X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร

บทความ 5 นาที
พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์เป็นอย่างไรพัฒนาการสมองของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร

หลังการปฏิสนธิ สมองและไขสันหลังเป็นหนึ่งในระบบแรกๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อนที่คุณแม่ส่วนใหญ่จะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์เสียอีก เรามาติดตามพัฒนาการระบบประสาทของทารกในครรภ์กันค่ะ

พัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์

หลังการปฏิสนธิ สมองและไขสันหลังเป็นหนึ่งในระบบแรก ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เรามาติดตาม พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ กันเลย

พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์

พัฒนาการสมอง ของทารกในครรภ์

ส่วนต่าง ๆ ของสมองของทารก

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักสมองส่วนต่าง ๆ ในเบื้องต้นกันก่อน สมองแต่ละส่วนรับผิดชอบการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนี้

ซีรีบรัม (Cerebrum) มีขนาดใหญ่สุด ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิด การจดจำ และความรู้สึก เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส

ซีรีเบลลัม (Cerebellum) – อยู่ใต้ซีรีบรัม ทำหน้าที่ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย

ก้านสมอง (Brainstem) เป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังและล่างของสมอง เชื่อมระหว่าง สมองใหญ่ กับ ไขสันหลัง ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ และความดันโลหิต

ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) รูปร่างคล้ายถั่ว ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงแปลงสีผิว การเผาผลาญอาหาร และอื่น ๆ

ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) – ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก วงจรการตื่นและการหลับ การหิว การอิ่ม กระหายน้ำ และความรู้สึกทางเพศ

พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ ไตรมาสแรก

เพียง 16 วันหลังจากการปฏิสนธิ ทารกในครรภ์เริ่มพัฒนานิวรัล เพลต (neural plate) ต่อมานิวรัลเพลจะพับขึ้นและเกิดเป็นท่อเรียกว่า นิวรัล ทูบ (neural tube) ช่องว่างกลวงภายในท่อนิวรัล ทูบจะพัฒนาต่อมาเป็นระบบช่องว่างในสมองและไขสันหลัง โดยนิวรัล ทูบจะพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่ สมอง อยู่ด้านหัว และไขสันหลัง ที่อยู่ด้านหาง

ต่อมาสมองจะพัฒนาเป็นสมองส่วนหน้า และก้านสมอง หลังจากนั้นสมองส่วนหน้าจะแบ่งออกเป็นเทเลนเซฟาลอน (telencephalon) และไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) ส่วนก้านสมองจะแบ่งเป็นสมองส่วนกลางหรือมีเซนเซฟาลอน (mesencephalon) และสมองส่วนท้ายหรือรอมเบนเซฟาลอน (rhombencephalon)

ในขณะเดียวกันเซลล์สมองมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ระบบใยสมองจะเชื่อมโยงกันเป็นร่างแห ระบบประสาทของทารกถูกสร้างขึ้นเป็นล้านล้านเซลล์ และผลิตสารสื่อประสาทเพื่อสั่งการให้กล้ามเนื้อทำงาน โดยเริ่มพัฒนาแขนและขาของทารกประมาณสัปดาห์ที่ 8 และสามารถขยับแขนขยับขาได้ในช่วงท้ายของไตรมาสแรกแต่คุณแม่อาจยังไม่รู้สึก และในช่วงเดียวกันนี้ประสาทสัมผัสของทารกก็เริ่มพัฒนาขึ้นเช่นกัน

บทความแนะนำ พัฒนาการแขนและขาของทารกในครรภ์

พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ ไตรมาสต่อไปจะเป็นอย่างไร ติดตามต่อกันเลย

พัฒนาการสมองทารกในครรภ์

พัฒนาการทางสมอง ของทารกในครรภ์

พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ ไตรมาสที่สอง

ระยะนี้การแบ่งตัวของเซลล์สมองลดลง แต่จะมีการขยายขนาด และมีการแผ่ขยายของเซลล์ประสาท ในระยะนี้จำนวนเซลล์ประสาทของทารกจะมีเท่ากับผู้ใหญ่แล้ว เมื่อทารกอายุประมาณ 6 เดือน ก็จะมีลักษณะคลื่นสมองคล้ายกับทารกที่ครบกำหนด

ในช่วงไตรมาสที่สองนี้ กระบังลมและกล้ามเนื้อหน้าอกของทารกจะมีอาการบีบตัวเพื่อฝึกซ้อมการเคลื่อนไหวในการหายใจ ทารกเริ่มต้นการดูดกลืนครั้งแรกราวสัปดาห์ที่ 16 และภายในสัปดาห์ที่ 21 ปฏิกิริยาตอบสนองของทารกจะทำให้ทารกสามารถดูดกลืนน้ำคร่ำได้ ซึ่งหมายความว่าพัฒนาการการรับรสของทารกเริ่มทำงาน

ราวสัปดาห์ที่ 18-25 คุณแม่จะรู้สึกได้ว่าลูกดิ้น หรือเตะเป็นครั้งแรก และในช่วงเดียวกันนี้เส้นประสาทสมองจะได้รับการห่อหุ้มด้วยเยื่อไมอีลิน (Myelin) เป็นฉนวนไฟฟ้าช่วยทำให้กระแสประสาทผ่านไปได้เร็วขึ้น และในสัปดาห์ที่ 24 อีกหนึ่งปฏิกิริยาตอบสนองที่สำคัญของทารกได้เริ่มต้นขึ้น นั่นคือ การกะพริบตา

บทความแนะนำ พัฒนาการมองเห็นของทารกในครรภ์ เริ่มต้นอย่างไร

ช่วงปลายไตรมาสที่สอง ก้านสมองของทารกพัฒนาเกือบสมบูรณ์ที่ด้านหลังเหนือไขสันหลัง แต่ต่ำกว่าเปลือกสมอง ระบบประสาทของทารกในครรภ์พัฒนามากพอที่จะทำให้ทารกสะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงดังจากภายนอกท้องของแม่ และสามารถหันหาเสียงของแม่ได้

บทความแนะนำ พัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์

อีกหนึ่งพัฒนาการที่น่าตื่นเต้นในสัปดาห์ที่ 28 คลื่นสมองของทารกในครรภ์มีการพัฒนากลไกการนอนหลับ รวมถึงการนอนในระดับ Rapid eye movement (REM) และการฝัน

ระยะนี้ สมองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ระบบประสาทส่วนกลางของทารกพัฒนาไปอย่างมาก เส้นประสาทมีการสร้างเยื่อหุ้มที่มาจากไขมัน ทำให้การส่งผ่านสัญญาณในเส้นประสาททำได้รวดเร็วขึ้น มีการแผ่กิ่งก้านสาขา เพื่อเชื่อมต่อกันเป็นร่างแหของระบบประสาท สมองมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีรอยหยักในสมองที่บ่งถึงความเฉลียวฉลาดมากขึ้น (หลังคลอดทารกมีขนาดสมองเท่ากับ 10%  ของน้ำหนักตัว คือประมาณ 350 กรัม) 

พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ ไตรมาสที่สาม

ในไตรมาสที่สาม มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเซลล์ประสาทและการส่งสัญญาณในเส้นประสาท สมองของทารกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าในช่วง 13 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ โดยจะมีขนาดสมองเท่ากับ 10%  ของน้ำหนักตัว คือประมาณ 350 กรัมเมื่อแรกคลอด และจากพื้นผิวเรียบ ๆ ของสมองก็เริ่มปรากฏรอยหยักที่บ่งบอกถึงความเฉลียวฉลาดมากขึ้น

ในเวลาเดียวกันที่ซีรีบลัม ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวก็มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมากกว่าสมองส่วนอื่นๆ โดยขยายใหญ่ขึ้นถึง 30 เท่าในช่วง 16 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์!

แม้ว่าส่วนต่าง ๆ ของสมองจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงตั้งครรภ์ แต่จริง ๆ แล้วมันจะเริ่มต้นทำงานเมื่อทารกครบกำหนดคลอด และค่อย ๆ พัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีแรกของชีวิต ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการทางสมองให้กับทารกผ่านการเลี้ยงดูด้วยความรักและการเอาใจใส่อย่างเต็มที่

ที่มา www.whattoexpect.com, นพ.อานนท์ เรืองอุตมานันท์

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ

6 นิสัยของแม่ท้องที่ทำให้ลูกฉลาด

ทารกฟังเพลงกล่อมเด็กแบบไทยดีต่อพัฒนาการสมองและภาษา

เปลไกวกระตุ้นพัฒนาการด้านสมองและการทรงตัวของทารก

ท้องแรกกับท้องสองต่างกันอย่างไร ท้องสองง่ายกว่าท้องแรกจริงไหม?

บทความจากพันธมิตร
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร
แชร์ :
  • อยากให้ลูกเกิดมาสมองดี 4 สิ่งที่เป็นอันตรายต่อสมอง ของลูกในท้องให้เลี่ยงไปเลย

    อยากให้ลูกเกิดมาสมองดี 4 สิ่งที่เป็นอันตรายต่อสมอง ของลูกในท้องให้เลี่ยงไปเลย

  • ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

app info
get app banner
  • อยากให้ลูกเกิดมาสมองดี 4 สิ่งที่เป็นอันตรายต่อสมอง ของลูกในท้องให้เลี่ยงไปเลย

    อยากให้ลูกเกิดมาสมองดี 4 สิ่งที่เป็นอันตรายต่อสมอง ของลูกในท้องให้เลี่ยงไปเลย

  • ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

    ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

    ฝีดาษลิง เสี่ยงเสียชีวิตสูงในกลุ่มเด็กเล็ก ป้องกันได้อย่างไร ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ