X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ซีสต์ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหม ตรวจเจอซีสต์ตอนท้อง ผ่าพร้อมลูกได้หรือเปล่า

บทความ 5 นาที
ซีสต์ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหม ตรวจเจอซีสต์ตอนท้อง ผ่าพร้อมลูกได้หรือเปล่า

ซีสต์ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหม คนท้องตรวจเจอชีสต์ หรือถุงน้ำรังไข่ต้องทำอย่างไร จะส่งผลอย่างไรกับลูกในท้อง มาดูคำแนะนำจากคุณหมอกันค่ะ

 

ซีสต์ที่รังไข่คืออะไร 

ซีสต์ (Cyst) คือ ถุงน้ำที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ซึ่งเป็นซีสต์ที่เกิดจากโรค หรือเกิดขึ้นเองธรรมชาติ และสามารถหายได้เอง ถุ

  • ซีสต์ที่เกิดโรค คือ ถุงน้ำที่มีความผิดปกติ ทำให้เมื่อตรวจร่างกายจะพบซีสต์ ซึ่งซีสต์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ชีสต์ที่เป็นโรคทั่วไป เช่น ช็อกโกแลตซีสต์ และอีกประเภทคือ ซีสต์ที่เป็นโรคมะเร็ง 
  • ซีสต์ที่เกิดโดยธรรมชาติ สามารถหายได้เอง ปกติแล้วการทำงานของรังไข่จะมีการผลิตฟองไข่ ซึ่งซีสต์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาจเกิดจากที่ฟิงไจ่โตแต่ไม่สามารถออกมาใช้งานได้ หรือเกิดเป็นซีสต์ถุงน้ำอยู่ภายในรังไข่ ซีสต์ลักษณะนี้จะเกิดขึ้นและหายไปเองภายใน 3 เดือน

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตอนท้อง เจ็บท้องน้อยข้างซ้าย ปวดท้องร้าวไปถึงหลัง อันตรายไหม ?

 

ซีสต์ขณะตั้งครรภ์ ซีสต์ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหม

ซีสต์ หรือ โรคถุงน้ำรังไข่ในระหว่างตั้งครรภ์นั้น พบได้ไม่บ่อยนัก ความน่าเป็นของการเกิดโรคนี้อยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 0.19- 8.8 ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะมีถุงน้ำรังไข่มาก่อนการตั้งครรภ์ เมื่อมาตรวจฝากครรภ์จึงตรวจพบความผิดปกติดังกล่าว ซึ่งมักจะเป็นกลุ่มเนื้องอกของรังไข่ โอกาสพบมะเร็งรังไข่ขณะตั้งครรภ์นั้นต่ำมาก ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะของถุงน้ำที่ตรวจพบด้วย บางรายมีถุงน้ำรังไข่ที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดจากการตกไข่และยังคงอยู่ เพื่อสร้างฮอร์โมนเพื่อพยุงครรภ์ โดยปกติแล้วไม่ต้องทำการผ่าตัด เนื่องจากถุงน้ำชนิดนี้จะยุบหายไปได้เอง เมื่อเข้าสู่ไตรสมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ 

 

ซีสต์นั้นอาจตรวจพบโดยบังเอิญเมื่อตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูทารกในครรภ์ บางรายอาจมีอาการปวดท้องน้อยข้างเดียวกับมีรอยโรคปรากฏอยู่ อาจมีอาการกดเบียดอวัยวะ ข้างเคียง เช่น เบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อยมากขึ้น หรือคลำพบก้อนที่ท้องน้อย บางรายในกรณีที่ถุงน้ำมีขนาดใหญ่อาจมีภาวะแทรกซ้อนของถุงน้ำรังไข่ ทำให้มีอาการปวดท้องเฉียบพลันได้ เช่น อาจเกิดการแตกได้ร้อยละ 1-9 การบิดขั้วของถุงน้ำ ได้ร้อยละ 1-22 และตัวถุงน้ำเองอาจเป็นอุปสรรคขัดขวางช่องทางการคลอดได้ร้อยละ 2-17 เป็นต้น

 

การตรวจร่างกาย หรือตรวจภายในเพื่อหาถุงน้ำรังไข่ ในขณะตั้งครรภ์จะกระทำได้ลำบาก และไม่ค่อยมีประโยชน์ เนื่องจากมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น และมักเบียดดันตัวก้อนให้สูงขึ้นจากตำแหน่งปกติ หรือดันไปทางด้านหลัง ทำให้แพทย์วินิจฉัย คลาดเคลื่อนไปได้ การวินิจฉัยหลักจึงได้จากการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเป็นสำคัญ เฉพาะกรณีที่สงสัยมะเร็งรังไข่จึงจำเป็นต้องส่งตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

ซีสต์ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหม

ลักษณะของซีสต์

โดยสามารถจำแนกลักษณะจำเพาะระหว่างถุงน้ำเนื้องอกธรรมดา ถุงน้ำช็อกโกแลต ถุงน้ำเดอมอยด์ ถุงน้ำคอร์ปัสลูเตียม และถุงน้ำมะเร็งรังไข่ โดยการดูความเข้มเสียงของสารน้ำในรังไข่ ดูว่ามีก้อนเนื้อตัน ผนังกั้น ภายในพื้นผิว เส้นเลือดที่มาเลี้ยง เป็นต้น หากพบลักษณะเป็น ถุงน้ำรังไข่แบบธรรมดา และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า หรือเท่ากับ 5 เซนติเมตร แพทย์มักจะให้รอตรวจติดตามอีก  4 สัปดาห์ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง ในกรณีที่ก้อนโตขึ้นก็จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดในขณะตั้งครรภ์ กรณีที่ก้อนคงเดิมสามารถ รอตรวจติดตามหลังคลอดได้โดยยังไม่ต้องผ่าตัดระหว่างตั้งครรภ์

 

หากพบถุงน้ำธรรมดาที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร แพทย์จะให้ทางเลือกกับผู้ป่วยว่าอาจติดตามไปก่อนเมื่อมีอาการค่อยผ่าตัด แต่อาจเสี่ยงต่อการบิดขั้วระหว่างตั้งครรภ์หรือในช่วงคลอดบุตรได้ หรือสามารถเลือกผ่าตัดได้ในช่วงอายุครรภ์หลัง 16 สัปดาห์ไปแล้ว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร การมีถุงน้ำรังไข่ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ให้มีการผ่าตัดคลอดบุตร แพทย์จึงไม่แนะนำให้ผ่าตัดคลอดบุตร เพื่อผ่าตัดถุงน้ำรังไข่ออกพร้อมกัน จะทำให้มีโอกาสเสียเลือดขณะผ่าตัดมากขึ้น ยกเว้นกรณีที่ผ่าตัดคลอดแล้วพบถุงน้ำรังไข่โดยบังเอิญ และพิจารณาข้อดี ข้อเสีย ให้คำปรึกษาแก่คนไข้และสามี เมื่อทางผู้ป่วยและครอบครัวยินยอมให้ทำได้จึงค่อยผ่าตัดไปพร้อมกัน หากสงสัยเป็นถุงน้ำคอร์ปัสลูเตียมสามารถติดตามเพียงอย่างเดียว รอจนหายไปเองโดยไม่ต้องผ่าตัด หากก้อนมีลักษณะที่ซับซ้อนน่าสงสัยมะเร็งให้ส่งตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาความเร่งด่วนว่าต้องผ่าตัดเลยหรือไม่

 

ช็อกโกแลตซีสอันตรายไหม ทำไมผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการใดๆ

อาจตรวจพบโดยบังเอิญเมื่อตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูทารกในครรภ์ บางรายอาจมีอาการปวดท้อง น้อยข้างเดียว กับ ที่มีรอยโรคปรากฏอยู่ อาจมีอาการกดเบียดอวัยวะ ข้างเคียง เช่น เบียด กระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อยมากขึ้น หรือ คลำพบก้อน ที่ท้องน้อย บางรายในกรณีที่ถุงน้ำ มีขนาดใหญ่อาจมีภาวะแทรกซ้อน ของถุงน้ำรังไข่ ทำให้มีอาการปวดท้องเฉียบพลันได้ เช่นเกิดการแตก ซึ่งการตรวจร่างกายทำได้ลำบาก เนื่องจากมดลูกค่อนข้างใหญ่ ทำให้คลาดเคลื่อน จึงต้องทำการตรวจจากคลื่นเสียงความถี่สูง 

ซีสต์ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหม

การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อวัดขนาด

และ ลักษณะจำเพาะเพื่อแยกระหว่างถุงน้ำเนื้องอก ธรรมดา ถุงน้ำช็อกโกแลต ถุงน้ำเดอมอยด์ ถุงน้ำคอร์ปัสลูเตียม และ ถุงน้ำมะเร็งรังไข่ โดยดูความเข้มเสียงของ สารน้ำในรังไข่ ดูว่ามีก้อนเนื้อตัน ผนังกั้นภายใน พื้นผิว เส้นเลือดที่มาเลี้ยง เป็นต้น หากพบลักษณะเป็น ถุงน้ำรังไข่ แบบธรรมดา และ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า หรือ เท่ากับ 5 เซนติเมตร แพทย์มักจะให้รอตรวจติดตามอีก  4 สัปดาห์เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง ในกรณีที่ก้อนโต ขึ้นก็จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดใน ขณะตั้งครรภ์ กรณีที่ก้อนคงเดิมสามารถ รอตรวจติดตามหลังคลอดได้โดยยังไม่ต้อง ผ่าตัดระหว่างตั้งครรภ์

 

หากพบถุงน้ำที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร ควรติดตามอาการไปก่อน เมื่อมีอาการค่อยรับการผ่าตัด แต่การผ่าตัดอาจจะเสี่ยงต่อการบิดขั้นขณะตั้งครรภ์ หรือหากต้องการผ่า สามารถผ่าได้หลังจาก 16 สัปดาห์ไปแล้ว เพื่อลดความเสี่ยงในการแท้งบุตร หากพบถุงน้ำธรรมดาที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร ให้ทางเลือกกับผู้ป่วยว่าอาจติดตามไปก่อน เมื่อมีอาการค่อยผ่าตัดแต่อาจเสี่ยงต่อการบิดขั้วระหว่างตั้งครรภ์หรือในช่วงคลอดบุตรได้ หรือสามารถเลือกผ่าตัดได้ในช่วงอายุครรภ์หลัง 16 สัปดาห์ไปแล้ว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร

 

สรุป โรคถุงน้ำรังไข่ขณะตั้งครรภ์นั้นพบไม่บ่อย

ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดไม่ใช่มะเร็ง สามารถตรวจติดตามดูการเปลี่ยนแปลง ของก้อนก่อนได้ ค่อยพิจารณาเรื่องการรักษาว่า จำเป็นต้องผ่าตัด ระหว่างตั้งครรภ์หรือรอหลังคลอดได้ ยกเว้นกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนของก้อนหรือสงสัยมะเร็งรังไข่จึงจำเป็นต้องผ่าตัดฉุกเฉินทันที

 

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ช็อกโกแลตซีสต์ ถุงน้ำในรังไข่ที่ผู้หญิงอย่างเราต้องระวังให้มาก!

เตรียมผนังมดลูกก่อนย้ายตัวอ่อน สำคัญอย่างไร? เรียนรู้ก่อนเป็นคุณแม่

ท้องอ่อนๆ ปวดท้องน้อย ทำไมปวดมาก เสี่ยงแท้งหรือเปล่า?

ที่มา : 1 

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ผศ.นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ซีสต์ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายไหม ตรวจเจอซีสต์ตอนท้อง ผ่าพร้อมลูกได้หรือเปล่า
แชร์ :
  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 55 มีซีสต์ขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม

    100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 55 มีซีสต์ขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม

  • เซ็กส์ระหว่างตั้งครรภ์มีประโยชน์อย่างไร อันตรายหรือไม่ และ คนท้องเสร็จได้ไหม

    เซ็กส์ระหว่างตั้งครรภ์มีประโยชน์อย่างไร อันตรายหรือไม่ และ คนท้องเสร็จได้ไหม

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 55 มีซีสต์ขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม

    100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 55 มีซีสต์ขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม

  • เซ็กส์ระหว่างตั้งครรภ์มีประโยชน์อย่างไร อันตรายหรือไม่ และ คนท้องเสร็จได้ไหม

    เซ็กส์ระหว่างตั้งครรภ์มีประโยชน์อย่างไร อันตรายหรือไม่ และ คนท้องเสร็จได้ไหม

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ