X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทำไมลูกน้อยถึงใจร้ายกับฉันนัก?

บทความ 3 นาที
ทำไมลูกน้อยถึงใจร้ายกับฉันนัก?

เด็กในวัยหัดเดินจะมีลักษณะแปลกหลายอย่าง บางครั้งเขาอาจทำตัวน่ารัก และบางครั้งก็ร้องตะโกนเสียงหลงว่า "ไม่เอา!" เขาอาจบอกคุณว่าคุณเป็นแม่ที่ดีที่สุดในโลก แต่ต่อมาไม่นานเขาก็ผลักคุณออกไปเพราะคุณไม่ตามใจเขา แล้วอะไรทำให้ลูกคุณมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปได้เช่นนี้?

ลูก ใจร้าย รุนแรง ก้าวร้าว

ทำไมลูกน้อยถึงใจร้ายกับฉันนัก?

การรับรู้ถึงความรุนแรง

เด็กน้อยที่รับรู้ถึงความรุนแรงและพฤติกรรมไม่เหมาะสมจากทีวี เพื่อนเล่น พี่ ๆ จากสถานเลี้ยงเด็ก หรือแม้กระทั่งพ่อแม่ของเขาเอง จะทำให้เขาเลียนแบบพฤติกรรมเหล่านั้นได้ เด็กที่เห็นพ่อตะโกนใส่แม่หรือตบตีแม่ เขาจะคิดว่าพฤติกรรมนั้นเป็นพฤติกรรมที่ยอมรับได้ เด็กที่ต้องเผชิญกับพฤติกรรมความรุนแรงหรือการแสดงอาการก้าวร้าวอันธพาลจากสถานเลี้ยงเด็กก็จะแสดงพฤติกรรมคล้ายกันในที่สุด

หากสถานการณ์ที่กล่าวมาคล้ายกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับคุณ คุณจำเป็นต้องแก้ไขสถานการณ์ให้ถูกต้อง เพราะนี่คือชีวิตของลูกคุณ

คงไม่มากไปที่คุณควรทำให้ตัวเองมั่นใจว่าได้เลี้ยงลูกในทางที่ปลอดภัย ให้ความรัก ใจเย็นกับลูก และให้เขาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและสงบ

ลองหาผู้ที่สามารถให้คำปรึกษาด้านครอบครัวให้กับคุณได้ หรืออาจหาสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับลูกคุณหากจำเป็น

หากมีการอันธพาลที่สถานเลี้ยงเด็กและเป็นเหตุให้ลูกคุณกลายเป็นเด็กก้าวร้าว มีอารมณ์รุนแรง และเป็นคนโกรธง่าย ปรึกษาสถานเลี้ยงเด็กว่าจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดพฤติกรรมเช่นนี้ขึ้นอีก หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นคุณอาจจำเป็นต้องย้ายลูกไปสถานเลี้ยงเด็กอื่น

ความรุนแรงในรูปแบบอื่นที่อาจสร้างปัญหา ซึ่งรวมไปถึงหนังหรือวิดีโอเกม คุณก็ควรสอดส่องดูแลสิ่งที่เข้ามาในบ้านของคุณและดูว่าใครใช้เวลาอยู่กับลูกคุณบ้าง เช่น ห้ามสมาชิกคนอื่นในครอบครัวดูหนังที่มีความรุนแรงเมื่อใช้เวลาอยู่กับลูกน้อยของคุณ

Advertisement

สิ่งกระตุ้นมีอะไรบ้าง? อ่านต่อหน้าถัดไป >>>

สิ่งกระตุ้น

เด็กในวัยนี้จะมีความรู้สึกด้านอารมณ์มากเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ทั่วไป แต่พวกเขาไม่รู้วิธีที่จะจัดการกับความรู้สึกเหล่านี้และไม่ทราบวิธีที่จะแสดงออกมาอย่างเหมาะสม คุณควรสังเกตว่าสถานการณ์หรือสิ่งที่กระตุ้นใดทำให้เกิดอาการก้าวร้าวในตัวลูกได้

ในบางสถานการณ์อาจเป็นเพราะลูกแพ้อาหารหรือแค่อ่อนไหวต่ออาหารชนิดนั้น เช่น น้ำตาล หรือกลิ่นรสสังเคราะห์ แต่ในบางกรณี อาจมีบางสิ่งกระตุ้นให้ลูกคุณแสดงอาการก้าวร้าวได้ ลูกน้อยอาจไม่รู้วิธีการที่จะถอยออกมาจากสถานการณ์นั้น ๆ เช่นเดียวกับเมื่อเขาต่อยกับพี่ชายของเขา เขาจะรู้แค่ว่าเมื่อเขาหยุดต่อสู้กับพี่ชาย นั่นหมายความว่าเขาได้ปิดความก้าวร้าวลง

เราจะจัดการกับความไม่พอใจและความโกรธของลูกน้อยได้อย่างไร?

ไม่ว่ามันจะเป็นปฏิกิริยาตอบสนองหรือการเลียนแบบความรุนแรง หรือเกิดจากการกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวกับลูกน้อย ยังไงคุณก็ต้องเข้าจัดการกับเรื่องนี้

มีบางครั้งที่ผู้ใหญ่เองก็อยากจะตะโกนออกไปดัง ๆ หรือขว้างสิ่งของทิ้ง ใช่หรือไม่? แต่ต้องขอบคุณความเป็นผู้ใหญ่ในตัวเราที่หยุดเราไม่ให้ทำเช่นนั้น โดยที่เราแสดงออกความไม่พึงพอใจหรือความโกรธด้วยวิธีอื่น และนั่นเป็นวิธีที่คุณควรจะใช้สอนลูกให้ทำเช่นกัน

สิ่งที่พ่อแม่ควรและไม่ควรทำ หน้าถัดไป >>>

ลูกน้อยของคุณมีสิทธิ์ที่จะโกรธ ดังนั้น คุณไม่ควรปฏิเสธความโกรธของเขา แต่คุณสามารถปฏิเสธการแสดงออกถึงความโกรธของลูกที่เขารู้สึกว่าเขาจะแสดงออกอย่างไรก็ได้เมื่อเขาโกรธ และคุณควรจะสอนเขาให้แสดงออกในทางที่ 1) ทำให้เขาจะรู้สึกดีขึ้น 2) ไม่ทำร้ายความรู้สึกคนอื่นหรือไม่ทำให้คนอื่นเจ็บ 3) ไม่ทำลายข้าวของ และต่อไปนี้เป็นวิธีที่คุณจะสามารถสอนลูกให้จัดการกับความโกรธได้

  • พยามไม่ให้ลูกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดความโกรธ นี่ไม่ได้ให้คุณมองว่าคุณจะปฏิเสธความโกรธของลูก แต่นี่เป็นวิธีที่จะปกป้องลูกจากสถานการณ์ที่เป็นอันตราย และ/หรือท้าทายให้เขาเกิดความโกรธได้
  • ทำตัวเป็นตัวอย่างพฤติกรรมด้านบวก เมื่อมีบางสิ่งทำให้คุณโกรธหรือทำให้คุณไม่พอใจ คุณควรจัดการกับความโกรธหรือความไม่พอใจของคุณอย่างใจเย็น จัดการด้วยอารมณ์สงบและเป็นผู้ใหญ่
  • ให้ทางเลือกกับลูกน้อยของคุณในการแสดงออกถึงความโกรธ ถามลูกน้อยว่า “ลูกโกรธเหรอ?” จากนั้น สอนให้ลูกรู้จักปลดปล่อยอารมณ์โกรธอย่างถูกต้อง เช่น 1) พาลูกออกไปเล่นเตะหรือขว้างลูกบอลข้างนอก 2) พาลูกขี่จักรยานหรือพาลูกเดินเล่น 3) ให้ลูกได้เล่นต่อยหมอน หาหมอนที่ลูกสามารถต่อยได้แรงเท่าที่ลูกจะปลดปล่อยอารมณ์ออกมาได้ 4) เปิดเพลงและเชียร์ให้ลูกร้องตามเพลงออกมาดัง ๆ เท่าที่ลูกจะทำได้โดยร้องไปด้วยกันกับคุณ 5) ให้ลูกได้แช่น้ำอุ่น ๆ ในอ่างอาบน้ำพร้อมกับให้ของเล่น และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คุณควรสอนให้ลูกเล่าหรือแบ่งปันความรู้สึกที่ลูกมีให้คุณได้รับรู้ คุณเป็นคนที่ลูกไว้ใจ และจะช่วยให้เขาผ่านพ้นอาการโกรธนี้ไปได้ด้วยดี

บทความใกล้เคียง: สอนลูกด้วยคำถามแบบเปิด เพื่อพัฒนาความคิด

ช่วงเวลาที่อารมณ์ร้อน

ถึงตอนนี้ เราได้พูดถึงวิธีป้องกันการแสดงความก้าวร้าวและพฤติกรรมความรุนแรงของลูกน้อยไปแล้ว แล้ววิธีจัดการกับอารมณ์โกรธในขณะนั้นล่ะ? คุณจะทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยตีคุณ กัดคุณ หยิกคุณ หรือต่อยเข้าที่หน้าของคุณ?

สิ่งที่คุณควรทำคือ สวมกอดลูกน้อยไว้แน่นด้วยอาการใจเย็นบอกลูกน้อยด้วยเสียงที่มั่นคงแต่สุภาพว่า “ลูกกำลังทำให้แม่เจ็บและมันผิดที่ลูกจะทำให้คนอื่นเจ็บ ลูกจะต้องหยุดตอนนี้” หากลูกน้อยยังไม่ยอมหยุด อุ้มลูกไปนอนบนเตียง นั่งบนเก้าอี้ หรือที่ใดก็ตามที่ให้ลูกไม่สามารถทำร้ายคุณได้ จากนั้นสักสองถึงสามนาที ให้คุณกลับไปที่ลูก เอาลูกนั่งตัก พูดคุยถึงสิ่งที่ลูกทำด้วยคำพูดที่เข้าใจง่าย เช่น:

  •       ลูกทำให้แม่เจ็บ
  •       ลูกทำให้แม่เสียใจ
  •       ทำไมลูกถึงทำให้แม่เจ็บ
  •       ลูกเสียใจมั้ยที่ทำให้แม่เจ็บ? ถ้าเสียใจ ก็ลองอธิบายมาว่าทำไมลูกถึงจำเป็นต้องขอโทษแม่
  •       จากนั้น แสดงการให้อภัยของคุณ การแสดงให้เขาเห็นความจริงที่ว่าคุณไม่อนุญาตให้ลูกมีพฤติกรรมเช่นนี้

ไม่มีใครบอกว่าการเลี้ยงเด็กจะเป็นเรื่องง่าย แต่มันก็คุ้มค่า เพียงแค่คุณอดทนเข้าไว้ ทุกอย่างก็จะดีเอง

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

วิธีสอนให้ลูกรู้จักเห็นใจคนอื่น

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ทำไมลูกน้อยถึงใจร้ายกับฉันนัก?
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว