กิจกรรมแบบนี้? แม่ท้องควรปฏิบัติVSไม่ควรปฏิบัติ
กิจกรรมแบบนี้? แม่ท้องควรทำ
ในแต่ละวันคุณแม่มักจะมีกิจกรรมหรือมีสิ่งที่ต้องทำมากมาย มาดูกันว่าสิ่งที่คนท้องอย่างเรา ๆ ควรทำ เพราะจะส่งผลดีต่อตัวคุณแม่เองและต่อลูกน้อย มีอะไรบ้าง จากคำแนะนำของ พญ.ภักษร เมธากูล ดังนี้
1. หมั่นพูดคุยกับลูกน้อยในครรภ์
หากคุณแม่พูดคุยกับลูกน้อยในครรภ์บ่อย ๆ จะดีต่อพัฒนาการด้านการได้ยิน เพราะความจริงแล้วทารกน้อยในครรภ์รู้จักเสียงต่าง ๆ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์แล้วนะคะ โดยเฉพาะถ้าคุณพ่อคุณแม่คุยกับลูกบ่อย ๆ ด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลน่าฟัง พูดประโยคเดิมซ้ำ ๆ เช่น พ่อกับแม่รักหนูนะจ๊ะ ให้ลูกคุ้นเคยตั้งแต่อยู่ในท้อง เมื่อทารกเกิดมาจะมีพัฒนาการทางด้านสมองดีกว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่ได้คุยด้วย
นอกจากนี้ การพูดคุยของคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยในท้อง เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์และสายใยให้ลูกได้รับรู้ถึงความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก รวมไปถึงการเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีสำหรับระบบประสาท และสมองส่วนควบคุมการได้ยิน ช่วยเตรียมพร้อมสำหรับการได้ยินหลังคลอด และเตรียมพร้อมสำหรับพัฒนาการด้านภาษาของลูกไปพร้อมกัน
2. อ่านหนังสือ เสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาและอารมณ์
คุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะเกิดความสงสัยว่า อ่านหนังสือให้ทารกในครรภ์ฟังเขาจะรู้เรื่องจริงหรือ ? การอ่านหนังสือเปรียบได้กับการพูดคุยกับลูกเช่นกันค่ะ และสามารถเสริมพัฒนาการด้านการได้ยินเช่นกัน หากคุณแม่เลือกนิทานที่มีเรื่องราวสนุกสนานมาเล่าให้ลูกฟังด้วยน้ำเสียงที่เหมาะสม มีจังหวะ ท่วงทำนองในการเล่า จะส่งผลดีต่อพัฒนาการด้านสติปัญญาและอารมณ์ของลูกน้อยในครรภ์อีกด้วยค่ะ
บทความแนะนำ แม่ท้องอ่านหนังสือเสริมความฉลาดทารกตั้งแต่ในครรภ์
3. ลูบท้องกระตุ้นพัฒนาการ
การลูบหน้าท้องเบา ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการของทารกในครรภ์นั้น ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องทำเป็นการใช้มือลูบขึ้นลงเท่านั้น แต่แนะนำว่าการลูบหน้าท้องของคุณแม่นั้น ส่วนมากจะลูบเป็นลักษณะวงกลม จะลูบจากบนลงล่าง หรือล่างขึ้นบนก็ได้
ประโยชน์คือ การลูบท้องทุกสัมผัสที่เกิดขึ้น จะพัฒนาเส้นใยประสาทของสมองส่วนรับความรู้สึก เพิ่มประสิทธิภาพและความไวในการรับรู้ของทารกและพัฒนาการด้านร่างกายที่ดีเพื่อเตรียมพร้อมให้ใช้งานได้ดีในช่วงหลังคลอด ขณะเดียวกันจะเป็นการสร้างความอบอุ่น และความผูกพันระหว่างแม่ลูก
บทความแนะนำ แม่จ๋ารู้ไหม!!!ลูบท้องกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์
4. กระตุ้นพัฒนาการมองเห็นด้วยไฟฉาย
ในระหว่างที่ตั้งครรภ์มีวิธีการกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์หลากหลายวิธี การส่องไฟฉายเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็นของลูกได้
ในเวลากลางคืน คุณแม่อาจให้คุณพ่อใช้ไฟฉายส่องที่หน้าท้อง แล้ววนเป็นรูปวงกลมรอบสะดือช้า ๆ เพื่อกระตุ้นสมองส่วนที่รับรู้แสง ทารกในครรภ์จะเคลื่อนไหวและสนใจแสงไฟ เมื่อส่องไฟทารกภายในครรภ์จะมีการตอบสนอง เช่น การถีบหน้าท้องหรือการดิ้น แสดงว่า เจ้าตัวน้อยรับรู้และเกิดการตอบสนอง การส่องไฟฉายช่วยกระตุ้นเซลล์สมอง เส้นประสาทส่วนรับภาพและการมองเห็น เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการมองเห็นหลังคลอดได้อย่างดีค่ะ
บทความแนะนำ ไฟฉายส่องท้องกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็น
อ่าน กิจกรรมแบบนี้? แม่ท้องควรปฏิบัติ ข้อ 5 – 6 คลิกหน้าถัดไป
กิจกรรมแบบนี้? แม่ท้องควรปฏิบัติ ข้อ 5 – 6
5. นั่งเก้าอี้โยก
ไม่น่าเชื่อว่า การที่คุณแม่นั่งเก้าอี้โยกเป็นการพัฒนาเซลล์สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ได้ และทำให้ลูกสามารถเรียนรู้ต้องการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน เพราะขณะที่คุณแม่นั่งเก้าอี้โยกนั้น ลูกในท้องก็จะโยกเอนไปมาตามทิศทางการโยกของเก้าอี้ ซึ่งต่อมาลูกจะเรียนรู้ว่าการโยกไปมานั้นเป็นระบบ คือ โยกหน้าตามด้วยโยกหลังเสมอเป็นแบบนี้ทุกครั้ง
เกิดอะไรขึ้นเมื่อลูกเรียนรู้เช่นนี้
ลูกจะรู้จักปรับตัวและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมนั้น โดยขณะที่เก้าอี้โยกไปข้างหน้า ลูกเริ่มรู้จักการเกร็งตัวไปด้านหลัง ต้านแรงโยกไปด้านหน้า เพื่อพยุงตัวให้ลอยอยู่ตรงกลางเสมอ ลูกจะสามารถทำได้ง่ายเพราะเจ้าหนูลอยตัวอยู่ในน้ำคร่ำ ขณะเดียวกันการเคลื่อนไหวไปมาจะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อและการทรงตัว ลูกที่คลอดออกมาแล้วจึงพลิกคว่ำและหงายได้เร็วาอีกด้วย
6. ออกกำลังกาย
การออกกำลังกาย นอกจากจะเป็นผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของคุณแม่แล้ว การออกกำลังกายยังช่วยพัฒนาประสาทสัมผัสของลูกในครรภ์เป็นอย่างดี เพราะเมื่อคุณแม่เคลื่อนไหว ผิวของลูกน้อยจะสัมผัสกับผนังด้านในมดลูก ซึ่งการสัมผัสนี้จะช่วยพัฒนาใยสมองส่วนการรับความรู้สึกของลูกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น หลักการออกกำลังกายสำหรับแม่ท้อง คือ การออกกำลังกายอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ควรหักโหม ได้แก่ การเดิน การว่ายน้ำ แอโรบิกในน้ำ โยคะ และยืดกล้ามเนื้อ
การเดิน เป็นการออกกำลังกายช่วยให้กล้ามเนื้อของคุณแม่แข็งแรงขึ้น และสามารถเดินออกกำลังกายได้ตลอดจนถึง 9 เดือน เดินครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 – 4 ครั้ง
บทความแนะนำ เดิน 30 นาทีต่อวันดีต่อสุขภาพครรภ์
การว่ายน้ำและแอโรบิกในน้ำ เป็นการออกกำลังกายที่ดี เพราะในน้ำมีแรงดันทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้นโยอัตโนมัติ เลือดที่คั่งอยู่ตามขาและเท้าเป็นเหตุให้เกิดเส้นเลือดขอดและเส้นเลือดดำโป่งก็ไหลกลับสู่หัวใจง่ายขึ้น ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดดีขึ้น ลดอาการบวมน้ำตามมือและเท้า
โยคะ ศาสตร์แห่งโยคะช่วยคุณแม่สร้างสติและสมาธิ ทำให้คุณแม่มีร่างกายและจิตใจที่ดี ที่สำคัญมีประโยชน์ต่อการคลอดทำให้คลอดง่าย ยิ่งถ้าได้ฝึกโยคะหลังคลอดจะทำให้ร่างกายกลับคืนสภาพปกติได้เร็วขึ้นอีกด้วย
บทความแนะนำ วีดีโอฝึกโยคะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
การบริหารกล้ามเนื้อง่าย ๆ หากคุณแม่ไม่มีเวลามากนัก โดยเฉพาะคุณแม่ Working Mom อาจใช้วิธียืดเส้นยืดสายหากนั่งหรือยืนนานๆ สามารถทำได้ทั้งอยู่ที่บ้านและที่ทำงาน
อ่าน กิจกรรมแบบนี้? แม่ท้องไม่ควรปฏิบัติ คลิกหน้าถัดไป
กิจกรรมแบบนี้? แม่ท้องไม่ควรทำ
ได้ทราบกันแล้วนะคะว่า กิจกรรมที่คุณแม่ควรปฏิบัติมีอะไรบ้าง ทีนี้มาดูกันว่ากิจกรรมที่คนท้องไม่ควรทำหรือควรหลีกเลี่ยงเพราะอาจจะเป็นผลเสียต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ คำแนะนำกิจกรรมควรหลีกเลี่ยงจาก พญ.ภักษร เมธากูล ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการเสริมความงามด้วยการโกรกผม ย้อมผม ยืดผม ดัดผม เพราะกิจกรรมเหล่านี้ต้องใช้เคมี ซึ่งบางอย่างคุณแม่อาจจะแพ้ก็ได้ และจะทำให้เกิดการติดเชื้อตามมา
บทความแนะนำ ใช้เครื่องสำอางอย่างไรให้ปลอดภัยทั้งแม่และลูกในท้อง
2. หลีกเลี่ยงการทำเบบี้เฟรซ เนื่องจากมีสารเคมีออกฤทธิ์แรง มากัดผิวของคุณแม่ให้บางลง อาจทำให้ผิวอักเสบและไม่แข็งแรงดังเดิม
3. หลีกเลี่ยงการทาเล็บ เพราะงานวิจัย พบว่า สารเคมีในยาทาเล็บส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์
4. หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนสีผิว เพราะจะทำให้ผิวของคุณแม่บางลง ไม่ทนแดด ทนสภาพแวดล้อม และมลภาวะได้ดีดังเดิม
5. หลีกเลี่ยงการฉีดโบท็อกซ์อย่างเด็ดขาดเพราะการทำโบท็อกซ์คือการฉีดสารเคมีเข้าไปในผิวหนัง อาจทำให้ผิวหนังบริเวณที่ได้รับสารเคมีเข้าไปกลายเป็นอัมพาตได้
6. หลีกเลี่ยงการสักคิ้ว เพราะหากเครื่องมือไม่สะอาดทำให้คุณแม่ได้รับเชื้อโรคและอาจส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้
7. หลีกเลี่ยงการอบไอน้ำ ซาวน่า เพราะจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไป
8. หลีกเลี่ยงการถ่ายเอกสาร การใช้งานเครื่องถ่ายเอกสารบ่อย ๆ หรือแม้แต่การนั่งทำงานใกล้เครื่องถ่ายเอกสารจะทำให้ร่างกายได้รับอันตรายจากรังสี และสารเคมีที่แผ่ออกมาจากเครื่องโดยที่ไม่รู้ตัว ถ้าไม่ระมัดระวังอาจทำให้เกิดการสะสมในร่างกาย เป็นสาเหตุทำให้เกิดการแท้งได้ นอกจากนี้หมึกของเครื่องถ่ายเอกสารยังมีสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจ ไอ จาม และทำให้เกิดความผิดปกติต่อลูกในครรภ์ด้วย
บทความแนะนำ อันตรายไหม หากคนท้องเดินผ่านเครื่องสแกนร่างกายทุกวัน
9. หลีกเลี่ยงอาหารที่อุ่นจากไมโครเวฟ เพราะการรับประทานอาหารที่อุ่นโดยใช้ไมโครเวฟบ่อยครั้ง อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการได้รับรังสีไมโครเวฟในขณะที่อุ่น เป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติของระบบเซลล์ประสาทของทารกในครรภ์ ดังนั้น คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ย่อมมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าอาหารที่อุ่นโดยใช้ไมโครเวฟ
ได้ทราบกันแล้วนะคะ ว่ามีกิจกรรมใดบ้างที่ควรปฏิบัติและกิจกรรมใดที่ไม่ควรปฏิบัติ เพียงแต่ต้องการให้คุณแม่ทราบถึงข้อดีข้อเสียจากการทำกิจรรมต่าง ๆ ขอให้คุณแม่ทุกคนมีสุขภาพที่แข็งแรงและคลอดเจ้าตัวน้อยอย่างปลอดภัยนะคะ
ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ
อ้างอิงข้อมูลจาก
หนังสือ “เตรียมตัวคลอดอย่างไรให้ปลอดภัยทั้งแม่และลูก” แพทย์หญิงภักษร เมธากูล ผู้เขียน
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
แม่ท้องปั่นจักรยานได้ไหม?
สิ่งที่คนท้องทำได้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!