TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการทารกแรกเกิดถึง 1 ปีที่น่าจับตา

บทความ 5 นาที
พัฒนาการทารกแรกเกิดถึง 1 ปีที่น่าจับตา

ทารกในขวบปีแรกมีพัฒนาการที่รวดเร็วมากในทุกๆ ด้าน มาดูกันว่า พัฒนาการทารกแรกเกิดถึง 1 ปีในแต่ละช่วงมีอะไรที่น่าจับตาบ้าง

พัฒนาการทารกแรกเกิดถึง 1 ปี

พัฒนาการทารกแรกเกิดถึง 1 ปี

ทารก 1 เดือนมีพัฒนาการอย่างไร

ในช่วงเดือนแรกของชีวิตพฤติกรรมของลูกส่วนใหญ่จะเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับ คือเป็นการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ โดยอัตโนมัติ เช่น รู้จักดูดเมื่อมีอะไรก็ตามมาสัมผัสที่ริมฝีปาก รู้จักกำนิ้วหรือวัตถุอะไรก็ตามที่วางลงบนฝ่ามือ และเมื่อสมองของลูกน้อยค่อยๆ พัฒนาขึ้น การกระทำต่างๆ จึงเริ่มผ่านความคิดมากขึ้น

เมื่อลูกน้อยอายุครบ 1 เดือน พัฒนาการที่เด็กส่วนใหญ่ทำได้ มีดังนี้

  • ยกศีรษะเมื่อนอนคว่ำ
  • กำมือแน่น
  • มองเห็นวัตถุหรือใบหน้าชัดเจนในระยะ 8-12 นิ้ว และชอบที่จะมองหน้าผู้คนมากกว่าอย่างอื่น
  • ตอบสนองต่อเสียงดัง เช่น กะพริบตา สะดุ้งตื่น ขยับตัว หรือ ร้องไห้

ทารก 1-3 เดือนมีพัฒนาการอย่างไร

ลูกน้อยวัย 1-3 เดือน ปฎิกิริยาสะท้อนกลับเริ่มหายไป การมองขึ้นเห็นดีขึ้นมาก สนใจมองสิ่งต่างๆ รอบตัวมาก ลูกน้อยอาจมองตามวัตถุที่เคลื่อนไหว จดจำสิ่งของหรือคนที่คุ้นเคยในระยะไกลได้ และเริ่มใช้มือและตาสัมพันธ์กัน ลูกน้อยวัยนี้สามารถหันหาเสียงที่คุ้นเคยและยิ้มเมื่อเห็นหน้าพ่อแม่หรือใบหน้าที่คุ้นเคย และเริ่มเปล่งเสียงสั้นๆ ได้

กล้ามเนื้อคอของลูกเริ่มแข็งแรงขึ้นแล้ว ในตอนแรกลูกแค่ยกศีรษะได้ไม่กี่วินาทีเมื่อนอนคว่ำ และกล้ามเนื้อก็ค่อยๆ แข็งแรงขึ้นทุกครั้งที่ลูกยกศีรษะขึ้น เมื่อลูกน้อยอายุ 3 เดือน เขาจะสามารถยกศีรษะและยกหน้าอกขึ้นได้ด้วยแขน เมื่อนอนคว่ำ

การเคลื่อนไหวมือและแขนพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงนี้ จากกำมือแน่นเป็นแบมือ จับและตีวัตถุได้แล้ว ลูกจะเริ่มสำรวจมือตัวเอง โดยยกมือขึ้นมาดูและนำมันเข้าปาก

เมื่อลูกน้อยอายุครบ 3 เดือน พัฒนาการที่เด็กส่วนใหญ่ทำได้ มีดังนี้

ทักษะการเคลื่อนไหว

  • ยกศีรษะและลำตัวส่วนบนได้เมื่อนอนคว่ำ
  • ยืดขาและเตะ เมื่อนอนคว่ำหรือนอนหงาย
  • แบมือและกำมือ
  • นำมือเข้าปาก
  • จับและเขย่าของเล่นในมือ
  • ปัด และตี ของเล่นที่ห้อยอยู่
  • มองตามวัตถุที่เคลื่อนไหว

ทักษะภาษา

  • เปล่งเสียงสระสั้นๆ ได้ เช่น โอ อา

ทักษะอารมณ์และสังคม

  • ยิ้มให้กับใบหน้าที่คุ้นเคย
  • ชอบเล่นกับคนอื่น

ติดตามอ่านพัฒนาการของทารกวัย 4-7 เดือน คลิกหน้าถัดไป

ทารก 4-7 เดือนมีพัฒนาการอย่างไร

ในช่วงอายุ 4-7 เดือน ลูกน้อยเรียนรู้ในการประสานความสามารถในการรับรู้ใหม่ๆ (การมองเห็น การสัมผัส และการได้ยิน) กับทักษะการเคลื่อนไหว เช่น การคว้าจับ การพลิกคว่ำพลิกหงาย การนั่ง และแม้แต่การคลาน ตอนนี้ลูกน้อยควบคุมสิ่งที่จะทำและสิ่งที่จะไม่ทำได้มากขึ้น ซึ่งต่างจากในตอนแรกที่เป็นเพียงปฏิกิริยาสะท้อนกลับอัตโนมัติ ลูกน้อยจะสำรวจของเล่นด้วยการจับและนำเข้าปาก แทนที่จะมองดูเฉยๆ ลูกน้อยยังสามารถสื่อสารได้ดีขึ้นมากกว่าแค่ร้องไห้เวลาหิว หรือเหนื่อย หรือเมื่อต้องการเปลี่ยนกิจกรรมหรือของเล่น

ลูกน้อยพัฒนาความผูกพันกับพ่อแม่ที่แน่นแฟ้นขึ้น และจะแสดงให้เห็นว่าชอบผู้เลี้ยงดูคนไหนมากกว่ากัน แต่ก็ยังยิ้มและเล่นได้กับทุกคนที่พบ

เมื่อลูกสามารถใช้แขนดันพื้นและแอ่นหลังเพื่อยกหน้าอกขึ้นได้ เป็นสัญญาณว่าลำตัวส่วนบนของลูกมีความแข็งแรงและเตรียมพร้อมสำหรับการนั่ง

ลูกน้อยวัย 4 เดือนสามารถนำของเล่นเข้าปากได้ คุณแม่จึงควรเก็บของชิ้นเล็กๆ ให้พ้นมือลูกน้อยเพื่อป้องกันอันตรายจากการกลืนสิ่งของโดยไม่ตั้งใจ

ลูกน้อยวัย 6-8 เดือนสามารถส่งสิ่งของจากมือหนึ่งไปยังอีกมือหนึ่งได้ และเริ่มสนใจเท้าและนิ้วเท้าของตัวเอง

ด้านการมองเห็น ลูกน้อยสามารถโฟกัสวัตถุที่มองตามวิ่งที่เคลื่อนที่ได้ ชอบสิ่งที่มีรูปแบบและรูปร่าที่ซับซ้อนมากขึ้น และชอบมองตัวเองในกระจก ยังคงส่งเสียงอ้อแอ้ แต่สามารถทำเสียงสูงต่ำได้แล้ว

เมื่อลูกน้อยอายุครบ 7 เดือน พัฒนาการที่เด็กส่วนใหญ่ทำได้ มีดังนี้

ทักษะการเคลื่อนไหว

  • กลิ้งไปกลิ้งมา พลิกคว่ำพลิกหงาย
  • นั่งโดยเอามือค้ำ หรือไม่ค้ำได้แล้ว
  • ยื่นมือไปคว้าจับวัตถุด้วยมือเดียว
  • ส่งวัตถุจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่ง
  • ลงน้ำหนักทั้งหมดวางเท้า หรือถูกจับให้ยืน
  • สำรวจวัตถุด้วยมือและปาก
  • สำรวจวัตถุด้วยการตีและเขย่า

ทักษะภาษา

  • หัวเราะ
  • ส่งเสียงอ้อแอ้เป็นเสียงพยัญชนะ เช่น บา บา บา

ทักษะอารมณ์และสังคม

  • แยกอารมณ์ต่างๆ ของผู้พูด ได้จากโทนเสียง
  • หาวัตถุที่ถูกซ่อนไว้บางส่วนได้

ติดตามอ่านพัฒนาการของทารกวัย 8-12 เดือน คลิกหน้าถัดไป

ทารก 8-12 เดือนมีพัฒนาการอย่างไร

ลูกน้อยจะเริ่มคลานได้ในช่วง 7-10 เดือน การคลานเป็นพัฒนาการที่สำคัญซึ่งเกิดจากการสื่อสารของสมองทั้งสองด้าน เด็กบางคนไม่คลานด้วยมือและเข่า แต่จะเคลื่อนที่ด้วยก้น หรือคลานด้วยท้องแทน  เมื่อลูกอายุ 8 เดือน จะสามารถนั่งได้โดยไม่ต้องประคอง และสามารถลุกนั่งได้เอง

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

ลูกน้อยเคลื่อนที่ได้มากขึ้นแล้วในช่วงนี้ คุณแม่จึงควรจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยต่อลูกน้อย ปิดเหลี่ยมมุม ปิดปลั๊กไฟให้เรียบร้อย นอกจากนี้ บางบ้านอาจต้องใช้ประตูกั้นบันไดเพื่อป้องกันลูกตกจากที่สูงด้วย

หลังจากที่ลูกคลานได้ เขาจะเริ่มดึงตัวเองให้ยืน และเริ่มเกาะเดิน เมื่อการทรงตัวของลูกดีขึ้น ลูกจะค่อยๆ ก้าวเดินโดยไม่ต้องประคองได้ เด็กส่วนใหญ่เริ่มเดินเมื่ออายุราว 12 เดือน แต่หากเร็วหรือช้ากว่านั้นก็ยังถือว่าปกติ

ลูกจะสามารถใช้นิ้วมือหยิบสิ่งของเล็กๆ ได้ ลูกจะเรียนรู้ที่จะกางนิ้วและทิ้งหรือโยนของ ลูกน้อยจะสำรวจสิ่งต่างๆ ด้วยการเขย่า ตี ย้ายของจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่ง และยังชอบเอานิ้วจิ้มเข้าไปในรูด้วย

พัฒนาการด้านภาษาของลูกน้อยก็เป็นไปอย่างรวดเร็วในช่วงนี้ ลูกน้อยเริ่มเรียก “แม่” “พ่อ” และเลียนแบบเสียงที่คำอื่นทำ ภายใน 12 เดือนลูกน้อยจะสามารถพูดอย่างน้อย  1 คำที่ไม่ใช่ “แม่” “พ่อ” ได้อย่างชัดเจน เข้าใจความหมายของคำว่า “ไม่” และเริ่มทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เริ่มสื่อสารด้วยท่าทาง การชี้ การคลานไปยังสิ่งที่ต้องการ และยังสามารถเช่นเกม ตบแปะและจ๊ะเอ๋ได้

ในช่วงอายุนี้ ลูกน้อยยังเรียนรู้เรื่องการคงอยู่ของวัตถุแม้สิ่งนั้นจะไม่อยู่ในสายตา ลูกน้อยสามารถเปิดผ้าห่มหาของเล่นที่ซ่อนอยู่ได้

เด็กวัยนี้เริ่มกลัวคนแปลกหน้า และการพรากจาก ซึ่งเป็นเรื่องปกติของพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กวัย 9-18 เดือน และจะหายไปเมื่ออายุ 24 เดือน

เมื่อลูกน้อยอายุครบ 12 เดือน พัฒนาการที่เด็กส่วนใหญ่ทำได้ มีดังนี้

ทักษะการเคลื่อนไหว

  • นั่งเองได้
  • คลานโดยใช้มือและเข่าได้
  • ดึงตัวเองให้ลุกยืน และเกาะเดินได้ ยืนโดยไม่ต้องประคอง ก้าวได้สองสามก้าวโดยไม่ต้องประคอง และเริ่มเดิน
  • หยิบด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ได้
  • วางวัตถุในภาชนะ และหยิบออกจากภาชนะได้
  • เริ่มจับช้อน หรือพลิกหน้าหนังสือได้

ทักษะภาษา

  • เรียก “แม่” “พ่อ” และใช้คำอื่นที่สื่อความหมายถึงพ่อแม่ได้
  • อุทานได้
  • พยายามเลียนแบบคำพูด และอาจพูดตามคำแรกได้
  • ใช้ท่าทางง่ายๆ เช่น ส่ายหน้า คือ “ไม่” หรือโบกมือ คือ “บ๊ายบาย”
  • เช่นตบแปะ หรือจ๊ะเอ๋ได้

ทักษะอารมณ์และสังคม

  • หาวัตถุที่ซ่อนอยู่ได้
  • ใช้สิ่งของอย่างถูกวิธี เช่น ถือโทรศัพท์โดยหูอยู่ด้านบน ดื่มน้ำจากแก้ว
  • อาย กลัวคนแปลกหน้า
  • ร้องไห้เมื่อแยกจากแม่หรือพ่อ

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้ลูกช่วงขวบปีแรก

พัฒนาการเด็กวัย 1 เดือนและเทคนิคส่งเสริมพัฒนาการตามวัย

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • พัฒนาการทารกแรกเกิดถึง 1 ปีที่น่าจับตา
แชร์ :
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

powered by
  • ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

    ลูกชอบจับจู๋ จับจิ๋ม ผิดปกติไหม? พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี?

  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว