด
- รู้จักชื่อ แมว สุนัข หรือแม้แต่ปลา
- สามารถเขียนตัวหนังสือและตัวเลขได้
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
- หลีกเลี่ยงการบังคับให้ลูกเขียนหรืออ่านถ้าลูกยังไม่พร้อม เพราะเมื่อถึงเวลาลูกน้อยจะทำได้เองค่ะ
- อย่าคาดหวังว่าให้ลูกเขียนหนังสือได้สวย แต่ควรสนับสนุนให้ลูกฝึกอ่านฝึกเขียนก่อนจะดีกว่า
- พยายามหาเวลาอ่านหนังสือพร้อมๆ กับลูก และหลังจากอ่านเสร็จแล้วควรมีการถามตอบในเนื้อเรื่องที่เพิ่มอ่านจบไป เพื่อกระตุ้นให้ลูกรู้จักการใช้ความคิดวิเคราะห์
- พาลูกไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์หรือสวนสาธารณะ หรือสถานที่อ่นๆ ที่น่าสนใจ ให้ได้มากที่สุด เพราะจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนานค่ะ
- เสริมทักษะด้วยการให้ลูกเล่นเกมทายปริศนา เพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ไม่สามารถนับได้จนถึง 10
- ไม่สามารถบอกชื่อตัวเองได้
- บอกไม่ได้ว่าสิ่งนั้นมีสีอะไร
- อยู่นิ่งทำกิจกรรมได้เพียง 2 – 3 นาที
พัฒนาการเด็กวัย 5 ขวบ
พัฒนาการทางด้านอารมณ์และสังคมของเด็กวัย 5 ขวบ
ลูกน้อยวัยนี้ เป็นวัยที่ชอบให้คนสนใจ และชอบที่จะสนุกสนานเล่นกับคนอื่นโดยเฉพาะเพื่อนวัยเดียวกัน จะเห็นได้ว่าเด็กวัยนี้จะเริ่มมีเพื่อนสนิทแล้ว แต่ก็ยังชอบเล่นคนเดียวอยู่บ้าง ทางด้านอารมณ์ลูกน้อยยังไม่สามารถควบคุมของตัวเองได้ดีนัก จึงทำให้เวลาที่ลูกน้อยไม่พอใจก็แสดงออกมาทางคำพูด พร้อมๆ กับการแสดงออกทางด้านร่างกาย เช่น การกระทืบเท้าค่ะ นอกจากนี้ หนูน้อยยังมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ที่น่าสนใจ ได้แก่
- ลูกเป็นคนเจ้ากี้เจ้าการ จัดแจงทุกอย่างเวลาที่เล่นกับเพื่อน
- รู้จักแบ่งปันสิ่งของหรือของเล่นที่ตัวเองรัก
- เริ่มรู้จักการโกหก เพื่อให้พ่อแม่รัก
- ชอบเล่นคนเดียวบ้างเป็นบางเวลา
- ช่างพูดช่างเจรจา คุยเก่งมากขึ้น
- รักที่จะออกไปข้างนอก ถึงเวลาจะได้ออกไปช่วงเวลาสั้นๆ
- สนุกกับการพูดกับตัวเองและเล่นตามจินตนาการของตัวเอง
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
- หาเวลาให้ลูกได้ออกไปเที่ยวกับเพื่อนวัยเดียวกันบ้าง เพื่อให้ลูกน้อยได้เรียนรู้ทักษะการเข้าสังคมมากขึ้น
- เสริมสร้างให้ลูกน้อยได้รู้จักจังหวะการพูด ไม่ควรพูดขัดคนอื่น หรือสอนให้ลูกลูกจักการขอโทษเมื่อทำผิด
- เด็กจะเริ่มมีความอยากเป็นผู้นำ ดังนั้น เวลาที่เล่นเกมหรือทำกิจกรรมกับลูกอาจปล่อยให้ลูกเป็นทำบอกกติกา หรือเป็นผู้เริ่มทำกิจกรรมบ้าง
- พยายามให้ความสนใจลูก อย่าเพิกเฉยเขาหรือพยายามให้ลูกอยู่ห่างๆ แต่ควรบอกว่ารอพ่อหรือแม่ก่อนนะ แม่ขอทำงานนี้ให้เสร็จก่อน
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ไม่ชอบเข้าสังคมไม่ยอมเล่นกับเพื่อน
- มีความโตเกินกว่าวัย
- มีความก้าวร้าวทั้งทางด้านร่างกายและคำพูดในขณะที่เล่นกับเพื่อน
- มีอารมณ์ฉุนเฉียวบ่อย ระวังอารมณ์ไม่ได้
- ไม่ชอบออกนอกบ้าน
พัฒนาการเด็กวัย 5 ขวบ
พัฒนาการทางด้านภาษาและการสื่อสารของเด็กวัย 5 ขวบ
พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กวัยนี้ มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นแบบก้าวกระโดด จนทำให้คุณรู้สึกว่าลูกพูดไม่หยุดสักที และต้องการพูดหรือบอกเล่าเรื่องราวเกือบทุกอย่าง เนื่องจากเด็กรู้จักคำศัพท์ต่างๆ มากกว่า 2000 คำแล้ว อีกทั้งยังสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ คือ
- สามารถพูดคุยสื่อสารกับบุคคลอื่น
- สามารถเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างชัดเจน
- สามารถอ่านคำศัพท์ที่เป็น 2-3 พยางค์ได้
- สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- สามารถพูดประโยชน์ที่เป็นอนาคตได้ เช่น ไปเที่ยวกันพรุ่งนี้เถอะ
- สามารถใช้สรรพนามได้อย่างถูกต้อง เช่น ฉัน เขา เธอ
- เข้าใจคำสั่งของพ่อแม่ เช่น ไปล้างมือก่อนทานข้าวด้วยนะลูก
- ทำความเข้าใจกับลำดับเรื่องราวได้เป็นอย่างดี เช่น เนื่องเรื่องก่อนหน้านี้เป็นอย่างไร ตอนจบเป็นอย่างไร
เคล็ดลับในการเลี้ยงลูก
- ให้ลูกลองเล่าให้ฟังว่าวันนี้ทำอะไรบ้าง แล้วเมื่อวานเป็นยังไง
- เล่นเกมเพื่อเสริมสร้างคำศัทพ์ให้กับลูก
- เวลาอ่านหนังสืออาจจะชี้ไปที่ตัวหนังสือให้ลูกดูด้วย เพื่อสร้างการจดจำการอ่านออกเสียงและตัวหนังสือของคำๆ นั้นค่ะ
- พยายามให้ลูกเล่าเนื้อเรื่องที่เพิ่งอ่านจบไปให้ฟัง เพราะสิ่งนี้จะช่วยทั้งการพูด ความคิดและสติปัญญาในการจดจำ และการคิดวิเคราะห์ค่ะ
- สอนให้ลูกได้รู้จักเพลงใหม่ๆ
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- ลูกไม่เข้าใจในสิ่งที่พ่อแม่พูด
- ไม่ยอมคุยกับคนอื่น
- ลูกไม่เข้าใจคำถามหรือคำสั่ง
- ไม่สามารถพูดเป็นประโยคได้
- มีพัฒนาการถดถอยในสิ่งที่ตัวเองรู้อยู่แล้ว
พัฒนาการเด็กวัย 5 ขวบ
พัฒนาการทางด้านสุขภาพและโภชนาการของเด็กวัย 5 ขวบ
อาหารเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อเด็กมาก หากเด็กได้รับสารอาหารที่ดีก็จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพและพัฒนาการที่ดีได้ การนอนของเด็กเองก็สำคัญ พ่อแม่ควรให้ลูกน้อยได้นอนพักผ่อนอย่างเพียงพออาจประมาณ 9-10 ชม. ในแต่ละวัน ในขณะที่ความสูงของเด็กและน้ำหนักอาจมีความแตกต่างกันตามกรรมพันธุ์ของเด็ก โดยทั่วไปแล้วน้องจะมีน้ำหนักประมาณ 18 กก. และมีความสูงอยู่ประมาณ 109 ซม. ค่ะ ส่วนสารอาหารที่เด็กควรได้รับในแต่ละวัน มีดังนี้
|
ประเภทของอาหาร |
ปริมาณอาหารที่แนะนำ |
อาหารที่พบ |
แคลอรี่ |
1200 – 2000 ขึ้นกับกิจกรรมและความเจริญเติบโตของเด็ก |
- แซนวิชชีส
- แอปเปิ้ลเล็ก
- ข้าวผัดไก่
- พาสต้า ทูน่าชีสเล็ก
- นม 1 ถ้วย
|
โปรตีน |
0.5 ถ้วย |
- ปลานึ่งขนาดเท่าฝ่ามือเด็ก
- ถั่วเขียวหรือไข่ต้ม 1 ฟอง
|
ผลไม้ |
1-1.5 ถ้วย |
- ซีเรียลกับผลไม้รวม
- ผลไม้รวมกับโยเกิร์ต
|
ผัก |
1.5-2.5 ถ้วย |
- แนะนำให้ทานผักที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เช่น ผักโขม แครอท
|
ธัญพืช |
3/4 ถ้วย |
|
นม |
2.5 ถ้วย |
- นม 1 แก้ว + ชีส
- เนย
- โยเกิร์ต
|
วัคซีนที่จำเป็นของเด็กวัย 5 ขวบ
- วัคซีนที่จำเป็น
- วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP)
- วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดกิน (OPV)
- วัคซีนเสริม
- วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (Tdap หรือ DTaP)
- วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (IPV)
- วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ (HAV)
- วัคซีนโรคอีสุกอีใส (VZV) หรือวัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน-อีสุกอีใส (MMRV)
- วัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่(Influenza)
- วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) ก่อนการสัมผัสโรค
ตารางวัคซีน
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
- เมื่อลูกมีน้ำหนักตัวน้อยหรือมีน้ำหนักตัวมากเกินไป
- มีไข้สูงเกินกว่า 39 องศาเซลเซียส
- มีผื่นขึ้นไม่ปกติ หรือมีตุ่ม มีก้อนขึ้นตามร่างกาย
ที่มา: sg.theasianparent
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
พัฒนาการเด็ก 5 ขวบ 1 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี
พัฒนาการเด็ก 4 ขวบ 11 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี
อาหารที่เด็กเล็กไม่ควรกิน อาหารอันตรายกินแล้วลูกเสี่ยงตาย-พัฒนาการช้า
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!