เมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนที่ 4 คุณแม่หลายคนจึงอาจสงสัยว่า ท้อง 4 เดือน อาการเป็นอย่างไร มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างนะ และลูกน้อยในครรภ์จะเป็นอย่างไรบ้าง วันนี้ theAsianparent Thailand จะพาคุณแม่ไปดูพร้อมกันดีกว่าว่า พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ 4 เดือน จะเป็นอย่างไร และทารกในครรภ์จะตัวโตแค่ไหน พร้อมแล้ว ไปดูกันเลยค่ะ
ท้อง 4 เดือน นับจากอะไร?
ท้อง 4 เดือน เป็นช่วงที่คุณแม่มีอายุครรภ์ได้ 4 เดือนแล้ว ซึ่งจะมีอายุครรภ์ระหว่าง 14-17 สัปดาห์ นับเป็นช่วงเดือนแรกของการตั้งครรภ์ในไตรมาส 2 โดยอายุครรภ์ของคุณแม่นั้น สามารถนับได้ตั้งแต่วันแรกที่มีประจำเดือนครั้งล่าสุด หลังจากนั้นจะนับเพิ่มสัปดาห์ถัดไปเรื่อย ๆ เป็น 2 -3 เดือน ไปจนกระทั่งครบ 9 เดือน ที่เป็นช่วงไตรมาสที่สาม และใกล้จะมีการคลอดเกิดขึ้นค่ะ
เมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนที่ 4 คุณแม่หลายคนอาจมีอาการคนท้องได้หลายอย่าง โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องที่เริ่มป่องมากขึ้น เนื่องจากมดลูกเริ่มขยายตัวเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์นั่นเอง นอกจากนี้ยังสามารถพบอาการคนท้องอื่น ๆ ได้ดังนี้
- ท้องผูก
- ปวดหลัง
- เส้นเลือดขอด
- น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
- เลือดออกตามเหงือก
- แสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อย
- ปวดบริเวณเส้นเอ็นด้านข้างมดลูก
- เริ่มมีรอยแตกหน้าท้องเพิ่มมากขึ้น
- หายใจถี่ จมูกบวม และมีอาการคัดจมูก
บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการคนท้อง ตั้งครรภ์ 4 เดือน มีอาการอะไรบ้าง

ทารกในครรภ์ 4 เดือน เป็นอย่างไรบ้าง?
ทารกในช่วงอายุครรภ์ 4 เดือน จะเป็นช่วงที่สมอง และสายตาของลูกน้อยกำลังเริ่มพัฒนา แต่เด็กจะยังมองเห็นไม่ชัด จนกว่าจะคลอดออกมาแล้วสักพักหนึ่ง อีกทั้งรอยแยกบนสมองส่วนนอก ก็กำลังพัฒนาไปพร้อมด้วย โดยสมองส่วนนี้จะทำหน้าที่จดจำ พัฒนาทักษะทางด้านภาษา และการรับรู้ ซึ่งสมองของลูกน้อยนั้น จะมีเซลล์ประสาทมากกว่า 100 ล้านเซลล์ ทำหน้าที่คอยควบคุมการมองเห็น ซึ่งแม้จะเป็นเพียงช่วงเริ่มต้น แต่ลูกน้อยก็อาจไวต่อแสงได้แล้ว นอกจากนี้ทารกในครรภ์ ยังมีพัฒนาการอื่น ๆ ที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
- ผมเริ่มยาวขึ้น
- มีการสร้างเพดานในปาก
- ทารกเพศชายเริ่มมีการพัฒนาต่อมลูกหมาก
- อวัยวะเพศชัดขึ้น สามารถบอกเพศได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
- ทารกเพศหญิง รังไข่จะเริ่มเคลื่อนตัวไปอยู่ที่อุ้งเชิงกราน และเริ่มมีการผลิตไข่ขึ้นมาหลายแสนฟอง
การเปลี่ยนของแม่ท้อง 4 เดือน มีอะไรบ้าง?
ในช่วง 4 เดือน ร่างกายของคุณแม่อาจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง และมีปัญหาสุขภาพหลาย ๆ อย่างซึ่งหลัก ๆ นั้น จะพบว่าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และหน้าท้องเริ่มขยายใหญ่มากขึ้น รวมทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
-
มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
คุณแม่อาจมีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ ท้องผูก และแสบร้อนกลางอก ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีไฟเบอร์สูง รวมทั้งควรดื่มน้ำมาก ๆ และออกกำลังกายเบา ๆ ก็จะช่วยบรรเทาอาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์ได้
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ หน้าท้องของคุณแม่จะเริ่มขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ผิวแตกลายเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบริเวณหน้าท้อง เอว หรือขา อย่างไรก็ตามอาการผิวแตกลายของคุณแม่จะเริ่มดีขึ้นเมื่อคลอดบุตรแล้ว ดังนั้นคุณแม่สามารถใช้ครีม หรือโลชั่นที่มีส่วนผสมของสารให้ชุ่มชื่น เพื่อเริ่มความยืดหยุ่นของผิว และช่วยลดรอยแตกลายที่เกิดขึ้นได้
-
คันตามผิวหนัง และเกิดจุดด่างดำ
คุณแม่บางคนอาจมีอาการคันตามผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง มือ และเท้า แต่ไม่ต้องกังวลใจไปในนะคะ คุณแม่สามารถทาครีมบำรุงเพิ่มความชุ่มชื่น และหลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น เพื่อช่วยลดอาการคันได้ นอกจากนี้คุณแม่บางคนอาจมีจุดด่างดำ หรือฝ้าบนใบหน้า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ดังนั้นคุณแม่ควรทาครีมกันแดดทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน เพื่อช่วยลดรอยด่างดำเหล่านั้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารบำรุงคุณแม่ตั้งครรภ์ เดือนที่ 4 แม่ท้อง 4 เดือน กินอะไรแล้วจะดี?

อาการปวดร้าวลงขา มักเกิดจากการที่ครรภ์มีขนาดใหญ่ขึ้น จนไปกดทับเส้นประสาท ทำให้คุณแม่มีอาการปวดร้าวตั้งแต่บริเวณเอว สะโพก ไปจนถึงบริเวณขา หากคุณแม่มีอาการเหล่านี้ อาจบรรเทาอาการปวดด้วยการนอนตะแคง และใช้หมอนรองระหว่างหัวเข่าขาวไปจนถึงข้อเท้า ก็จะสามารถลดอาการปวดได้เป็นอย่างดี
หากคุณแม่รู้สึกหน่วงที่บริเวณท้อง อาจเกิดจากการตึงของเส้นเอ็นที่ยึดมดลูก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่คุณแม่ยืน หรือไอ ทั้งนี้คุณแม่สามารถบรรเทาอาการปวดได้ โดยการเคลื่อนตัวที่ช้าลง ไม่วิ่ง เดิน หรือยืนนาน ๆ และลองเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ก็จะช่วยลดอาการปวดหน่วงท้องได้ค่ะ
ในระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่อาจมีอาการนอนไม่หลับเป็นประจำ เนื่องจากขนาดของครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น ปวดปัสสาวะบ่อย ๆ รวมถึงเกิดความเครียด และความวิตกกังวลต่าง ๆ จนส่งผลให้คนท้องนอนไม่หลับนั่นเอง อย่างไรก็ตาม คุณแม่สามารถออกกำลังกายเบา ๆ หรือทำกิจกรรมที่สนใจ นั่งสมาธิก่อนนอน ก็จะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นได้ค่ะ
-
ติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ
สำหรับคุณแม่ที่มีอาการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ อาจเกิดขึ้นจากการที่กล้ามเนื้อในกระเพาะปัสสาวะบางส่วนคลายตัว จนทำให้คุณแม่มีอาการปัสสาวะบ่อย แสบขณะปัสสาวะ หรือปัสสาวะมีขาวขุ่น ดังนั้นคุณแม่จึงควรเช็ดทำความสะอาดหลังจากปัสสาวะ สวมกางเกงที่ไม่คับจนเกินไป และดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อช่วยให้อาการทุเลาลงได้
ยิ่งร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ทารกในครรภ์ก็จะมีพัฒนาการทางร่างกายมากยิ่งขึ้น ดังนั้นคุณแม่จึงควรระมัดระวังตัวเองเป็นพิเศษ และควรดูแลตัวเองเป็นอย่างดี เรามาดูกันดีกว่า ว่าเคล็ดลับการดูแลตัวเองของแม่ท้อง 4 เดือน มีอะไรบ้าง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ : ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม โปรตีน โฟลิก ผัก ผลไม้ ธัญพืช และผลิตภัณฑ์จากนม โดยคุณแม่สามารถปรึกษากับแพทย์ เพื่อวางแผนการรับประทานอาหารได้
- นวดผ่อนคลาย : แน่นอนว่าในช่วงตั้งครรภ์ 4 เดือน คุณแม่มักมีอาการปวดตามร่างกายบ่อย ๆ ดังนั้นคุณแม่สามารถไปนวดผ่อนคลาย เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย และทำให้คุณแม่ผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น
- สวมรองเท้าส้นเตี้ย : ด้วยขนาดครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น ส่งผลให้จุดศูนย์ถ่วงของคุณแม่เปลี่ยนแปลง การสวมรองเท้าส้นเตี้ย จะช่วยรักษาสมดุล และการทรงตัวของคุณแม่ให้มั่นคงได้
- ควบคุมน้ำหนัก : หากคุณแม่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลให้เกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ ดังนั้นคุณแม่จึงต้องควบคุมน้ำหนักตัวเองเป็นพิเศษ ไม่รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และควรออกกำลังกายคนท้องอย่างสม่ำเสมอ
- ไปตามนัดฝากครรภ์ : การไปพบแพทย์ตามนัดเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ดังนั้นคุณแม่ควรไปตามนัดฝากครรภ์เสมอ เพื่อตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรม ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และอัลตราซาวนด์เพื่อตรวจสุขภาพทารกในครรภ์อีกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : อายุครรภ์ 4 เดือน อยากให้ลูกฉลาดต้องกินของบำรุงคนท้องเหล่านี้

สัญญาณที่ควรไปพบแพทย์
แม้ว่าในช่วงท้อง 4 เดือน คุณแม่อาจเสี่ยงต่อการแท้งลูกได้น้อยลง แต่คุณแม่ก็ต้องระมัดระวังตัวเองเป็นพิเศษ เพราะการแท้งบุตรนั้น ยังสามารถเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้คุณแม่อาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ จากการตั้งครรภ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย และลูกน้อย ดังนั้นคุณแม่จึงควรรีบไปพบแพทย์หากมีความผิดปกติใด ๆ หรือมีอาการดังต่อไปนี้
- ตกขาวผิดปกติ
- ปวดท้องส่วนล่าง
- มีไข้ และหนาวสั่น
- รู้สึกแสบขณะปัสสาวะ
- เลือดออกทางช่องคลอด
- มีอาการบวมที่มือ ใบหน้า และข้อเท้า
- เป็นตะคริวอย่างรุนแรงบริเวณอุ้งเชิงกราน
ท้อง 4 เดือน ร่างกายของคุณแม่อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ โดยเฉพาะน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น และขนาดครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น อย่างไรก็ตามหากคุณแม่มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มอย่างรวดเร็ว และมีอาการผิดปวดทางช่องคลอด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนโดยเร็วที่สุด
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ของบำรุงคนท้อง สำหรับแม่ท้อง 4 เดือน
100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 27 เช็คลิสต์แม่ท้อง ควรทำอายุครรภ์ 4 เดือน
ตั้งครรภ์ 4 เดือนควรทานอะไร อาหารสําหรับคนท้อง 4 เดือน ถึงดีต่อแม่และลูก
ที่มา : 1 , 2 , 3
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!