แม่เจ็บท้องคลอด แล้วลูกน้อยจะรู้สึกยังไงนะ เวลาที่คลอดออกมา
แม่เจ็บท้องคลอด แล้วลูกน้อยจะรู้สึกยังไงนะ เวลาที่คลอดออกมา
ไม่ใช่แค่เรื่องของแม่ แต่เป็นเรื่องของลูกด้วย
เรารู้ว่าแม่ที่กำลังจะคลอดลูกต้องรับบทหนัก ทั้งการเปลี่ยนเเปลงด้านอารมณ์และร่างกาย ทั้งตอนตั้งครรภ์ ตอนคลอด และหลังคลอด สิ่งที่แม่ๆ ต้องเจออย่างความวิตกกังวล ไม่สบายตัว เรื่องของอารมณ์ ผ่านประสบการณ์ของคุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์และคลอดลูกมาก่อน
เเต่สำหรับเจ้าตัวเล็กนั้น เขาจะรู้สึกยังไงกันบ้างนะ เจ้าตัวเล็กจะเจ็บไหม หรือรู้สึกตื่นเต้นรึเปล่า เศร้าไหมที่ต้องออกมาจากท้องแม่ หรือความมีความสุขกันนะ เพราะที่แน่ๆ คุณเเม่นั้นโล่งอกมากในการคลอดเเต่ละครั้ง เพราะในที่สุดลูกก็ปลอดภัย เเละเเม่เองก็สิ้นสุดกับการเเบกน้ำหนักหลายกิโลไปสักที
เจ้าตัวเล็กรู้สึกถึง “การหดรัดตัวของมดลูก”
คุณแม่อาจจะคิดว่า คุณแม่เป็นคนเดียวที่รู้สึกถึงการหดรัดตัวของมดลูก เเต่ลูกก็รู้สึกได้เช่นกันค่ะ เวลาที่คุณแม่มีการหดรัดตัวของมดลูกนั้น ร่างกายของลูกจะได้รับออกซิเจนน้อยลง หัวใจของลูกจะเต้นเร็วขึ้น เนื่องจากลูกจะรู้สึกได้ถึงหดรัดตัวรอบๆ ตัวของเขา ซึ่งเป็นเรื่องปกติ กลับกันหากอัตราการเต้นของหัวใจลูกลดลงนั้น อาจจะเป็นเรื่องที่น่ากังวลได้เช่นกัน เเต่คุณแม่อย่าห่วงไปเลยนะคะ เพราะขณะที่การคลอดลูกดำเนินไปนั้น ร่างกายของคุณแม่จะปล่อยฮอร์โมนออกซิโทซิน หรือฮอร์โมนเเห่งความรักออกมา ช่วยให้ลูกมีความสุขและปลอบประโลมเขาค่ะ
สิ่งที่คุณแม่ช่วยลูกได้
การปวดท้องคลอดนั้นเป็นเรื่องที่เจ็บปวดค่ะ เเต่สิ่งที่ต้องจำไว้คือหากแม่เครียดลูกเครียดด้วย ดังนั้นทำให้การคลอดลูกเป็นเรื่องที่สงบลง ไม่ต้องตกใจ เพื่อให้เครียดน้อยที่สุด และไม่กระทบต่อลูกนั่นเอง
เจ้าตัวเล็กรู้สึกว่า “กำลังเคลื่อนตัวออกจากช่องคลอด”
เมื่อปวดท้องคลอดสุดๆ น้ำคร่ำแตก ก็ถึงคราวที่เจ้าตัวเล็กจะคลอดออกมาแล้ว เริ่มเห็นหัวเล็กๆ ของลูกแล้ว ขณะที่ลูกเคลื่อนตัวผ่านช่องคลอด ผนังช่องคลอดจะมีการหดรัดรอบๆ ตัวลูก เพื่อดันตัวลูกให้ออกไป ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าเด็กๆ เขาไม่ได้รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใดค่ะ วางใจได้
สิ่งที่คุณแม่ช่วยลูกได้
คือการโฟกัสไปที่การหายใจ เพื่อให้ลูกได้รับออกซิเจนขณะที่คุณเเม่กำลังเบ่งเขาออกมา
หนูกำลังมาแล้วนะแม่จ๋า
ขณะที่คุณแม่กำลังเบ่งนั้น ลูกก็กำลังพยายามเดินทางผ่านช่องคลอดเพื่อมาหาคุณแม่ค่ะ เเม้ว่าเด็กบางคนนั้นหนทางจะยากลำบากไปสักหน่อย เช่น คลอดท่าก้น หรืออยู่ในท่าแนวขวาง เด็กๆ จะมีการจัดท่าของเขาเพื่อคลอดออกมาหาคุณแม่ กะโหลกศีรษะของเด็กๆ จะยังมีความยืดหยุ่นได้ ทั้งนี้ก็เพื่อรองรับการบีบผ่านอุ้งเชิงกรานของคุณแม่ และเดินทางเคลื่อนตัวผ่านช่องคลอดนั่นเองค่ะ
สิ่งที่คุณแม่ช่วยลูกได้
ใช้ประโยชน์จากแรงโน้มถ่วงเพื่อให้ลูกออกมาง่ายขึ้น การนอนหงายนั้นทำให้การคลอดยากขึ้น เพราะเหมือนเข็นลูกขึ้นภูเขานั่นเเหละค่ะ มันต่อต้านแรงโน้มถ่วง ถ้าเป็นท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน หรือคุกเข่า หรือคลอดในน้ำ จะทำให้คลอดง่ายกว่า
อีกแค่นิดเดียวเท่านั้น
คุณแม่อาจจะรู้สึกเจ็บปวดขณะที่ลูกกำลังคลอดออกมา เเต่ช่วงเวลานั้นเเค่เเป๊ปเดียวเท่านั้น ก่อนที่คุณเเม่จะได้ประคองเจ้าตัวเล็กไว้ในอ้อมอกแล้ว ลูกจะรู้สึกแน่นไปหมด กว่าจะรู้สึกตัวอีกที เขาก็ต้องหายใจเองแล้ว
ตอนที่ลูกถูกบีบผ่านช่องคลอดนั้น จะเกิดความดันขึ้นในร่างกายของลูก เพื่อบีบของเหลวและเมือกออกจากปอดของเขา ป้องกันไม่ให้ลูกหายใจเอาของเหลวและเลือดทั้งหลายขณะที่ลูกเคลื่อนตัวผ่านช่องคลอด กระบวรการนี้เกิดขึ้นเพื่อเตรียมตัวให้ลูกได้หายใจเป็นครั้งเเรกตอนที่ออกมาสู่โลกกว้างนั่นเองค่ะ ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดีในการคลอดนั้นต้องเป็นที่ๆ มีแสงสลัวๆ และอากาศอุ่นๆ หากลูกออกมาสู่โลกที่ทั้งหนาวเย็นและสว่างจ้าตรงกันข้ามกับในท้องคุณแม่ทุกอย่างนั้น ลูกอาจจะเกิดอาการช็อคได้ค่ะ
สิ่งที่คุณแม่ช่วยลูกได้
ให้คุณหมอรีบวางลูกในอ้อมอกของคุณแม่ทันทีหลังจากที่คลอดออกมาค่ะ กระบวนการนี้นั้นจะช่วยในการควบคุมการเต้นของหัวใจ และอัตราการหายใจให้ลูกสบายตัวและสบายใจ เตรียมพร้อมสำหรับอาหารมื้อแรก นมแม่ นั่นเองค่ะ
ที่มา sg.theasianparent.com
บทความที่น่าสนใจ
คลอดลูกตายเพราะสายรกเสื่อม เรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิด
วิธีทำให้คลอดง่าย ช่วยแม่ท้องสบายก่อนเบ่งเจ้าตัวน้อย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!