X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกฉันเป็นไข้เลือดออก หรือชิคุนกุนยา?

บทความ 5 นาที
ลูกฉันเป็นไข้เลือดออก หรือชิคุนกุนยา?

ลูกฉันเป็นไข้เลือดออก หรือชิคุนกุนยา? อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเหล่านี้? และเราจะมีวิธีป้องกันอย่างไรได้บ้าง? เราจะมีวิธีสังเกตุได้อย่างไร?

ลูกฉันเป็นไข้เลือดออก หรือชิคุนกุนยา? สมัยนี้โรคต่าง ๆ มีมากมายหลายสายพันธุ์ จนเราเองตามแทบไม่ทันกันเลยทีเดียว โรคชิคุนกุนยา ก็เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่มีลักษณะอาการที่คล้าย และใกล้เคียงกับไข้เลือดออก แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกของเราเป็นโรคอะไรกันแน่ แล้วเราจะสามารถป้องกันลูกน้อยให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้อย่างไร?

 

หน้าฝนแบบนี้ต้องระวังโรคที่มาพร้อมกับยุงลาย ที่ระบาดอย่างมากในช่วงหน้าฝน ได้แก่ โรคชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัส มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แม้กระทั่งในเด็กเล็ก แล้วอาการของ โรคชิคุนกุนยาเป็นอย่างไร แล้ว ลูกฉันเป็นไข้เลือดออก หรือชิคุนกุนยา? ลองไปเช็คอาการกับเราดีกว่าค่ะ

 

โรคชิคุนกุนยาเป็นอย่างไร มีอาการต่างจากไข้เลือดออกอย่างไร

โรคติดเชื้อชิคุนกุนยา เกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อชิคุนกุนยาไวรัส ติดต่อมาสู่คน โดยการถูกยุงลายกัด (ยุงลายเป็นพาหะ ที่นำโรคมาสู่คน 2 โรคที่สำคัญ คือ โรคไข้เลือดออก และ โรคติดเชื้อชิคุนกุนยา) ระยะฟักตัวของโรคติดเชื้อชิคุนกุนยา คือ 2 – 5 วัน

ไข้เลือดออก

โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ แพร่สู่ร่างกายคน จากการกัดของยุงลายตัวเมีย ผู้ป่วยจะมีไข้สูง มีอาการป่วยรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา

อาการ : ไข้สูงลอย, ผื่นแดงจำนวนมาก, ปวดเมื่อยน้อยกว่า, เกล็ดเลือดต่ำ – มีเลือดออก, ควรรีบพบแพทย์ทันที ถ้ามีอาการ

ชิคุนกุนยา

เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่มียุงลายเป็นพาหะ โดยผู้ป่วยมักมีไข้ และปวดข้อต่อ ซึ่งอาการของโรคนี้จะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง

อาการ : ไข้สูงอย่างเฉียบพลัน, ตาแดง มีผื่นแดง, ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ, ไม่มีเกล็ดเลือดต่ำจนเลือดออก, รักษาตามอาการ พักผ่อนให้เพียงพอ

ทุกคนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคชิคุนกุนยา และโรคไข้เลือดออกได้ทั้งนั้น ดังนั้น ควรระวัง และป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด ด้วยการกำจัดแหล่งน้ำขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ทาโลชั่นกันยุง สวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวัง และป้องกันลูกน้อยจากยุงลาย

 

Advertisement

 

โรคชิคุนกุนยาเป็นอย่างไร มีอาการต่างจากไข้เลือดออกอย่างไร

โรคชิคุนกุนยาเป็นอย่างไร มีอาการต่างจากไข้เลือดออกอย่างไร

โรคชิคุนกุนยา แตกต่างจากไข้เลือดออกอย่างไร

  1. ลักษณะของโรคชิคุนกุนยา จะไม่มีเกร็ดเลือดต่ำอย่างมาก จนมีเลือดออกรุนแรงอย่างโรคไข้เลือดออก
  2. โรคชิคุนกุนยา จะไม่มีผนังเส้นเลือดฝอยผิดปกติอย่างมาก จนมีของเหลว (เลือด) รั่วซึมออกจากเส้นเลือดอย่างรุนแรง จนความดันโลหิตต่ำ จนช็อค อย่างโรคไข้เลือดออก
  3. โรคชิคุนกุนยานั้น จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต เหมือนอย่างโรคไข้เลือดออก แต่อาจปวดตามข้อ ทรมาน หลายเดือน ต่อเนื่องได้

เมื่อผู้ป่วยถูกยุงลายที่มีเชื้อชิคุนกุนยาไวรัสกัด จะมีระยะฟักตัวของโรค 2 – 5 วัน และเมื่อครบระยะฟักตัว ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงเริ่มจาก …

– มีไข้สูง อาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ประมาณ 2 วัน หลังจากนั้น ไข้จะลงอย่างรวดเร็ว
– ผิวหนังจะมีสีแดงเพิ่มขึ้น
เนื่องจาก เส้นเลือดฝอยในชั้นผิวหนังมีการขยายตัว
– มีผื่นแดงเล็ก ๆ ตามตัว
 หรือบางครั้งอาจมีผื่นแดงเล็ก ๆ ตามแขนขาได้
– มีอาการปวดตามข้อ และมักมีอาการปวดหลายข้อพร้อม ๆ กัน

นอกจากนั้น อาจมีอาการป่วย ซึ่งไม่ใช่อาการเฉพาะของการติดเชื้อชิคุนกุนยา เช่น ปวดศีรษะ เยื่อบุตาแดง รวมทั้งอาการอื่น ๆ เช่น อาการปวดข้อ ปวดศีรษะ นอนไม่ค่อยหลับ

อาการเหล่านี้ อาจคงอยู่ยาวนานในผู้ป่วยแต่ละรายไม่เหมือนกัน ส่วนอาการปวดข้อ มักจะเป็นอยู่นาน บางรายอาจนานถึง 2 ปี

 

โรคชิคุนกุนยาเป็นอย่างไร มีอาการต่างจากไข้เลือดออกอย่างไร

โรคชิคุนกุนยาเป็นอย่างไร มีอาการต่างจากไข้เลือดออกอย่างไร

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคชิคุนกุนยา

การวินิจฉัยที่ดีที่สุด คือ จะต้องมีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัย ซึ่งมีหลายวิธี เช่น

  1. การเพาะเชื้อไวรัสจากเลือดผู้ป่วย โดยที่แพทย์จะเจาะเลือดผู้ป่วย ส่งเพาะหาเชื้อไวรัส หากเพาะได้เชื้อไวรัส โรคชิคุนกุนยา ก็จะวินิจฉัยได้แน่นอน แต่เนื่องจากโอกาสเพาะเชื้อได้ต่ำ จึงไม่นิยมทำ
  2. การตรวจโดยใช้วิธี PCR จากเลือดผู้ป่วย โดยที่แพทย์จะเจาะเลือดผู้ป่วย ส่งให้ห้องปฏิบัติการ ใช้วิธี PCR เพื่อตรวจหาชิ้นส่วนของเชื้อไวรัสโรคชิคุนกุนยา
  3. การตรวจซีโรโลยี่ จากเลือดผู้ป่วย โดยที่แพทย์จะเจาะเลือดผู้ป่วย ส่งให้ห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาโปรตีนของร่างกาย ที่มีการสร้างขึ้น หลังจากร่างกายได้รับเชื้อไวรัสโรคชิคุนกุนยา และโปรตีนนั้น เป็นโปรตีนที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัสโรคชิคุนกุนยา

 

โรคชิคุนกุนยาสามารถติดต่อผ่านทางใดได้บ้าง?

โรคชิคุนกุนยาสามารถติดต่อได้หลายทางด้วยกัน ได้แก่
  1. ติดต่อผ่านยุงลายสวน และยุงลายบ้านที่มีเชื้อไวรัสนี้ จะแพร่เชื้อดังกล่าวไปยังคนถัด ๆ ไปที่ถูกยุงกัด
  2. ติดต่อจากมารดา ที่มีเชื้อไปยังทารกในระยะแรกคลอด
  3. ติดต่อผ่านทางเลือด เช่น การให้หรือรับเลือดที่มีเชื้อไวรัส
ตามทฤษฎีแล้ว ไวรัสชิคุนกุนยาสามารถติดต่อผ่านมารดาไปยังทารก และผ่านทางเลือดได้ แต่ยังไม่พบรายงานผู้ป่วย ที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวผ่านทั้งสองทางนี้

 

โรคชิคุนกุนยาเป็นอย่างไร มีอาการต่างจากไข้เลือดออกอย่างไร

โรคชิคุนกุนยาเป็นอย่างไร มีอาการต่างจากไข้เลือดออกอย่างไร

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

โรคชิคุนกุนยาป้องกันอย่างไร?

การป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ การป้องกันการถูกยุงกัด และควรมีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง อย่างสม่ำเสมอ เช่น บริเวณน้ำที่ยุงอาจไปวางไข่ รวมถึงทำความสะอาด แหล่งเพาะพันธุ์ยุงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

การป้องกันสำหรับทารก และเด็ก

  • สวมใส่เสื้อผ้าแก่ทารก และเด็กให้มิดชิด
  • ฉีดสเปรย์กันยุงให้เด็ก ยกเว้นในกรณีที่เด็กอายุน้อยกว่า 2 เดือน ไม่ควรฉีดสเปรย์กันยุง
  • ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุง ที่ประกอบด้วยน้ำมันยูคาลิปตัส หรือพาราเมนเทนไดออล (para – menthane – diol) ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ปี

การป้องกันสำหรับบุคคลทั่วไป

  • สวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว
  • ในกรณีที่เป็นสเปรย์ป้องกันยุง ที่ไม่ใช่สำหรับฉีดบริเวณตัว ไม่ควรฉีดสเปรย์ป้องกันยุง ให้ถูกผิวหนังโดยตรง
  • หากจำเป็นต้องใช้ครีมกันแดด ให้ทาครีมกันแดดก่อนแล้ว จึงใช้สเปรย์กันยุง
  • ปิดประตู และหน้าต่างให้สนิท หากเป็นไปได้ควรใช้เครื่องปรับอากาศ แทนการเปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ

 

โรคชิคุนกุนยารักษาได้อย่างไร?

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนเพื่อป้องกันโรคชิคุนกุนยา การรักษาโรคชิคุนกุนยาจึงใช้การรักษาตามอาการเป็นหลัก โดยมีข้อแนะนำการปฏิบัติตัว ดังต่อไปนี้

  • นอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำ ให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
  • หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ เช่น  ยาพาราเซตามอล โดยหลีกเลี่ยง การรับประทานยาลดไข้แอสไพริน (aspirin) หรือยาต้านอักเสบ ชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non – Steroidal Anti – Inflammatory Drugs (NSAIDS) เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดเลือดออก
  • หากมียาเดิมที่ใช้รักษาโรคร่วม ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อติดตามอาการ และการใช้ยาอย่างใกล้ชิด
  • ป้องกันตัวเองจากการถูกยุงกัดในสัปดาห์แรกที่ได้รับเชื้อ เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถพบได้ในเลือด และส่งผ่านจากผู้ติดเชื้อ โดยมียุงเป็นพาหะในช่วงเวลาดังกล่าว

เนื่องจากยุงลายสามารถนำโรคได้ทั้ง ไข้เลือดออก และ โรคชิคุนกุนยา ดังนั้น การดูแลตนเอง เพื่อให้พ้นจากการถูกยุงลายกัด ก็จะช่วยป้องกันการป่วยได้ทั้งไข้เลือดออก และโรคติดเชื้อชิคุนกุนยา

การนอนในมุ้ง การอยู่ในห้องที่มีมุ้งลวด การใช้ยาทากันยุง การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ภายในบ้าน และรอบ ๆ บ้าน เป็นมาตรการที่สำคัญในการป้องกันโรค ที่นำพาโดยยุงค่ะ

 

ที่มา รพ.บำรุงราษฎร์ , รพ.ศิริราช , รพ.ศิครินทร์

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เมื่อพ่อแม่ป่วยต้องทำอย่างไร 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

โรคชิคุนกุนยาระบาด โรคติดต่อที่มากับยุง เตือนพ่อแม่ให้ระวังลูกน้อยในช่วงนี้!!

ลูกแพ้ยุง ทำไงดี ทำอย่างไรเมื่อลูกแพ้ยุง มีอาการ และ รักษาได้อย่างไร?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Arunsri Karnmana

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ลูกฉันเป็นไข้เลือดออก หรือชิคุนกุนยา?
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว