ซีสต์ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหม คนท้องตรวจเจอชีสต์ หรือถุงน้ำรังไข่ต้องทำอย่างไร จะส่งผลอย่างไรกับลูกในท้อง มาดูคำแนะนำจากคุณหมอกันค่ะ
ซีสต์ที่รังไข่คืออะไร
ซีสต์ (Cyst) คือ ถุงน้ำที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ซึ่งเป็นซีสต์ที่เกิดจากโรค หรือเกิดขึ้นเองธรรมชาติ และสามารถหายได้เอง ถุ
- ซีสต์ที่เกิดโรค คือ ถุงน้ำที่มีความผิดปกติ ทำให้เมื่อตรวจร่างกายจะพบซีสต์ ซึ่งซีสต์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ชีสต์ที่เป็นโรคทั่วไป เช่น ช็อกโกแลตซีสต์ และอีกประเภทคือ ซีสต์ที่เป็นโรคมะเร็ง
- ซีสต์ที่เกิดโดยธรรมชาติ สามารถหายได้เอง ปกติแล้วการทำงานของรังไข่จะมีการผลิตฟองไข่ ซึ่งซีสต์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาจเกิดจากที่ฟิงไจ่โตแต่ไม่สามารถออกมาใช้งานได้ หรือเกิดเป็นซีสต์ถุงน้ำอยู่ภายในรังไข่ ซีสต์ลักษณะนี้จะเกิดขึ้นและหายไปเองภายใน 3 เดือน
บทความที่เกี่ยวข้อง : ตอนท้อง เจ็บท้องน้อยข้างซ้าย ปวดท้องร้าวไปถึงหลัง อันตรายไหม ?
ซีสต์ขณะตั้งครรภ์ ซีสต์ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหม
ซีสต์ หรือ โรคถุงน้ำรังไข่ในระหว่างตั้งครรภ์นั้น พบได้ไม่บ่อยนัก ความน่าเป็นของการเกิดโรคนี้อยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 0.19- 8.8 ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีถุงน้ำรังไข่มาก่อนการตั้งครรภ์ เมื่อมาตรวจฝากครรภ์จึงตรวจพบความผิดปกติดังกล่าว ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มเนื้องอกของรังไข่ โอกาสพบมะเร็งรังไข่ขณะตั้งครรภ์นั้นต่ำมาก ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะของถุงน้ำที่ตรวจพบด้วย บางรายมีถุงน้ำรังไข่ที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดจากการตกไข่และยังคงอยู่ เพื่อสร้างฮอร์โมนเพื่อพยุงครรภ์ โดยปกติแล้วไม่ต้องทำการผ่าตัด เนื่องจากถุงน้ำชนิดนี้จะยุบหายไปได้เอง เมื่อเข้าสู่ไตรสมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์
ซีสต์นั้นอาจตรวจพบโดยบังเอิญเมื่อตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูทารกในครรภ์ บางรายอาจมีอาการปวดท้องน้อยข้างเดียวกับมีรอยโรคปรากฏอยู่ อาจมีอาการกดเบียดอวัยวะ ข้างเคียง เช่น เบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อยมากขึ้น หรือคลำพบก้อนที่ท้องน้อย บางรายในกรณีที่ถุงน้ำมีขนาดใหญ่อาจมีภาวะแทรกซ้อนของถุงน้ำรังไข่ ทำให้มีอาการปวดท้องเฉียบพลันได้ เช่น อาจเกิดการแตกได้ร้อยละ 1-9 การบิดขั้วของถุงน้ำ ได้ร้อยละ 1-22 และตัวถุงน้ำเองอาจเป็นอุปสรรคขัดขวางช่องทางการคลอดได้ร้อยละ 2-17 เป็นต้น
การตรวจร่างกาย หรือตรวจภายในเพื่อหาถุงน้ำรังไข่ ในขณะตั้งครรภ์จะกระทำได้ลำบาก และไม่ค่อยมีประโยชน์ เนื่องจากมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น และมักเบียดดันตัวก้อนให้สูงขึ้นจากตำแหน่งปกติ หรือดันไปทางด้านหลัง ทำให้แพทย์วินิจฉัย คลาดเคลื่อนไปได้ การวินิจฉัยหลักจึงได้จากการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเป็นสำคัญ เฉพาะกรณีที่สงสัยมะเร็งรังไข่จึงจำเป็นต้องส่งตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
![ซีสต์ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหม](https://static.cdntap.com/tap-assets-prod/wp-content/uploads/sites/25/2019/09/ovarian-cysts-pregnancy103.jpg?width=700&quality=95)
ลักษณะของซีสต์
โดยสามารถจำแนกลักษณะจำเพาะระหว่างถุงน้ำเนื้องอกธรรมดา ถุงน้ำช็อกโกแลต ถุงน้ำเดอมอยด์ ถุงน้ำคอร์ปัสลูเตียม และถุงน้ำมะเร็งรังไข่ โดยการดูความเข้มเสียงของสารน้ำในรังไข่ ดูว่ามีก้อนเนื้อตัน ผนังกั้น ภายในพื้นผิว เส้นเลือดที่มาเลี้ยง เป็นต้น หากพบลักษณะเป็น ถุงน้ำรังไข่แบบธรรมดา และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า หรือเท่ากับ 5 เซนติเมตร แพทย์มักจะให้รอตรวจติดตามอีก 4 สัปดาห์ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง ในกรณีที่ก้อนโตขึ้นก็จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดในขณะตั้งครรภ์ กรณีที่ก้อนคงเดิมสามารถ รอตรวจติดตามหลังคลอดได้โดยยังไม่ต้องผ่าตัดระหว่างตั้งครรภ์
หากพบถุงน้ำธรรมดาที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร แพทย์จะให้ทางเลือกกับผู้ป่วยว่าอาจติดตามไปก่อนเมื่อมีอาการค่อยผ่าตัด แต่อาจเสี่ยงต่อการบิดขั้วระหว่างตั้งครรภ์หรือในช่วงคลอดบุตรได้ หรือสามารถเลือกผ่าตัดได้ในช่วงอายุครรภ์หลัง 16 สัปดาห์ไปแล้ว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร การมีถุงน้ำรังไข่ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ให้มีการผ่าตัดคลอดบุตร แพทย์จึงไม่แนะนำให้ผ่าตัดคลอดบุตร เพื่อผ่าตัดถุงน้ำรังไข่ออกพร้อมกัน จะทำให้มีโอกาสเสียเลือดขณะผ่าตัดมากขึ้น ยกเว้นกรณีที่ผ่าตัดคลอดแล้วพบถุงน้ำรังไข่โดยบังเอิญ และพิจารณาข้อดี ข้อเสีย ให้คำปรึกษาแก่คนไข้และสามี เมื่อทางผู้ป่วยและครอบครัวยินยอมให้ทำได้จึงค่อยผ่าตัดไปพร้อมกัน หากสงสัยเป็นถุงน้ำคอร์ปัสลูเตียมสามารถติดตามเพียงอย่างเดียว รอจนหายไปเองโดยไม่ต้องผ่าตัด หากก้อนมีลักษณะที่ซับซ้อนน่าสงสัยมะเร็งให้ส่งตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาความเร่งด่วนว่าต้องผ่าตัดเลยหรือไม่
ช็อกโกแลตซีสอันตรายไหม ทำไมผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการใดๆ
อาจตรวจพบโดยบังเอิญเมื่อตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูทารกในครรภ์ บางรายอาจมีอาการปวดท้อง น้อยข้างเดียว กับ ที่มีรอยโรคปรากฏอยู่ อาจมีอาการกดเบียดอวัยวะ ข้างเคียง เช่น เบียด กระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อยมากขึ้น หรือ คลำพบก้อน ที่ท้องน้อย บางรายในกรณีที่ถุงน้ำ มีขนาดใหญ่อาจมีภาวะแทรกซ้อน ของถุงน้ำรังไข่ ทำให้มีอาการปวดท้องเฉียบพลันได้ เช่นเกิดการแตก ซึ่งการตรวจร่างกายทำได้ลำบาก เนื่องจากมดลูกค่อนข้างใหญ่ ทำให้คลาดเคลื่อน จึงต้องทำการตรวจจากคลื่นเสียงความถี่สูง
![ซีสต์ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหม](https://static.cdntap.com/tap-assets-prod/wp-content/uploads/sites/25/2019/09/ovarian-cysts-pregnancy102.jpg?width=700&quality=95)
การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อวัดขนาด
และ ลักษณะจำเพาะเพื่อแยกระหว่างถุงน้ำเนื้องอก ธรรมดา ถุงน้ำช็อกโกแลต ถุงน้ำเดอมอยด์ ถุงน้ำคอร์ปัสลูเตียม และ ถุงน้ำมะเร็งรังไข่ โดยดูความเข้มเสียงของ สารน้ำในรังไข่ ดูว่ามีก้อนเนื้อตัน ผนังกั้นภายใน พื้นผิว เส้นเลือดที่มาเลี้ยง เป็นต้น หากพบลักษณะเป็น ถุงน้ำรังไข่ แบบธรรมดา และ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า หรือ เท่ากับ 5 เซนติเมตร แพทย์มักจะให้รอตรวจติดตามอีก 4 สัปดาห์เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง ในกรณีที่ก้อนโต ขึ้นก็จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดใน ขณะตั้งครรภ์ กรณีที่ก้อนคงเดิมสามารถ รอตรวจติดตามหลังคลอดได้โดยยังไม่ต้อง ผ่าตัดระหว่างตั้งครรภ์
หากพบถุงน้ำที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร ควรติดตามอาการไปก่อน เมื่อมีอาการค่อยรับการผ่าตัด แต่การผ่าตัดอาจจะเสี่ยงต่อการบิดขั้นขณะตั้งครรภ์ หรือหากต้องการผ่า สามารถผ่าได้หลังจาก 16 สัปดาห์ไปแล้ว เพื่อลดความเสี่ยงในการแท้งบุตร หากพบถุงน้ำธรรมดาที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร ให้ทางเลือกกับผู้ป่วยว่าอาจติดตามไปก่อน เมื่อมีอาการค่อยผ่าตัดแต่อาจเสี่ยงต่อการบิดขั้วระหว่างตั้งครรภ์หรือในช่วงคลอดบุตรได้ หรือสามารถเลือกผ่าตัดได้ในช่วงอายุครรภ์หลัง 16 สัปดาห์ไปแล้ว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร
สรุป โรคถุงน้ำรังไข่ขณะตั้งครรภ์นั้นพบไม่บ่อย
ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดไม่ใช่มะเร็ง สามารถตรวจติดตามดูการเปลี่ยนแปลง ของก้อนก่อนได้ ค่อยพิจารณาเรื่องการรักษาว่า จำเป็นต้องผ่าตัด ระหว่างตั้งครรภ์หรือรอหลังคลอดได้ ยกเว้นกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนของก้อนหรือสงสัยมะเร็งรังไข่จึงจำเป็นต้องผ่าตัดฉุกเฉินทันที
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
ช็อกโกแลตซีสต์ ถุงน้ำในรังไข่ที่ผู้หญิงอย่างเราต้องระวังให้มาก!
เตรียมผนังมดลูกก่อนย้ายตัวอ่อน สำคัญอย่างไร? เรียนรู้ก่อนเป็นคุณแม่
ท้องอ่อนๆ ปวดท้องน้อย ทำไมปวดมาก เสี่ยงแท้งหรือเปล่า?
ที่มา : pennmedicine
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!