พัฒนาการทารก 10 เดือน ลูกน้อยในช่วงนี้จะเริ่มคุยเก่ง อยากพูด เห็นอะไรก็จะตื่นตาตื่นใจตลอด โดยเฉพาะสถานที่ที่ไม่เคยไป ทั้งยังชอบสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว พ่อแม่ต้องอย่าเผลอเชียวน้า..
พัฒนาการทารก 10 เดือน เป็นอย่างไรบ้าง
- ด้านร่างกาย ยืนขึ้นได้ด้วยตัวเอง ชอบหยิบจับของเล่นมาบีบ ๆ
- ด้านความรู้ความเข้าใจ มีความเข้าใจคำศัพท์ต่าง ๆ มากขึ้น แต่บางครั้งลูกก็มีอารมณ์ไม่อยากคุย ไม่อยากพูดตามบ้าง
- ด้านสังคมและอารมณ์ เริ่มเลียนแบบพฤติกรรมคนรอบข้าง
- ด้านสุขภาพ และโภชนาการ ฟันน้ำนมเริ่มขึ้นมาให้เห็น
พัฒนาการเหล่านี้ของลูก 10 เดือนเป็นอย่างไร ไปอ่านกันค่ะ
พัฒนาการทางด้านร่างกายของทารก 10 เดือน
ลูกน้องในวัย 10 เดือน จะมีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้นตามธรรมชาติของเด็ก บ่อยครั้งลูกน้อยจะเริ่มไม่อยู่นิ่งเวลาที่พ่อแม่พาไปสถานที่ที่แปลกตา หรือเจออะไรที่ไม่เคยเห็น พวกเขามักจะชอบยืนขึ้นด้วยตัวเอง เพื่อฝึกเดินไปข้างหน้า บางทีก็หยิบของเล่นขึ้นมาบีบๆ หรือจับสลับมือไปมา ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของลูกน้อยให้แข็งแรง ตอนนี้ลูกรักของคุณหยิบจับคล่องขนาดนี้ ต้องระวังของชิ้นเล็ก ๆ หรือส่วนประกอบของของเล่นมันหลุดออกมา แล้วน้องเอาเข้าปากนะคะ
ในตอนนี้น้ำหนักและส่วนสูงของเด็กน้อยจะเพิ่มขึ้นมาอีก โดยทารก 10 เดือน น้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 8.5 กก. และมีความสูงประมาณ 73 ซม.
พัฒนาการทางด้านความรู้ความเข้าใจของทารก 10 เดือน
ลูกน้อยจะมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา เจออะไรก็ตื่นตาตื่นใจไปเสียทุกอย่าง ช่วงนี้พ่อแม่ต้องไม่พลาดที่จะพาลูกน้อยออกไปสำรวจนอกบ้านบ้าง เช่น สวนสัตว์ สนามเด็กเล่น ชายทะเล ลูกๆ คงจะชอบไม่น้อย
ด้านภาษาเด็กๆ จะเข้าใจคำศัพท์เพิ่มมากขึ้น เช่น พ่อ แม่ หมา แมว เด็กบางคนเวลาที่พ่อแม่สอนพูดลูกก็จะพูดตาม แต่บางคนพ่อแม่พูดด้วยลูกก็เมิน เงียบใส่ ไม่ยอมพูดด้วยซะงั้น พ่อแม่ไม่ต้องตกใจเพราะบางครั้งลูกน้อยก็อยู่ในอารมณ์ที่ไม่อยากคุย ไม่อยากพูดตาม ซึ่งเป็นเรื่องปกติของเด็กที่มีอารมณ์ที่ต่างกันได้
พัฒนาการทางด้านสังคมและอารมณ์ของทารก 10 เดือน
หนูน้อยยังอยู่ในพัฒนาการที่ชอบเลียนแบบผู้ใหญ่ หากคุณอยากช่วยกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยในด้านนี้ ไม่ยากค่ะ เพียงแค่ใช้ใบหน้าของคุณ และพยายามยามแสดงใบหน้าต่างๆ ทั้งหน้าตลก ตกใจ หน้าเบี้ยว ห่อลิ้น เป่าปาก ลูกน้อยก็จะจ้องมองคุณแล้วจะอมยิ้มอย่างมีความสุข จากนั้นก็จะพยายามเลียนแบบพ่อแม่
เด็กวัยนี้ ยังคงไม่ค่อยชื่นชอบคนแปลกหน้าเท่าไหร่ เวลามีคนไม่คั้นเคยเข้าใกล้ก็จะกลัว แล้วก็หลบอยู่ใกล้ๆ พ่อแม่ ซึ่งต้องให้เวลาลูกในการปรับตัวหน่อยนะคะ แต่กลับพ่อแม่นั้นลูกติดแม่แจเลยล่ะค่ะ
พัฒนาการทางด้านสุขภาพ และโภชนาการของทารก 10 เดือน
ลูก 10 เดือน กินข้าวแบบไหน ? ฟันน้ำนมของลูกโผล่ขึ้นมาให้เห็นชัดแจ๋วแล้ว บ่งบอกลูกน้อยพร้อมที่จะทานอาหารที่หยาบขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นผัก หรือเนื้อสัตว์ ดังนั้น พ่อแม่ควรระวังอาหารที่อาจทำให้ติดคอลูกได้ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีเมล็ดต่างๆ
เวลาทานอาหาร พ่อแม่สามารถปล่อยให้ลูกใช้ช้อนตักข้าวเข้าปากตัวเองได้แล้วนะ แต่อาจจะเลอะเทอะไปบ้าง คุณแม่แค่ระวังเรื่องความสะอาดก็พอ อย่าให้ลูกตักอาหารที่ตกแล้วขึ้นมากิน อุปกรณ์การกินก็ควรที่ทำเฉพาะสำหรับเด็ก ลูกน้อยจะได้หยิบจับใช้กินง่ายๆ ส่วนอาหารเด็กๆ ควรกิน 3 มื้อ และต้องมีอาหารว่างอีก 1 มื้อ ในแต่ละวัน
สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ อย่าลืมพาลูกไปฉีดวัคซีนตามกำหนดนะคะ
พฤติกรรมของทารก 10 เดือน
เด็กบางคนจะแสดงพฤติกรรมแปลกๆ เช่น กัดของ ดึงผมเล่น ซึ่งเกิดจากความเครียดในสภาพแวดล้อมนั้นๆ พ่อแม่ต้องคอยสังเกตดูบางทีลูกอาจจะไม่ชอบอะไรบางอย่างก็ได้ ในขณะที่เด็กวัยนี้ส่วนใหญ่จะชอบหาสิ่งของ กระโดดโลดเต้น คุณพ่อคุณแม่ลองเอาของเล่นลูกไปซ่อนแล้วให้เขาหาดูสิ! รับรองว่าลูกๆ ต้องชอบแน่นอน
กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการทารก 10 เดือน
การทดสอบพลังขา
- ทักษะที่ลูกควรทำได้: ลูกสามารถหย่อนตัว ลงนั่งจากท่ายืนโดยใช้มือ เกาะเครื่องเรือนช่วยพยุง
- อุปกรณ์ในการกระตุ้นพัฒนาการ: กรุ๋งกริ๋ง
- วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย:
- จัดให้ลูกอยู่ในท่ายืนเกาะเครื่องเรือน คุณแม่อยู่ด้านหลังลูก ระยะห่างพอดีที่จะช่วยประคองเมื่อลูกจะล้ม
- หยิบของเล่นขึ้นมาเล่นในระดับสายตาของลูกเมื่อลูกสนใจของเล่น วางของเล่นไว้ที่พื้น
- พูดคุย ชักชวนให้ลูกหย่อนตัวลงมานั่งเล่นของเล่นที่พื้นด้วยกันกับลูก
- ถ้าลูกยังทรงตัวไม่ดี คุณแม่ช่วยพยุงตัวลูกให้ลงนั่งที่พื้น ลดการช่วยเหลือลูกลง จนกระทั่งลูกสามารถหย่อนตัวลงนั่งที่พื้นได้ด้วยตัวเอง
หากคุณพบว่าลูกน้อยไม่มีท่าทีว่าจะพูด กลัวคนที่คุ้นเคย ทรงตัวไม่ค่อยจะได้ ไม่ยอมมองตามมือที่ชี้ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนบางอย่าง คุณพ่อคุณแม่ควรพาน้องไปปรึกษาคุณหมอนะคะ
แล้ว ลูก 10 เดือนของคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างไร มีพัฒนาการอะไรบ้าง อย่าลืมมาแชร์ประสบการณ์ด้วยกันนะคะ
ติดตามพัฒนาการทารกขวบปีแรก
*ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และนำรูปภาพไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าวิธีใด ๆ หากฝ่าฝืน ทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว
ที่มา: sg.theasianparent, คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปี
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
วัยทองของชีวิตลูก แรกเกิดถึง 5 ขวบปีแรก พ่อแม่ต้องฉีดวัคซีนใจจากการเลี้ยงดู
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!