X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

บทความ 5 นาที
ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

สวัสดีแม่ ๆ ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ เท่ากับหกเดือน คุณแม่จะรู้สึกว่าระยะนี้ลูกน้อยในท้องมีพัฒนาการทางร่างกายใหญ่ขึ้น นั่นคือลักษณะท้องเกือบ 7 เดือน ซึ่งมดลูกค่อย ๆ ขยายตัวขึ้นทุกวัน เพื่อให้พอดีกับตัวทารก ทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว ที่สำคัญช่วงขาเริ่มมีเส้นเลือดขอดขึ้น เวลาหายใจก็จะเริ่มเหนื่อยหอบและถี่เพิ่มขึ้นมากเรื่อย ๆ อีก มือเท้าก็เริ่มบวมเป็นเพราะว่าลูกในท้องโตขึ้นนั่นเอง แล้วมีอะไรอีกบ้างที่คนตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ ต้องเจอ มาดูกันค่ะ

 

คุณแม่ท้อง 27 สัปดาห์ มีอาการทั่วไปอย่างไร

โดยทั่วไปท้องของคุณแม่เริ่มใหญ่ขึ้น เนื่องจากต้องรองรับลูกในท้องที่โตขึ้นเรื่อย ๆ กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นยึดตึง ไม่ว่าจะช่วงหลัง เชิงกราน ด้านข้างของช่วงท้องหรือแม้กระทั่งขาก็เจ็บปวดไปหมด ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากฮอร์โมนตั้งครรภ์ส่งผลต่อร่างกายทำให้กล้ามเนื้อตึงและปวดเมื่อย คุณแม่ควรควบคุมไม่ให้น้ำหนักตัวมากเกินไป

 

  • อาการปวด คือ อาการ ปวดหน่วง บริเวณมดลูกประมาณ 2-3 นาที เนื่องจากการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณมดลูก
  • บวมตามมือตามเท้า ซึ่งเกิดจากการสะสมของเหลวในร่างกายที่มาจากการไหลเวียนเลือด
  • เป็นเส้นเลือดขอด ในระหว่างนี้สิ่งที่คุณทำได้คือนวดขาไปพลาง ๆ เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ส่วนการใส่รองเท้าก็ควรเปลี่ยนจากส้นสูงมาเป็นส้นเตี้ย เพื่อสร้างความสมดุลให้ตัวคุณกับลูกน้อย ๆ ในท้องได้มากขึ้น
  • ตะคริวขึ้นขา ทำให้เจ็บปวดขามาก คุณสามารถบรรเทาอาการได้โดยการยืดกล้ามเนื้อขา และงอเท้า ที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก
  • หอบเหนื่อยง่าย หายใจสั้น เนื่องจากมดลูกกดทับซี่โครงและกะบังลม จึงทำให้หายใจได้ไม่เต็มที่เหมือนเก่า
  • น้ำหนักเพิ่ม ซึ่งน้ำหนักที่เหมาะสมช่วงตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ควรเพิ่มจากเดิมราว 10-12 กิโลกรัมเท่านั้น โดยรวมทั้งตัวทารก รกและถุงน้ำคร่ำ ปริมาณเลือดและของเหลวที่เพิ่มขึ้นในร่างกาย ตลอดจนเต้านมที่ขยายและไขมันทั้งหมดรวมกันนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

Advertisement

วิดีโอจาก : DrNoon Channel

 

พัฒนาการทารกใน ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์

อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ น้ำหนักลูก ในครรภ์จะอยู่ที่ประมาณ 875.4 กรัม ดังนั้นเรามาดูพัฒนาการลูกในท้องกันค่ะ ตอนนี้ทารกอายุ 27 สัปดาห์ลูกกำลังฝึกหายใจเข้าและหายใจออกด้วยปอดที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว เขาจะแสดงถึงกิจกรรมทางสมองอย่างเป็นทางการตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป สมองของลูกจะมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ตัวอ่อนอายุ 27 สัปดาห์มีความเฉลียวฉลาดมากขึ้นกว่าเดิม เช่น

 

  • ลูกในท้องจะมีพัฒนาการ ทางการได้ยินที่ดีขึ้น ช่วงนี้คุณแม่ลองเปิดเพลงและอ่านหนังสือให้ลูกฟังบ่อย ๆ นะคะ
  • บางครั้งคุณแม่จะรู้สึกว่าลูกในท้องดิ้นแปลกไป ทุกครั้งหลังจากกินข้าว ซึ่งจริง ๆ แล้วอาการที่เกิดนั้นอาจเป็นเพราะว่าลูกสะอึกก็ได้
  • หากคุณแม่ไปตรวจครรภ์ เวลาที่คุณหมออัลตราซาวนด์อาจจะเห็นลูกน้อยกำลังดูดนิ้วโชว์คุณพ่อคุณแม่อยู่ในท้อง
  • ลูกในท้องมีขนาดเกือบ 1 กิโลกรัม มีความยาวตัวประมาณ 36 ซม. เป็นช่วงที่พวกเขากำลังเหยียดยืดตัวกันสุด ๆ ไปเลย

 

คุณแม่ต้องดูแลตัวเองอย่างไรขณะตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์

ตอนนี้ท้องคุณแม่ท้องเกือบ 7 เดือนแล้ว เริ่มท้องใหญ่และอุ้ยอ้ายการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายก็ตามมาทำให้ไม่สบายตัวแถมยังมีผลกระทบมากมายเช่น

 

1. หากเป็นตะคริว

ช่วงนี้น้ำหนักขึ้น จึงทำให้คุณแม่เป็นตะคริว ลองเหยียดขาบ่อย ๆ การยืดเท้าก็สามารถช่วยได้ รวมถึงการดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อป้องกันอาการเจ็บเหล่านี้ด้วย

 

2. ถ้าปวดหลังมาก

เนื่องจากรับน้ำหนักเยอะอาการปวดหลังก็มาให้คุณแม่ยืดเหยียดหลังสามารถช่วยได้ ลองหาหมอนใบใหญ่ ๆ มาช่วยพยุงตอนนอนจะช่วยบรรเทาแรงกดตรงช่วงสะโพกและช่วยให้คุณแม่อยู่ในท่าทางที่สบายช่วงหลังได้ การเล่นโยคะก็เป็นการยืดเหยียดร่างกายที่ดีค่ะ

 

ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์

 

3. หากมีอาการท้องผูก

ช่วงนี้คุณแม่ท้องผูกบ่อย ลองปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร เช่น กินอาหารที่มีไฟเบอร์สูง ดื่มน้ำเยอะ ๆ และเดินบ่อย ๆ ให้ลองปรึกษาคุณหมอเพื่อขออาหารเสริมที่มีไฟเบอร์หรือยาถ่ายที่ปลอดภัย ที่สำคัญเดินและออกกำลังเบา ๆ สม่ำเสมอ ค่ะ

 

4. เริ่มมีริดสีดวงทวาร

สืบเนื่องมาจากการที่คุณแม่ท้องผูก แล้วมีการเบ่งถ่าย เวลาเข้าห้องน้ำและแรงกดที่ลูกมีต่ออวัยวะในช่องท้องส่วนล่างสามารถทำให้เกิดอาการริดสีดวงทวาร ซึ่งไม่อันตรายมากแต่ก็เป็นโรคเรื้อรังได้ หากใครเป็นมาก ๆ ตอนผ่าคลอดหรือคลอดธรรมชาติลองปรึกษาคุณหมอว่าสามารถตัดออกไปทีเดียวได้หรือไม่

 

5. การเปลี่ยนแปลงของผิว ผม เล็บและฟันผุ

เพราะการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนและต้องแบ่งสารอาหารกับลูกน้อย จึงเป็นหนึ่งในอาการที่ไม่คาดคิดซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ผิว ผม และเล็บของคุณแม่อาจจะหนาขึ้นหรือยาวเร็วขึ้น แต่กลับเปราะง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้คุณแม่บางคนอาจมีปัญหาเรื่องเหงือกอักเสบ เลือดไหลตามไรฟัน ฟันผุ ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อรักษาอาการที่เกิดขึ้น และพยายามรักษาความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟัน หรือบ้วนปาก หรือใช้ไหมขัดฟันทุกครั้งหลังทานข้าว

 

6. ถ้าคุณแม่เกิดปัสสาวะเล็ด

อาจมีบ้าง เวลาคุณแม่จามแรง ๆ เนื่องจากลูกน้อยในท้องสร้างแรงกดมหาศาลต่อกระเพาะปัสสาวะ และคุณแม่ก็แทบจะทำอะไรไม่ได้เลยด้วยซ้ำ นอกจากแวะฉี่บ่อย ๆ เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะมีที่ว่าง บางครั้งเวลาไปข้างนอกคุณแม่อาจจะใส่แผ่นอนามัยเอาไว้ค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
เตรียมพร้อมลูกน้อยฉลาดและแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์ ด้วย นมเฉพาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์
เตรียมพร้อมลูกน้อยฉลาดและแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์ ด้วย นมเฉพาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์
อาหารคนท้อง 3 ไตรมาส ควรกินอะไรดี เพื่อพัฒนาการร่างกายและสมองสมบูรณ์ของลูกน้อยในครรภ์
อาหารคนท้อง 3 ไตรมาส ควรกินอะไรดี เพื่อพัฒนาการร่างกายและสมองสมบูรณ์ของลูกน้อยในครรภ์

7. เตรียมตัวคลอดก่อนกำหนด

การคลอดก่อนกำหนดสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้น ถ้าคุณแม่สังเกตเห็นอาการที่ผิดปกติ เช่น มีเลือดออก มีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอด ปวดท้อง หรือมดลูกบีบตัวถี่ รีบไปโรงพยาบาลทันทีค่ะ

 

ท้อง 27 สัปดาห์

 

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์

เรียกว่าเป็นช่วงเตรียมตัวของคุณแม่อย่างเข้มข้น ตั้งแต่เตรียมตัวคลอด เตรียมตัวเป็นคุณแม่ และเรื่องอื่น ๆ ที่จะตามมาเป็นระยะในการเลี้ยงลูกต่อไปในอนาคต

 

1. เก็บรกไว้ดีไหม

คุณแม่ควรปรึกษากับคุณหมอจะเก็บรกไว้ในธนาคารเลือดเพื่อทำสเต็มเซลล์หรือจะบริจาคแทนขณะเดียวกันควรคิดว่าตัวเองจะให้นมลูกอย่างไร หากตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งการให้o,ลูกด้วยตัวเองนั้นมีประโยชน์ต่อตัวลูกและคุณแม่มากมาย ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับเรื่องการเตรียมนมแม่ให้ลูก รวมถึงหาข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร และวิธีการเรียกน้ำนมแม่ ทั้งนี้ต้องได้แรงสนับสนุนจากครอบครัวที่จะช่วยให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเองได้นานและมีความสุขค่ะ

 

2. วางแผนกับโรงพยาบาล

นอกจากเตรียมกระเป๋าคลอดแล้ว คุณแม่ต้องเตรียมกับโรงพยาบาลและเลือกแผนกคลอดได้แล้วค่ะ บางโรงพยาบาลต้องมีการจองล่วงหน้าก่อนและจัดเตรียมเอกสารหลายอย่าง นอกจากนี้ควรศึกษาเรื่องคาร์ซีทหรือเบาะนั่งนิรภัยในรถยนต์สำหรับเด็ก ดูว่ายี่ห้อไหนพอดีกับรุ่นรถเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยเวลาเดินทาง

 

ช่วงแห่งความเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมความพร้อม คุณแม่ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 27 อาจรู้สึกถึงความอึดอัดไม่สบายตัวไปเกือบทุกส่วนของร่างกาย เช่น ช่วงท้อง ช่วงขา หลัง เชิงกรานซึ่งเป็นอาการปกติมาก ๆ ดังนั้น ช่วงนี้คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก ส่วนลูกน้อยคุณแม่จะรู้สึกว่าเขาเริ่มเหยียดตัวมากขึ้น ดิ้นสุด ๆ ยังไงใครมาถึงช่วงนี้ต้องดูแลตัวเองให้ดีนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ตั้งครรภ์ 26 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

9 เดือนเท่ากับกี่สัปดาห์ ท้องกี่เดือน นับอายุครรภ์อย่างไรถึงจะถูก

คนท้องอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน จัดฟันได้ไหม ลูกในท้องจะเป็นอันตรายหรือเปล่า

ที่มา : babycenter, mamastory

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • ไตรมาส 3
  • /
  • ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์
แชร์ :
  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว