X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ควรชั่งน้ำหนักลูกน้อย บ่อยแค่ไหน?

บทความ 3 นาที
ควรชั่งน้ำหนักลูกน้อย บ่อยแค่ไหน?

คนเป็นพ่อแม่มักกังวลเสมอเวลาที่มีคนทักว่า ลูกของเราผอมไปนะ กินนมน้อยไปไหม หรือไม่ก็ อ้วนไปแล้วนะ Overfeed หรือเปล่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกน้อยของคุณมีน้ำหนักตามเกณฑ์

ชั่งน้ำหนักลูกน้อยบ่อยแค่ไหน

ทารกไซส์ปกติควรมีน้ำหนักตัวเท่าไหร่

น้ำหนักตัวที่เหมาะสมสำหรับเด็กแรกเกิดควรอยู่ระหว่าง 2,500 – 4,000 กรัม

0-3 เดือน น้ำหนักตัวควรเพิ่มขึ้น 700 – 800 กรัมต่อเดือน

4-6 เดือน น้ำหนักตัวควรเพิ่มขึ้น 500 – 600 กรัมต่อเดือน

7-9 เดือน น้ำหนักตัวควรเพิ่มขึ้น ประมาณ 400 กรัมต่อเดือน

10-12 เดือน น้ำหนักตัวควรเพิ่มขึ้น ประมาณ 300 กรัมต่อเดือน

คุณแม่สามารถดูว่าลูกน้อยของเรามีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือเปล่า โดยดูตามเกณฑ์ด้านล่างนี้ค่ะ

น้ำหนักตัวเด็กหญิง

3 เดือน – 4.2-6 กิโลกรัม
6 เดือน– 5.5-8.5 กิโลกรัม
9 เดือน – 6.8-10.3 กิโลกรัม
12 เดือน – 7.5-11.5 กิโลกรัม

น้ำหนักตัวเด็กชาย

3 เดือน – 4.5-6.5 กิโลกรัม
6 เดือน– 6-9 กิโลกรัม
9 เดือน – 7.5-11 กิโลกรัม
12 เดือน – 8.2-11 กิโลกรัม

ควรชั่งน้ำหนักลูกน้อย บ่อยแค่ไหน?

คุณแม่ไม่จำเป็นต้องเพิ่มความเครียดให้ตัวเองด้วยการชั่งน้ำหนักลูกน้อยทุกวัน เพราะน้ำหนักของทารกอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นตามปริมาณนมที่ลูกกินเข้าไปก่อนชั่งน้ำหนัก หรือลดลงเมื่อลูกขับถ่าย

ความถี่ในการชั่งน้ำหนักลูกน้อย แบ่งได้ตามอายุ ดังนี้

  • 2 สัปดาห์ – 6 เดือน – ควรชั่งเดือนละ 1 ครั้ง
  • 6-12 เดือน – ควรชั่งทุก 2 เดือน
  • 12 เดือนขึ้นไป – ควรชั่งทุก 3 เดือน

จากความถี่ด้านบน คุณแม่คงเห็นแล้วนะคะว่า ทุกครั้งที่คุณแม่พาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนก็จะได้รับการชั่งน้ำหนักอยู่แล้ว ดังนั้น คุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลมากเกินไปในการจดบันทึกน้ำหนักลูกน้อยทุกวันค่ะ

เด็กตัวใหญ่คือเด็กแข็งแรงจริงหรือ?

น้ำหนักเฉลี่ยของทารกแรกเกิดคือ 3,000 กรัม หากทารกมีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม ถือว่าเป็นเด็กตัวใหญ่

ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า น้ำหนักตัวที่มากเกินไปอาจทำให้ทารกคลานช้าและเดินช้า และแม้ว่าทารกตัวใหญ่อาจไม่จำเป็นต้องกลายเป็นเด็กอ้วน แต่เด็กอ้วนมีแนวโน้มที่จะโตเป็นผู้ใหญ่อ้วนในอนาคต

ส่วนทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย มีแนวโน้มที่จะเกิดโรคต่างๆ ในวัยผู้ใหญ่ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ

Advertisement

จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมพ่อแม่ถึงได้เป็นกังวลกับน้ำหนักตัวของลูกน้อย เพราะหากลูกน้ำหนักตัวมากเกินไปก็เสี่ยงเป็นโรคอ้วนและพัฒนาการล่าช้า แต่หากลูกน้ำหนักน้อยเกินไปก็อาจเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น น้ำหนักตัวไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูกนะคะ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องพิจารณาควบคู่กันไป เช่น ความสูง โครงสร้างกระดูก เชื้อชาติ ระยะเวลาที่อยู่ในครรภ์ พันธุกรรม และแม้แต่การกินนมแม่หรือนมผง และอื่นๆ

นอกจากนี้คุณแม่อาจประเมินสุขภาพของลูกในเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง หากลูกกินได้  อึหรือฉี่ปกติ  ฉี่ใสหรือเป็นสีเหลืองอ่อน ตาสดใส ผิวดูมีสุขภาพดี เคลื่อนไหวแขนและขาคล่องแคล่ว มีพัฒนาการด้านต่างๆ เหมาะสมกับวัย มีความสุขและขี้เล่น ก็ไม่น่ามีอะไรน่าเป็นห่วงค่ะ

อย่างไรก็ดี หากคุณแม่มีความกังวลใดๆ เกี่ยวกับสุขภาพของลูกน้อย ควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุดค่ะ

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

ที่มา sg.theasianparent.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เคลียร์ข้อสงสัย ลูกกินนมแม่ ไม่ถ่ายได้กี่วัน

ลูกตัวเล็ก เลี้ยงไม่โต ควรทำอย่างไร?

TAP mobile app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ควรชั่งน้ำหนักลูกน้อย บ่อยแค่ไหน?
แชร์ :
  • ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

    ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

  • “คลิปสั้น” อันตรายนะรู้ไหม? ผลกระทบลึกถึงระดับโครงสร้างสมอง

    “คลิปสั้น” อันตรายนะรู้ไหม? ผลกระทบลึกถึงระดับโครงสร้างสมอง

  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

    ลูกยังไม่พูด ต้องพาไปหาหมอไหม? 3 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ทำเลยได้ผลจริง!

  • “คลิปสั้น” อันตรายนะรู้ไหม? ผลกระทบลึกถึงระดับโครงสร้างสมอง

    “คลิปสั้น” อันตรายนะรู้ไหม? ผลกระทบลึกถึงระดับโครงสร้างสมอง

  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว