X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรค Stevens-Johnson อาการแพ้ยาที่อาจรุนแรงถึงชีวิตลูกรัก

บทความ 5 นาที
โรค Stevens-Johnson อาการแพ้ยาที่อาจรุนแรงถึงชีวิตลูกรัก

อ่านเกี่ยวกับ Chasely เด็กชายอายุเจ็ดเดือน ที่เป็นโรค Stevens-Johnson (สะตีเวนส์จอห์นสัน หรือเรียกย่อว่า SJS) เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับสัญญาณบอกอาการที่คุณควรระวัง และ สิ่งที่คุณควรทำเมื่อสงสัยว่าลูกของคุณอาจแพ้ยาอย่างรุนแรงจนอาจถึงชีวิตได้

stevens johnson syndrome

(รูปของ Chasely ก่อนที่เธอจะเป็นโรค Stevens-Johnson)

อาการของเด็กที่เป็นโรค Stevens-Johnson

เริ่มต้นจะมีอาการคล้ายเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ คือมีอาการปวดท้อง มีไข้ ไปจนถึงปวดเมื่อยตามร่างกาย และลามไปถึงการเป็นโรคมือ เท้า ปาก (HFMD)

ในฐานะของคนเป็นแม่ ไม่มีใครอยากเห็นลูกของเราต้องอยู่ในอาการอึดอัดไม่สบาย พวกเราจะไม่ลังเลเลยที่จะหายาแก้ปวดใดๆก็ตามที่เหมาะสมสำหรับเด็ก เช่น ยาแก้ปวดสำหรับเด็ก Nurofen มาช่วยลดไข้ของลูกน้อยและทำให้พวกเขาสบายตัวขึ้น

นี่คือสิ่งที่คุณแม่ลูก 6 ชาวออสเตรเลียชื่อ Jen Shaw ทำเช่นกันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2015 เธอเห็น Chasely ลูกสาววัยเจ็ดเดือน ถูกแมลงชนิดหนึ่งต่อย Jen กล่าวว่า “ลูกสาวคนเล็กวัยเจ็ดขวบของฉันเป็นไข้หวัดมาอาทิตย์กว่าแล้ว ลูกของฉันมีอาการไอทั่วไป มีน้ำมูกไหล แต่นอกนั้นก็ไม่มีอะไรมาก อย่างไรก็ตาม เราก็ตัดสินใจที่จะเข้าพบคุณหมอเพื่อให้คุณหมอตรวจเช็คร่างกายของลูกของฉันซักหน่อย เนื่องจากนี่เป็นครั้งแรกที่เธอเป็นหวัด

คุณหมอก็ได้ยืนยันตามการคาดเดาของฉันที่ว่า ลูกของฉันเป็นแค่หวัดธรรมดาเท่านั้น ไม่ได้เป็นอะไรมาก คุณหมอได้บอกให้ลูกของฉันดื่มน้ำเยอะๆ กอดเธอบ่อยๆ และสั่งจ่ายยาแก้ปวดให้ใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น”

2

(Chasely ดูจะสบายตัวและมีความสุขขึ้นหลังจากที่ได้กินยาลดไข้ Nurofen รอบแรก Jen สังเกตเห็นว่ามีตุ่มนูนใสบนผิวหนังของลูกสาว แต่เธอก็ไม่เอะใจซักนิดว่านั่นคือหนึ่งในสัญญาณบอกอาการแรกๆ ของโรค SJS)

Jen อธิบายว่า วันถัดมาว่า Chasely ยังมีอาการอึดอัดไม่สบายตัวและยังคงต่อสู้กับไข้หวัดอยู่นั้น เธอก็ตัดสินใจให้ Chasely กินยา Nurofen เข้าไปอีกรอบ แล้วลูกสาวของเธอก็ดูเหมือนจะสบายตัวขึ้น แต่หลังจากที่ยาหมดฤทธิ์ Chasely ก็แย่ลงอีกครั้ง Jen เลยให้เธอทานยาอีกเป็นรอบที่สอง

อย่างไรก็ตาม หลังจากรอบที่สองที่ให้ลูกของเธอทานยา Nurofen ลูกสาวของเธอก็มีอาการแย่ลงกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด เมื่อวางตัวเธอลง เธอก็จะร้องไห้อย่างเจ็บปวด และต้องการให้อุ้มตัวเธอขึ้นอยู่ตลอดเวลา เป็นเวลาหลังจากนั้นอยู่ไม่กี่วัน สิ่งที่เกิดขึ้นก็เหมือนเป็นฝันร้ายของ Jen และครอบครัว

โรค Stevens-Johnson

 (รูปภาพของ Chasely ในภาวะโรค Stevens-Johnson)

Chasely ต้องต่อสู้กับผื่น ตุ่มหนอง อาการบวมและแดงของผิวหนังของเธอ เธอได้รับความเจ็บปวดที่สุดนานถึงหนึ่งสัปดาห์ เธอได้รับผลยืนยันแน่ชัดว่าเป็น Stevens-Johnson Syndrome (SJS) หลังจากที่ไปหาหมอมาหลายท่าน รวมถึงการทำเทสต์ต่างๆ อีกมากมาย

ข่าวดีก็คือ ตอนนี้ Chasely ได้หายเป็นปกติแล้ว หลังจากที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง Jen กล่าวว่า อาจจะเป็นเพราะตัวยา Nurofen โดยเฉพาะส่วนผสมของ ibuprofen ที่มีอยู่ในตัวยาที่ทำให้ Chasely เกิดอาการที่น่ากลัวแบบนี้

 

4

(ขอบคุณที่ Chasely ได้รับการรักษาและหายเป็นปกติ)

อะไรคือโรค Stevens-Johnson Syndrome? อาการเป็นอย่างไร และ คุณควรทำอย่างไร คลิกหน้าถัดไป>>>

5

(SJS ถ้าไม่ถูกการตรวจพบหรือรักษา อาจมีผลกระทบที่เลวร้ายมากขึ้นกับเด็กได้)

อะไรคือ ภาวะ/โรค Stevens-Johnson?

SJS คืออาการที่พบเจอได้น้อยมาก เหตุเกิดขึ้นจากภาวะที่ปฏิกิริยาของระบบภูมิต้านทานของร่างกายตอบสนองผิดปกติต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย หรือต่อการเจ็บป่วยต่างๆ ที่เกิดจากเชื้อโรค หรือจากยา

SJS ก่ออาการต่อผิวหนังและเยื่อเมือกบุอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดผื่นขึ้นตามผิวหนัง กลายเป็นผื่นนูนแดง เป็นตุ่มน้ำใสที่จะแตกออกกลายเป็นแปลเกิดขึ้น หรือเป็นหนองได้ SJS ยังลามไปกระทบปาก ลำคอ ตา ถ้าหากไม่เกิดการตรวจพบและรักษาในเวลาที่เหมาะสม

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

6

(Ibuprofen ที่อยู่ในยา Nurofen คือหนึ่งในตัวเร่ง SJS)

อะไรที่ทำให้เกิด SJS? คลิกหน้าถัดไป>>

ตามที่นักวิชาการทางการแพทย์บอกไว้ ยากว่า 100 ตัวที่สามารถทำให้เกิด SJS ได้ ตัวอย่างที่เห็นกันบ่อยที่สุดคือ

– ยาบางตัวที่ใช้สำหรับรักษา โรคเกาต์ (โรคไขข้อที่เจ็บปวดรุนแรง)

– Sulfonamides (กลุ่มยาซัลฟา) หรือ Sulfa antibiotics

– ยาบางตัวที่ใช้รักษาโรคชัก หรือ อาการป่วยทางจิต

– ยาแก้ปวดบางชนิด เช่น acetaminophen และ ibuprofen

ถ้าเป็นเรื่องของเด็ก ยาที่น่าจะเป็นตัวแปรทำให้เกิด SJS มากที่สุดก็คือ sulfa antibiotics และ ยาที่มีส่วนผสมของ ibuprofen อย่างเช่น Nurofen นั่นเอง ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่า การติดเชื้อ อย่าง pneumonia หรือ ไวรัส herpes ที่ทำให้เกิดไข้หวัดนั้น สามารถทำให้เกิดการกระตุ้นภาวะโรค SJSได้ในกลุ่มเด็กๆ เช่นกัน

คุณหมอ Farid ได้อธิบายเพิ่มว่า ถึงแม้ว่า ibuprofen ที่เป็นส่วนประกอบในยา Nurofen นั้นสามารถกระตุ้นการเกิดภาวะ SJS ได้ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นน้อยมาก

7

(SJS ก่อให้เกิดโรคผิวหนังเช่นการลอกของผิว ให้เกิดอาการเจ็บแสบ)

อาการของโรค SJS เป็นอย่างไร คลิกหน้าถัดไป>>

เป็นเรื่องที่ดีถ้าหากผู้ปกครองอย่างเราๆ จะคอยระวังอาการบอกเหตุของภาวะโรค SJS ซึ่งจะทำให้เราสามารถไปพบแพทย์ได้อย่างทันเวลา

ตามที่คุณหมอ Farid ได้กล่าวไว้ว่า เด็กส่วนใหญ่จะแสดงอาการแรกเริ่มไม่ชัดเจน อย่างเช่น อาการรู้สึกไม่ค่อยสบาย ไอ คัน และปวดศีรษะ คุณอาจจะเห็นอาการเหล่านี้ไปหลายวันก่อนที่ผื่นตามผิวหนังจะแสดงให้เห็น

ผื่นจะมีลักษณะพิเศษ จะเกิดขึ้นที่บริเวณผิวหน้าและลำคอก่อนที่จะลามไปทั่วทั้งตัว คุณหมอ Farid อธิบายว่า “ผื่นที่เกิดขึ้น จะโดนเรียกว่า ‘target lesion’ เพราะว่าลักษณะของมันที่มีสีชมพูเข้มด้านในและล้อมไปด้วยวงสีชมพูอ่อน และบางครั้ง สีชมพูที่เข้มกว่าหน่อยที่วงด้านนอกสุด” ผื่นแบบนี้จะไม่ใช่ผื่นคัน แต่สามารถเปลี่ยนเป็นตุ่มและผิวหนังลอกในท้ายที่สุด

อาการอื่นๆ สามารถรวมไปถึง หน้าและลิ้นบวม ผิวหนังอักเสบ อาการโรคลมพิษด้วย

8

การรักษาของภาวะโรค SJS ทำอย่างไร คลิกหน้าถัดไป>>

ถ้าคุณสงสัยว่าลูกของคุณอาจกำลังมีภาวะ SJS ให้คุณหยุดใช้ทุกอย่างที่อาจจะเป็นสาเหตุของภาวะนี้ทั้งหมด เช่น ยาแก้ไข้ หรือ ยาแก้ปวด แล้วให้เข้าพบคุณหมอโดยทันที

คุณหมอ Farid อธิบายว่า “เป็นเพราะว่าผิวหนังได้รับการติดเชื้อ จะมีอาการเจ็บปวดและทำให้เกิดสภาวะขาดน้ำ ควรทำให้เด็กสบายตัวที่สุดและให้ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อที่จะลดสภาวะการขาดน้ำ

อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กเล็กมาก โดยเฉพาะถ้าหากหาสาเหตุการเจ็บป่วยไม่เจอ และ ไม่ได้รักษาทันท่วงที

ในขณะที่เด็กส่วนใหญ่ที่ถูกพบว่าเป็นภาวะโรค SJS ได้รับการรักษาให้หายจนปกติ (เรทการตายจากโรคนี้มีประมาณ 5%) แต่ก็อาจจะทิ้งรอยแผลเป็นตามผิวหนังได้ ถ้าเกิดการติดเชื้อ

สิ่งที่คุณควรรู้ เวลาให้ยากับลูกๆ ของคุณ คลิกหน้าถัดไป>>

9

(ควรจะอ่านฉลากยาทุกครั้งก่อนที่จะให้ลูกของคุณกิน ถ้ามีอะไรที่สงสัยหรือไม่แน่ใจ ให้ถามคุณหมอ หรือ เภสัชกรก่อน)

ผู้ปกครองทั้งหลาย บทความนี้ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อทำให้คุณกลัวที่จะให้ยากับลูกของคุณเวลาที่พวกเขาเจ็บป่วย แต่หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณเรียนรู้เกี่ยวกับอาการของ SJS ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากยาสามัญตามบ้านทั่วไป เช่นยาแก้ปวด ibuprofen

เราหวังว่าตอนนี้คุณจะได้เรียนรู้และระวังเกี่ยวกับสัญญาณเตือนโรค SJS เพราะการรักษาจะสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับเวลาที่ค้นพบโรค

และจะเป็นการดีอย่างยิ่งที่เราจะจำข้อแนะนำของคุณหมอ Farid ในการให้ยาสำหรับเด็กๆไว้ขึ้นใจ ว่า:

– ยาทุกตัวมีประโยชน์และผลข้างเคียง อย่าง ibuprofen นั้นเป็นยาที่ดีมากเมื่อเวลาต้องการยาที่ช่วยในการระงับความเจ็บปวด หรือ ลดไข้ (โดยเฉพาะใช้ลดไข้ในกลุ่มเด็กที่อายุน้อยกว่า 5ขวบ)

– ควรจะหลีกเลี่ยงการใช้ยาใดๆ หากไม่จำเป็น ให้ใช้ในเฉพาะเวลาที่จำเป็นมากเท่านั้น เมื่อประโยชน์มีมากกว่าผลข้างเคียง (สิ่งนี้คือสิ่งที่คุณหมอทุกคนคิดก่อนที่จะสั่งจ่ายยาให้คุณ)

– เมื่อมีการใช้ยา โดยเฉพาะการใช้ ibuprofen คุณหมอแนะนำเสมอให้เข้าพบแพทย์โดยทันทีถ้าเกิดผื่นขึ้น

– ถ้าเมื่อไหร่ที่เกิดความสงสัย หรือไม่แน่ใจ ในการใช้ยากับเด็ก กรุณาปรึกษา พูดคุยกับเภสัชกรหรือแพทย์ก่อน

คุณแม่ทั้งหลาย โปรดจำไว้ว่า คุณควรจะเชื่อความรู้สึกแรกของตัวเอง คุณรู้จักลูกของคุณดีที่สุด ถ้าคุณรู้ว่าเกิดบางอย่างที่ผิดแปลกไป ให้ใส่ใจกับมันทันที ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ยังแนะนำว่า ให้อ่านฉลากและกล่องของตัวยาก่อนใช้ทุกครั้ง และใช้ยาอย่างถูกขนาดตามที่บอกไว้ในฉลาก โดยคำนวนตามจำนวนน้ำหนักของลูกของคุณเอง

เด็กคนนี้เกือบเสียชีวิตเพราะแพ้ยาแก้ปวด ลดไข้ชนิดหนึ่ง

วิธีใช้ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำอย่างถูกต้อง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สินิธฐ์ธรา ชื่นชูจิตต์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • โรค Stevens-Johnson อาการแพ้ยาที่อาจรุนแรงถึงชีวิตลูกรัก
แชร์ :
  • โรคสตีเวนส์จอห์นสันคืออะไร?และทำไมต้องรักษาสุดโหด?

    โรคสตีเวนส์จอห์นสันคืออะไร?และทำไมต้องรักษาสุดโหด?

  • เบลเยียมระงับใช้วัคซีน โควิด "Johnson & Johnson" กับคนอายุต่ำกว่า 41 ปี

    เบลเยียมระงับใช้วัคซีน โควิด "Johnson & Johnson" กับคนอายุต่ำกว่า 41 ปี

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • โรคสตีเวนส์จอห์นสันคืออะไร?และทำไมต้องรักษาสุดโหด?

    โรคสตีเวนส์จอห์นสันคืออะไร?และทำไมต้องรักษาสุดโหด?

  • เบลเยียมระงับใช้วัคซีน โควิด "Johnson & Johnson" กับคนอายุต่ำกว่า 41 ปี

    เบลเยียมระงับใช้วัคซีน โควิด "Johnson & Johnson" กับคนอายุต่ำกว่า 41 ปี

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ