X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำนมไหลเมื่อไหร่ ตอบข้อสงสัยด้วย กลไกการหลั่งน้ำนม ที่คุณแม่ป้ายแดงควรรู้

บทความ 5 นาที
น้ำนมไหลเมื่อไหร่ ตอบข้อสงสัยด้วย กลไกการหลั่งน้ำนม ที่คุณแม่ป้ายแดงควรรู้

คุณแม่ป้ายแดงท้องแรก หลังคลอดลูกมาแทบทำอะไรไม่ถูกกันเลยใช่ไหมคะ ระหว่างพักฟื้นที่จะรอเจอหน้าลูก บางโรงพยาบาล อาจจะมีพยาบาลมาแนะนำและให้คุณแม่เตรียมพร้อมกับการให้นมมื้อแรกของลูก ที่คุณแม่ก็ยังไม่รู้ตัวเลยว่า น้ำนมไหลเมื่อไหร่ จะมีน้ำนมไหลออกมาให้ลูกดูดในครั้งแรกนี้หรือเปล่า มาทำความเข้าใจเรื่อง “กลไกการหลั่งน้ำนม” กันหน่อยไหมคะ

 

น้ำนมไหลเมื่อไหร่

 

คุณแม่ที่มีลูกคนแรกอาจจะเคอะ ๆ เขิน ๆ ทำอะไรไม่ถูกกับการให้นมลูกครั้งแรก และคงมีข้อสงสัยว่าน้ำนมลูกจะไหลออกมาได้อย่างไร แต่กลับคุณแม่บางคนน้ำนมอาจจะมีน้ำนมไหลออกมา ตั้งแต่ก่อนให้ลูกได้ดูดก็ได้ ซึ่งดิเอเชี่ยนพาเร้นท์จะชวนคุณแม่ ๆ มาทำความเข้าใจกับ กลไกการหลั่งน้ำนม ของแม่กันค่ะ มาเตรียมร่างกายให้พร้อม ตั้งแต่ลูกอยู่ในท้อง เพื่อให้มีความรู้ เรียนรู้ประสบการณ์ก่อนที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคต

ซึ่งปกติแล้วกลไกการหลั่งน้ำนม จะเริ่มตั้งแต่ที่ลูกยังอยู่ในครรภ์ กลไกก็จะเริ่มทำงานโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากเต้านม จะมีการขยายใหญ่ขึ้นกว่าปกติ มีสีที่เข้ม และคล้ำขึ้น ถึงแม้น้ำนมจะเริ่มสร้างตั้งแต่ที่ลูกยังอยู่ในท้อง แต่จะเริ่มทำงานอย่างแท้จริง หลังจากที่คลอดไปแล้ว ประมาณ 48 – 96 ชั่วโมง ทันทีหลังจากคลอด น้ำนมก็จะผลิต ในคุณแม่บางท่านน้ำนมก็ไหลออกมาเอง เป็นสัญญาณที่แสดงให้รู้ถึงความพร้อมที่จะให้น้ำนมกับลูกอย่างแท้จริง ! แสดงให้รู้ว่า บทบาทหน้าที่ความเป็นแม่ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว !

Advertisement

 

ทำความเข้าใจ น้ำนมไหลเมื่อไหร่ ?

ตามธรรมชาติ กระบวนการผลิตน้ำนมของร่างกายแม่ แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ

  • ช่วงแรก ตอนตั้งครรภ์ได้สัก 16 – 22 สัปดาห์ ร่างกายจะเริ่มผลิตคอลอสตรัม หรือหัวน้ำนม แต่ผลิตในปริมาณเพียงน้อยนิด ช่วงนี้เรียกว่า แลคโตเจเนซิส 1
  • ช่วงที่สอง หลังคลอดได้ 30 – 40 ชม. ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องก็จะเริ่มทำงาน กระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมในปริมาณที่เพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่คุณแม่ทั้งหลายมักเริ่มรู้สึกว่า นมมาแล้ว หลังจากที่คลอดได้ประมาณ 50 – 73 ชม. หรือ 2 – 3 วันหลังคลอด ช่วงที่สองนี้เรียกว่า แลคโตเจเนซิส 2 น้ำนมแม่ที่ผลิตจากการทำงานของฮอร์โมนทั้งสองช่วงแรกนี้ ไม่ว่าแม่จะให้ลูกดูดนมหรือไม่ก็ตาม ร่างกายก็จะทำการผลิตน้ำนมโดยธรรมชาติ แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงที่ 3 คือ หลังจากคลอดแล้ว 3 วันขึ้นไป แลคโตเจเนซิส 3 ถ้าไม่ให้ลูกดูด น้ำนมก็ไม่มี
  • ช่วงที่สาม ถือเป็นช่วงที่สำคัญมาก เพราะการผลิตน้ำนมของคุณแม่ไม่ได้ถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนล้วน ๆ อีกต่อไป แต่น้ำนมแม่จะผลิตอย่างต่อเนื่องก็ต่อเมื่อมีการนำน้ำนมออกจากร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะด้วยการดูดของลูก การบีบด้วยมือ หรือการปั๊มด้วยเครื่อง

ดังนั้น ภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำเร็จ จะง่ายหรือยาก ถ้าช่วงนี้คุณแม่สามารถนำน้ำนมออกจากร่างกายได้มากเท่าใด ก็จะยิ่งช่วยให้ผลิตน้ำนมมากขึ้นเท่านั้น ในทางกลับกัน ถ้าให้นมผสมในช่วงสัปดาห์แรกนี้ จะเป็นการแทรกแซงกลไกธรรมชาติ และซ้ำเติมให้การผลิตน้ำนมของแม่ช้าลง

 

กลไกการหลั่งน้ำนม หรือ Let-down Reflex

เป็นกระบวนการที่น้ำนมถูกสร้าง และเก็บอยู่ในถุงเก็บน้ำนม ถูกปล่อยออกมาทางท่อน้ำนม กลไกการหลั่งน้ำนมจะเกิดขึ้นได้เมื่อลูกเริ่มดูดนม จะเป็นการไปกระตุ้นปลายประสาทบริเวณหัวนมให้ส่งสัญญาณไปที่สมองให้หลั่งฮอร์โมนอ็อกซีโตซิน รวมทั้งโปรแลคติน ออกมาในกระแสเลือด ฮอร์โมนโปรแลคติน จะไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างน้ำนม ส่วนฮอร์โมนอ็อกซีโตซิน จะทำให้ถุงเก็บน้ำนมบีบตัวให้น้ำนมออกมายังท่อน้ำนม และออกสู่ภายนอก เป็นกระบวนการที่ทำให้ร่างกายหลั่งน้ำนมออกมา คุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกจี๊ด ๆ ที่เต้านมก่อนที่น้ำนมจะพุ่งออกมา ซึ่งการรู้สึกเจ็บจี๊ดจะเป็นจุดที่ระดับฮอร์โมนสูงสุด คือตอนที่ลูกเริ่มดูดนมแม่ครั้งแรก พอจับจังหวะดูดนมแม่ได้ถูกต้อง ก็จะเริ่มดูดถี่ ๆ เพราะความหิว และน้ำนมก็จะพุ่งเข้าปากลูก และจะดูดเรื่อย ๆ จนคุณแม่เริ่มเจ็บเต้า ก็ควรสลับเต้าให้ลูกได้ดูด สำหรับคุณแม่ที่มีน้ำนมเยอะ จะสังเกตได้ว่าเมื่อลูกดูดนมข้างหนึ่งแล้ว น้ำนมอีกข้างก็ไหลออกมาเอง

 

แต่ในกรณีที่คุณแม่ห่างจากการให้นมลูก  การกระตุ้นจะลดลง  กลไกการหลั่งน้ำนมไม่ทำงาน น้ำนมที่ไหลก็จะลดน้อยลง หรือปั๊มน้ำนมไม่ออก  หากลูกไม่ได้ดูดหรือไม่ได้มีการปั๊มน้ำนมออกฮอร์โมนจะลดต่ำลงเรื่อย ๆ การสร้างน้ำนมของร่างกายจะลดน้อยลง  ดังนั้นจึงควรมีการดูดกระตุ้นเพื่อนำน้ำนมออกทุก 2 – 3 ชม. เป็นการกระตุ้นกลไกการหลั่งของน้ำนมให้ทำงาน

 

น้ำนมไหลเมื่อไหร่

 

กลไกการหลั่งน้ำนมที่คุณแม่ป้ายแดงควรรู้

  • การดูดที่มีประสิทธิภาพของลูก เป็นตัวกระตุ้นกลไกการหลั่งน้ำนมที่ดีที่สุด
  • ช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ ฮอร์โมนโปรแล็คติน Prolactin ที่ทำหน้าที่สร้างน้ำนมไว้ในเต้าจะสูงมาก ทำให้กลไกการหลั่งน้ำนมทำงานได้ดี ส่วนฮฮร์โมนอ๊อกซิโตซิน Oxytocin จะทำหน้าบีบน้ำนมให้ไหลออกมาจากเต้า ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บจี๊ดขึ้นมานั่นเอง
  • กลไกการหลั่งน้ำนมจะทำงานได้ทันที สำหรับคุณแม่ป้ายแดง หรือ คุณแม่ที่ยังไม่ชำนาญ สามารถหัดกระตุ้นน้ำนมได้ด้วยการใช้มือนวดคลึงหัวนมเบา ๆ อย่าเพิ่งไปเครียดว่าน้ำนมมีน้อย ฝึกบ่อย ๆ ก็จะรู้จังหวะ เพราะยิ่งเครียด และมีความกังวล จะยิ่งทำให้กลไกการหลั่งน้ำนมไม่ทำงาน น้ำนมยิ่งไหลน้อยนะคะ
  • วิธีช่วยในการกระตุ้นกลไกการหลั่งน้ำนมที่ง่ายที่สุด คือ การให้ลูกช่วยดูด ให้ลูกดูดจากเต้าข้างนึง แล้วปั๊มอีกข้างนึงไปพร้อม ๆ กัน เพราะเวลาที่ลูกดูดนั้น กลไกการหลั่งน้ำนมจะทำงานได้ดี และพิสูจน์ได้ว่าคุณแม่มีความรักต่อลูกมาก บางคนแค่นึกถึงลูกน้ำนมก็พุ่งไหลออกมาได้เองโดยอัตโนมัติเลย
  • การกระตุ้นกลไกการหลั่งน้ำนมก่อนการปั๊มนม อาทิ เช่น การนวดหลังไหล่ และนวดเต้านม หรือ การประคบอุ่นที่เต้านม ดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ เป็นการช่วยกระตุ้นกลไกการหลั่งน้ำนมได้ดีมาก ๆ เลย ช่วยให้ปั๊มนมได้ง่าย และเร็วขึ้น ในขณะปั๊มนมก็สามารถกิจกรรมง่าย ๆ ที่ชอบไปด้วย เช่น นั่งดูทีวี หรือ เล่นเฟซบุ๊ก ฟังเพลง คิดถึงลูก พยายามทำให้อารมณ์ดี ๆ มีความสุขกับการปั๊มนม เพื่อน้ำนมจะได้ไหลเยอะ ๆ

 

ทั้งหมดนี้ ก็เป็นกลไกการหลั่งน้ำนมที่คุณแม่ป้ายแดงควรรู้ ! เพื่อเตรียมตัวเป็นคุณแม่มือใหม่ เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเราเข้าใจดีว่าประสบการณ์ครั้งแรกตอนให้นมลูกเป็นประสบการณ์ที่สำคัญเป็นอย่างมาก คุณแม่จะมีความกังวลใจ กลัวทำไม่ถูกวิธี กลัวว่าจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น แต่เมื่อรู้กลไกการหลั่งของน้ำนมแล้ว คุณแม่ก็จะทำตัวได้ถูก เตรียมพร้อมที่จะให้นมลูกอย่างถูกต้อง และถูกวิธีไร้ความกังวล พร้อมกับลองเอาเคล็ดลับ วิธีการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมที่นำมาฝาก ไปลองทำตามกันดูนะคะ สำหรับคุณแม่ที่น้ำนมมาไม่ปกติ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สูตรเด็ดเพิ่มน้ำนมแม่ทำได้ไม่ยาก

ทำจี๊ด!!ช่วยแม่กระตุ้นน้ำนมไหลมาเทมา

ผ่าคลอด น้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ ปัญหาที่คุณแม่หลาย ๆ ท่านพบเจอ แก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง

ที่มา : glowystar

บทความจากพันธมิตร
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
เทคนิคเลือกขวดนมเด็ก ลดอาการโคลิค ขวดนมสีชา ขวดนมสีใส แบบไหนเหมาะกับลูกน้อย
เทคนิคเลือกขวดนมเด็ก ลดอาการโคลิค ขวดนมสีชา ขวดนมสีใส แบบไหนเหมาะกับลูกน้อย
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
Attitude Mom เครื่องปั๊มนมแบรนด์ไทย ฉลองครบรอบ 10 ปี พร้อมเปิดตัวเครื่องปั๊มนมไร้สาย Easy Life III และ Application Attitude Mom
เคล็ดลับเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่มือใหม่ ด้วย Jessie M Next และ Jessie Mind Next
เคล็ดลับเพิ่มน้ำนมสำหรับคุณแม่มือใหม่ ด้วย Jessie M Next และ Jessie Mind Next

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • การให้นมลูก
  • /
  • น้ำนมไหลเมื่อไหร่ ตอบข้อสงสัยด้วย กลไกการหลั่งน้ำนม ที่คุณแม่ป้ายแดงควรรู้
แชร์ :
  • ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

    ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

  • 8 เทคนิคให้นมลูกแบบถนอมทรง แม่ให้นมหน้าอกยังสวย กระชับ ไม่หย่อนยาน

    8 เทคนิคให้นมลูกแบบถนอมทรง แม่ให้นมหน้าอกยังสวย กระชับ ไม่หย่อนยาน

  • ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? เรื่องอย่าหาทำ! ของแม่ให้นม

    ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? เรื่องอย่าหาทำ! ของแม่ให้นม

  • ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

    ให้นมลูก คัดเต้าจนเป็นไข้ รับมืออย่างไรให้หายปวด

  • 8 เทคนิคให้นมลูกแบบถนอมทรง แม่ให้นมหน้าอกยังสวย กระชับ ไม่หย่อนยาน

    8 เทคนิคให้นมลูกแบบถนอมทรง แม่ให้นมหน้าอกยังสวย กระชับ ไม่หย่อนยาน

  • ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? เรื่องอย่าหาทำ! ของแม่ให้นม

    ให้นมลูกกินยาแทนลูกได้ไหม ? เรื่องอย่าหาทำ! ของแม่ให้นม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว