เริ่มต้นทำอาหารให้ลูกรักด้วย 6 ขั้นตอนการเตรียมอาหารสำหรับทารกวัยเริ่มหม่ำ

ขั้นตอนที่ 1 เลือกวัตถุดิบที่สดและมีคุณภาพ
-ผลไม้ตามวัยสำหรับลูกวัย 6 เดือนขึ้นไป ควรเลือกแอปเปิ้ล, ลูกแพร์, ลูกพีชหรือมันหวานเพื่อให้เบบี๋ได้ลองชิมก่อน
-เลือกผักผลไม้แบบสุกที่ไม่มีคราบติด และเมื่อนำมาใช้ประกอบอาหารควรใช้ภายใน 2-3 วัน นับจากวันที่ซื้อ
-หลีกเลี่ยงอาหารหรือผลไม้ที่เป็นเส้นใยเหนียวหรืออาหารที่ทารกกลืนได้ยาก เช่น ถั่วเขียวหรือถั่วลันเตา หรือนำไปต้มสุกเพื่อบดละเอียดผ่านกระชอนตาถี่
ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมอาหารและทำความสะอาด
-การเตรียมอาหารเพื่อนำปรุงให้ลูกน้อย ควรทำความสะอาดและตัดส่วนใด ๆ ที่ทารกยังเคี้ยวหรือย่อยไม่ได้ออกไป เช่น เปลือก, เมล็ดเล็ก ๆ ในผลไม้ หรือไขมัน เป็นต้น
-ล้างผักผลไม้ที่เตรียมไว้ให้ทั่ว ปอกเปลือกและคว้านเมล็ดออก หั่นชิ้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกเต๋าขนาดเท่า ๆ กัน เพื่อเวลาต้มสุกจะได้สุกเท่า ๆ กัน
-สำหรับเนื้อสัตว์หรือเนื้อไก่ควรนำมาล้างให้สะอาด ลอกหนัง หรือหั่นส่วนที่เป็นไขมันออกก่อนที่จะนำไปทำอาหาร
-ผลิตภัณฑ์ธัญพืชก่อนนำมาทำอาหาร เช่น ควินัวหรือลูกเดือยควรจะต้องทำตามวิธีบนบรรจุภัณฑ์อย่างถูกต้อง
ขั้นตอนที่ 3 ทำอาหารให้สุกด้วยวิธีการนึ่ง ต้ม หรืออบ
-การนึ่ง เป็นวิธีทำอาหารที่ดีที่สุดเมื่อใช้กับผัก เพราะจะช่วยคงคุณทางสารอาหารไว้ได้มาก เพียงใช้ซึ้งนึ่งอาหารหรือวางกระชอนเหนือหม้อต้มน้ำเดือดจนผักนิ่ม ประมาณ 10-15 นาที
-การต้ม มักใช้ต้มพวกธัญพืช ผัก และเนื้อสัตว์บางชนิด หรือต้มเพื่อทำน้ำซุปใสแบบธรรมชาติให้ลูกน้อยได้จิบทานก็ได้
-การอบ เหมาะสำหรับผักตระกูลกะหล่ำ เนื้อสัตว์ มันหวาน
เลือกวิธีประกอบการแบบใดก็ได้ จากนั้นนำวัตถุดิบที่ทำมาบดละเอียดผ่านกระชอน และค่อยเพิ่มความหยาบของอาหารขึ้นตามวัยลูกน้อย
มาดูขั้นตอนการเตรียมอาหารเสริมให้กับเบบี๋กันต่อนะคะ >>

ขั้นตอนที่ 4 การบดอาหาร
-นำอาหารที่ผ่านการปรุงสุกเรียบร้อยมาผสมกันเป็นชุดเล็ก ๆ เพื่อส่วนผสมต่าง ๆ จะได้ผสมกันอย่างทั่วถึง โดยสามารถผสมกับน้ำนมแม่หรือน้ำสุกเล็กน้อย เพื่อจะได้อาหารเหลวที่ลูกน้อยจะรับประทานได้ง่าย
-อาหารเสริมสำหรับทารกนั้นควรบดละเอียดให้กลายเป็นซุปก่อนที่จะนำไปป้อนให้ลูกกิน และปรับเปลี่ยนความหยาบของอาหารหรือให้ลูกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ได้ตามวัยของเด็กเล็ก
-สำหรับเนื้อหรือเนื้อไก่ หลังจากปรุงสุกแล้ว ให้พักและทิ้งไว้จนเย็น จนกว่าจะเห็นเนื้อหรือเนื้อไก่ไม่มีสีชมพู เพื่อที่จะไม่ส่งผลให้เด็กทารกเสี่ยงกับภาวะอาหารเป็นพิษ
ขั้นตอนที่ 5 อุปกรณ์การทำซุปข้น
-ถ้าคุณแม่ทำอาหารในปริมาณที่ไม่เยอะ สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีภายในบ้าน เช่น เครื่องปั่น เครื่องบดอาหาร หรือเครื่องตีแบบมือถือ เพื่อที่จะนำอาหารมาบดให้เป็นซุปข้นได้
-ที่บดอาหารแบบใช้มือหมุนหรือเครื่องบดอาหารเด็ก เป็นอุปกรณ์การทำอาหารให้ลูกแบบไม่ใช้ไฟฟ้าและพกพาง่าย มีราคาไม่แพง แต่การใช้งานจะช้าและคุณแม่ต้องออกแรงมากขึ้นหน่อยเพื่อให้ได้ปริมาณอาหารตามต้องการ
-เครื่องทำอาหารสำหรับเด็กทารก อาจจะมีราคาแพง แต่ก็ทำให้เรื่องทำอาหารของคุณแม่อิซี่ขึ้นทันที ทั้งการนึ่ง ปั่น บด หรือทำซุปข้นจะจบอยู่ในเครื่องเดียว
-สำหรับวัตถุดิบนิ่ม ๆ อย่างกล้วยสุก อะโวคาโด หรือมันหวานอบ ก็สามารถใช้ช้อนมาครูดหรือบดละเอียดก่อนจะป้อนให้ลูกน้อยทานได้เลย
ขั้นตอนที่ 6 การเก็บรักษาอาหารทารก
เพราะการทำอาหารเสริมให้ลูกน้อยได้ทานเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและความใส่ใจในทุกขั้นตอนที่ทำ กลวิธีที่ดีที่สุดเพื่อช่วยให้คุณแม่หายเหนื่อย คือการทำอาหารให้ได้ครั้งละมาก ๆ และนำมาแช่แข็งเพื่อนำมาใช้ในมื้อหลัง ๆ ได้ ด้วยวิธีดังนี้
-ตักอาหารเก็บลงในภาชนะที่เป็นแก้วหรือพาสติกพร้อมฝาปิดสุญญากาศ แปะฉลากชื่ออาหารและวันที่ทำบนภาชนะ ก่อนนำเข้าเก็บเข้าช่องฟรีซในตู้เย็นเพื่อที่จะเป็นการเตือนคุณแม่ว่ายังเป็นอาหารที่สดอยู่ และไม่ควรเก็บทิ้งไว้เกิน 3 วัน
-ตักอาหารใส่ในช่องทำน้ำแข็งและนำไปแช่แข็งในช่องฟรีซ เมื่อแข็งเป็นก้อนแล้วให้นำออกมาใส่ถุงซิปล็อคหรือถุงพลาสติกที่ปิดปากได้
-วิธีการละลายอาหารทารกโดยนำไปแช่ตู้เย็นช่องธรรมดาหนึ่งคืน หรือนำอาหารที่แช่อยู่ในภาชนะไปอุ่นในกระทะตั้งเดือนประมาณ 20 นาที
ที่มา : www.wikihow.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีเลือกผลไม้สำหรับวัยเริ่มอาหารเสริม
11 เมนูผลไม้บดละเอียดสำหรับเบบี๋เริ่มหม่ำ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!