อาการ เต้านมคัด หลังคลอด อาการคัดเต้า ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 3 หรือ 4 ของการคลอดลูก เนื่องจากน้ำนมของคุณแม่เริ่มมาแล้ว สาเหตุที่ทำให้คุณแม่คัดเต้านมก็มาจากการคั่งของเลือดและน้ำเหลืองซึ่งมาเลี้ยงที่เต้านมเพิ่มมากขึ้น ทำให้คุณแม่รู้สึกแข็งและเจ็บ บางครั้งเต้านมจะร้อน นอกจากนี้ยังทำให้ลูกดูดนมได้ยากมากขึ้นด้วย
ทำอย่างไรเมื่อคุณแม่มี เต้านมคัด อาการคัดเต้า เต้านมคัดตึง
- ให้ลูกดูดนมบ่อยๆ หรือบีบนมออกด้วยมือ หรือใช้เครื่องปั๊มนม
- ในบางครั้งถ้าปวดมากให้ทานยาพาราเซตามอลแก้ปวดได้
- การประคบเต้านมด้วยน้ำเย็นสลับน้ำอุ่น แล้วนวดเต้านม
- ใช้กระหล่ำปลีประคบ แบบภูมิปัญญาไทย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ผักเพิ่มนม
คัดเต้า หลังคลอด อาการคัดเต้า เต้า นม คัด ทำอย่างไรดี? อาการคัดเต้า
วิธีบีบนมออกจากเต้าด้วยมือ แก้อาการเต้านมคัด เต้านมคัด เต้านมคัดตึง
- ล้างมือให้สะอาด
- เตรียมขวดนมที่สะอาดผ่านการนึ่งทำความสะอาดมาแล้ว
- คุณแม่พยายามหาท่านั่งที่สบาย โดยที่ไม่ต้องก้ม เพราะอาจทำให้ปวดหลังได้
- ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมประมาณ 3 – 5 นาที ก่อนที่จะเริ่มบีบ
- วางหัวแม่มือไว้ที่ลานหัวนม และนิ้วมืออีก 4 นิ้ว วางใต้เต้านม
- กดนิ้วเข้าหากระดูกทรวงอก แล้วบีบนิ้วหัวแม่มือและนิ้วทั้งสี่เข้าหากัน โดยเคลื่อนนิ้วหัวแม่มือมาทางด้านหน้าเล็กน้อย แต่ไม่เลยขอบลานหัวนม
- บีบเป็นจังหวะ และย้ายตำแหน่งที่วางนิ้วมือรอบๆ หัวนมเพื่อบีบน้ำนมออกให้หมดทุกแห่ง และใช้ขวดที่สะอาดรองรับน้ำนมที่บีบออก
- เปลี่ยนการบีบ หรือสลับอีกเต้าทุก 5 นาที หรือเมื่อน้ำนมไหลช้า
- เมื่อบีบเต้านมเสร็จ ให้หยดน้ำนมลงบนหัวนม 2 – 3 หยด แล้วปล่อยให้แห้งเพื่อป้องกันหัวนมแตก
นม คัด ทำ ไง อาการ เต้านมคัด รูปจาก: New Health Guide
วิธีใช้กระหล่ำปลีแก้ อาการคัดเต้า นมหลังคลอด
อาการคัดเต้า จากงานวิจัยเรื่อง “กะหล่ำปลีมีคุณค่า ลดอาการปวด แก้อาการคัดนมหลังคลอด” ของ นางสาวปัณฑิตา ศรีจันทร์ดร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ประจำโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2555 ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน พบว่า การประคบเต้านมด้วยใบกะหล่ำปลีสด สามารถลดอาการอักเสบ ลดอาการคัดตึงเต้านมระดับปานกลางจนถึงระดับรุนแรงได้ เนื่องจากกะหล่ำปลีเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทั้งเป็นยาป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันการระคายเคือง ทั้งนี้ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของกะหล่ำปลี ระบุว่ากะหล่ำปลีมี สารไฟโตเอสโตเจน (Phytoestogen) ที่ช่วยลดอาการบวมของเนื้อเยื่อ อาการคัดเต้า
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ผักที่มีประโยชน์ต่อคนท้อง
นอกจากนี้ อาการคัดเต้า ยังพบว่าความเย็นจากใบกะหล่ำปลีทำให้เส้นเลือดหดตัว ลดการไหลเวียนของเลือด ส่งผลให้อาการบวมลดลง และความเย็นทำให้การรับความรู้สึกเจ็บปวดของใยประสาทขนาดเล็กมีประสิทธิภาพลดลง ทำให้การนำกระแสประสาทรับความเจ็บปวดลดลง โดยการแพทย์แผนไทยจัดให้กะหล่ำปลีเป็นพืชสมุนไพรชนิดเย็น มีฤทธิ์ดูดซับความร้อน ช่วยลดการคั่งของสารน้ำในเนื้อเยื่อบริเวณเต้านม ทำให้อาการปวดคัดตึงเต้านมลดลง แต่ไม่ควรทำมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน เพราะจะทำให้ปริมาณน้ำนมลดลง และควรหยุดใช้เมื่อมีผื่นขึ้นหรือมีอาการแพ้
คัดเต้าหลังคลอด เต้า นม คัด อาการคัดเต้า
วิธีการประคบเต้านมโดยใช้กระหล่ำปลี อาการคัดเต้า เต้านมคัด
- ให้คุณแม่เลือกใช้ใบกะหล่ำปลีสีเขียว ตัดขั้วแข็งออกก่อน แล้วแกะใบกะหล่ำปลีออก เลือกใบที่มีขนาดใกล้เคียงกับเต้านม
- นำกระหล่ำปลีไปล้างด้วยน้ำสะอาด เสร็จแล้วแช่ด้วยน้ำส้มสายชูเพื่อล้างสารพิษ
- นำใบกะหล่ำปลีแช่เย็นที่ช่องแช่แข็ง ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที
- หยิบใบกะหล่ำปลีมาขยุ้มด้วยมือเบาๆ แกะเอาเส้นใยที่แข็งออก แล้วใช้มีดบากหรือใช้เข็มแทงตามใบกะหล่ำปลีเพื่อให้เส้นใยแตก
- นำไปหุ้มเต้านมทั้งเต้าและอาจถึงบริเวณใต้รักแร้ถ้ามีก้อนบวมขึ้นใต้รักแร้
- สวมเสื้อชั้นในปิดทับ หรือใช้ผ้าพันทับไว้ประคบเวลาประมาณ 20 นาที
วิธีป้องกันไม่ให้เต้านมคัด หรือมีอาการคัดเต้า
- ให้ลูกน้อยดูดนมอย่างถูกวิธี ให้นมบ่อยๆ ทุก 1 – 3 ชั่วโมง ในช่วงสองสามวันแรก
- ให้ดูดจนหมดเต้าก่อนที่จะย้ายไปดูดอีกเต้า
ที่มา: bnhhospital, thairath
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
อาหารบำรุงน้ำนม รวมมาให้หมด! เมนูอาหารคุณแม่ลูกอ่อน น้ำนมพุ่ง ลูกอิ่มแปล้
ผลไม้เพิ่มน้ำนม สำหรับคุณแม่น้ำนมน้อย ไม่ต้องกลัวน้ำนมไม่พอ
ควรให้นมลูกถึงเมื่อไหร่ ควรเปลี่ยนจากขวดเป็นแก้วตอนไหน ควรเสริมอาหารเสริมเมื่อไหร่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!