5 โรคแทรกซ้อนอันตรายสำหรับคนท้อง

โรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับคนท้องและส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ อาจถึงขั้นเสียชีวิตหรือเกิดความพิการ มาดูกันว่ามีโรคอะไรบ้างและมีวิธีการรักษาได้อย่างไร ติดตามอ่าน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5 โรคแทรกซ้อนอันตรายสำหรับคนท้อง

1. ครรภ์เป็นพิษ

ครรภ์เป็นพิษ คือ โรคแทรกซ้อนที่เป็นภาวะผิดปกติชนิดหนึ่งที่เกิดกับคนท้องที่ตั้งครรภ์ประมาณ 5 - 6 เดือน และอาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุครรภ์ เป็นภาวะที่ความดันโลหิตสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงระดับที่อันตรายจนเลือดออกในสมองและทำให้ชักได้ หากไม่สามารถควบคุมอาการได้จะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ทั้งแม่และลูก

อาการ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ

ระยะแรก ความดันโลหิตยังไม่สูงมากนัก ไม่เกิน 160 / 110 มิลลิเมตรปรอท มักจะมีอาการมึนงง ตาลาย ระบบภายในร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ไตกรองของเสียขับออกมาเป็นปัสสาวะได้น้อย ทำให้เกิดอาการบวมน้ำและมีนำ้หนักตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วผิดปกติทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทานอาหารเพิ่มแต่อย่างใด

ระยะสอง ความดันโลหิตสูงกว่า 160 / 110 มิลลิเมตรปรอท เป็นระยะที่อันตราย คุณแม่จะมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ตาพร่า คลื่นไส้ อาเจียน เพราะความดันสูงจนกระทบสมอง พบว่า มีเลือดออกในเยื่อหุ้มตับ มีน้ำคั่งในถุงลมปอด หายใจหอบเหนื่อยไตวายจนขับปัสสาวะออกได้น้อยมากในแต่ละวัน ทารกในครรภ์จะดิ้นน้อยลงและหยุดการเจริญเติบโตหากสังเกตจากอัลตราซาวด์ กรณีนี้หากปล่อยให้ตั้งครรภ์ต่อไป จนทำให้คุณแม่มีอาการชักหรือหมดสติ หรือเลือดออกในสมองทำให้เลือดคั่งถึงแก่ชีวิต ส่วนทารกในครรภ์อาจจะเสียชีวิตหรือต้องผ่าตัดคลอดทันที เพื่อช่วยชีวิตของคุณแม่ไว้

การรักษา

การรักษาอาการครรภ์เป็นพิษ คือ การทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง ไม่ว่าจะเป็นการคลอดแบบธรรมชาติ หรือผ่าตัดคลอด หากกรณีที่อายุครรภ์ยังไม่ถึงกำหนดคลอด อาจมีความจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) เพื่อรักษาชีวิตของแม่ไว้ เพราะหากปล่อยให้มีการตั้งครรภ์มีโอกาสสูงที่จะเสียชีวิตทั้งแม่และลูก

2. โรคซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์

โรคซึมเศร้าในคนท้อง พบได้ประมาณร้อยละ 14 - 23 แต่โรคนี้มักจะถูกมองข้ามหรือละเลยเพราะคิดว่าเป็นอาการอารมณ์แปรปรวนของคนท้องที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย แต่แท้ที่จริงแล้วโรคซึมเศร้ามักเกิดจากความเครียด ความกดดันในชีวิต มาจากสาเหตุใหญ่ ๆ เช่น ขาดการดูแลเอาใจใส่จากคนใกล้ชิดในครอบครัว มีปัญหารุนแรงภายในครอบครัว มีโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้วิตกกังวลหนัก อายุน้อยไม่พร้อมจะตั้งครรภ์

ผลกระทบของโรคซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ทำให้เกิดการเบื่ออาหาร ส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลง ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารเต็มที่หรือเพียงพอต่อแม่ท้องและทารกในครรภ์

2. ทำให้คิดหรือตัดสินใจได้ยากลำบากขึ้น และบางครั้งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้

3. อาจหาทางออกด้วยการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือซื้อยามารับประทานเอง

4. ทำให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวลมากขึ้น และอาจรุนแรงถึงขั้นคิดอยากฆ่าตัวตายในบางราย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. ส่งผลให้มีอารมณ์เศร้าหลังคลอดตามมาด้วย

3. โรคธาลัสซีเมีย

โรคธาลัสซีเมีย หรือที่รู้จักกันว่าโรคเลือดจางหรือโรคซีด คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางระบบเลือดโรคหนึ่งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูก ทำให้ไขกระดูกของผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียผลิตเม็ดเลือดแดงออกมามากผิดปกติ และทำงานได้ไม่สมบูรณ์ คือ เม็ดเลือดเหล่านี้มีความสามารถในการนำพาออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ได้น้อย อายุของเม็ดเลือดแดงสั้นแตกสลายเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลข้างเคียงให้มีปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายสูงกว่าปกติจนถึงระดับที่เป็นพิษ

อาการ

แบ่งออกเป็น 3 ระดับ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

- แสดงอาการเล็กน้อย มีอาการซีดเหลือง แต่เห็นไม่ชัด หากร่างกายอ่อนแออาการจะแสดงมากขึ้น

- อาการปานกลาง มีร่องรอยของโรคเลือดจางให้เห็นภายนอกผิวซีดเซียว ตาเหลือง คล้ายภาวะตับหรือม้ามโต เพราะอวัยวะทั้งสองต้องทำงานหนักขึ้น

- อาการรุนแรง จะพบว่า ร่างกายซีดเหลือง ตาเหลือง ตับ ม้ามโต

การรักษา

หากคุณแม่ตั้งครรภ์มาก่อนแล้ว ต้องตรวจเลือดจากคุณพ่อว่ามีความเสี่ยงมากแค่ไหน โดยการเจาะตรวจหาเชื้อด้วยเข็มเจาะพิเศษผ่านทางช่องคลอดหรือทางหน้าท้องเข้าไปถึงถุงน้ำคร่ำหรือเนื้อเยื่อรกไปวิเคราะห์ ซึ่งทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์เพียง 6 - 18 สัปดาห์เท่านั้น และนำไปวางแผนการรักษาต่อไป

หากผลตรวจออกมาและคุณหมอมั่นใจว่า ลูกที่เกิดมาต้องกลายเป็นโรคธาลัสซีเมียที่แสดงอาการ คุณหมอจะเสนอให้คุณแม่ยุติการตั้งครรภ์เพื่อเป็นหนทางที่ดีที่สุดต่ออนาคตของครอบครัว เพราะการรักษาเด็กที่ป่วยเป็นธาลัสซีเมียให้หายขาดนั้นต้องใช้เวลานานหลายปี บวกความอดทนของคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องทนเห็นความเจ็บปวดจากอาการป่วยของลูกอีกด้วย

4. ภาวะตับผิดปกติ

ภาวะตับผิดปกติในระหว่างตั้งครรภ์เป็นอาการที่พบได้ไม่บ่อยนัก เกิดจากน้ำดีมีปริมาณมากจนก่อตัวทำให้เกิดภาวะเป็นพิษได้ น้ำดีจะเข้าสู่กระแสเลือดของคุณแม่ และก่อให้เกิดอาการ ดังนี้

อาการ

1. คนท้องจะมีอาการคันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า และอาจลามไปทั่วร่างกายส่วนใหย๋จะรุนแรงขึ้นในเวลากลางคืน

2. ปัสสาวะมีสีเข้ม ในขณะที่อุจจาระมีสีซีด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การรักษา

ในบางกรณีคุณแม่อาจได้รับการกระตุ้นคลอดเมื่อตั้งครรภ์ได้ 36 - 38 สัปดาห์ เพื่อให้มีโอกาสคลอดอย่างปลอดภัยมากที่สุด และหลังการคลอดอาการจะหายไปเองอย่างรวดเร็ว และการทำงานของตับจะเข้าสู่ภาวะผิดปกติ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรได้รับการตรวจเลือดหลังคลอด เพื่อยืนยันว่าหายเป็นปกติดีแล้ว

5. โรคไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่สร้างสารไทรอกซิน ซึ่งกระตุ้นให้ร่างกายทำงาน ร่างกายอบอุ่น ทำให้กระฉับกระเฉง แต่ในบางคนต่อมนี้ผลิตสารออกมามากกว่าปกติ ทำให้มือสั่น ใจสั่น ร่างกายสูญเสียพลังงานมาก เหงื่อออกมาก หงุดหงิด ก่อนท้องอาจจะเป็นหรือไม่เป็นก็ได้ แต่ว่าการตั้งครรภ์ไม่ได้กระตุ้นให้เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ

หากเป็นโรคไทรอยด์ขณะตั้งครรภ์ และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม อาจส่งผลกระทบทั้งตัวคุณแม่ และลูกน้อยได้ ได้แก่ การแท้ง คลอดก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ รกลอกตัวก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย การตายเมื่อคลอด รวมทั้งภาวะผิดปกติของพัฒนาการทางร่างกาย และสมองของทารก

การรักษา

หมอจะให้ยาที่ไปกดการทำงานของไทรอกซิน ทำให้คุณแม่มีอาการปกติ การตั้งครรภ์ก็จะเป็นดำเนินไปตามปกติจนคลอด โดยยาที่ให้ไม่มีผลกับเด็กในครรภ์

อ่าน การป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ คลิกหน้าถัดไป

การป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์

การดูแลตนเองของคุณแม่ที่อาจมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่เองและทารกในครรภ์ ควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ

1. เตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ด้วยการตรวจสุขภาพทั้งคุณแม่และคุณพ่อ หากมีปัญหาสุขภาพให้ทำการรักษาหรือควบคุมโรคก่อนที่จะวางแผนตั้งครรภ์ต่อไป

2. หากวางแผนที่จะตั้งครรภ์ ควรรับประทานกรดโฟลิกล่วงหน้า 2-3 เดือน เพื่อป้องกันความผิดปกติในทารก เช่น โรคปากแหว่งเพดานโหว่ และกระดูกสันหลังแหว่งหรือเปิดในเด็ก

บทความแนะนำ ปากแหว่งเพดานโหว่เกิดจากอะไร

3. ฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ควรแจ้งประวัติส่วนตัว ประวัติโรคที่เป็นให้แพทย์ทราบอย่างละเอียดเพื่อวางแผนการดูแลรักษา และมาพบแพทย์เป็นระยะตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

4. งดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และใช้สารเสพติด

5. คุณแม่ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกาย โดยปรึกษาแพทย์ถึงการออกกำลังกายที่ไม่มีผลต่อการตั้งครรภ์ และหมั่นตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง และควบคุมน้ำหนักตัว อย่าให้มีน้ำหนักตัวมากหรือน้อยจนเกินไป

6. ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย และพักผ่อนให้เพียงพอ

การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ทั้งว่าที่คุณพ่อและว่าคุณแม่เลยนะคะ เพื่อคุณหมอจะได้ให้คำแนะนำในการดูแลตนเองและการวางแผนในการมีลูกอย่างปลอดภัยต่อไป

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

อ้างอิงข้อมูลจาก

si.mahidol

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

โรคเลือดที่ควรรู้จักก่อนตั้งครรภ์

ครรภ์คุณภาพของแม่ท้อง ต้องดูแลแบบนี้