X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • TAP Awards
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

น้ำนมไหลเมื่อไหร่ ตอบข้อสงสัยด้วย กลไกการหลั่งน้ำนม ที่คุณแม่ป้ายแดงควรรู้

บทความ 5 นาที
น้ำนมไหลเมื่อไหร่ ตอบข้อสงสัยด้วย กลไกการหลั่งน้ำนม ที่คุณแม่ป้ายแดงควรรู้

คุณแม่ป้ายแดงท้องแรก หลังคลอดลูกมาแทบทำอะไรไม่ถูกกันเลยใช่ไหมคะ ระหว่างพักฟื้นที่จะรอเจอหน้าลูก บางโรงพยาบาล อาจจะมีพยาบาลมาแนะนำและให้คุณแม่เตรียมพร้อมกับการให้นมมื้อแรกของลูก ที่คุณแม่ก็ยังไม่รู้ตัวเลยว่า น้ำนมไหลเมื่อไหร่ จะมีน้ำนมไหลออกมาให้ลูกดูดในครั้งแรกนี้หรือเปล่า มาทำความเข้าใจเรื่อง “กลไกการหลั่งน้ำนม” กันหน่อยไหมคะ

 

น้ำนมไหลเมื่อไหร่

 

คุณแม่ที่มีลูกคนแรกอาจจะเคอะ ๆ เขิน ๆ ทำอะไรไม่ถูกกับการให้นมลูกครั้งแรก และคงมีข้อสงสัยว่าน้ำนมลูกจะไหลออกมาได้อย่างไร แต่กลับคุณแม่บางคนน้ำนมอาจจะมีน้ำนมไหลออกมา ตั้งแต่ก่อนให้ลูกได้ดูดก็ได้ ซึ่งดิเอเชี่ยนพาเร้นท์จะชวนคุณแม่ ๆ มาทำความเข้าใจกับ กลไกการหลั่งน้ำนม ของแม่กันค่ะ มาเตรียมร่างกายให้พร้อม ตั้งแต่ลูกอยู่ในท้อง เพื่อให้มีความรู้ เรียนรู้ประสบการณ์ก่อนที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคต

ซึ่งปกติแล้วกลไกการหลั่งน้ำนม จะเริ่มตั้งแต่ที่ลูกยังอยู่ในครรภ์ กลไกก็จะเริ่มทำงานโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากเต้านม จะมีการขยายใหญ่ขึ้นกว่าปกติ มีสีที่เข้ม และคล้ำขึ้น ถึงแม้น้ำนมจะเริ่มสร้างตั้งแต่ที่ลูกยังอยู่ในท้อง แต่จะเริ่มทำงานอย่างแท้จริง หลังจากที่คลอดไปแล้ว ประมาณ 48 – 96 ชั่วโมง ทันทีหลังจากคลอด น้ำนมก็จะผลิต ในคุณแม่บางท่านน้ำนมก็ไหลออกมาเอง เป็นสัญญาณที่แสดงให้รู้ถึงความพร้อมที่จะให้น้ำนมกับลูกอย่างแท้จริง ! แสดงให้รู้ว่า บทบาทหน้าที่ความเป็นแม่ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว !

 

ทำความเข้าใจ น้ำนมไหลเมื่อไหร่ ?

ตามธรรมชาติ กระบวนการผลิตน้ำนมของร่างกายแม่ แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ

  • ช่วงแรก ตอนตั้งครรภ์ได้สัก 16 – 22 สัปดาห์ ร่างกายจะเริ่มผลิตคอลอสตรัม หรือหัวน้ำนม แต่ผลิตในปริมาณเพียงน้อยนิด ช่วงนี้เรียกว่า แลคโตเจเนซิส 1
  • ช่วงที่สอง หลังคลอดได้ 30 – 40 ชม. ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องก็จะเริ่มทำงาน กระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมในปริมาณที่เพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่คุณแม่ทั้งหลายมักเริ่มรู้สึกว่า นมมาแล้ว หลังจากที่คลอดได้ประมาณ 50 – 73 ชม. หรือ 2 – 3 วันหลังคลอด ช่วงที่สองนี้เรียกว่า แลคโตเจเนซิส 2 น้ำนมแม่ที่ผลิตจากการทำงานของฮอร์โมนทั้งสองช่วงแรกนี้ ไม่ว่าแม่จะให้ลูกดูดนมหรือไม่ก็ตาม ร่างกายก็จะทำการผลิตน้ำนมโดยธรรมชาติ แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงที่ 3 คือ หลังจากคลอดแล้ว 3 วันขึ้นไป แลคโตเจเนซิส 3 ถ้าไม่ให้ลูกดูด น้ำนมก็ไม่มี
  • ช่วงที่สาม ถือเป็นช่วงที่สำคัญมาก เพราะการผลิตน้ำนมของคุณแม่ไม่ได้ถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนล้วน ๆ อีกต่อไป แต่น้ำนมแม่จะผลิตอย่างต่อเนื่องก็ต่อเมื่อมีการนำน้ำนมออกจากร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะด้วยการดูดของลูก การบีบด้วยมือ หรือการปั๊มด้วยเครื่อง

ดังนั้น ภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำเร็จ จะง่ายหรือยาก ถ้าช่วงนี้คุณแม่สามารถนำน้ำนมออกจากร่างกายได้มากเท่าใด ก็จะยิ่งช่วยให้ผลิตน้ำนมมากขึ้นเท่านั้น ในทางกลับกัน ถ้าให้นมผสมในช่วงสัปดาห์แรกนี้ จะเป็นการแทรกแซงกลไกธรรมชาติ และซ้ำเติมให้การผลิตน้ำนมของแม่ช้าลง

 

กลไกการหลั่งน้ำนม หรือ Let-down Reflex

เป็นกระบวนการที่น้ำนมถูกสร้าง และเก็บอยู่ในถุงเก็บน้ำนม ถูกปล่อยออกมาทางท่อน้ำนม กลไกการหลั่งน้ำนมจะเกิดขึ้นได้เมื่อลูกเริ่มดูดนม จะเป็นการไปกระตุ้นปลายประสาทบริเวณหัวนมให้ส่งสัญญาณไปที่สมองให้หลั่งฮอร์โมนอ็อกซีโตซิน รวมทั้งโปรแลคติน ออกมาในกระแสเลือด ฮอร์โมนโปรแลคติน จะไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างน้ำนม ส่วนฮอร์โมนอ็อกซีโตซิน จะทำให้ถุงเก็บน้ำนมบีบตัวให้น้ำนมออกมายังท่อน้ำนม และออกสู่ภายนอก เป็นกระบวนการที่ทำให้ร่างกายหลั่งน้ำนมออกมา คุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกจี๊ด ๆ ที่เต้านมก่อนที่น้ำนมจะพุ่งออกมา ซึ่งการรู้สึกเจ็บจี๊ดจะเป็นจุดที่ระดับฮอร์โมนสูงสุด คือตอนที่ลูกเริ่มดูดนมแม่ครั้งแรก พอจับจังหวะดูดนมแม่ได้ถูกต้อง ก็จะเริ่มดูดถี่ ๆ เพราะความหิว และน้ำนมก็จะพุ่งเข้าปากลูก และจะดูดเรื่อย ๆ จนคุณแม่เริ่มเจ็บเต้า ก็ควรสลับเต้าให้ลูกได้ดูด สำหรับคุณแม่ที่มีน้ำนมเยอะ จะสังเกตได้ว่าเมื่อลูกดูดนมข้างหนึ่งแล้ว น้ำนมอีกข้างก็ไหลออกมาเอง

 

แต่ในกรณีที่คุณแม่ห่างจากการให้นมลูก  การกระตุ้นจะลดลง  กลไกการหลั่งน้ำนมไม่ทำงาน น้ำนมที่ไหลก็จะลดน้อยลง หรือปั๊มน้ำนมไม่ออก  หากลูกไม่ได้ดูดหรือไม่ได้มีการปั๊มน้ำนมออกฮอร์โมนจะลดต่ำลงเรื่อย ๆ การสร้างน้ำนมของร่างกายจะลดน้อยลง  ดังนั้นจึงควรมีการดูดกระตุ้นเพื่อนำน้ำนมออกทุก 2 – 3 ชม. เป็นการกระตุ้นกลไกการหลั่งของน้ำนมให้ทำงาน

 

น้ำนมไหลเมื่อไหร่

 

กลไกการหลั่งน้ำนมที่คุณแม่ป้ายแดงควรรู้

  • การดูดที่มีประสิทธิภาพของลูก เป็นตัวกระตุ้นกลไกการหลั่งน้ำนมที่ดีที่สุด
  • ช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ ฮอร์โมนโปรแล็คติน Prolactin ที่ทำหน้าที่สร้างน้ำนมไว้ในเต้าจะสูงมาก ทำให้กลไกการหลั่งน้ำนมทำงานได้ดี ส่วนฮฮร์โมนอ๊อกซิโตซิน Oxytocin จะทำหน้าบีบน้ำนมให้ไหลออกมาจากเต้า ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บจี๊ดขึ้นมานั่นเอง
  • กลไกการหลั่งน้ำนมจะทำงานได้ทันที สำหรับคุณแม่ป้ายแดง หรือ คุณแม่ที่ยังไม่ชำนาญ สามารถหัดกระตุ้นน้ำนมได้ด้วยการใช้มือนวดคลึงหัวนมเบา ๆ อย่าเพิ่งไปเครียดว่าน้ำนมมีน้อย ฝึกบ่อย ๆ ก็จะรู้จังหวะ เพราะยิ่งเครียด และมีความกังวล จะยิ่งทำให้กลไกการหลั่งน้ำนมไม่ทำงาน น้ำนมยิ่งไหลน้อยนะคะ
  • วิธีช่วยในการกระตุ้นกลไกการหลั่งน้ำนมที่ง่ายที่สุด คือ การให้ลูกช่วยดูด ให้ลูกดูดจากเต้าข้างนึง แล้วปั๊มอีกข้างนึงไปพร้อม ๆ กัน เพราะเวลาที่ลูกดูดนั้น กลไกการหลั่งน้ำนมจะทำงานได้ดี และพิสูจน์ได้ว่าคุณแม่มีความรักต่อลูกมาก บางคนแค่นึกถึงลูกน้ำนมก็พุ่งไหลออกมาได้เองโดยอัตโนมัติเลย
  • การกระตุ้นกลไกการหลั่งน้ำนมก่อนการปั๊มนม อาทิ เช่น การนวดหลังไหล่ และนวดเต้านม หรือ การประคบอุ่นที่เต้านม ดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ เป็นการช่วยกระตุ้นกลไกการหลั่งน้ำนมได้ดีมาก ๆ เลย ช่วยให้ปั๊มนมได้ง่าย และเร็วขึ้น ในขณะปั๊มนมก็สามารถกิจกรรมง่าย ๆ ที่ชอบไปด้วย เช่น นั่งดูทีวี หรือ เล่นเฟซบุ๊ก ฟังเพลง คิดถึงลูก พยายามทำให้อารมณ์ดี ๆ มีความสุขกับการปั๊มนม เพื่อน้ำนมจะได้ไหลเยอะ ๆ

 

ทั้งหมดนี้ ก็เป็นกลไกการหลั่งน้ำนมที่คุณแม่ป้ายแดงควรรู้ ! เพื่อเตรียมตัวเป็นคุณแม่มือใหม่ เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเราเข้าใจดีว่าประสบการณ์ครั้งแรกตอนให้นมลูกเป็นประสบการณ์ที่สำคัญเป็นอย่างมาก คุณแม่จะมีความกังวลใจ กลัวทำไม่ถูกวิธี กลัวว่าจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น แต่เมื่อรู้กลไกการหลั่งของน้ำนมแล้ว คุณแม่ก็จะทำตัวได้ถูก เตรียมพร้อมที่จะให้นมลูกอย่างถูกต้อง และถูกวิธีไร้ความกังวล พร้อมกับลองเอาเคล็ดลับ วิธีการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมที่นำมาฝาก ไปลองทำตามกันดูนะคะ สำหรับคุณแม่ที่น้ำนมมาไม่ปกติ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สูตรเด็ดเพิ่มน้ำนมแม่ทำได้ไม่ยาก

ทำจี๊ด!!ช่วยแม่กระตุ้นน้ำนมไหลมาเทมา

ผ่าคลอด น้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ ปัญหาที่คุณแม่หลาย ๆ ท่านพบเจอ แก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง

ที่มา : 1

บทความจากพันธมิตร
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
แม่รู้มั้ย เสริมภูมิต้านทาน โรคยุคใหม่ ทำได้ตั้งแต่วันแรกของลูก
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • การให้นมลูก
  • /
  • น้ำนมไหลเมื่อไหร่ ตอบข้อสงสัยด้วย กลไกการหลั่งน้ำนม ที่คุณแม่ป้ายแดงควรรู้
แชร์ :
  • อาหารเพิ่มน้ำนมแม่ รวมมาให้หมด! เมนูอาหารคุณแม่ลูกอ่อน น้ำนมพุ่ง ลูกอิ่มแปล้

    อาหารเพิ่มน้ำนมแม่ รวมมาให้หมด! เมนูอาหารคุณแม่ลูกอ่อน น้ำนมพุ่ง ลูกอิ่มแปล้

  • เทคนิคบำรุงน้ำนม และปริมาณนมของเด็กแรกเกิดที่กินในแต่ละวัน

    เทคนิคบำรุงน้ำนม และปริมาณนมของเด็กแรกเกิดที่กินในแต่ละวัน

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • อาหารเพิ่มน้ำนมแม่ รวมมาให้หมด! เมนูอาหารคุณแม่ลูกอ่อน น้ำนมพุ่ง ลูกอิ่มแปล้

    อาหารเพิ่มน้ำนมแม่ รวมมาให้หมด! เมนูอาหารคุณแม่ลูกอ่อน น้ำนมพุ่ง ลูกอิ่มแปล้

  • เทคนิคบำรุงน้ำนม และปริมาณนมของเด็กแรกเกิดที่กินในแต่ละวัน

    เทคนิคบำรุงน้ำนม และปริมาณนมของเด็กแรกเกิดที่กินในแต่ละวัน

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว