พัฒนาการแขนและขาของทารกในครรภ์
สัปดาห์ที่ 6 เริ่มเห็นปุ่มที่จะพัฒนาเป็นแขนและขา
สัปดาห์ที่ 7 แขนขาของตัวอ่อนเริ่มพัฒนาจากปุ่มแขนขาแต่ละข้าง โดยปุ่มแขนพัฒนาเป็นส่วนมือ แขน และไหล่ ปุ่มขาพัฒนาเป็นขา เข่า และเท้า มือและเท้าจะมีรูปร่างคล้ายไม้พาย ก่อนจะพัฒนาเป็นนิ้วในเวลาต่อมา
สัปดาห์ที่ 9 นิ้วมือนิ้วเท้าปรากฏครบแล้ว
สัปดาห์ที่ 13 เล็บเริ่มปรากฏ เริ่มมีลายนิ้วมือ ลายนิ้วเท้า
สัปดาห์ที่ 14 แขนมีการพัฒนาให้ได้สัดส่วนกับร่างกาย ในขณะที่ส่วนขายังสั้นกว่าเล็กน้อย
สัปดาห์ที่ 15 ขายาวกว่าแขนแล้ว
สัปดาห์ที่ 16 เล็บเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง
สัปดาห์ที่ 19 ทั้งแขนและขาของทารกพัฒนาได้สัดส่วนกับร่างกาย มีการขยับแขน ขยับนิ้วมือ นิ้วเท้า คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกเตะในช่วงนี้ หรือภายในไม่เกิน 1-2 สัปดาห์
สัปดาห์ที่ 20 เล็บยังคงพัฒนาต่อไป
สัปดาห์ที่ 22 เล็บพัฒนาเสร็จแล้ว
สัปดาห์ที่ 32 แขนและขาพัฒนาได้สัดส่วนสัมพันธ์กับขนาดของศีรษะ
สัปดาห์ที่ 34 เล็บเท้ายาวขึ้นจนถึงปลายนิ้ว
ดูคลิปพัฒนาการแขนและขาของทารก ได้ที่นี่
คุณแม่ได้ทราบแล้วนะคะว่าแขนและขาของทารกมีการพัฒนาอย่างไร แต่คุณแม่ทราบไหมคะว่า สถิติของเด็กที่แขนขาพิการแต่กำเนิดมีอยู่ถึง 2 : 1,000 คน เรามาดูกันว่า ความผิดปกติของแขนขาทารกเกิดขึ้นได้อย่างไร และเราจะป้องกันได้หรือไม่ คลิกหน้าถัดไป
ภาวะแขนขาพิการแต่กําเนิดเกิดจากอะไร
ข้อมูลจากสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) ระบุว่า ภาวะแขนขาพิการแต่กําเนิด (Limb anomalies) คือความผิดปกติของแขน ขา เกิดจากทารกในครรภ์ไม่มีการสร้างหรือมีการสร้างแขนขาที่ผิดไป เป็นความพิการของร่างกายที่เห็นได้ชัดตั้งแต่หลังเกิด ตัวอย่างเช่น โรคเท้าปุก แขนขาด ขาขาด และโรคข้อยึดแต่กําเนิด เป็นต้น ซึ่งมีความรุนแรงได้หลากหลายและทําให้การทํางานของแขนขาและมือเท้าผิดปกติไป
สาเหตุของภาวะแขนขาพิการแต่กําเนิด มีได้หลากหลาย สาเหตุการเกิดส่วนใหญ่มักไม่ทราบแน่ชัด ทั้งนี้สาเหตุที่เป็นไปได้ ได้แก่ การใช้ยาที่มีผลกับทารกในครรภ์ สารพิษ หรือการติดเชื้อในระยะ 4-8 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นระยะที่มีการสร้างแขนขาของทารก หรืออาจมีสาเหตุจากความผิดปกติของพันธุกรรม
ภาวะแขนขาพิการแต่กําเนิดสามารถรักษาได้หรือไม่
การรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกันไป โดยพิจารณาจากความผิดปกตินั้นเป็นอุปสรรคต่อการทํากิจวัตรประจําวัน การใช้งาน การยืนเดิน เป็นหลัก
- แขนขาขาดหาย พิจารณาให้อวัยวะเทียมในเวลาที่เหมาะสมตามระดับพัฒนาการของเด็ก
- แขนเทียม พิจารณาให้เมื่อเด็กเริ่มถือของด้วยสองมือ เริ่มนั่งทรงตัว หรืออายุประมาณ 6 เดือน
- ขาเทียม พิจารณาให้เมื่อเด็กเริ่มเกาะยืน หรือ อายุประมาณ 1 ปี
- นิ้วเกินหรือพังผืดระหว่างนิ้ว รักษาโดยการผ่าตัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานและความ สวยงาม แนะนําให้ทําในวัยก่อนเข้าโรงเรียนเพื่อลดปัญหาทางจิตใจและสังคม
- ส่งพบแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ภาวะแขนขาพิการแต่กําเนิดป้องกันได้หรือไม่
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) ให้ข้อมูลว่า ยังไม่มีวิธีการป้องกันแน่ชัด สิ่งที่คุณแม่ทำได้คือการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงทั้งก่อนตั้งครรภ์ และระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงการรับประทานวิตามินรวมที่มีกรดโฟลิค (400 ไมโครกรัม) ทุกวัน ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์
ที่มา https://pregnancy.familyeducation.com/, https://bdr.kku.ac.th/, www.cdc.gov
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
ทารกคลอดไม่มีนิ้ว ภัยร้ายจากพังผืดในถุงน้ำคร่ำ
ปอดของทารกในครรภ์มีพัฒนาการอย่างไร
พัฒนาการมองเห็นของทารกในครรภ์ เริ่มต้นอย่างไร
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!