ในช่วงสัปดาห์ที่ 35 ของการตั้งครรภ์ ความรู้สึกของทารกจะพัฒนามากขึ้น และตอนนี้ลูกน้อยของคุณ สามารถตอบสนองต่อเสียงที่ดังขึ้น ความแปรผันของแสง และความเจ็บปวดได้ ลูกในท้องตอนนี้มีความยาวประมาณ 45 ซม. และมีน้ำหนักประมาณ 2,300 กรัม แล้วลูกน้อยของคุณขณะที่ ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ จะต้องมีลักษณะ และพัฒนาการอย่างไรบ้าง ถึงจะเรียกว่าสมบูรณ์กันนะ
ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์ เด็กมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นบ้าง
เมื่อเวลาผ่านไป เข้าสู่ในสัปดาห์ที่ 35 ปริมาณน้ำคร่ำของคุณจะลดลง และตอนนี้ลูกน้อยของคุณก็เติมเต็มพื้นที่ว่างในครรภ์เกือบทั้งหมด ระบบย่อยอาหารของทารกจะเริ่มเติบโตเต็มที่ และลำไส้เล็กของเขาเต็มไปด้วยมีโคเนียม ซึ่งเป็นสารสีเขียวเข้ม ซึ่งนั่นเราถือว่าเป็นอุจจาระแรกของทารกแรกเกิดนั่นเองค่ะ
อวัยวะเพศจะมีการพัฒนาเต็มที่ หากลูกของคุณเป็นเพศชาย ลูกอัณฑะของเด็กจะอยู่ในตำแหน่งล่างสุด และจะเริ่มเห็นชัดขึ้นในช่วงสัปดาห์ท้าย ๆ และหากคุณมีผู้หญิง หน้าอก และอวัยวะเพศของเด็กอาจจะบวม เนื่องจากปริมาณฮอร์โมน แต่จะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น
ตอนนี้ผิวของลูกน้อยของคุณเป็นสีชมพู และจะมีเล็บงอกออกมา ในสัปดาห์ที่ 35 ของการตั้งครรภ์ ร่างกายของทารกแข็งแรงขึ้น และดูอิ่มเอิบกว่าเมื่อสองสามสัปดาห์ก่อน
- ลูกในท้องน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ 15% ของร่างกายลูกน้อยจะเป็นไขมัน
- ลูกจะดิ้น และเตะแรงขึ้น
- ตับและไตของลูกน้อยพัฒนามากขึ้น จนพร้อมที่จะจัดการกับของเสียในร่างกายแล้ว
- สมองของลูกน้องยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
บทความที่เกี่ยวข้อง : 9 วิตามินบำรุงหลังคลอด สุดยอดอาหารเสริมของคุณแม่มือใหม่ ปี 2023
อาการคนท้อง 35 สัปดาห์ แล้วเท่ากับกี่เดือน
- มดลูกขยายตัวมากขึ้นไปจนถึงบริเวณซี่โครงของคุณแม่แล้ว
- จุกเสียดแน่นอก เพราะระบบทางเดินอาหารทำงานน้อยลง
- เข้าห้องน้ำบ่อยมากกว่าเดิม
- ปัสสาวะเล็ดเวลาไอ หรือจามแรง ๆ บางคนก็เป็นตอนที่หัวเราะ
- รู้สึกปวดหัวเป็นครั้งคราว
- เกิดปัญหาผื่นผิวหนัง
- เลือดออกตามไรฟัน
- รู้สึกว่าตัวเองซุ่มซ่าม
- เกิดอาการหดตัวของมดลูกเล็กน้อย ที่เรียกว่า เจ็บท้องหลอก
- สำหรับครรภ์ 35 สัปดาห์ จัดอยู่ในไตรมาสที่ 3 อายุครรภ์เท่ากับ 8 เดือนนั่นเอง
เด็กในครรภ์ 35 สัปดาห์ กำลังทำอะไรอยู่นะ ?
คุณแม่หลายคนเริ่มคิด และจินตนาการไปต่าง ๆ นานา ว่าลูกน้อยของคุณในครรภ์ กำลังทำอะไรอยู่นะ เขากำลังอึดอัด เมื่อย หรืออยากคุยกับคุณแม่คุณพ่อ หรืออยากเล่นสนุก นั่นเป็นสิ่งที่เราแทบอยากจะไปส่องให้เห็นกันเลยทีเดียวจริงมั้ยคะ
ในช่วงอายุครรภ์นี้ ระบบภูมิคุ้มกันของทารกเริ่มโตเต็มที่ และต่อมหมวกไตผลิตคอร์ติซอลมากขึ้น เพื่อรักษาการทำงานของปอดของทารกอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ลูกน้อยของคุณ เตรียมพร้อมในการสะสมไขมันให้กับตัวเอง ดังนั้น ช่วงเวลานี้ เขาอาจจะกำลังคิดถึงอาหารมื้อแรก อยู่ก็เป็นได้ ดังนั้นหากอัลตราซาวนด์ คุณจะเห็นว่า ลูกของคุณจะเริ่มดูดนิ้วของเขาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายที่อยู่ในมดลูก
บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอด ที่ดีที่สุด ช่วยพยุงหลังและคืนเอวสับให้แม่หลังคลอด
ดูแลเพื่อลูกน้อยในครรภ์ ได้อย่างไร ?
ในระยะนี้ ตัวคุณแม่เอง จะต้องพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอันตราย หรือมีสารอาหารที่ไม่พึงประสงค์กับตัวเด็ก แม้กระทั่ง หัวหอม หรือถั่วชนิดต่าง ๆ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีค่าความเป็นกรดสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดก๊าซเป็นพิเศษ
นั่นเป็นเพราะระบบย่อยอาหารของทารก มีความอ่อนไหวมากกว่าระบบย่อยของคุณ มันจึงยากสำหรับเขาที่จะย่อยอะไรก็ได้ ดังนั้นน้ำนมในสัปดาห์แรกหลังคลอด จะเป็นผลจากสิ่งที่คุณทานไป ยิ่งคุณเริ่มดูแลอาหารการกินได้เร็วเท่าไร ผลลัพธ์ก็จะยิ่งดีขึ้นสำหรับคุณ และลูกน้อยของคุณมากเท่านั้น
การดูแลตัวเองตอน ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์
- คุณหมอจะทำการตรวจปากมดลูก และทวารหนัก เพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย Group B streptococcus (GBS) เชื้อตัวนี้เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ปอดบวม การติดเชื้อในกระแสเลือด และทำให้เกิดความพิการ หรือเสียชีวิตในทารกแรกเกิด
- ออกกำลังกายโดยเน้นบริเวณอุ้งเชิงกราน เพื่อให้คุณแม่เตรียมตัวคลอด
- ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ อย่างสม่ำเสมอ
- พยายามทานอาหารสุขภาพเพื่อลูกน้อยมาก ๆ
- อย่าเครียด ควรหากิจกรรมทำเวลาว่าง
เรื่องที่ควรทำตอน ตั้งครรภ์ 35 สัปดาห์
- จัดการซักล้างเสื้อผ้า และของใช้ลูกที่เตรียมไว้
- บันทึกตารางบันทึกความถี่อาการเจ็บท้องของคุณให้ดี ดูว่าเจ็บท้องถี่แค่ไหน เจ็บจริงหรือเจ็บหลอก
- เตรียมวางแผนการคลอด ดูว่าจะใช้วิธีบล็อกหลังไหม ให้คุณพ่อเข้าห้องคลอดด้วยหรือเปล่า
ดังนั้นในช่วงสัปดาห์นี้ ครรภ์ของคุณจะมีขนาดที่ใหญ่มาก และสร้างภาระให้กับคุณแม่ แต่ในขณะที่ต้องแบกท้องอันหนักอึ้ง การเตรียมพร้อมต้อนรับสมาชิกใหม่ก็ยังคงต้องทำอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน ตัวคุณแม่ก็ต้องคอยดูแลสภาพจิตใจของตนเองด้วย เพราะการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในระยะนี้ จะส่งผลต่ออารมณ์ของตัวคุณแม่อย่างมาก และยังส่งความรู้สึกถึงเจ้าตัวน้อยในครรภ์อีกด้วย การพูดคุย และเตรียมพร้อมของทุกคนในครอบครัว จะทำให้คุณแม่รู้สึกสบายใจ และไม่กดดัน ดังนั้นช่วงนี้ พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ และเตรียมพร้อมตัวเองไปพร้อม ๆ กับทุกคนในครอบครัวด้วยนะคะ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!