TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกสะอึก ทารกสะอึกบ่อย ต้องรีบแก้ไข เป็นอันตรายจริงหรือไม่ ?

บทความ 5 นาที
ทารกสะอึก ทารกสะอึกบ่อย ต้องรีบแก้ไข เป็นอันตรายจริงหรือไม่ ?

การที่ทารกสะอึก ทารกสะอึกบ่อย เป็นเรื่องปกติของทารก สาเหตุที่เจ้าหนูสะอึกเป็นเพราะกล้ามเนื้อกะบังลม ทำงานไม่สัมพันธ์กับการหายใจเข้าออก ซึ่งอาการสะอึกมักจะเกิดหลังจากที่ลูกกินนมอิ่ม เมื่อทารกอิ่มกระเพาะอาหารจึงเกิดการขยายตัว เพราะมีนมเข้าไปอยู่ข้างใน ทำให้เกิดแรงดันไปที่กล้ามเนื้อกะบังลม ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างช่องปอดกับช่องท้อง ทำให้กะบังลมหดตัวอย่างรวดเร็ว ขณะหายใจออกจึงทำให้ทารกเกิดอาการสะอึกนั่นเอง

 

อาการสะอึกแบบไหน เป็นอันตราย ?

อย่างที่ได้เกริ่นไปข้างต้นว่า อาการทารกสะอึกนั้น ถือเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติอยู่แล้ว เมื่อสะอึกไปได้สักพักอาการสะอึกจะหยุดไปเอง ไม่ได้เป็นอันตรายรุนแรงต่อทารกแต่อย่างใด และเมื่อทารกเริ่มมีอายุได้ประมาณ 4-5 เดือน อาการสะอึกจะค่อย ๆ หายไปเองค่ะ จะไม่เกิดขึ้นบ่อยเหมือนช่วงแรก ๆ แต่อย่างไรก็ตาม หากลูกน้อยมีอาการสะอึกติดต่อกันเป็นชั่วโมง ควรรีบพาไปพบคุณหมอทันที เพราะอาการสะอึกนั้นอาจเกิดจากสาเหตุอื่นและเป็นอันตรายได้ค่ะ

 

ทารกสะอึกบ่อย

 

สาเหตุที่ทำให้ ทารกสะอึกบ่อย

การที่ทารกสะอึก ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นหลังจากที่ทารกดื่มนมอิ่ม เนื่องจากกระเพาะอาหารขยายตัว เนื่องจากมีนมเข้าไปอยู่ข้างใน จนเกิดแรงดัน ทำให้กล้ามเนื้อตรงบริเวณกะบังลม เมื่อลูกหายใจออกกล้ามเนื้อตรงนี้มันจะมีการหดตัวอย่างรวดเร็วจึงทำให้เกิดเป็นเสียงออกมานั่นเองค่ะ คุณแม่จึงควรสังเกตอาการผิดปกติของลูกบ่อย ๆ นะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 วิธีแก้อาการสะอึก รักษาอาการสะอึก ช่วยให้หายได้ในพริบตา

 

วิธีแก้ปัญหาทารกสะอึก

  • อุ้มเรอ หลังจากที่ทารกอิ่มนมแล้ว คุณแม่ควรจับลูกอุ้มเรอทุกครั้ง  วิธีการอุ้มเรอ
  • อุ้มลูกให้นั่งตรง ๆ พิงที่อกคุณโดยใช้หัวไหล่ และ คางของคุณ ช่วยรับน้ำหนักลูกไว้ ใช้มือหนึ่งประคองคอของลูก และอีกมือตบหลังลูกเบา  ๆ
  • ให้ลูกนั่งตรง ๆ บนตักคุณแม่ และใช้มือหนึ่งค่อย ๆ ประคองบริเวณหน้าอกของลูกเอาไว้ จากนั้น เอนตัวลูกไปข้างหน้าเล็กน้อย และใช้อีกมือตบหลังลูกเบา ๆ คุณอาจลูบหลังลูกเป็นวงกลม เพื่อกระตุ้นให้เรอด้วยก็ได้ค่ะ
  • วางลูกคว่ำลงบนตักของคุณ ใช้มือหนึ่งประคองใต้อกลูก ขณะที่อีกมือลูบหลังเป็นวงกลมหรือตบเบา ๆ
  • ถ้าลูกเรอไม่ออก ลองงอขาลูกขึ้นไปที่หน้าอก วิธีนี้อาจช่วย ขับลม ออกมาได้ค่ะ
  • ให้ดูดนมแม่ แม้ว่าสะอึกก็ให้คุณแม่จับทารกเข้าเต้า เพื่อดูดนมได้ค่ะ การ ดูดนม แม่จากเต้าจะช่วยฝึกทารกหายใจ ที่สำคัญไม่ต้องให้ทารกดื่มน้ำนะคะ สักพักอาการจะดีขึ้นเอง
  • ใช้จุกนมหลอก บางครั้งอาการสะอึกของทารกก็ไม่ได้มาจากการป้อนนมเสมอไป ฉะนั้น เวลาที่ลูกเริ่มสะอึกขึ้นมาเอง คุณแม่ลองปล่อยให้เขาดูดจุกนมหลอกดูก็ได้ค่ะ เพราะอาการสะอึกจากการอิ่มนมสามารถหายเองได้ เมื่อกะบังลมของลูกผ่อนคลายมากขึ้น ลูกจะหยุดสะอึกเอง

 

ทารกสะอึกบ่อย

 

วิธีไล่ลมให้ทารก

การไล่ลม ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกันเวลาที่ทารกสะอึกได้ชัดเจนมาก ๆ ทั้งยังช่วยให้น้ำนมไหลออกจากกระเพาะอาหารเร็วขึ้นอีกด้วยค่ะ โดยวิธีการไล่ลม คุณแม่สามารถทำได้ 4 วิธี ดังนี้

  • หลังจากที่ลูกกินนมอิ่มแล้ว คุณแม่ต้องทำให้ลูกเรอออกมา โดยสามารถทำได้ด้วยการตบหลังเบา ๆ อย่างอ่อนโยน หรือไม่ก็ใช้มือวนเป็นวงกลมไปมาบริเวณท้อง เพื่อไล่ลมออกค่ะ จะได้ไม่ทำให้ทารกสะอึก
  • อุ้มลูกพาดบ่า ศีรษะของลูกต้องพาดอยู่บนไหล่ของแม่ จากนั้นค่อย ๆ ลูบหลังลูกเบา ๆ เพื่อช่วยให้น้ำนมที่เพิ่งดื่มเข้าไป มันไหลออกจากกระเพาะอาหาร
  • อุ้มทารกนั่งบนตัก จากนั้นเอนตัวลูกไปข้างหน้าเล็กน้อย และใช้มือประคองคางของลูกเอาไว้ ส่วนอีกมือหนึ่งให้ลูบจากหลังไล่ตั้งแต่เอวขึ้นมาจนถึงต้นคอเบา ๆ เพื่อไล่ลมออก
  • ให้ลูกดูดนมจากเต้า และไม่ต้องให้ดื่มน้ำตามค่ะ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงให้ลูกดื่มนมจากขวดบ่อย ๆ เพราะการดูดนมจากขวดทำให้ทารกยิ่งดูดเอาลมเข้าไปในกระเพาะอาหารมากขึ้นนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกท้องอืด ท้องป่อง ท้องแข็ง เรอบ่อยตดบ่อย รับมืออย่างไรให้ถูกวิธี

 

ทารกสะอึกบ่อย

 

ข้อห้าม! เมื่อลูกมีอาการสะอึก

  • ในเด็กแรกเกิด ไม่ควรให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อแก้อาการสะอึกเหมือนผู้ใหญ่ เพราะน้ำจะยิ่งเข้าไปดันบริเวณกะบังลม ทำให้เขาสะอึกมากขึ้นและอาจจะสำลักน้ำได้ค่ะ
  • ห้ามใช้วิธีบีบจมูกลูก เพื่อให้เขากลั้นหายใจแบบที่ผู้ใหญ่ชอบทำกันเด็ดขาด เพราะเด็ก ๆ ยังไม่ได้เรียนรู้วิธีการหายใจแบบผู้ใหญ่ อาจทำให้ลูกขาดอากาศและเป็นอันตรายได้ค่ะ
  • ห้ามเขย่าลูกเพื่อให้เขาหาย แต่ให้จับนั่งตักหรืออุ้มพาดไหล่ แล้วใช้มือค่อย ๆ ลูบบริเวณด้านหลังแบบเบา ๆ เพื่อไล่ลมออก หรือจะค่อย ๆ ตบไล่แบบอ่อนโยนอย่างที่ให้ข้อมูลไปข้างต้นค่ะ

 

ได้ทราบกันไปแล้วนะคะ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการสะอึกของทารกว่าจริง ๆ แล้ว มันไม่ได้มีอันตรายอะไรต่อทารกมากเท่าไร ถือเป็นอาการที่ปกติมาก ๆ ในเด็กวัยนี้ เพราะกะบังลมของเจ้าหนูยังทำงานได้ไม่สัมพันธ์กัน จึงทำให้เกิดอาการสะอึกได้บ่อย ๆ เมื่อปล่อยไปสักพักจะหายเองค่ะ คุณพ่อคุณแม่หายห่วงได้เลย แต่ถ้าหากมีอาการสะอึกที่แปลก ๆ หรือสะอึกนานเกินกว่าปกติ รวมถึงมีไข้ อาเจียน หรือถ่ายอุจจาระออกมาด้วย ต้องรีบพาไปหาหมอทันทีเลยค่ะ อาจจะมีอาการสะอึกมาจากสาเหตุอื่นร่วมด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทารกอ้วก อาเจียนบ่อย แต่ไม่มีไข้ ลูกเป็นอะไรกันแน่?

ทารกท้องร้อง เกิดจากอะไร? เป็นสัญญาณแจ้งเตือนของลูกใช่หรือไม่?

ทารก สะอึก เป็นอันตรายไหม ? คุณพ่อคุณแม่ควรรับมือกับอาการนี้อย่างไร ?

ที่มา : sukkaphap-d, premierehomehealthcare, enfababy

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ทารกสะอึก ทารกสะอึกบ่อย ต้องรีบแก้ไข เป็นอันตรายจริงหรือไม่ ?
แชร์ :
  • เตือนภัย "เยลลี่กัญชา" รูปหมี เด็ก 2 ขวบกินเข้าไปไม่รู้ตัว เกือบไม่รอด

    เตือนภัย "เยลลี่กัญชา" รูปหมี เด็ก 2 ขวบกินเข้าไปไม่รู้ตัว เกือบไม่รอด

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • เตือนภัย "เยลลี่กัญชา" รูปหมี เด็ก 2 ขวบกินเข้าไปไม่รู้ตัว เกือบไม่รอด

    เตือนภัย "เยลลี่กัญชา" รูปหมี เด็ก 2 ขวบกินเข้าไปไม่รู้ตัว เกือบไม่รอด

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว