คุณแม่กับลูกน้อยเริ่มที่จะรู้ใจกันมากขึ้นแล้ว ลูกในวัย 3 เดือน จะเริ่มกินเป็นเวลา ทารกบางคนกินนมตอนกลางคืนเหลือเพียงมื้อเดียวและเริ่มนอนยาวได้มากขึ้น คุณแม่จะสังเกตเห็นพัฒนาการของลูกที่เด่นชัดขึ้น เช่น ลูกชอบสนใจกับมือตัวเองเป็นพิเศษ เห็นได้จากการจ้องมองมือตัวเองบ่อย ๆ หรือเอามือเข้าปาก เพราะประสาทตาของลูกเริ่มจับภาพได้ดีขึ้น และมองเห็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเองมากที่สุดก็คือ มือของตัวเอง ดังนั้นเมื่อลูกเริ่มที่จะใช้มือปัดป่าย อม หยิบจับสิ่งของ ซึ่งเป็นพัฒนาการที่เหมาะสมกับลูกวัย 3 เดือนแล้ว ยังมีอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยในวัยนี้ ที่คุณแม่ต้องคอยดูแลและเฝ้าระวัง
3 อาการที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยวัย 3 เดือน
#ติดหวัดง่าย
เด็กทารกในวัยบอบบางนยังมีภูมิต้านทานไม่สูงนัก หากคนในบ้านมีอาการเป็นหวัด เพียงแค่ไอ จาม คัดจมูกเล็กน้อย เมื่ออยู่ใกล้ลูกเล็กก็สามารถทำให้ทารกมีโอกาสที่จะติดหวัดได้สูง อาจเห็นน้ำมูกใส ๆ แล้วค่อย ๆ ข้นขึ้น และจะหายเป็นปกติ ถ้าลูกมีไข้ (ไข้ไม่สูงจะอยู่ที่ 37-37.6 องศาเซลเซียส) ให้ใช้วิธีการเช็ดตัว เพื่อระบายความร้อน และถ้าหากเป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือร่างกายไม่แข็งแรงควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เมื่อมีคนในบ้านหรือพ่อแม่เป็นหวัด ควรใส่หน้ากากอนามัย หรือห่างจากตัวลูกน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกติดหวัดได้ง่ายนะคะ
#ขี้ตาเยอะ
คุณแม่อาจจะสังเกตเห็นลูกมีขี้ตาบริเวณหางตาหรือหัวตา หรือมีน้ำตาคลอ ๆ ให้ลองดูว่าขนตาล่างพับเข้าไปด้านในลูกตาหรือเปล่า ซึ่งอาจเกิดจากพัฒนาการของร่างกาย เนื้อแก้มอาจจะดันขนตาเข้าไปข้างในตาได้ คุณแม่อาจจะพาลูกเพื่อให้คุณหมอช่วยดูหรือถอนขนตาออก แต่ถ้าลูกมีขี้ตาเยอะผิดปกติ บางรายถึงกับลืมตาไม่ขึ้น อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เยื่อตาอักเสบ หรืออาจเป็นอาการของท่อน้ำตาอุดตัน โดยอาจจะเป็นข้างเดียวหรือสองข้าง ภาวะนี้พบได้ประมาณ 30% ในเด็กทารก ผู้ป่วยส่วนมากมักหายได้เอง
Read : ลูกตาแฉะ ขี้ตาเยอะ อาจเป็นอาการท่อน้ำตาอุดตัน
อีกหนึ่งอาการที่อาจเกิดขึ้นได้กับลูกวัย 3 เดือน หน้าถัดไป>>
#ตาเขหรือตาเหล่
หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าตาดำของทารกเหมือนมองไม่ไปในทิศทางเดียวกัน เหล่เข้าหรือเหล่ออกบ้าง ตาสองข้างทำงานไม่สอดคล้องกัน ในช่วงนี้ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะการทำงานของกล้ามเนื้อสายตายังไม่สมบูรณ์ดี ลูกอาจมองของสิ่งเดียวกันด้วยตาทั้ง 2 ข้างยังไม่ได้ เมื่อเกิน 3 เดือนขึ้นไปแล้ว ตาสองข้างเริ่มทำงานประสานกันได้ดี สามารถบังคับตาทั้งสองข้างให้มองไปในทิศทางของวัตถุที่สนใจได้แม่นยำขึ้น และลูกจะมองดีขึ้นเมื่ออายุ 6 เดือน แต่ถ้ายังพบอาการตาเหล่ ตาเขอยู่ ควรนำทารกไปพบจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษานะคะ
Read : ลูกตาเหล่ ลูกตาเข รักษาอย่างไร
นอกจากพัฒนาการตามวัยหรืออาการที่อาจเกิดขึ้นกับลูกวัย 3 เดือนนี้แล้ว สิ่งที่คุณแม่จะเสริมให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดีและร่างกายแข็งแรงได้ คือการหมั่นเล่นกับลูกบ่อย ๆ พูดคุยกัน หรือการอุ้มลูกออกไปเดินเล่นนอกบ้านในวันที่อากาศดี ๆ เพื่อช่วยทำให้หลอดลมของทารกแข็งแรงขึ้น เหมือนลูกน้อยได้ออกกำลังกายยืดเส้นยือสายไปด้วย และจะช่วยให้เจ้าตัวน้อยนอนหลับได้ดีในช่วงกลางคืนไม่ตื่นมากวนคุณแม่ด้วยนะ
Credit content: https://women.sanook.com/7273/
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
จับตา..พัฒนาการผิดปกติของทารก 3 เดือนแรก
12 สัญญาณผิดปกติของลูกแรกเกิดที่ควรรีบพบแพทย์
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!